2 เข้าใจทำ (ธรรม)

Follow 2 เข้าใจทำ (ธรรม)
Share on
Copy link to clipboard

รูปแบบการปฏิบัติธรรมทางวิทยุ (Guided Meditation) ฟังไปด้วย, นั่งสมาธิไปด้วย เพื่อทำจิตที่ประภัสสรให้ผ่องใส ด้วยการเจริญสมถวิปัสสนา นำธรรมะเข้าสู่จิตใจให้ชุ่มเย็นอ่อนเหมาะควรแก่การงาน. New Episode ทุกวันอังคาร เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจา…

วัดป่า ดอนหายโศก ฟังธรรมะ donhaisok


    • Jan 16, 2023 LATEST EPISODE
    • weekly NEW EPISODES
    • 56m AVG DURATION
    • 235 EPISODES


    Search for episodes from 2 เข้าใจทำ (ธรรม) with a specific topic:

    Latest episodes from 2 เข้าใจทำ (ธรรม)

    กำจัดจุดอ่อน คือ เวทนา [6603-2m]

    Play Episode Listen Later Jan 16, 2023 57:31


    “เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา แต่เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งตัณหานั้น นั่นเทียว จึงมีความดับแห่งอุปาทาน นี่แหละ คือ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์”ปฏิบัติสมถะ วิปัสสนา โดยอานาปานสติ คือ ใช้ลมหายใจเป็นเครื่องมือเพื่อให้เราเกิดสติขึ้น เมื่อมีสติ รับรู้ลมหายใจเข้า-ออก เกิดสมาธิ จิตสงบ ระงับลงๆ คือ เป็นสมถะจากนั้นพิจารณาให้เห็นว่า ทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง เกิดจากผัสสะที่เข้ามากระทบ เกิดเวทนา คือ สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ จึงเกิดตัณหา จึงเกิดอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น เกิดภพ สภาวะ เกิดชาติ ชรา หมุนวนไป ไม่จบสิ้นจะดับทุกข์ได้ “จิตต้องเห็นเวทนาเป็นของไม่เที่ยง อนิจจัง เห็นเวทนาเป็นของสิ้นไปเสื่อมไป เป็นธรรมดา”เห็นอย่างนี้บ่อยๆ สะสมๆๆ เป็นปัญญา ตัณหาจะค่อยๆ จางคลาย จนจิตปล่อยวาง คลายความยึดมั่นถือมั่น ตัณหาดับ อุปาทานดับ ทุกข์จึงดับ นั่นเอง. Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    ศรัทธาเกิดได้ด้วยปัญญาสาม [6602-2m]

    Play Episode Listen Later Jan 9, 2023 58:07


    ศรัทธาของใครก็ตาม จะต้องเป็นศรัทธาที่มีทรรศนะ คือ มีความเห็น เห็นด้วยตา ด้วยปัญญาอย่างนี้ เป็นมูลเป็นเหตุอย่างนี้ จะเรียกว่า เป็นศรัทธาที่มั่นคง คือ “มีศรัทธาถึงพระพุทธเจ้าโดยส่วนเดียว “จะมีศรัทธาที่มั่นคง ไม่คลอนแคลนได้ ต้องเกิดจากปัญญาสามอย่าง คือปัญญาที่เกิดจากการฟังเรียกว่า สุตมยปัญญา คือ ควรเลือกฟังจากผู้เป็นกัลยาณมิตร หากแต่ความศรัทธายังคลอนแคลนอยู่ได้ จึงต้องเพิ่มในปัญญาที่สอง คือปัญญาที่เกิดจากการใคร่ครวญคิดพิจารณาเรียกว่า จินตามยปัญญา คือ มีวิมังสา ตรวจสอบ พิจารณาเหตุผลคือมีมูลราก แล้วให้เกิดศรัทธา คือ ความเชื่อ ความมั่นใจ ความเลื่อมใส ที่มั่นคงกว่าสุตมยปัญญา หากแต่ยังสามารถเลื่อนไหล ไม่มั่นคง จึงต้องเพิ่มในปัญญาที่สาม คือปัญญาที่เกิดจากการพัฒนา เห็นแจ้งด้วยตัวเองจริงๆ เรียกว่า ภาวนามยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการภาวนา มีวิริยะ ลงมือทำความเพียร คือ ปรารภกุศล ละอกุศล สติระลึกถึงแต่สิ่งที่เป็นกุศล เกิดโวสสัคคารมณ์ คือ จิตที่มีการปล่อยวางอารมณ์ เกิดสมาธิ จิตตั้งมั่น สามารถรู้ชัดได้ใน สังสารวัฏ เห็นการหมุนวนไปของสิ่งที่เกิดขึ้นและดับไป วนไป ภาวนาจนตัณหาจางคลายไป เป็นความคลายกำหนัด เป็นความเย็น คือนิพพาน คือ เห็นด้วยปัญญา รู้ได้ด้วยปัญญา เกิดความรู้ คือ วิชชาขึ้น เรียกว่าเป็นปัญญา เกิดที่จิตเราศรัทธาที่เกิดแบบนี้เรียกว่า เป็นศรัทธาที่มั่นคง มีมูลรากแล้วลงมือทำ เกิดวิชชา เกิดปัญญา จาก “ภาวนามยปัญญา” Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    ศรัทธาได้ด้วยปัญญา [6601-2m]

    Play Episode Listen Later Jan 2, 2023 61:10


    ใคร่ครวญมาในธรรมในหัวข้อศรัทธาที่ตั้งมั่นแล้วอย่างไรจึงจะชื่อว่าเป็นการได้อันยอดเยี่ยม ศรัทธาเป็นแรงผลักดันให้มีการลงมือกระทำ และเป็นตัวประสานสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน ในขณะที่ศีลจะเป็นพื้นฐานที่หนักแน่นให้ยืนอยู่ได้ ศรัทธา คือ ความเชื่อ ปสาทะ คือ ความเลื่อมใส เกิดได้จาก 3 ทาง คือประการที่ 1: ศรัทธาที่เกิดจากปัญญา ปัญญาจะเกิดได้ต้องมาจากการศึกษา การศึกษามาจากการฟัง ศรัทธาจึงฟัง ฟังจึงศึกษา ศึกษาจึงเกิดปัญญา ปัญญานั้นก่อให้เกิดศรัทธา ศรัทธาต้องเป็นระดับนิวิฎฺฐสทฺโธ ปสาทะต้องเป็นระดับนิวิฏฺฐเปโม คือ ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ศรัทธาที่ตั้งมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ต้องเป็นศรัทธาในระบบ ไม่ใช่ศรัทธาที่ตั้งไว้บนความรักความพอใจ เพราะศรัทธาต่อตัวบุคคลจะก่อให้เกิดโทษแห่งความเลื่อมใสนั้นได้ ศรัทธาในพุทโธ พุทโธไม่ใช่บุคคล แต่เป็นระบบของการตรัสรู้ ธัมโม คือ สิ่งที่จะเข้ามาสู่ใจ เป็นธรรมที่มีการปฏิบัติที่ถูกต้อง ไม่ใช่แค่ตัวอักษร สังโฆ คือ กลุ่มที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สุปฏิปัณโณ จึงจะไม่เป็นการประทุษร้ายต่อสกุลประการที่ 2: ศรัทธาเกิดจากกัลยาณมิตร และการโยนิโสมนสิการ กัลยาณมิตร คือ กัลยาณธรรมจะทำให้ได้ฟังธรรม เป็นการให้จากภายนอก โยนิโสมนสิการ คือ การทำในใจโดยแยบคาย เป็นจุดเชื่อมสมองเข้าสู่ใจ เป็นการรับเข้าภายในประการที่ 3: ทุกข์เป็นที่ตั้งอาศัยของศรัทธา ทุกข์จะทำให้เห็นธรรมก็ต่อเมื่อเลือกทางออกจากทุกข์นั้นได้ถูกต้อง ไม่จมลงในทุกข์ เพราะจิตนั้นตริตรึกไปทางไหน สิ่งนั้นจะมีพลัง จะถูกยกสูงขึ้นทันที เป็นการนำสถานการณ์มาใช้ ใช้ทุกข์ให้เกิดปัญญา Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    พัฒนาวิเวกสามเพื่อความดับเย็น [6552-2m]

    Play Episode Listen Later Dec 26, 2022 59:26


    บุคคลเมื่อให้ทานแล้ว ควรพัฒนาตนเอง และปฏิบัติตามกาลอันควรด้วย “วิเวกสามประการ”วิเวกสาม ประกอบด้วย1. กายวิเวก วิเวกทางกาย กายที่ไม่มีอะไรมารบกวน2. จิตตวิเวก วิเวกทางจิต จิตที่ไม่มีอะไรมารบกวน ด้วยสติที่ตั้งมั่นระลึกถึงจาคานุสสติ ทานที่สละออก เว้นจากกาม พยาบาท เบียดเบียน นิวรณ์ต่างๆ ด้วยจิตที่เป็นกุศล “สุขโสมนัสที่ประกอบด้วยกุศลธรรมจึงเป็นฐานะที่มีได้ในจิตบุคคล ผู้มีจิตตวิเวก”3. อุปธิวิเวก วิเวกทางอุปธิ คือ จิตที่สงบระงับจากสังขารทั้งปวง ปราศจากการปรุงแต่ง การปรุงแต่ง นั้นคือ อุปธิกิเลส ขันธ์ห้า กุศล อกุศล บุญ บาป นิวรณ์ กายวิเวก จิตตวิเวก และต่างๆ ก็เป็นอุปธิ เหมือนกันหมด ให้เห็น การปรุงแต่ง เปลี่ยนแปลง ไม่เที่ยงเพราะอาศัยการปรุงแต่งกันและกันแล้ว จึงเกิดขึ้น มีเกิด มีดับ มีเกิด เรียกได้ว่า “เห็นอุปธิ เห็นกระแสแห่งการปรุงแต่งแล้ว ด้วยความวิเวก”ก็จะมีความคลายกำหนัด คือ วิราคะ จิตน้อมไปในความหน่าย“สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ย่อมมีความดับได้เป็นธรรมดา สิ่งนั้น ก็ไม่ควรค่าที่จะยึดถือเอาไว้” จิตก็น้อมไปเพื่อการปล่อยวาง ด้วยสติ ปัญญา ให้เราเข้าถึงอุปธิวิเวก เดินตามทางมรรคมีองค์แปดเพื่อความดับเย็น คือ นิพพาน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    การดับปปัญจสัญญา [6551-2m]

    Play Episode Listen Later Dec 19, 2022 54:02


    เจริญพุทธานุสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ให้เกิดสติขึ้น เพื่อที่จะดับ ปปัญจสัญญาปปัญจสัญญา คือ อนุสัย หรือกิเลส อันเป็นเครื่องทำความเนิ่นช้า เป็นเครื่องครอบงำ อุปนิสัย สันดาน หรือความเคยชินที่เกี่ยวเนื่องกับความชอบใจ คือ ราคานุสัยที่เกี่ยวเนื่องกับความขัดเคือง ไม่พอใจ คือ ปฏิฆานุสัยที่เกี่ยวเนื่องกับความคิดผิด คือ ทิฏฐานุสัยที่เกี่ยวเนื่องกับในลักษณะที่ตั้งคำถาม เคลือบแคลง ไม่ลงใจ คือ วิจิกิจฉานุสัยชนิดที่ถือตัว หมิ่นท่าน เรียกว่า มานานุสัยชนิดที่เป็นตัวตนขึ้นมา คือ ภวราคานุสัย คือ การกำหนัดติดในภพ การพอใจในฐานะ ตำแหน่งความไม่รู้ ไม่เห็นจริงตามความเป็นจริงในสิ่งทั้งหลาย คือ อวิชชานุสัยเมื่อมีผัสสะเข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะเกิด เวทนา และเกิดอนุสัย ความเคยชินต่างๆ ต่อเวทนานั้น ไม่ว่าเป็นความ พอใจ ไม่พอใจ ความถูก ความผิด ความขัดเคือง ความสงสัย เกิดความเป็นตัวตน เหล่านี้ ถือเป็น มิจฉา คือ มีกิเลสเพิ่มขึ้น จิตไม่สงบ “การดับปปัญจสัญญานี้ได้ ก็คือ ดับตามเหตุของมัน” นั่นเองคือ ต้องมี “สติ” ทีจะแยกแยะสิ่งที่มากระทบ ว่า เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตนเมื่อไม่เกิดเวทนาใดๆ เพราะเห็นตามความเป็นจริง ก็ไม่เกิดเวทนาที่จะไป เนิ่นช้า ไปแช่ให้ถูกครอบงำ อนุสัยก็ไม่เกิด ปปัญจสัญญาก็ดับก็จะอยู่เหนือเวทนา เหนือสุข เหนือทุกข์ คือ พ้น หรือแยกจากกัน คือ วิมุตตินั่นเอง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    “ทุกข์” สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน เป็นส่วนมาก [6550-2m]

    Play Episode Listen Later Dec 12, 2022 60:20


    เจริญธัมมานุสติ ธรรมะของพระพุทธเจ้า ทำจิตให้สงบ โดยการเอาจิตจดจ่ออยู่กับสติ จนจิตสงบ ระงับต่อด้วยการเจริญวิปัสสนา คือ การสร้างปัญญาให้รู้เห็นตามที่เป็นจริง โดยการใคร่ครวญธรรมะธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ทั้งหมดทั้งปวง ส่วนใหญ่เป็นเรื่อง “ทุกข์” เมื่อใดที่เข้าไป “ยึดถือ” จะ “เกิดทุกข์” ทันทีขันธ์ทั้งห้า คือ กองทุกข์ ที่เกิดจากการยึดถือว่าเป็นตัวเรา เป็นของเราเมื่อไปยึดถือจึงเกิดทุกข์ เพราะทั้งรูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณเป็นอนัตตา คือ ไม่มีตัวตน จึงไม่เที่ยง คือ เปลี่ยนแปลงตามเงื่อนไขปัจจัยหรือเรียกว่าอนิจจัง จึงเป็นทุกข์ เพราะมีลักษณะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้พิจารณาธรรม โดยน้อมเข้ามาสู่ตน พิจารณาขันธ์ทั้งห้าของเราเอง ว่า “ไม่มีตัวตน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์”แม้แต่จิตก็ไม่ใช่ตัวเรา แต่เป็นสภาวะแห่งการสั่งสม ไปยึดถือรูป เวทนา สัญญา สังขารผ่านทางวิญญาณ การรับรู้ ว่าเป็นตัวเราหากแต่ความจริง ทั้งขันธ์ห้า และจิต “ไม่มี” ไม่มีอะไรเป็นตัวเรา เป็นของเราพิจารณา ใคร่ครวญธรรม เช่นนี้อยู่บ่อยๆ อวิชชาจะดับ เมื่ออวิชชาดับ วิชชา” จึงเกิด Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    ใจเป็นของกลาง จิตเป็นประภัสสร [6549-2m]

    Play Episode Listen Later Dec 5, 2022 58:33


    ใจเป็นของกลาง จิตเป็นประภัสสรเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ด้วยการตั้งสติขึ้น ให้เห็นจิตในจิต ให้เห็นจิตที่มีความสงบระงับลง แยกกันออกไปจากเครื่องเศร้าหมองต่างๆเราจะรักษาใจช่องทางนี้ให้ปกติอยู่ ใจนั้นต้องมีสติเป็นที่แล่นไปสู่ พอใจมีสติเป็นที่เล่นไปสู่, “สติ” นั้นจะทำให้ “ใจแล่นไปสู่วิมุตติ” ใจของเราก็จะพ้นได้วิมุตติ แปลว่า พ้น พ้น นี่คือ แยกจากกัน “ใจของเราก็จะสามารถแยกจากส่วนที่เป็นกาย แยกจากส่วนที่เป็นเครื่องเศร้าหมองต่างๆ” ให้ใจมีความเป็นกลาง ได้ด้วยสติที่เราตั้งขึ้นให้มีสัมมาสติ มีสัมมาวายามะ ความเพียร รักษาทั้งใจ ด้วยรักษาทั้งจิต ไม่ให้มีเครื่องเศร้าหมอง คือ ราคะ โทสะ โมหะ มาหุ้มห่อ กลุ้มรุมจิตเรา จิตจะมีความผ่องใสขึ้น มีความสะอาดขึ้น มีความประภัสสร ปราศจากอกุศล ด้วยสติที่เราตั้งเอาไว้หากแต่จิตที่เป็นประภัสสรก็ไม่เที่ยง เราไม่ควรไปยึดถือว่าเป็นตัวเรา เป็นของเรา ให้ “วาง” เลย ไม่ยึดถือในสิ่งนั้น“ไม่มีกิจอื่นที่จะต้องทำขึ้น ยิ่งไปกว่านี้อีกแล้ว” Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    อกุศลวิตกเจ้าจงหยุด เจ้าจงถอยกลับ [6546-2m]

    Play Episode Listen Later Nov 14, 2022 61:43


    ปรารภเรื่องราวการปฏิบัติก่อนเข้าปฏิบัติธรรมของพระเจ้ามหาสุทัสสนะ ที่จะเปล่งวาจาสั่งความคิดในทางกาม ทางพยาบาท และทางเบียดเบียน ไม่ให้ตามเข้าไป การกระทำที่เป็นการแสดงความเคารพในพระพุทธเจ้าจะมีอยู่ 3 ระดับ ตั้งแต่การแสดงออกทางกาย เหมือนที่พระเจ้าพิมพิสารถอดหัวโขนของกษัตริย์ออก การแสดงออกทางวาจา และการแสดงออกทางใจในการที่จะกำจัดกามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก เมื่อเราจะเริ่มทำความดีมักมีเครื่องทดสอบ ก่อนอื่นเราต้องแยกแยะให้ได้ว่าเครื่องทดสอบนั้นคืออะไร จะแยกได้ก็ด้วยสติ ผัสสะ หรือเครื่องทดสอบนี้สามารถเข้าสู่ช่องทางใจของเราได้ตามประตูทั้ง 6 แต่เราจะอนุญาตให้เข้าสู่จิตได้หรือไม่ก็อยู่ที่ประตูที่สอง คือ สติ ทำให้การรับรู้นั้นเป็นเพียงรู้เฉย หรืออาจจะให้เข้าสู่จิตได้เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าท่านก็ต้องรับรู้ก่อนมีความคิดก่อนก่อนที่จะแสดงธรรมนั้น พระพุทธองค์ทรงทำให้เห็นว่าเราสามารถเป็นผู้อยู่เหนือความคิดได้ นำความคิดนั้นมาใช้งานได้ ควรเข้าใจแยกแยะกุศลธรรมหรืออกุศลธรรมให้ถูก ดีหรือไม่ดีไม่ได้ดูที่สุขเวทนาหรือทุกขเวทนา เลือก input ดีๆ เมื่อเข้าใจได้ถูกแล้ว จิตจะมีพลังน้อมมาในกุศลแล้วจะ รวมลงเป็นสมาธิ วิธีการฝึกก็คือ 1. รักษาอวัยวะเหมือนเต่าหดในกระดองก็จะพ้นภัย รับรู้มาก่อนสติ 2. การใช้ลิ่มสลักของช่างไม้ 3. การรู้จักสังเกตุการแต่งตัวของหนุ่มสาว 4. การทำสมาธิทำจิตให้ละเอียดเหมือนความละเอียดของอิริยาบทต่างๆ และ 5. ตาต่อตา ฟันต่อฟัน ต่อจิตที่มีความหยาบมาก ทำดังนี้จะเป็นผู้อยู่เหนือกามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตกได้ในที่สุด ค่อยฝึกไปตามลำดับ

    เปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตร [6545-2m]

    Play Episode Listen Later Nov 7, 2022 60:49


    เจริญอานาปานสติให้เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพื่อให้เกิดสัมมาสติ ไม่ฟุ้งซ่าน พึ่งตนพึ่งธรรมด้วยการดูลมหายใจของเรา ให้สติอยู่กับลมหายใจ ไม่ลืมลม พอเราตั้งสติขึ้นมาได้จิตมีสติรักษา จะมีปัญญา ตอบสนองต่อผัสสะ อย่างมีสติ ไม่เกิดอกุศล ความฟุ้งซ่านลดลงได้ แล้วใคร่ครวญธรรมะ “อย่าเห็นแก่ยาว อย่าเห็นแก่สั้น เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร แต่ระงับด้วยการไม่จองเวร” การเห็นแก่ยาว คือ การจองเวรให้ยืดเยื้อ อย่าเห็นแก่สั้น คือ อย่าแตกร้าวจากมิตรให้เร็วนัก เห็นแก่สั้น ตัดมิตรภาพขาดออกสั้นๆ เราก็จะไม่มีกัลยาณมิตร หากแต่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า “ต้องมีกัลยาณมิตร” ให้เรารักษากัลยาณมิตร ให้เหมือนว่าเป็นอวัยวะที่อยู่ในร่างกาย เชื่อมต่อกับตัวเรา ผลที่ได้รับจากการ “ไม่เห็นแก่ยาว ไม่เห็นแก่สั้น” จิตใจของเราจะไม่มีการผูกเวร จะเกิดปัญญาเพื่อเชื่อมต่อ กัลยาณมิตร เกิดเป็นกลุ่มก้อน แล้วยังสามารถเปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตร อาจมีผิดพลาดกันบ้าง ให้มีสติตั้งขึ้นใหม่ “สติ” นั้นจึงเป็นตัวที่สำคัญ เป็นประธาน ในการที่จะให้จิตของเรานั้น ไม่เห็นแก่ยาว ไม่เห็นแก่สั้น ระงับเวร ตั้งสติสัมปชัญญะ เอาไว้ได้

    ผู้เชี่ยวชาญในความคิด [6544-2m]

    Play Episode Listen Later Oct 31, 2022 61:40


    เจริญอานาปานสติ เพื่อที่จะควบคุมความคิด ควบคุมความคิด โดยการฝึกสติ ไม่ใช่หยุดคิด แต่เป็นการที่ให้รู้ความคิด คำว่า "รู้" หมายถึง มีสติ ระลึกรู้ โดยใช้เครื่องมือ คือ ลมหายใจ ลมหายใจเป็นป้อมยาม สติ คือ ยาม คือ การระลึกได้ เป็นยามมาอยู่ที่ลมหายใจ สติ-สมาธิ ไม่ใช่จะเป็นของที่ได้มาด้วยการข่มขี่ บังคับ ห้ามปรุงแต่ง แต่ได้มาด้วย “ความเพียร” จะได้มาด้วยความสงบระงับ มีอะไรให้ กำหนดรู้เฉยๆ สังเกตดูเฉยๆ ดูผัสสะต่างๆ ผ่านมาทางประตูทั้งหก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่เข้าสู่จิต เปรียบเหมือนสัตว์หกชนิด นก สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก จระเข้ งู ลิง ผูกไว้กับเสา คือ สติ ให้จิตน้อมไปทางมีสติ คือ อยู่ที่เสา หรือลมหายใจ “จิตน้อมไปทางไหน จิตนั้นก็ยิ่งมีพลัง” ความคิด ความฟุ้งซ่านก็อ่อนกำลังลง ช่วงแรกๆ ขณะที่มีสติ สังเกต สิ่งต่างๆ นั้น นิวรณ์ มันก็ยังอยู่ สมาธิยังไม่เกิด หากแต่เราฝึกไปเรื่อยๆ จะมีช่วงเวลาที่สติเกิดขึ้น และค่อยๆ กำจัดนิวรณ์ออกได้ทีละนิดๆ ช่วงนี้ คือ จิตเป็นสมาธิแล้ว จุดนี้ เราจะเลือกคิดได้ ว่าจะคิดเรื่องอะไร คิดแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรต่างๆ ฝึกเรื่อยๆ ในชีวิตประจำวัน เราจะสามารถควบคุมความคิดได้

    การคว่ำลงของอวิชชา [6543-2m]

    Play Episode Listen Later Oct 24, 2022 61:59


    เจริญธรรมานุสติปัฏฐาน ใคร่ครวญธรรมะที่เรียกว่า อวิชชา “อวิชชาย่อมปรากฏเพราะมีสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย” อวิชชาแปลว่าความไม่รู้ ไม่รู้ในอวิชชาแปดอย่าง อวิชชามีคุณสมบัติ ๑. ทำให้เราเกิดความเพลิน ๒. จึงทำให้เรารู้เป็นส่วนๆ และไม่รู้ ไม่เข้าใจเรื่องราวสถานการณ์โดยรวมว่า สังสารวัฏ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นอย่างไร ๓. ความไม่รู้ทำให้เราไม่รู้ตัว เวลาถูกกิเลสเผาอยู่ ๔. ทำให้เราเข้าใจผิดพลาดไปว่า “ทุกข์คือสุข”, เข้าใจผิดว่า สัมมาวายามะ ทำความเพียรคือทุกข์, เข้าใจผิดว่าสัมมาสติ สัมมาสมาธิเป็นความเบื่อหน่าย ๕. อวิชชาปิดเรื่องราว ปิดความเข้าใจทำให้ เราไม่รู้เรื่องราวทั้งหมด เพื่อให้ตัวอวิชชาเจริญขึ้นๆ อวิชชาเจริญได้เพราะมีอาหารคือนิวรณ์ทั้งห้า วิจิกิจฉา ความฟุ้งซ่าน ความง่วงซึม ความโกรธ ความอยากความเพ่งเล็ง นิวรณ์ห้า เกิดจากความทุจริตทางกาย วาจา ใจ, ทุจริตสามเกิดจากไม่สำรวมอินทรีย์, ไม่สำรวมอินทรีย์เกิดจากการขาดสติ สัมปชัญญะ จนเกิดอกุศลขึ้น หากแต่เราฝึกสติ สัมปชัญญะ เรื่อย ๆ โดยการใช้ปัญญาพิจารณาอย่างแยบคาย หรือ โยนิโสมนสิการ โดยการหมั่นฟังพระสัทธรรม, เลือกคบสัตบุรุษหรือกัลยาณมิตรคือคนที่ทำให้กุศลจิตเกิดขึ้นได้ จึงเกิดศรัทธา ความมั่นใจ จิตอยู่ตรงไหน สติก็อยู่ตรงนั้น, สติอยู่ตรงไหน อวิชชาก็อยู่ตรงนั้น, อวิชชาอยู่ไปทุกที่, วิชชาก็เกิดได้ทุกที่ไปหมด สติ สมาธิ ปัญญาอยู่ตรงไหน วิชชาอยู่ตรงนั้น, อวิชชาก็ดับไปตรงนั้น พิจารณาสมถะ วิปัสสนา เห็นความไม่เที่ยง พิจารณาอย่างแยบคาย, วิชชา ความรู้ก็เกิดขึ้น, อวิชชา ความไม่รู้ก็เบาบางลง พิจารณาอย่างนี้เรื่อยๆบ่อยๆ จนไม่มีอาหารของอวิชชา, “วิชชาเกิด อวิชชาก็คว่ำลงหมด” นั่นคือ ดับเย็นคือพระนิพพาน เป็นการดับของอวิชชา ดับแบบถอนรากถอนโคน.

    รอยเกวียนเก่า [6542-2m]

    Play Episode Listen Later Oct 17, 2022 60:46


    สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงกำลังตาย หรือตายอยู่ในบัดนี้ด้วย ตายแล้วในอดีตด้วย จะตายในอนาคตด้วย แม้แต่ตัวเราก็จะต้องตายเหมือนกันอย่างนี้ ความสงสัยในเรื่องการตายนี้ไม่มีแก่เรา เจริญสังฆานุสสติ เป็นการปฏิบัติบูชา ระลึกถึงสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตามคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดำเนินตามๆ กันมาตามทางอันมีองค์ประกอบอันประเสริฐแปดอย่าง ปฏิบัติธรรมสืบต่อกันมา ทำให้มีคำสอนของพระพุทธเจ้าสืบต่อมาถึงปัจจุบัน การปฏิบัติต้องประกอบด้วยสองส่วน คือ สมถะ และวิปัสสนา 1. สมถะ คือ การตั้งจิตมั่นให้สงบ เจริญสังฆานุสสติ จนจิตสงบ เป็นอารมณ์อันเดียว สติเป็นธรรมอันเอกจะทำให้เกิดสัมมาสมาธิได้ 2. วิปัสสนา คือ การเห็นตามความเป็นจริง เมื่อจิตสงบ เรามาพิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริง โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาในสิ่งต่างๆ เห็นเกิด เห็นดับ ตลอดเวลา จนจิตเกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด “นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” เห็นด้วย สติ สมาธิ ปัญญา ว่า “กายนี้ ตัวเรานี้ก็ตาย ตัวบุคคลก่อนหน้าเรามา ก็ตาย แล้วในอนาคตก็ต้องตายต่อไป มันเป็นธรรมดาอย่างนี้มันจะต้องตายอย่างนี้ ทุกคนตายเหมือนกันหมด” ให้เรามาตามทางที่จะไปสู่ประสาทแห่งธรรมะ ทางที่พระพุทธเจ้าท่านดำเนินเอาไว้ ตามทางที่พระพุทธเจ้า เหล่าอริยสาวกในสมัยพุทธกาลครูบาอาจารย์ในรุ่นก่อน จนถึงครูบาอาจารย์ที่ร่วมสมัยกันกับเราไปตามทางนี้หมด เข้าสู่บ้านที่จะดับเย็น นั่นคือ นิโรธ พักผ่อนอย่างสบาย สุขกาย สุขใจได้นั่นเอง

    ธรรมชาติย่อมย่อยสลาย [6541-2m]

    Play Episode Listen Later Oct 10, 2022 60:13


    “เพราะ ธรรมชาติที่ย่อมสลาย เหตุนั้นจึงเรียกว่า รูป” เจริญกายคตาสติ พิจารณาร่างกาย ว่าร่างกายของเรานี้ คือ กองรูป คือ รูปขันธ์ ขันธ์หมายถึง กอง ที่มีแขนขา มีตัวมีหน้า มีอวัยวะภายในต่างๆ มารวมกันเป็นกลุ่มก้อน เขาจึงเรียกว่ารูปขันธ์ และมีส่วนที่เป็น “นาม” คือ เวทนาคือความรู้สึก สัญญา คือ ความหมายรู้ สังขาร คือ การปรุงแต่ง และจุดที่มันเชื่อมกันอยู่ของกายและใจ คือ วิญญาณ คือ การรับรู้ เกิดความเพลิน พอใจ ไปใน รูป สัญญา สังขาร วิญญาณ “เกิดความเพลินความพอใจเมื่อไหร่ ตรงนั้นแหละ คือ ตัณหา มา อุปาทาน คือ ตัณหามายึดถือ ขันธ์ทั้งห้านี้ ขึ้นเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา ความยึดถือครองนั้น เป็น “กระแสต่อเนื่องกันมา” ในขันธ์ห้านี้ เกิดภพ เกิดชาติ สืบต่อๆ กันมา เกิดเป็นกระแสของการสะสม “จิต คือ สภาวะแห่งการสะสม” ใช้ปัญญาพิจารณากายเป็นเพียงธาตุสี่ ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นเพียงธรรมชาติ ย่อมย่อยสลายไป ไม่เที่ยง ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่มีจริง เป็นสภาวะของกระแสที่สืบเนื่องต่อกันมาเท่านั้น ไม่ควรค่าที่จะไปยึดถือ นาม “เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ” ก็เช่นเดียวกัน เปลี่ยนแปลง เกิด-ดับ อยู่ตลอด ต้องไม่ยึดถือเป็นตัวตน เพราะไม่เที่ยง แต่ให้เห็น เป็นสภาวะแห่งการสะสม พิจารณากายของเราอย่างต่อเนื่อง เราก็จะอยู่เหนือ ทั้งนาม ทั้งรูป อยู่เหนือบุญ อยู่เหนือบาป สามารถที่จะดับเย็นได้ นั่นคือ นิพพาน นั่นเอง

    ทุกความคิดเป็นการภาวนาได้เพราะมีสติสัมปชัญญะ [6540-2m]

    Play Episode Listen Later Oct 3, 2022 62:07


    “…ภิกษุทั้งหลายพวกเธอพึงเป็นผู้มีสติ อยู่อย่างมีสัมปชัญญะเถิด…” ฝึกจิตให้มีสติ สัมปชัญญะ โดยเจริญอานาปานสติ เริ่มจากตั้งสติอยู่กับลมหายใจเข้า-ออก สังเกตดูลมเฉยๆ คือ พิจารณาเห็นกายในกาย ขณะเดียวกันมีการรับรู้สิ่งต่างๆ ที่เข้ามากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รวมถึงธรรมารมณ์ ความคิดในช่องทางใจ จิตไม่เพลินไปกับผัสสะที่มากระทบ จิตเพียงรับรู้เฉยๆ ไม่ไปปรุงแต่ง จึงไม่เกิดอารมณ์สุข อารมณ์ทุกข์ คือ มีสติ เกิดการแยกแยะ สัมปชัญญะก็จะตามมา คือ ความรู้ตัวรอบคอบในเรื่องที่เราคิด ในสิ่งที่เราทำ ในทุกอิริยาบถที่เราอยู่ นั่นคือ เห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย จิตเพียงรับรู้เฉยๆ ไม่มีอารมณ์ติดไปในงานนั้นๆ ทุกความคิด ทุกการงาน ทุกคำพูด ทุกอิริยาบถ ทุกที่ที่เราไป ทุกงานที่เราทำ จึงเป็นการภาวนาได้ ฝึกบ่อยๆ จะเป็นการภาวนาในทุกๆ ที่ได้ เพราะมีสติสัมปชัญญะ

    พรหฺมา จโลกา [6539-2m]

    Play Episode Listen Later Sep 26, 2022


    เจริญพุทธานุสติ ระลึกถึง คุณของพระพุทธเจ้า ในความมีกรุณาอย่างสูง ทรงประกาศธรรมะแก่สัตว์โลก ทรงเห็นว่าผู้มีธุลีในดวงตาแต่น้อย ยังมี ย้อนไป เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าทรงได้ตรัสรู้แล้ว ทรงนั่งพักใคร่ครวญ สิ่งที่พระองค์ได้ทรงตรัสรู้ ครั้งนั้น จิตของพระองค์ทรงแล่นไปทางขวนขวายน้อยในการประกาศธรรมะ ด้วยเห็นว่าหมู่สัตว์ในยุคนี้มีความอาลัยเป็นที่ยินดี, ยากนักที่จะเห็น “ปฏิจจสมุปบาท” หากแต่ ท่านท้าวสหัมบดีพรหม ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ได้กราบทูลพระพุทธเจ้า ด้วยเห็นว่า คำสอนตามอริยมรรคมีองค์แปดนี้ จะเป็นทางที่จะนำพาให้หลุดพ้นจากกระแสของตัณหาได้ พระองค์ทรงไตร่ตรองด้วยพุทธจักษุ “เห็นสัตว์ที่มีธุลีในดวงตาแต่น้อยก็มี, สัตว์เหล่านั้นจะเสื่อมจากคุณที่จะได้รับ, ถ้าไม่ได้ฟังธรรม สัตว์ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจะมีแน่” จึงทรงประกาศธรรมให้แก่สัตว์โลก “ประตูแห่งนิพพาน อันเป็นอมตะ เราได้เปิดไว้แล้วแก่สัตว์ยุคนี้ สัตว์เหล่าได้มีโสตประสาท สัตว์เหล่านั้น จงปลงศรัทธาลงไปเถิด” ปฏิบัติด้วยศรัทธา ความเพียร สติ สมาธิ ปัญญา อินทรีย์ทั้งห้าต้องสูงเสมอกัน เพื่อเป็นอริยทรัพย์ ยิ่งปฏิบัติ ยิ่งได้เพิ่ม ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบให้เห็นผล ให้เข้าสู่กระแส โสดาบันเป็นผู้ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา ปิดประตูอบาย ปฏิบัติสูงขึ้นๆ ถึงพระอนาคามี จนบรรลุธรรมถึงพระนิพพาน ได้ในที่สุด

    เพราะน้อยจึงมีค่ามาก [6538-2m]

    Play Episode Listen Later Sep 19, 2022 59:57


    ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์เป็นการยาก ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายเป็นอยู่ยาก การฟังพระสัทธรรมเป็นของยาก การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นการยาก ความน้อย ความยากนี้ให้เห็นด้วยสติ ด้วยปัญญา อย่าไปยึดถือในสิ่งที่มีค่าน้อย คืออย่าไปยึดกาย อย่าไปยึดจิต, ให้เห็นด้วยปัญญาในความเป็นของน้อยของชีวิต ปัญญานั้นจึงมีค่ามาก, ให้เห็นความไม่เที่ยง เป็นสรณะ, เห็นอุเบกขา หรือ ศีล เป็นที่เกาะเป็นที่พึ่งเพื่อภาวนา พัฒนาจิตให้เจริญขึ้นเพื่อให้เห็นอริยสัจสี่ เห็นมรรคมีองค์แปด เห็นศีล สมาธิ ปัญญาและวิมุตติ ปฎิบัติธรรมสมควรแห่งธรรม พัฒนาเป็นอริยบุคคล ทางดำเนินนั้นจะเป็นทางที่ไปสู่พระนิพพานคือดับเย็น

    สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ล้วนเป็นอนัตตา [6537-2m]

    Play Episode Listen Later Sep 12, 2022 60:36


    พิจารณาความไม่เที่ยงของสิ่งทั้งหลายโดยผ่านพุทธานุสติ สติจะเป็นตัวจัดระเบียบสิ่งต่างๆ ในช่องทางใจ ทำให้สามารถแยกแยะได้ จิตจะไม่ไปเกลือกกลั้วตามสิ่งที่มากระทบ เป็นการทอนกำลังของสิ่งนั้นลง เมื่อสติมีกำลังสมาธิจะเกิดขึ้น เอาความสงบนั้นมาเป็นฐานในการรื้อถอนอวิชชา ก่อวิชชาให้เกิดจากการใคร่ครวญโดยแยบคาย คือ ใคร่ครวญเห็นถึงความไม่เที่ยง ความเป็นอนัตตา ความไม่มีสาระแก่นสารอะไร ทุกสิ่งล้วนอาศัยเหตุปัจจัย ถ้าเงื่อนไขเหตุปัจจัยมีอยู่สิ่งนั้นก็ดำรงอยู่ ถ้าเงื่อนไขหายไป สิ่งนั้นก็ดับไป ถ้าเราเผลอเพลิน เราจะเข้าไปยึดสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอัตตา จะมีความทุกข์เกิดขึ้นทันที แต่ถ้าตั้งสติมีสมาธิใคร่ครวญโดยแยบคาย พิจารณาตามความจริงว่ามันขึ้นตามเหตุปัจจัย อุปาทานความยึดถือจะอยู่ไม่ได้จะคลายออก จะเห็นตามจริงในสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอนัตตา วิชชาเกิดขึ้นทันที ความพ้น คือ วิมุตติก็เกิดขึ้นเช่นกัน จะทำให้เกิดได้ต้องมีการประกอบพร้อมกันของปัญญา สติ สมาธิ ดำเนินมาตามระบบของมรรค เมื่อวางได้แล้วสิ่งที่เหลือ คือสติ คือปัญญากับจิตที่ดำรงอยู่ด้วยดี มีความร่าเริง ไม่หวาดสะดุ้ง จิตดับจากไฟของกิเลส ไม่สะดุ้งสะเทือนไปตามผัสสะ นี้คือ นิพพาน

    ไม่มีกำมือในธรรมะ [6536-2m]

    Play Episode Listen Later Sep 5, 2022 59:40


    ธรรมที่พระพุทธเจ้า ได้กระทำแล้ว แสดงแล้ว พระองค์ทรงสอนอย่างเปิดเผย แจ่มแจ้งชัดเจน หงายออก ไม่มีปิดบัง เป็นสวากขาตธรรม จึงไม่มีกำมือในธรรมะ ให้เราเป็นธรรมทายาท ให้เราปฏิบัติ “จงเป็นเจ้าของคำสอน อย่าเป็นเพียงผู้รักษาคำสอน” เจริญมรณสติ คือ พิจารณาความตายของตนเอง โดยเจริญพุทธานุสติ ระลึกถึงพระพุทธเจ้าช่วงก่อนปรินิพพาน เพื่อน้อมเข้ามาสู่การเจริญมรณสติของตัวเราเอง ให้เราระลึกว่าเหตุของความตาย คือ ความเกิด ทุกช่วงเวลาที่ผ่านไป ร่างกายมีเกิด-ดับอยู่ตลอดเวลา เกิด-ตาย เกิด-ตายอยู่ในเซลล์ร่างกายเราตลอดเวลา หากแต่เรารู้สึกเหมือนเดิมอยู่เพราะเป็นกระแส กระแสนี้จะถูกตัดลงได้ด้วยมัจจุมารซึ่งมีอยู่ทั่วไป แล้วเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ที่เกิดจากความตายมี 3 ประการ คือ 1. ทุกข์จากความกังวลว่าตายแล้วจะเป็นอย่างไร 2. ทุกข์ว่าต้องพลัดพรากจากของรัก 3. ทุกข์ว่าจะมีความเจ็บจากขบวนการตาย เราจักมีความสบายใจมากขึ้นจากทุกข์ทั้งสามข้อนี้โดย 1. การเร่งทำความดี ด้วยทาน ศีล ภาวนา เพื่อให้เราระลึกถึงกุศลธรรม 2. ให้เราพิจารณาความตายว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ซ้อมไว้ด้วยการปฏิบัติหลีกเร้นทำจิตใจให้สงบ ให้พึ่งตน พึ่งธรรม 3. หากมีทุกขเวทนา ปฎิบัติสมาธิเข้าฌานให้ลึก จนกระทั่งข้ามพ้นจากทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นทางกาย เข้าสู่อุเบกขาให้ได้ เราจักเป็นเป็นผู้ที่อยู่ผาสุกได้ แม้ความตายมาถึง

    นอนอย่างไรให้เป็นการภาวนา [6535-2m]

    Play Episode Listen Later Aug 29, 2022 59:27


    เจริญธัมมานุสติ คือ ใคร่ครวญไปตามธรรมะของพระพุทธเจ้า คือ มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง การนอนให้เป็นภาวนา ก่อนนอนต้องกำหนดจิตให้มีสติสัมปชัญญะ โดยภาวนาพุทโธ หรือดูลมหายใจ น้อมจิตไปเพื่อการหลับว่า “บาป อกุศล อย่าตามเราไป ผู้ซึ่งนอนอยู่” ให้มีกุศลธรรมในจิตใจ จิตจะปราศจากราคะ โทสะ โมหะ เวลาหลับไปแล้ว จิตจะมีสติ เพราะมีสติสัมปชัญญะ ตั้งแต่ก่อนนอน ก่อนหลับ ระหว่างหลับ และการตื่นนั้นจะเป็นสุข ไม่ฝันร้าย การนอน การหลับที่อยู่ในสมาธิ นั่นคือ การนอนแบบเป็นภาวนา จักเป็นการพัฒนาจิตได้ และร่างกายจะได้รับการพักผ่อน ยังรวมถึงการเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ก่อนนอน อานิสงส์ คือ หลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข ไม่ฝันร้ายจะมีเทวดารักษา รวมถึงการเจริญมรณสติว่า หากเรานอนครั้งนี้แล้วไม่ลุกขึ้นอีก บาปอกุศลอย่าตามเราไป จิตเราจะเป็นกุศล จะทำให้จิตเป็นสมาธิ มีการพัฒนาทางจิตใจ การนอนนั้นก็เป็นการภาวนาได้

    พลัดพรากให้เป็นธรรม ธรรมสังเวช [6534-2m]

    Play Episode Listen Later Aug 22, 2022 60:26


    พัฒนาจิตด้วยการเจริญพุทธานุสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า พลัดพรากให้เป็นธรรม ด้วยการมีสติ เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้นเป็นธรรมดา พิจารณาความทุกข์ทั้งปวง เกิดจากสิ่งนั้นมีความเปลี่ยนแปลง และเรายึดมั่นในสิ่งนั้นๆ ด้วยจิตที่ยังมี ราคะโทสะ โมหะ เกิดทุกข์ในที่สุด พอเราเจอเรื่องทุกข์แล้ว ให้มี “สติ สัมปชัญญะ” จะอดกลั้นเวทนาได้ด้วย “ธรรมสังเวช” หมายถึง ความร้อนใจที่พัฒนาจนอยู่เหนือสุขเหนือทุกข์ได้ โดยให้ตระหนักถึงสิ่งที่ควรรีบทำ ความตื่นรู้ถึงว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง จึงให้เป็นผู้มีความเพียร เร่งรีบปฏิบัติ ให้มีความกล้าเผชิญความจริง ไม่เผลอเพลินไป ให้รีบดับไฟ ไฟคือความเกิด ความเจ็บ ความแก่ ความตาย ไฟคือ ราคะ โทสะ โมหะ มันเผาเราอยู่แล้ว เราต้องรีบดับไฟนี้เสีย สมาธิ สติ ปัญญา ใช้ในการพัฒนาจิตของเราให้หลุดพ้นจากสังขาร การเปลี่ยนแปลง ความยึดถือต่างๆ เข้าใจแล้ว เราก็สบายใจได้ อยู่กับทุกข์ ก็ไม่ทุกข์ หรืออยู่เหนือสุขเหนือทุกข์ได้ นั่นเอง

    กินให้เป็นภาวนา [6533-2m]

    Play Episode Listen Later Aug 15, 2022 63:29


    โภชเนมัตตัญญุตา คือ การพิจารณาอาหารด้วยความแยบคายเป็นการใช้ปัญญา อานิสงส์นั้นได้ถึงการเป็นอนาคามี ในที่นี้ได้แยกการพิจารณาดังนี้ พิจารณาจากเวทนา เวทนาเก่าให้ลดหรือหายไป คือ ความหิว ความอยาก โรคภัยไข้เจ็บ เวทนาใหม่อย่าให้มี คือ ความอิ่มจนอึดอัด เวทนาใหม่ที่ระงับได้ เพราะอาหารบางประเภท แต่ต้องในปริมาณที่เหมาะสม โรคภัยใหม่ๆ ที่จากการกินเกินพอดีจากวัฒนธรรมน้ำจิ้ม ได้เปรียบการกินอาหารไว้กับอุปมา 3 อย่าง คือ อุปมาน้ำมันหยอดเพลาเกวียน ที่ใส่นิดเดียว ใส่มากไม่ดี ไม่ใส่ก็ไม่ได้ อุปมาผ้าปิดแผล ผ้าต้องพอดีเหมาะสม และอุปมาการกินเนื้อบุตร เห็นเป็นของปฏิกูล ไม่กินเพื่อเล่น ไม่กินเพื่อมัวเมา ไม่กินเพื่อตกแต่ง แต่กินเพื่อให้พอข้ามผ่านทางกันดารไปได้ เพื่อสะดวกต่อการประพฤติพรหมจรรย์  เทคนิคที่ใช้รับมือ คือ การนับคำทำให้จำกัดปริมาณ ไม่เกินต่อมอิ่ม กินมากเท่ากับฆ่าตัวตาย ก่อนกลืนให้นับครั้งการเคี้ยว จะทำให้รับรู้รสชาดได้เพิ่มขึ้นลดเวทนาใหม่ได้ และน้ำลายจะได้ลงไปช่วยย่อยในกระเพาะ นี้เป็นการฝึกสติสัมปชัญญะ นอกจากนี้ให้ระวังน้ำตาลตัวร้าย เพิ่มการทำ fasting สุดท้าย คือ การพิจารณาความเป็นปฏิกูลในอาหาร 10 ประการ

    เจริญกายคตาสติผ่านสรีรยนต์ [6532-2m]

    Play Episode Listen Later Aug 8, 2022 62:37


    พระพุทธเจ้าเป็นผู้ค้นพบการเข้าใจกายอย่างถูกต้องตามทางสายกลาง เข้าใจในรสอร่อย และโทษของมัน พร้อมกันนั้นได้ให้อุบายในการนำออก โดยการพิจารณาผ่านจักร 4 ทวาร 9 จักร คือ การหมุนวนเปลี่ยนแปลงไปในอิริยาบถทั้งสี่ตลอดทั้งวันทั้งคืน ทวาร 9 คือ ช่องให้ของไหลเข้าไหลออกเพื่อประกอบให้กายนี้อยู่ได้ ให้ใช้ปัญญาเห็นตามเป็นจริงในสรีรยนต์นี้  คำถามของเทวดาที่ถามพระพุทธเจ้าถึงการออกไปจากทุกข์จากสรีรยนต์ที่เต็มไปด้วยของไม่สะอาดจะมีได้อย่างไร พระพุทธเจ้าตรัสตอบถึงการกำจัด 4 อย่างที่จะนำออกไปจากทุกข์ได้ นั่นคือ กำจัดการผูกโกรธ กำจัดกิเลสเครื่องร้อยรัด ถอนตัณหา ขุดราก คือ อวิชชา โดยใช้อาวุธ คือ ความคม=ปัญญา กำลัง=สมาธิ และเล็งให้ถูก=สติ สับกายหมดแล้วก็ให้เห็นว่าอวิชชาอยู่ในจิตด้วย ให้เห็นจิตโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา การเห็นตรงนี้เป็นปัญญา ปัญญาเห็น อวิชชาจึงดับไป จิตจึงดับไป   

    แยกแยะแล้วเห็นด้วยปัญญา [6531-2m]

    Play Episode Listen Later Aug 1, 2022 59:44


    เจริญอานาปานสติ เพื่อให้พบปัญญา รูป-นาม หรือ กาย-ใจ เชื่อมต่อกันด้วยวิญญาณ คือ การรับรู้ สติอยู่ ณ จุดที่ลมหายใจมาสัมผัส เกิดสมาธิสงบระงับ แล้วเดินปัญญาต่อ ให้เห็นความไม่เที่ยง โยนิโสมนสิการ พิจารณา ไตร่ตรอง ในสมาธิ ให้เห็น “นิมิตของความไม่เที่ยง นั่นคือ เกิดปัญญา เกิดดวงตา เกิดแสงสว่าง” แต่กิเลส ตัณหามันเหนียว ต้องทำซ้ำ ทำย้ำ พิจารณาดูความไม่เที่ยงอีก แม้ลมหายใจเข้า-ออกก็ไม่เที่ยง ทุกสิ่งเป็นอนัตตา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เราไม่ควรยึดถือว่าเป็นตัวเราเป็นของเรา สติมีตลอดกระบวนการ เห็นปัญญาตรงนี้บ่อยๆ เราจะ “วาง” ได้

    แยกจิต มโน วิญญาณ ด้วยสติ [6530-2m]

    Play Episode Listen Later Jul 25, 2022 61:50


    เจริญอานาปานสติ โดยการสังเกต และตั้งสติไว้ที่ลมหายใจ ตั้งสติ คือ การแยกแยะ สังเกต จัดระเบียบความคิด ในช่องทางใจ เปรียบเหมือนผูกสัตว์หกชนิด ไว้ที่เสา สัตว์หกชนิดเปรียบเหมือน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่ผูกไว้กับ “เสา คือ สติ” เพื่อไม่ให้จิตไปเสวยอารมณ์ สุข ทุกข์ เผลอ เพลิน การ “เสวยอารมณ์” ไปหลงคิดว่าเป็นความคิดของฉัน เป็นสุขของฉัน เป็นทุกข์ของฉัน เป็นตัวฉัน เพราะเข้าใจผิดคิดว่า ความนึกคิด จิต มโน วิญญาณ คือ สิ่งเดียวกัน คือ ก้อนเดียวกัน หากแต่ พอ “สติมีกำลัง” จากการฝึกสังเกตบ่อยๆ จะก่อให้เกิดกระบวนการแยกแยะว่า ธรรมารมณ์ (ความคิดนึก) กับจิต ไม่ใช่อันเดียวกัน สังเกตุแยก “รูป-นาม” ได้ (สิ่งที่ผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) โดยมีวิญญาณเป็นธาตุรู้ที่เชื่อมต่อสิ่งภายนอกเข้าสู่ใจ ผ่านทางช่องทางใจหรือมโน และมีจิตเข้าไปเกี่ยวข้อง แต่ไม่เสวยอารมณ์นั้นๆ เพราะแยกกันออกแล้ว “เราจึงแยกแยะ ธรรมารมณ์ จิต มโน วิญญาณ ได้ด้วย สติ” พอมีการแยกแยะแล้ว จิตก็ “ระงับ ไม่สะดุ้ง-สะเทือน”ไปตามอารมณ์ นั่นคือ จิตเป็นสมาธิแล้ว

    ละเอียดจนไม่เหลืออะไร [6529-2m]

    Play Episode Listen Later Jul 18, 2022 59:16


    เจริญอานาปานสติไว้ที่ลมหายใจ, สติคือการแยกแยะ แยกแยะผัสสะที่เข้ามากระทบ เป็นไปเพื่อการล้างกิเลสออก เพราะจิตหวั่นไหวขึ้น-ลง เสวยอารมณ์สุข-ทุกข์ ผ่านทางผัสสะที่มากระทบ, เราจึงต้องมีการจัดระเบียบในช่องทางใจด้วย “สติ”, ผลที่ได้คือ “ความละเอียด” หรือ การปรุงแต่งทางกายและจิตระงับ, เปรียบเหมือน ช่างทองล้างแล้วล้างอีก จนกว่าจะได้ทองคำ, “สติ วิญญาณ จิต กิเลส” ละเอียดลง ให้รู้เท่าทัน, เพื่อป้องกันการกลับกำเริบของกิเลส หรือการเผลอสติ เพราะจิตยังมี “อวิชชา” ข้อปฏิบัติที่ละเอียดลงคือปฏิบัติตามทางมรรคมีองค์แปดจะค่อย ๆ กำจัด อาสวะกิเลส จากกิเลสอย่างหยาบจนถึงกิเลสอย่างละเอียด ทำซ้ำ ทำย้ำ สับให้ละเอียดจนไม่เหลือเงา ไม่เหลือรากของอวิชชา ให้เห็นตามความเป็นจริงของสิ่งต่างๆ ความเป็นอนัตตา ซ้ำๆ ย้ำๆ สับลงไป มันจะเกิดความเบื่อหน่าย คือ “นิพพิทา” ใช้ “ปัญญา เห็นตามความเป็นจริง เห็นความไม่เที่ยง เห็นการปรุงแต่ง” แม้จิตก็ไม่เที่ยง แล้ว “วาง” ซะ จิตเราจะพ้น คือ วิมุตติ เป็นจิตที่หลุดพ้นแล้ว เป็นจิตที่ยินดี ร่าเริงไม่หวาดสะดุ้งสะเทือน ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนนั้นเทียว.

    จงเป็นธรรมทายาท อย่าเป็นคนสุดท้าย [6528-2m]

    Play Episode Listen Later Jul 11, 2022 59:46


    เจริญอานาปานสติ ตั้งสติให้ระลึกถึงลมหายใจ จิตจะค่อยๆรวมลงๆ เกิดปัสสัทธิ คือความสงบระงับเป็นอารมณ์อันเดียว เกิดเป็นสมาธิ พระพุทธเจ้าท่านทรงเตือนเพื่อให้เราคอยตรวจตราจิตใจเรา อยู่สามข้อคือ ให้เราเป็น “ธรรมทายาท” อย่าเป็นอามิสทายาท, อย่าทำตัวเป็นศัตรูหรือปฏิปักษ์ แต่ให้ทำตัวเป็น “มิตรหรือมีความสอดคล้องกับพระพุทธเจ้า”, อย่าเป็นคนสุดท้าย แต่ให้เป็นคนที่จะสืบต่อธรรมะต่อไปด้วย “สติ” ท่านทำให้เป็นเหมือนกระจกเงา ให้เราพิจารณาตัวเราตลอดเวลา แม้ถูกกิเลสมารตัดออกไป เราก็ยังสืบต่อความดีด้วย “สติ”ตั้งมั่นใหม่ ไม่เป็นคนสุดท้าย จะมีเมตตา กรุณา อุเบกขา ต่อไปเรื่อยๆ เมื่อเราเป็น “มัคคานุคาคือผู้เดินตามมรรค” เราก็จะเป็นผู้รับมรดกทางธรรมเป็นธรรมทายาท ได้ลิ้มรส “อมตะธรรมคือพระนิพพาน” ของพระพุทธเจ้าได้ ให้เราประคองรักษาจิต รักษาสติ อยู่อย่างนี้ได้ตลอดทั้งวัน แล้วให้เห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามที่ความเป็นจริงในสิ่งต่าง ๆ ว่า “นั่นไม่ใช่ตัวเรา นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา”

    สังโฆคือการปฏิบัติ [6527-2m]

    Play Episode Listen Later Jul 4, 2022 61:10


    ปฏิบัติภาวนาด้วยการระลึกถึงสังโฆ สังโฆคือผู้ปฏิบัติจนรู้แจ้ง ให้เราระลึกถึงคุณของสังโฆ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รู้แจ้งโลก ผู้เห็นทุกข์ คือ เห็นธรรม เข้าใจอริยสัจสี่อย่างแจ่มแจ้ง เปรียบเหมือน ปัจจันตนครที่มีเครื่องป้องกันเจ็ดปราการ โดยมีนายทวารหรือทหารยาม ฉลาด สามารถดี คือ มีสติ ห้ามไม่ให้คนที่ไม่รู้จักเข้า คือ สติรักษาไม่ให้อกุศลจิตแทรกผ่านประตูเข้ามา อนุญาตให้เฉพาะคู่ราชฑูต คือ สมถวิปัสสนา มาส่งสาสาส์น คือ การเห็นตามความเป็นจริงคือนิพพาน สู่เจ้าเมืองคือวิญญาณ โดยผ่านตามทาง คือ มรรคแปด เมื่อผัสสะมากระทบผ่านประตูทั้งหก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สติที่มีกำลังจะสังเกต แยกแยะ และก่อให้เกิด สมถวิปัสสนา เข้าสู่จิต เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงในผัสสะที่มากระทบ ทั้งรูป ทั้งนาม ขันธ์ทั้งห้าเป็นกองทุกข์ ไม่เที่ยง เป็นอนัตตา วิญญาณเมื่อได้รับข่าวสารที่เป็นวิชชาเรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ พ้น คือ วิมุตติ โดยมีนิพพานเป็นที่แล่นไปสู่ จิตก็หลุดพ้น คือ ดับเย็นเป็นผู้รู้อย่างแจ่มแจ้ง

    พลังสติ [6526-2m]

    Play Episode Listen Later Jun 27, 2022 61:43


    ฝึกพลังสติให้จิตใคร่ครวญไปในธรรม สติปัฏฐานสี่ คือ เห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม ฝีกให้ชำนาญในสติปัฏฐานสี่ จากการเพิ่มพลังสติ การเพิ่มพลังสติมีห้านัยยะ โดยผ่านสติปัฏฐานสี่ คือ เราจะแค่รับรู้ “สังเกต”เห็นเฉยๆ ในสติปัฏฐานสี่ ด้วยสติ, พอสติมีกำลังแล้วจิตจะ “แยกแยะ”, แล้วจิตก็ “แยกตัว” ออก ไม่ตามสิ่งต่างๆ นั้นไป, จิตนั้นก็สามารถเลือกได้ว่าจะตอบสนองอย่างไร นั่นคือ จิตมี “ทางเลือก”, ก็จะเกิด “พลังสติ” ห่อหุ้มจิตเอาไว้ พลังสติทำให้เกิดสมาธิ เมื่อมีสมาธิตั้งมั่นแล้ว เราจะต้องใช้ปัญญา พิจารณาเห็นความเกิดขึ้น ความดับไป, แม้จิตเราก็ไม่เที่ยง ไม่ควรที่จะเห็นเป็นตัวเรา เป็นของเรา “ละความยึดถือในกาย ในจิต” ให้เราอยู่กับสติ อยู่กับปัญญา, รักษาพลังสติ พลังปัญญา นี้ไว้ให้ดี.

    พุทโธ คือ กำลังใจ [6525-2m]

    Play Episode Listen Later Jun 20, 2022 60:04


    ปฏิบัติภาวนาโดยการระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ในความเพียรสูง และการใช้ปัญญาอย่างสูงของพระองค์ ความสำเร็จของท่านเกิดจากการใช้ปัญญาอยู่บนพื้นฐานของสมาธิ มีศีลเป็นบาทฐาน ขอให้เรามี ความหวัง คือ ศรัทธา ลงมือทำ คือ วิริยะ ตามเส้นทาง คือ มรรคมีองค์แปด คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ความสำเร็จเกิดขึ้นได้แน่นอน ปัญหา ความทุกข์ ความท้อใจ ความผิดหวัง คือ โอกาสให้เกิดความสุข ให้เกิดกำลังใจ ให้เกิดความหวัง ใช้สติจดจ่อเอาไว้ ให้เกิดปัญญาเห็น ความเกิด-ดับ ความไม่เที่ยง ให้ได้ ให้เราเร่งความเพียร คือ ต้องมีกำลังใจ ความหวัง ตั้งใจปฏิบัติในเวลานี้ ในเวลาที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น เวลาที่มีคำสอนของพระองค์หลงเหลืออยู่ และเราได้เป็นมนุษย์ จงอย่าประมาท

    ยอดธงแห่งผู้ประพฤติธรรม [6524-2m]

    Play Episode Listen Later Jun 13, 2022 57:48


    ฝึกปฏิบัติด้วยการระลึกถึงพุทโธ ธัมโม สังโฆ เพื่อให้เกิดสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ปัญญาจะเกิดขึ้น จะทำนิพพานให้แจ้ง ละอาสวะกิเลสได้ จิตตั้งอยู่กับพุทโธ ธัมโม สังโฆ ปักเป็นยอดธงเอาไว้ จิตจะไม่ไปสะดุ้ง สะเทือนกับการเปลี่ยนแปลง สติห่อหุ้มจิตเป็นเยื่อบางๆ ไว้ ไม่แปดเปื้อนกับสิ่งที่มากระทบ สติมีกำลัง ความระงับของอายตนะค่อยๆ เกิดขึ้น เกิดอารมณ์อันเดียว ปีติ ปราโมทย์ เกิดสัมมาสมาธิ เกิดทาง.. ที่จะต่อสู้กับกิเลส อาจมีความท้อใจบ้าง ให้แน่วแน่ที่ยอดธง คือ พุทโธ ธัมโม สังโฆ เป็นเกราะ เป็นที่พึ่ง จะเกิดปัญญาแทงตลอด ให้เห็นตามความเป็นจริง เห็นความไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของเรา เห็นความไม่เที่ยง เห็นความเป็นอนัตตา ได้

    ขันธ์ทั้งห้าเป็นของหนัก [6523-2m]

    Play Episode Listen Later Jun 6, 2022 60:42


    ฝึกปฏิบัติให้สติของเรากำหนดไว้อยู่ในกาย คือ กายคตาสติ พิจารณา “ทุกขสัญญา” คือการกำหนดหมายโดยความเป็นทุกข์ของสิ่งต่างๆ มองด้วยปัญญาจากสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ให้เห็น “ขันธ์ทั้งห้า” เป็นของทุกข์ ไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง ทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยาก เปลี่ยนแปลงตามเหตุปัจจัย แต่จิตของเราหลอกอยู่ให้เห็นว่า ขันธ์ทั้งห้าเป็น “สุขสัญญา” สุขจากการกินอิ่ม นอนหลับ เดินได้จนมีความเพลิน พอใจ ปรุงแต่ง รับรู้ เกิดอุปาทาน ยึดถือว่า ขันธ์ทั้งห้าเป็นของเรา เกิดตัณหาว่าต้องการให้มันเที่ยง นิจจัง แต่มันไม่เป็นอย่างนั้น ความทุกข์จึงเกิด ขันธ์ทั้งห้าไม่ใช่ของสุข ที่แท้มันเป็นของทุกข์ เราต้องไม่เพลิน พอใจ หลงยึดถือ มันไม่ใช่ของที่จะเป็นสาระแก่นสาร จะมาหาความเมา ความสุขในสิ่งที่เป็นของหนัก ในสิ่งที่เป็นของทุกข์ มันไม่ได้ เราต้องวาง “ของหนัก” คือ ขันธ์ทั้งห้า คือ ไม่ไปยึดถือทั้งสุขเวทนา และทุกขเวทนา สุขที่เหนือกว่าสุขเวทนา คือ สุขแบบเย็นๆ คือ นิพพาน มันชุ่มเย็นอยู่ในใจ ทำตรงนี้ให้ได้บ่อยๆ พิจารณาให้เห็นความยึดถืออยู่บ่อยๆ ใคร่ครวญ “ทุกขสัญญา” ตลอด เราจะเกิดความเข้าใจ เห็นความจริงว่า สิ่งที่มีสาระเป็นประโยชน์ คือ “อริยมรรคมีองค์แปด” คือ ปัญญา สมาธิ สติ ของเราเป็นสาระประโยชน์ เอามาปฏิบัติจะเป็นสิ่งที่พึ่งให้เกิดปัญญาอยู่ได้ตลอดทั้งวัน

    กิจที่ต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีกยังมีอยู่ [6522-2m]

    Play Episode Listen Later May 30, 2022 57:49


    ในการปฏิบัติตามทางที่มีองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่างเพื่อให้ได้ ‘สามัญญผล' นั้น ต้องอาศัยการปฏิบัติที่ละเอียดลึกซึ้งลงไปตามลำดับขั้นตอน เริ่มจากการมี ‘หิริโอตตัปปะ' เพื่อรักษาความประพฤติทางกาย วาจา ใจ การดำเนินชีวิต ไม่ยกตนข่มท่าน คือ เป็นไปเพื่อให้มี ‘ศีล' ที่บริสุทธิ์ยิ่งขึ้นนั่นเอง อย่างไรก็ตาม เท่านั้นยังไม่พอ สามัญญผลยังต้องอาศัย ‘ศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ' ได้แก่ การสำรวมในอินทรีย์ การรู้ประมาณในการบริโภค การประกอบตนอยู่ในธรรมอันเป็นเครื่องตื่น การมีสติสัมปชัญญะ และการอยู่ในเสนาสนะอันสงัด เพื่อรักษาจิตของเราให้สงบลงเป็นสมาธิ เพื่อทำความรู้ให้เกิดขึ้นโดย พิจารณาตามอริยสัจ 4 ให้เห็นถึงความเป็นของไม่เที่ยงแม้แต่ตัว ‘จิต' เอง เพื่อ ‘การปล่อยวาง' และตั้งอยู่กับ ‘สติ' เพื่อรักษาจิตที่เป็นสมาธินั้นไว้ให้ดี

    ตื่นท่ามกลางผู้หลับ....หลับท่ามกลางผู้ตื่น [6521-2m]

    Play Episode Listen Later May 23, 2022 59:44


    “ตื่นท่ามกลางผู้หลับ หลับท่ามกลางผู้ตื่น” หากเปรียบเทียบกับ ปุถุชนที่เต็มไปด้วยกิเลส หลับไปเพราะความประมาท เราถือว่าเป็นผู้ตื่น หากเปรียบเทียบกับพระอรหันต์ที่หมดกิเลสราคะแล้ว เรายังถือว่าเป็นผู้หลับอยู่ สติระลึกถึง “พุทโธ” สติอยู่กับพุทโธ สติก็มาเนื่องกับจิต จิตก็ได้รับการรักษาด้วยสติ เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้น สติที่รักษาจิตดีแล้วจะรับรู้ผัสสะ แต่ไม่ไปเกี่ยวเนื่องในผัสสะนั้นๆ คือ จิตสามารถแยกแยะ และแยกตัวจากอารมณ์ หรือสิ่งที่มากระทบได้ นั่นคือ “จิตที่สำรวม ระวัง” ได้ชื่อว่าเป็น “จิตที่ตื่นอยู่ ไม่ประมาท” ผู้มีสติ คือ “ตื่นแล้ว” หลับอย่างมีสติ ก่อนนอนให้ตั้งสติ ขอบาปอกุศลอย่าตามเราไปในขณะนอน เราจะไม่ฝัน พอไม่ฝัน ราคะ โทสะ โมหะก็ตามเราไปไม่ได้ และหากรู้ตัวให้ตื่นขึ้นทันที หรือเตรียมตื่นในขณะที่นอนหลับ อย่างนี้เรียกว่า มีสติสัมปชัญญะในการนอน ตื่นและหลับอยู่ ให้มี “สติ” ตลอดเวลา เมื่อจิตพัฒนาขึ้นๆ จะเกิด “ปัญญา” เห็นความไม่เที่ยงของจิตว่าเดี๋ยวสงบ เดี๋ยวฟุ้งซ่าน ไม่ควรที่เราจะยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเรา ปล่อยวาง ให้ “สติและจิต” อยู่ด้วยกันตลอด อยู่ในช่องทางใจที่มีการจัดระเบียบดีแล้ว ปัญญาก็จะเกิดขึ้น เห็นตามความเป็นจริง เราจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ตื่นอยู่ ไปตามทางที่มีองค์ประกอบแปดอย่าง จะทำให้รู้ถึงความตื่นอยู่เป็นขั้นๆ มีการพัฒนาการ รู้เห็นธรรมได้นั่นเอง

    ความทุกข์เกิดขึ้นเฉพาะตน [6520-2m]

    Play Episode Listen Later May 16, 2022 61:12


    “ความแก่ ความเจ็บ ความตาย” เป็นทุกข์ที่เกิดขึ้นกับทุกคน และเป็นสิ่งที่เกิดเฉพาะตน ไม่สามารถทุกข์แทนกันได้ “สติ” เป็นองค์ธรรมแรกที่สำคัญ ทำให้เราหลุดออกจากทุกข์ในวัฏฏะของ “ความแก่ ความเจ็บ ความตาย” ได้ สติเป็นทักษะที่ฝึกได้ เริ่มจากการ “ตั้งสติ” ระลึกถึงคุณตวามดีของ “พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์” ว่า “มีคุณมหาศาล เกิดขึ้นได้ยากมากๆ” จะช่วยทำให้จิตเราตั้งอยู่ใน “กุศลธรรม” ได้ตลอดเวลา ด้วยเหตุที่ว่า “เมื่อจิตตริตรึกคิดนึกไปทางใด จิตย่อมน้อมไปด้วยอาการนั้น” ดังนั้น เมื่อเราระลึกถึงพุทโธ ธัมโม สังโฆ สิ่งดีๆ ที่เป็นกุศลธรรม ปัญญา ความเพียร ความอดทน ต่างๆ จะมาครอบงำจิตใจของเรา อารมณ์ต่างๆ ที่เป็นอกุศล เช่น ความกังวลใจ ความทุกข์ จะครอบงำจิตใจเราไม่ได้ เมื่อมีสติอย่างต่อเนื่อง เราจะมีสมาธิ เกิดปัญญามองเห็นความแก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องปกติ เห็นความไม่เที่ยง จึงเป็นทุกข์ “เราจึงไม่ยึดมั่น” ทั้งกาย เวทนา ความรู้สึก ความนึกคิดต่างๆ รวมถึง จิตก็ “ไม่ใช่เรา” เพราะมันไม่เที่ยง เห็นอย่างนี้แล้ว “วางความยึดถือ วางความยึดมั่น” นั่นคือสบายแล้ว เกิดความรู้ คือ เกิด “วิชชา” อวิชชาก็ดับ

    ชัยชนะอันไม่กลับแพ้ [6519-2m]

    Play Episode Listen Later May 9, 2022 58:11


    ปฏิบัติภาวนาด้วยการเจริญอานาปานสติ เริ่มจากการตั้งสติ เพื่อให้เราฝึกทักษะการสังเกตอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก ลมหายใจ สังเกตุทั้งกายและจิต เพื่อการแยกแยะ มีสติแล้วสมาธิก็ตั้งมั่น จนเกิดปัญญาวุธ คือ ปัญญาที่เห็นทุกสิ่งในโลกนั้น เป็นสมมติ ไม่เที่ยง เป็นอนัตตา พิจารณาซ้ำๆ ลงไปก็จะเห็นตามความเป็นจริง เมื่อเกิดปัญญาวุธ เราจึงเห็นทุกสิ่งๆ มีแค่ “ธาตุ” เป็นองค์ประกอบ หาใช่ตัวเราไม่ หากแต่เรามีอุปาทานไปยึด ไปเกาะ ที่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เราจะกำจัดอุปาทานได้ เราต้องพิจารณาขันธ์ทั้งห้า ว่าไม่เที่ยง เป็นอนัตตา พิจารณาย้ำ ซ้ำลงไปอีก จนจิตคลายกำหนัด คลายความยึดถือ อุปาทานก็จะลอกออกๆ กิเลสจะลดลงๆ แต่เรายังไม่สามารถถอนราก เหง้าของกิเลส นั่นคือ “ตัณหา และ อวิชชา” ซึ่งอยู่ใน “จิต” ของเราได้ จนกว่าเราจะพิจารณาเห็น “ความไม่เที่ยงของจิต” บางทีก็เป็นประภัสสร บางทีก็เศร้าหมอง เมื่อไม่เที่ยง แม้แต่จิตเราก็ไม่เอา อวิชชา ตัณหาก็ดับ ความดับเย็น นั้นคือนิพพาน นั้นคือ “ชัยชนะอันไม่กลับแพ้” รักษาความชนะที่ชนะแล้วได้ดี ไม่มีความอาลัย เป็นผู้ไม่ติดถิ่นที่อยู่ (กิเลส) ด้วย “ปัญญาวุธ”

    เมื่อจะเกิด ทุกข์เท่านั้นย่อมเกิด เมื่อจะดับ ทุกข์เท่านั้นย่อมดับ [6518-2m]

    Play Episode Listen Later May 2, 2022


    ปฏิบัติภาวนาด้วยการเจริญอุปสมานุสติ คือ การพิจารณาระลึกถึงคุณพระนิพพาน คือ นึกถึงความระงับ สงบ เห็นความดับของสิ่งต่างๆ พิจารณาว่า ทุกๆ สิ่งล้วนแต่มี “ความเกิด ความดับ” เป็นธรรมดา ไม่ว่าจะเป็น ความคิด ลมหายใจ มรรค สมาธิ ปัญญา ศีล ขันธ์ทั้งห้า และอื่นๆ เราจะสังเกตุความดับได้ เราต้องมี “สติ” เมื่อมีสติ “เห็นเกิด เห็นดับ” เราก็จะเกิด “ปัญญา” เข้าใจสิ่งต่างๆ ว่า ทุกสิ่งมีทุกขลักษณะ คือ ไม่เที่ยง เป็นอนัตตา “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สี่งนั้นล้วนแต่มีความดับไปเป็นธรรมดา” “ทุกข์เท่านั้นแหละ มันเกิด ทุกข์เท่านั้นแหละ มันดับ” พิจารณาจนเกิดปัญญาหรือญาณในจิตใจ เราจะอยู่ในทางสายกลาง มีสัมมาทิฐิ คือ กิเลส ตัณหาลดลง เมื่อเรามีสติ ปัญญา รู้เห็นตามความเป็นจริง เราจะ “วาง” สิ่งเกิด-ดับ “วาง” สิ่งที่มีคุณสมบัติของความเป็นทุกข์ รวมถึงวางมรรคทั้งแปดด้วย นั้นคือ นิพพาน เราก็ออกจากทาง คือ ดับได้ เย็นได้

    สถานะที่ควรพิจารณาเนืองๆ [6517-2m]

    Play Episode Listen Later Apr 25, 2022 57:01


    ตั้งจิตพิจารณา “สิ่งที่ควรพิจารณาอยู่เนืองๆ” เพื่อว่าจะได้ไม่มัวเมา ไม่ประมาท ไม่เกิดความกังวลใจ ไม่เกิดอกุศล ป้องกันระมัดระวังไม่ให้เกิดมิจฉาวาจา มิจฉาอาชีวะ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาทิฐิ หยุดอกุศลธรรมทางกาย วาจา ใจ ได้ สิ่งที่ควรพิจารณาอยู่เนืองๆ ห้าอย่างนั้น คือ 1. เรามีความแก่เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้ 2. เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้ 3. เรามีความตายเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้ 4. เราจักพลัดพรากจากของที่รัก ของชอบใจทั้งหลาย 5. เรามีกรรมเป็นของๆ ตน เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น บางทีความมัวเมาเกิดจากการที่เรายินดีในความเป็นหนุ่ม-สาว ความไม่มีโรค ความมีชีวิตดี เพลิดเพลินกับของที่รัก แล้วพอเกิดเรื่องไม่ดี เราก็กังวลใจ เกิดอกุศลจิตเช่นความไม่สบายใจ แต่พอเราพิจารณาห้าอย่างนี้ ความมัวเมาในหนุ่ม-สาว ความไม่มีโรค ความมีชีวิตดี เพลินของรักชอบ ก็ลดลง ไม่กังวลใจ เบาใจด้วยการเห็นตามความเป็นจริง เราจะรักษาจิตที่เป็นกุศลธรรมได้ เมื่อเราพิจารณาห้าอย่างนี้อยู่เนืองๆ จนชำนาญ เราจะทำจิตให้อยู่เหนือจากความเป็นหนุ่ม-สาว ความแก่-ความเฒ่า ความเจ็บป่วย ความสบาย อยู่เหนือจากชีวิต อยู่เหนือจากความตาย ให้พ้นได้นั่นเอง อยู่เหนือ นั้นคือ “พ้น” พ้น คือ “วิมุตติ” เข้าสู่นิพพานได้นั่นเอง

    เวทนาใดๆ ย่อมประมวลลงในความทุกข์ [6516-2m]

    Play Episode Listen Later Apr 18, 2022


    “เวทนาใดๆ ก็ตาม เวทนานั้นๆ ประมวลลงในความทุกข์” ข้อนี้ พระพุทธองค์ทรงตรัสหมายถึง ความไม่เที่ยง ความเป็นของสิ้นไป ความเป็นของเสื่อมไป แปรปรวนไปเป็นธรรมดา แห่งสังขารทั้งหลายนั่นเอง เราปฏิบัติภาวนาเพื่อให้จิตเป็นสมาธิ เพื่อให้เกิด “ปัญญา” เพื่อเอากุศล ไม่เอาอกุศล นั่งสมาธิไม่ได้เอา “สุขเวทนา” ปุถุชนทั่วไป เทวดา สัตว์นรกต่างก็ “รักสุข เกลียดทุกข์” จิตเราจะ “เสวยเวทนา” ทั้งสุข ทุกข์อยู่ร่ำไปจากการ “คิดชั้นเดียว ไม่มีตา” การยึดเอาสุขเวทนาเป็นที่พึ่ง ยิ่งทำให้เราถูกพัดพาไปในกระแสแห่งตัณหา เราจะยิ่งเจอทุกข์มากขึ้น แต่หากเราเริ่มจากศีลห้า เราจะคิดขึ้นไปอีกชั้น เลือกแต่กุศล นั่นคือ เรามีดวงตา มีปัญญาเพิ่มขึ้น แต่เราก็ยัง “ติดในสุข ทุกข์” มันก็ยังพ้นจากสุข ทุกข์ไม่ได้ เราต้องมีดวงตาที่สอง คือ มี “ปัญญา” เพื่อมองให้เห็นตามความเป็นจริงว่า ทุกขลักษณะมีในทั้งสุขและทุกข์ คือ ไม่เที่ยง ดังนั้น “เราไม่เอาเวทนาทั้งสุขและทุกข์” แต่เราจะ “เอากุศล ไม่เอาอกุศล” นั่นคือ เรามีปัญญา มีความผาสุกได้ทุกที่ คือ “อยู่เหนือสุขเหนือทุกข์” ซึ่งเกิดจากจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ เราเห็นได้ด้วยปัญญาว่า สิ่งที่เป็นที่พึ่งได้ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สติปัฏฐานสี่ เอาศีล สมาธิ ปัญญา เป็นแพ เป็นทาง คือ มรรคมีองค์แปดอย่างนี้ จะทำให้จิตเราผาสุก เย็น คือ ข้ามฝั่งไปนิพพานได้

    บรรณาการคือพัฒนาการ [6515-2m]

    Play Episode Listen Later Apr 11, 2022 60:44


    ปฏิบัติภาวนาด้วยการเจริญธัมมานุสปัสสนาสติปัฏฐาน โดยใช้เครื่องบรรณาการ, เครื่องบรรณาการหมายถึง การให้...เพื่อให้จิตเกิด “พัฒนาการ” เริ่มจากการปลูก การสร้าง “ศรัทธา” ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่น พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ หรือ บุคคลที่ปฏิบัติดี เป็นเครื่องบรรณาการให้จิตมีการพัฒนาในการเข้าไปหาสิ่งนั้น ๆ, เมื่อเข้าไปหาสิ่งนั้น ๆ จิตเราจะพัฒนาให้เข้าไปนั่งใกล้, เมื่อเข้าไปนั่งใกล้เป็นเครื่องบรรณาการ จิตจะเงี่ยโสตลงหรือตั้งใจฟังซึ่งธรรมะมากขึ้น ๆ, เมื่อเงี่ยโสตฟังธรรมมากขึ้น จิตเราย่อมทรงไว้ซึ่งธรรมะนั้น ๆ ได้, เมื่อจิตทรงไว้ซึ่งธรรมะนั้นได้ จิตเราจะพัฒนาใคร่ครวญเนื้อความธรรมะนั้น ๆ, เมื่อพิจารณาธรรมะนั้น ๆ จิตจะพัฒนางอกเงยให้ธรรมะนั้น ทนต่อการเพ่งพิสูจน์ได้, เมื่อธรรมะนั้น ๆ ทนต่อการเพ่งพิสูจน์ได้ จิตเราจะเกิดความพอใจ หรือ ฉันทะ, ก่อให้เกิดความอุตสาหะ, ความอุตสาหะ จะทำให้มีการพิจารณาหาสมดุลแห่งธรรมนั้น, เมื่อมีความสมดุลในธรรม จิตจะพัฒนาในการตั้งมั่นในธรรม เพื่อความต่อเนี่องอย่างเป็นระบบ.. เมื่อจิตเราตั้งมั่นในธรรม แลัวมีพัฒนาการอยู่เรื่อย ๆ เราจะสามารถตามรู้ซึ่งความจริงได้ เราจะสามารถบรรลุซึ่งอริยสัจ เข้าถึงธรรม นำธรรมะเข้าสู่ใจได้ “ทำให้มาก เจริญให้มาก” ว่าด้วยพระสูตรจังกีสูตร 

    การล็อคสองชั้นของจิต [6514-2m]

    Play Episode Listen Later Apr 4, 2022


    ปฏิบัติภาวนาด้วยการเจริญจิตตานุสปัสสนาสติปัฏฐาน เพื่อให้เห็นจิตในจิต เริ่มจากตั้งศรัทธาไว้ใน “พุทโธ ธัมโม สังโฆ” จิตจะน้อมไปในเจตนาดี มีศรัทธานั่นคือเรามีสัมมาทิฐิ, สัมมาวายามะ แล้วเราก้าวสู่ความปกติคือมี “ศีล” ทันที คือเป็นสัมมากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะ, สัมมาวาจา “ศีล” เป็นเครื่องมือแรกที่เราจะเข้าไปหา “จิต” เพื่อทำให้ กาย,วาจา สงบ ระงับ ส่วนทางใจต้องไม่ประมาทโดยการ “มีสติ” เพื่อให้สติอยู่กับจิตตลอดเวลา สติคือการแยกแยะ แจกแจง ในผัสสะ, ธรรมารมณ์ต่างๆที่เขามากระทบจิตที่ผ่านทางอายตนะทั้งหก หากเรามีสติเรื่อยๆ สติจะมีกำลัง ขณะนั้นใจมีความสงบระงับ เป็นประภัสสร เป็นสมาธิ เราก็จะเห็นจิตของเรา และพบว่า จิตเรามี “อวิชชา” ทำให้มีการปรุงแต่ง(สังขาร)ของจิตตลอดเวลา เกิด “ภพ สภาวะ”เพราะความยึดมั่น จิตก็จะก้าวลงในสิ่งนั้น เกิดทุกข์ จาก “อวิชชาที่หลอกจิตให้ปรุงแต่งอยู่ร่ำไป” นี่คือ “จิตหลอกชั้นที่หนึ่ง” หากเรามีสติตั้งมั่น สัมมาสติ สัมมาสมาธิเกิด, “วิชชา” ความรู้ก็เกิดขึ้นว่า “จิต..ไม่ต้องไปปรุงแต่งสิ่งต่างๆก็ได้” เมื่อไม่ปรุงแต่ง สังขารดับ “องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ หรือ โพชฌงค์” ก็เกิด อวิชชาหลอกจิตชั้นที่สองว่า จิตคือตัวตนของเรา คิดว่าจิตเป็นอัตตา หากแต่ “จิต” เป็นไปตามเงื่อนไข เหตุ ปัจจัย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์, ดังนั้น “จิตเป็นอนัตตา” จิตเป็นของโลก ไม่ใช่ของเรา แล้วทำอย่างไรเล่า ก็ “ให้ละ ให้วางจิต” เพื่อไปสู่ทาง “พระนิพพาน” ทางนี้ ทางเดียว.

    ที่ดำเนินไปของจิต [6513-2m]

    Play Episode Listen Later Mar 28, 2022


    ปฏิบัติภาวนาด้วยการเจริญธัมมานุสติ ธรรมชาติของจิตไปได้ไกล เร็ว เหมือนลิงจับกิ่งไม้โหนตัวไปมา หากจับกิ่งไม้ไม่ดี ก็ร่วงหล่นได้รับอันตราย ดังนั้น ที่ดำเนินไปของจิตจึงมีความสำคัญ หากจิตที่ไม่ได้รับการรักษา เวลามีสิ่งมากระทบจิตก็จะวุ่นวายขึ้น-ลง หวั่นไหวไปตามเรื่องนั้นๆ ท่านเปรียบจิตของเรา หากออกนอกที่ที่มันควรจะอยู่ ไปในที่ที่ไม่ควรไป จิตของเรามีปัญหาแน่นอน ต้องระมัดระวัง ดังเช่น นกมูลไถ นกเหยี่ยว และลิงโง่ ที่เกิดอันตรายไปในที่ที่ไม่ใช่วิสัยของบิดาตน ที่ที่จิตไม่ควรเที่ยวไป คือ ความคิดทางกาม พยาบาท เบียดเบียน สิ่งที่ไม่ควรทำ นั่นคือการผิดศีล สิ่งที่ไม่ควรมี นั่นคือ เรื่องนิวรณ์ เรื่องอกุศลธรรมทั้งหลาย อย่าให้จิตของเราไปทางนั้น ควรมีสัมมาทิฐิ (แยกแยะดีชั่ว ถูกผิด) มีสัมมาสติ (ระลึกได้ว่าสิ่งใดดีชั่ว ไม่เพลิดเพลิน หลงมัวเมา) และมีสัมมาวายามะ (ความเพียร) รักษาจิต ตริตรึกน้อมไปทางกุศลยิ่งขึ้นๆ, สัมมาสังกัปปะ (ความคิด ดำริที่จะออกจากกาม ความคิดไม่พยาบาท ไม่ปองร้าย ไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น) ก็เพิ่มขึ้นๆ มีเมตตาต่อกัน เพียรไปในทางกุศลทั้งกาย วาจา ใจ เปรียบตัวเราเหมือนช้างที่กำลังฝึก คำสอนหรือพระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนควาญช้างที่ฝึกจิตของเราให้ไปตามทางมรรค 8 ให้เห็นอริยสัจสี่ ให้ไปในที่ที่ไม่เคยไป คือ เข้าถึงพระนิพพานอย่างอดทน

    หนทางเอกในการล่วงทุกข์ [6512-2m]

    Play Episode Listen Later Mar 21, 2022 58:44


    ปฏิบัติภาวนาด้วยการเจริญธัมมานุสติ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราสัมผัสทั้งหมด ทั้งรูป-นาม ล้วนแต่มีเหตุ มีปัจจัย มีเงื่อนไข ต้องอาศัยสิ่งนี้ ต้องอาศัยสิ่งนั้นเกิด เป็นกฎธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว จึงมีความเป็น “อนัตตา” ไม่มีตัวตน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ คือ ความทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยาก เกิดทุกข์ที่ทนได้ยาก คือ ความทุกข์ และทุกข์ที่ทนได้ง่าย คือ ความสุข เหตุของทุกข์ คือ ตัณหา ความทะยานอยาก เมื่อเกิดผัสสะ ก็เกิดเวทนาความรู้สึก ยินดี ยินร้าย และเกิดตัณหา จิตเกิดความอยากมี ความอยากไม่มี จิตจึงเข้าไปยึดถือ คือ อุปาทานในสิ่งนั้น เกิดทุกข์ลงที่ “ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ” ไม่ได้เกิดที่ไหน จนเราคิดว่าเป็นตัวเรารู้สึกทันที เกิดเป็นภพ เป็นสภาวะ ผัสสะเกิดที่ไหน จิตอยู่ที่นั่น จิตอยู่ที่ไหน ความทุกข์เกิดที่นั่น ความทุกข์เกิด เพราะมีความทะยานอยาก ตัณหา มีความยึดมั่นถือมั่น อุปาทานในสิ่งที่เป็นขันธ์ห้าทั้งหมด เกิดเป็นตัวตน คือ สภาวะ สภาวะแห่งการสั่งสม เหตุเกิดเพราะอวิชชา ความไม่รู้ครอบงำจิต เข้าใจว่าทุกสิ่งเป็นอัตตา เป็นสุข เที่ยง จึงเกิดเป็น “สังสารวัฏ” เปรียบเสมือนกรงขังเราอยู่ ที่ไม่รู้เวลาออก ถูกรัดตึงด้วยตัณหา ครอบงำด้วยอวิชชา วนไปวนมานับไม่ถ้วน พระพุทธเจ้าทรงค้นพบสิ่งที่มีอยู่ ความตั้งอยู่เป็นธรรมดา “ธัมมัฏฐิตตา” ความตั้งอยู่เป็นธรรมชาติ “ธัมมนิยามตา” ความที่เมื่อมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น “อิทัปปัจจยตา” พระพุทธเจ้าทรงใคร่ครวญทางพ้นทุกข์ ในธรรมะ คือ สติปัฏฐานสี่ คือ สติสัมโพชฌงค์ หนึ่งในองค์ธรรมตรัสรู้ เกิดสัมมาสติ มีความเพียร คือ สัมมาวายามะ ตั้งจิตไว้ในจิตที่ถูกต้องมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัมปะ ศีลครบก็เกิดสัมมาอาชีวะ สัมมากัมมันตะ สัมมาวาจา จิตเริ่มระงับลงๆ จนเกิดเป็นสัมมาสมาธิ เกิดพร้อม ถึงพร้อมองค์ประกอบอันประเสริฐแปดอย่าง ที่เป็นทางสายกลางไม่แล่นไปสุดโต่งสุขหรือทุกข์ เป็นคำสอนที่เราปฏิบัติได้ มีอยู่ตามธรรมชาติ ปฏิบัติตามเพื่อความถึงพร้อม รู้พร้อม คือ มัชฌิมาปฏิปทา ทางเอกในการเข้าสู่พระนิพพาน

    การเห็นแจ้งธรรมตามลำดับบท [6511-2m]

    Play Episode Listen Later Mar 14, 2022 59:31


    ปฏิบัติภาวนา ด้วยการเจริญอานาปานสติ มีสติอยู่กับลมหายใจ จนจิตสงบระงับเพื่อสังเกตเห็นผัสสะที่เข้ามา เห็นการเปลี่ยนแปลงของจิตที่มีเวทนาสุข ทุกข์ ไม่สุข-ไม่ทุกข์ เพื่อให้เข้าถึงปัญญาว่า ผัสสะที่เข้ามากระทบนั้นไม่เที่ยง ผ่านทางกายที่ไม่เที่ยง เวทนาที่เกิดขึ้นในจิตนั้นจึงไม่เที่ยง เกิดวิชชาขึ้นทันที เห็นความดับไปของอวิชชา ลดการสั่งสมของอวิชชาอาสวะออกจากจิตเรา พอสั่งสมไม่ได้ อวิชชาอาสวะก็ค่อยๆ หลุดออกไป ดังนั้นหากเราเข้าใจถูก มันจะไม่เกิดสภาวะแห่งการสั่งสมของอวิชชา มันก็ดับลงไปได้เองนั่นแล แต่หากผัสสะที่เข้ามากระทบเป็นเหตุเป็นปัจจัยเกิดเวทนาที่ช่องทางใจ มันก็จะสั่งสมเป็นอาสวะอยู่ที่จิต เกิดเป็นความพอใจ เกิดตัณหา เกิดกามสวะ เกิดความไม่อยากได้ ก็เกิดการสะสมภพ เกิดภวาสวะ เกิดความไม่รู้ ไม่เข้าใจในผัสสะเวทนานั้น มันก็จะเข้าไปสะสมในจิตเกิดอวิชชาสวะ สภาวะแห่งการสะสมก็คือ จิตมีความไม่รู้ไม่เข้าใจ สั่งสมสิ่งที่เป็นกาม ภพ อวิชชา ต่อไปๆ พระพุทธเจ้าทรงเทศนาเรื่องเวทนา ทรงโปรดปริพาชกชื่ออัคคิเวสสนะ พระสารีบุตรนั่งถวายงานพัดอยู่ ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ของพระพุทธองค์ ได้ฟังเทศนานั้น ท่านฟังด้วยจิตที่เป็นสมาธิ ด้วยปัญญาที่มีมากของพระสารีบุตร ท่านฟังนัยยะที่พระพุทธเจ้าทรงเทศนาเรื่องเวทนา ท่านสามารถแยกแยะ แตกฉาน ท่านเห็นในสมาธิกว้างขวางออกไปได้ถึง 16 อย่าง และลึกลงไปในรายละเอียดได้ถึง 7 อย่าง ในแต่ละชั้นฌานสมาธิ จึงได้สำเร็จพระอรหันต์ ท่านพระสารีบุตรด้วยความที่มีปัญญามาก ท่านพิจารณาใคร่ครวญแต่ละจุดๆ เห็นแจ่มแจ้งเหมือนกันหมดว่าสิ่งใดที่ไม่เคยมีมา ด้วยเหตุที่มันปรุงแต่งมา สิ่งที่มีมา ตั้งอยู่คงอยู่ ด้วยเหตุที่มันยังอยู่ มันยังคงไว้ สิ่งที่มันมีมาตั้งอยู่แล้ว บางทีมันก็เสื่อมไป ตั้งหายไป ตามเหตุที่มันเปลี่ยนไปดับไป เกิดมีอยู่ขึ้นมา จากเดิมที่มันก็ไม่ได้มีมา มีมาอยู่ดีแล้ว ตั้งไว้ บางทีก็เสื่อมไป ทุกอย่างล่วนมีเหตุปัจจัย เกิดขึ้นได้ไม่เพียงแต่เวทนา ยังเกิดกับสัญญา จิตที่เป็นหนึ่ง (เอกัคคตา) สุข ปีติ วิตก วิจาร วิญญาณ ฉันทะ ความเพียร สติ อุเบกขา อภิโมกข์...ว่า 1. มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา (อนิจจัง) 2. เป็นของปรุงแต่ง (สังขตะ) 3. เป็นของอาศัยการเกิดขึ้น (ปฏิจจสมุปปันนธรรม) 4. มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา (วยธรรมา) 5. มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา (ขยธรรมา) 6. มีความจางคลายเป็นธรรมดา (วิราคะธรรมา) 7. มีความดับเป็นธรรมดา (นิโรธธรรมา) ท่านเห็นได้กำหนดตามลำดับบททั้งที่มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แบบนี้ 7 อย่าง ใน 16 อย่างนี้ จึงเกิดอริยะปัญญา ปัญญาที่เป็นของประเสริฐของพระอริยเจ้า เห็นความไม่เที่ยงซ้ำๆ ในฌานอย่างละเอียดลึกลึ้งจึงเบื่อหน่าย คลายกำหนัด เกิดนิพพิทา และปล่อยวาง วิมุตติ (ความพ้น) จึงเกิดขึ้น

    ละสุข 4 เพื่อสุข 4 ยังให้เกิดปัญญาผล 4 [6510-2m]

    Play Episode Listen Later Mar 7, 2022 57:29


    “กามสุขัลลิกานุโยค” การหาความสุขจากกาม เป็นความสุขน้อย ทุกข์มาก เป็นความสุขที่เป็นมิจฉาทำให้กิเลสพอกพูน เป็นการกระทำที่ยังต่ำ เป็นของชาวบ้าน ปุถุชน ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน จึงเป็นสิ่งที่ควรละเสีย เราจึงควรมาหาความสุขในทางที่หลีกออกจากกาม โดยการมีศีลให้ครบบริบูรณ์ โดยเริ่มจากศีลห้า คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดปด เพ้อเจ้อ คำหยาบ ส่อเสียด ไม่เสพสุรายาเสพติด เมื่อเรารักษาศีลได้ กามจะไม่มาบีบคั้นเราได้ เราจึงมีจิตใจผาสุก ไม่ร้อนใจ การที่จะรักษาศีลอย่างสม่ำเสมอ ไม่ขาด ไม่ด่างพร้อย เราต้องระลึกถึงศีลอยู่ตลอด เรียกว่า “สีลานุสติ” ควบคุมจิตใจตนเองให้อยู่ในกรอบของศีล บาปอกุศลจะค่อยๆ ถูกปลดออกจากใจ เราจะสบายใจ ไม่ร้อนใจ เกิดปิติ พอมีสติที่เกิดจากการระลึกถึงศีลของตนเป็นประจำ จิตก็จะระงับลงๆ จนจิตเข้าเป็นอารมณ์อันเดียวได้ คือ สมาธิ เป็นจิตที่สงัดจากกาม พยาบาท เบียดเบียน จิตก็จะเป็นปีติ สุข เป็นความสุขที่เหนือกว่ากาม เกิดสัมมาทิฏฐิแต่มันก็ยังเกี่ยวข้องกับสุข-ทุกข์ จุดประสงค์ คือ เพื่อให้เราจะอยู่เหนือสุข-ทุกข์ เราจึงต้องมีทั้งสุขและทุกข์ และต้องมองให้เห็นตามความเป็นจริง เมื่อเราไม่หากามสุขไปในกาม 4 อย่างด้วยการผิดศีลแล้ว หลีกออกจากกาม เราจึงมีสุขที่เกิดจากภายใน จากจิตที่ระงับจนเกิดสุขจากฌานสมาธิ 4 ขั้น และอานิสงส์ผลที่ได้ คือ ปัญญา ปัญญาก็จะออกผลออกมาเป็น 4 อย่าง คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล ปัญญาเป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อความรู้พร้อม เป็นไปเพื่อนิพพาน

    เหนือความวุ่นวายขัดข้อง ถึงซึ่งความสงบแบบไม่กลับกำเริบ [6509-2m]

    Play Episode Listen Later Feb 28, 2022


    ปฏิบัติภาวนา ด้วยการเจริญอานาปานสติ สติระลึกอยู่ที่ลมหายใจ เพื่อให้จิตสงบระงับ ปฏิบัติตามสติปัฏฐานสี่ กาย เวทนา จิต ธรรม เพื่อให้เกิดความพ้น พระพุทธเจ้าทรงสอนวิธีที่จะพ้นจากความวุ่นวาย ความขัดข้องใจแก่ ยสกุลบุตร ซึ่งแม้ยสกุลบุตรได้รับการปรนเปรอด้วยกาม ความกำหนัด ความพอใจอย่างมากมายก็ยังมีความวุ่นวาย ความขัดข้อง ความไม่สงบอยู่ในใจ หนทางที่จะไปถึงความไม่วุ่นวาย ความไม่ขัดข้อง ความสงบ คือ มรรคมีองค์แปด นับตั้งแต่ การตั้งสติมั่นเป็นสัมมาสติ เกิดศีล สมาธิ ปัญญา มีความเพียร ความระลึกชอบ ต้องเห็นโทษของนาม-รูป ขันธ์ทั้งห้า เห็นโทษในกาม เห็นโทษในสิ่งต่างๆ พิจารณาไตร่ตรองให้เกิดปัญญา เห็นโทษของความไม่เที่ยง ทำวิชชา คือ ความรู้ให้เกิดขึ้นเพื่อที่จะวาง ละความยึดถือยึดมั่น ก็จะอยู่เหนือความวุ่นวาย ความขัดข้อง ความไม่สงบนั้นได้

    การเจริญเทวตานุสสติ [6508-2m]

    Play Episode Listen Later Feb 21, 2022 58:30


    ปฏิบัติภาวนา ด้วยการเจริญเทวตานุสสติ ระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของเทวดาและของตนเอง เพื่อให้มีความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม จิตเป็นสมาธิ ตั้งมั่นมีความสุขอยู่ภายใน เจริญกุศลจิต เห็นสัมมาทิฐิได้ เมื่อปฏิบัติไปเรื่อยๆ จิตสงบ ระงับจากตัณหา ระงับจากความอยาก ความทุกข์ลดลง จิตใจแจ่มใสมากขึ้น ปัญญาเพิ่มขึ้น ศรัทธามากขึ้น ศีลดีขึ้น ฟังธรรมมากขึ้น บริจาค ละมากขึ้น กิเลสตัณหาก็ลดลง จิตดำเนินไปตามทางมรรคมีองค์แปด จิตตั้งตรง ดำรงอยู่ได้ มีความรู้ อรรถะธรรมะมากขึ้น ระลึก รู้สติในความดี และพัฒนาจิตให้บริสุทธิ์ขึ้นได้ ด้วยการเจริญเทวตานุสสติ ระลึกถึงความดีของเทวดา

    โทษของกาม 10 โทษของขันธ์ 5 และธัมมุทเทส 4 [6507-2m]

    Play Episode Listen Later Feb 14, 2022 54:22


    ปฏิบัติภาวนาด้วยการเจริญธัมมานุปัสสนาสติ โดยการระลึกถึงคุณพระธรรมของพระพุทธเจ้า พิจารณา ”อาทีนวะ” คือ พิจารณาความเป็นโทษ · โทษของกาม 10 ประการ คือ พระพุทธเจ้าทรงตรัสอุปมาโทษของกามไว้เพื่อให้ละความกำหนัด ยินดีในกาม และเห็นโทษของกามว่า 1. เหมือนสุนัขหิวแทะท่อนกระดูก คือ ยิ่งแทะ ยิ่งเหนื่อย อร่อยแต่ไม่เต็มอิ่ม มีความสุขเพียงชั่วครู่หากแต่ไม่อิ่มไม่พอ 2. เหมือนชิ้นเนื้อที่แร้งหรือเหยี่ยวคาบบินมา คือ ต้องถูกแย่งชิงโดยนกกาตัวอื่น ต้องต่อสู้ปกป้องตลอดเวลา เกิดความเบียดเบียนเพื่อให้ได้สิ่งนั้นมา ต้องคอยระวังหวงกั้นไม่ให้สิ่งนั้นหายไป 3. เหมือนคบเพลิงหญ้า ถือได้ไม่นานก็ต้องทิ้งไป มิฉะนั้นจะไหม้มือ แถมถูกควันไฟรมเอาตลอดเวลาที่ถือ 4. เหมือนหลุมถ่านเพลิง อันร้อนระอุ ไฟสุมอยู่ภายใน 5. เหมือนฝันดี ตื่นมาแล้วหาย 6. เหมือนของที่ยืมเขามาแล้วต้องคืน 7. เหมือนผลไม้บนต้นไม้ ใครจะมาเอาไปก็ได้ และยังต้องคอยดูแลให้ดี 8. เหมือนเขียงสับเนื้อ ยอมโดนโขกสับเพื่อแลกเศษเนื้อติดเขียง 9. เหมือนหอก และหลาวที่กลับมาทิ่มแทงเราได้ 10. เหมือนหัวงูพิษที่โกรธเมื่อไรก็จะฉกเรากลับทันที · โทษของขันธ์ 5 คือ พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตนของ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เพื่อให้เห็นโทษของขันธ์ 5 ไม่ยึดติด ไม่ยึดมั่น · ธัมมุทเทส 4 พิจารณาเห็นโทษของความเสื่อม 4 อย่าง เพื่อความไม่ประมาท 1. โลกอันนำชราเข้าไป ไม่ยั่งยืน: ความเสื่อมจากชรา เจ็บไข้ โภคะ ญาติ ไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยง 2. โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน: พิจารณาคนที่มีอำนาจมากที่สุดในโลก ถึงเวลาก็ต้องชรา เจ็บป่วย ตาย ไม่มีใครเป็นใหญ่ตลอดกาล 3. โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป: พิจารณาไม่มีอะไรในโลกเป็นของตน ต้องคืนกลับโลกไป 4. โลกบกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา: พิจารณาว่าปุถุชนไม่รู้จักอิ่มมีความอยาก มีตัณหาตลอดเวลา เมื่อพิจารณาเห็นโทษของสิ่งต่างๆ อย่างนี้แล้ว ให้ปล่อย ละ วาง ความยึดถือในขันธ์ 5 คลายความกำหนัด ยินดี จิตใจเราก็จะประเสริฐถึงทางไปสู่นิพพานได้

    หนทางแห่งการตรัสรู้ [6506-2m]

    Play Episode Listen Later Feb 7, 2022 59:09


    ปฏิบัติภาวนาด้วยการเจริญพุทธานุสสติ โดยการระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า เพื่อพิจารณา ทบทวนหาช่องทางการดำเนินชีวิต โดยศึกษาการใช้ปัญญาเพื่อหาหนทางการดับทุกข์ของพระพุทธเจ้า เรากำหนดจิตไว้กับ “พุทโธ พุทโธ” จนจิตรวมเป็นสมาธิ เรียกว่า “สัมมาสมาธิ” เราจะเห็น “ธรรมะ” ของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่เข้ากันได้หมด เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่มีอะไรที่จะไม่เข้ากันเลย สิ่งที่เข้ากันไม่ได้นั้น เรียกว่า “นิวรณ์” คือ เครื่องกางกั้น ที่กั้นให้เราไม่เห็นทาง และเป็นสิ่งที่เราต้องกำจัดออก พระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ได้มีเทวทูต นำทางให้ออกบรรพชา ท่านได้ฝึกความเพียรตามสองดาบส แต่ก็ยังมีเวทนา ท่านบำเพ็ญทุกรกิริยา บีบกาย บีบใจอย่างหนักก็ยังไม่พ้นทุกข์ จนใช้ทางสายกลาง มรรคมีองค์แปด และใช้ปัญญาพิจารณาจนเห็นว่า ขันธ์ทั้งห้าเป็นทุกข์ ยังคงเกิดภพ เพราะมีตัณหาเป็นตัวยึด มีอวิชชาเป็นตัวชักนำ ต้องพิจารณาดับกิเลส อาสวะ นั่นคือ นิโรธ จนพบทางออกที่ไม่มีทางตัน และไม่ย้อนกลับ คือ พระนิพพาน ชีวิตของเรามีทางออกเสมอ มาตามทางมรรคแปด พร้อมด้วยศรัทธา ความเพียร สติ สมาธิ ปัญญา ก็จะพบทางออก ตาม “สัมมา สัมพุทโธ” องค์พระพุทธเจ้า

    กว่าจะเป็นทองคำ [6505-2m]

    Play Episode Listen Later Jan 31, 2022 58:36


    ปฏิบัติภาวนาด้วยการเจริญพุทธานุสติ ตั้งพุทโธไว้ในใจ จิตรวมสงบระงับลงจนเป็นสมาธิ  พระพุทธเจ้าทรงตรัสอธิบายการกำจัดอุปกิเลสหรือกำจัดเครื่องเศร้าหมองของใจไว้ในสังฆสูตร ว่าเปรียบเสมือน คนล้างทองที่ต้องใช้เครื่องมือที่ถูกต้องมาล้างทอง เพื่อทำให้เป็นทองบริสุทธิ์ ดังนี้ 1. อุปกิเลสอย่างหยาบ คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต สามารถทำให้หมดไปได้ด้วย “ศีล” คือ “ละบาปทั้งปวง” 2. อุปกิเลสอย่างกลาง คือ ความตริตรึกไปในทางกาม พยาบาท เบียดเบียน สามารถทำให้หมดไปได้ด้วย “สติ” เมื่อมีสติก็สามารถ ละกาม พยาบาท เบียดเบียนและถึงซึ่งสมาธิได้ หรือ “สัมมาสังกัปปะ” และ”สัมมาสมาธิ” คือ “ทำกุศลให้ถึงพร้อม”  3. อุปกิเลสอย่างละเอียด คือ ความคิดนึกถึงชาติ ชนบท ความคิดนึกที่ประกอบด้วยความไม่ดูหมิ่น หรือความคิดนึกถึงบุญ บาป ที่อยู่ที่จิต สามารถทำให้หมดไปได้ด้วย “ปัญญา วิปัสสนา” คือ เห็นตามความเป็นจริงว่า จิตไม่เที่ยง เป็นทุกข์จึงเกิดความหน่าย “ละ วาง ความยึดถือจิต” และ “ทำจิตให้บริสุทธิ์” เมื่อจิตไม่ยึดถือ จิตจะมีความหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว จิตจึงมีความยินดี ร่าเริง มีความดับเย็นคือนิพพานเป็นที่แล่นไปสู่ เราจึงออกมาเป็นทองคำที่บริสุทธิ์ได้ 

    ระวังจิตหลอก [6504-2m]

    Play Episode Listen Later Jan 24, 2022 57:33


    การดูจิตให้เห็นจิตด้วย “จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน” โดยเริ่มจากตั้งสติแล้วจิตจดจ่อจนจิตตั้งมั่น เราจะเห็นจิตที่ถูกหลอก และการดับทุกข์ คือ การวาง จิตหลอกที่ 1 : เรามักจะเข้าใจว่าผู้ที่เข้าไปรับรู้สิ่งต่าง ๆ นั้นคือ จิตเรา หรือ “ความรับรู้” กับ “จิต” เป็นสิ่งเดียวกัน จริง ๆ แล้วเราเข้าใจผิดว่า ความรู้สึกต่าง ๆ คือ จิต จริง ๆ แล้วไม่ใช่ สิ่งเหล่านั้นเป็นเพียง การรับรู้ของจิต (จิตวิญญาณ) เป็นการปรุงแต่งของจิต (จิตสังขาร) เวทนา สัญญา ของจิต ซึ่งเป็นคนละสิ่งกับจิต “ไม่ใช่จิต” สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ โดยมีผัสสะมากระทบกับอายตนะทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดเป็นวิญญาณ คือ การรับรู้ ซึ่งเปรียบเหมือนเมล็ดพันธุ์ที่ยังไม่ตาย ที่ยังมีเชื้อจากกิเลส อาสวะ อวิชชายังสามารถงอกได้ โตขึ้นเกิดตัณหา และอุปาทานทำให้เข้าไปยึดว่าวิญญาณป็นจิต แล้วก็นำพาให้ก้าวลงไปยึดต่อในสัญญา สังขาร เวทนาทำให้เกิดความเป็นตัวตนขึ้นมา เกิดสภาวะ ในวัฏสงสารไม่จบไม่สิ้น หากแต่ด้วยสติที่ตั้งมั่น จิตที่สงบ ระงับ เราจะแยกจิตออกจากเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ได้ ว่าไม่ใช่สิ่งเดียวกัน และ “เห็นจิตในจิต” เห็นว่าขันธ์ทั้งห้าไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน เป็นทุกข์ เราควรละ วาง สลัดออก ปล่อยวางขันธ์ทั้งห้าเสีย จิตหลอกที่ 2 : เมื่อจิตสงบนิ่ง แยกจิตเป็นคนละอย่างออกจากความรับรู้ได้ และเห็นจิตในจิต จนเกิดเป็น “จิตประภัสสร” คือ จิตที่ผ่องใสจากการตั้งมรรคมีองค์แปดประการ ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง หากแต่วันไหนเผลอ เพลิน ก็จะมีกิเลส อาสวะเป็นอาคันตุกะจรมา จิตประภัสสรก็เปลี่ยนเป็นจิตเศร้าหมอง แม้จิตประภัสสรเองก็ยังไม่เที่ยง ยังแปรเปลี่ยนไปตามเหตุตามปัจจัย สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ เราไม่ควรที่เราจะยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเรา เป็นของเรา เราต้อง “วาง ละ สลัดออก” แม้จิตประภัสสรที่ไม่เที่ยงนั้นเสีย นั่นคือ นิโรธการดับทุกข์ วางแล้วคุณจะถึงที่หมาย คือ พระนิพพาน คือ ความเย็น

    จุดจบของความตาย [6503-2m]

    Play Episode Listen Later Jan 17, 2022 59:49


    ความตายมีซ่อนอยู่ในทุก ๆ สิ่งที่ไม่เที่ยง การเปลี่ยนแปลงสภาวะ มีความเกิดความตายได้ทุก ๆ เวลา ให้ใคร่ครวญความตายให้ถูกต้อง ให้เป็นสัมมาทิฐิ คือ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นมีความตายแฝงอยู่ มีเกิดก็มีดับ มีดับก็มีเกิดเป็นของคู่กัน ประสานกันด้วยความไม่เที่ยง เหตุปัจจัยของความตาย คือ “ความเกิด” เหตุปัจจัยของความเกิด คือ ตัณหา อุปาทาน และอวิชชา  จุดจบของความตาย คือ ความไม่เกิด เห็นความตายว่ามีอยู่ในทุก ๆ สิ่งที่ไม่เที่ยง เข้าใจความตายให้ถูกต้อง แล้วเดินตามทางมรรคมีองค์แปด โดยเริ่มจากสัมมาทิฐิ คือ ความเห็นที่ถูกต้อง สัมมาสังกัปปะ คือ ไม่เบียดเบียนตัวเอง ไม่ทำร้ายต้วเองและผู้อื่น ปฏิบัติกาย วาจาให้ถูกต้องด้วยสัมมากัมมันตะ สัมมาวาจา เจริญมรณานุสติ คือ เอาความตายตั้งเอาไว้ ว่าไม่เที่ยงทุกสภาวะ เห็นด้วยปัญญาตามความเป็นจริง มีความเพียรเพ่งเอาไว้ จิตที่เป็นสมาธิจดจ่อเอาไว้ เห็นความไม่เที่ยง จนเกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด เกิดนิพพิทา คือ ความเบื่อหน่ายในกองทุกข์ วางความยึดถือยึดมั่น ละอุปาทานในสิ่งที่มีความเกิด ความตายได้ด้วยทางอันประเสริฐแปดอย่าง มรรคมีองค์แปด จนสามารถถึงจุดจบของความตาย ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก

    Claim 2 เข้าใจทำ (ธรรม)

    In order to claim this podcast we'll send an email to with a verification link. Simply click the link and you will be able to edit tags, request a refresh, and other features to take control of your podcast page!

    Claim Cancel