6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก

Follow 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก
Share on
Copy link to clipboard

ในพระไตรปิฏกมีอะไร ทำความเข้าใจไปทีละข้อ, เปิดไปทีละหน้า, ให้จบไปทีละเล่ม, พบกับพระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณโณ และ คุณเตือนใจ สินธุวณิก, ล้อมวงกันมาฟัง มั่วสุมกันมาศึกษา จะพบขุมทรัพย์ทางปัญญา ในช่วง "ขุดเพชรในพระไตรปิฏก". New Episode ทุกวันเสาร์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะร…

วัดป่า ดอนหายโศก ฟังธรรมะ donhaisok


    • Jan 6, 2023 LATEST EPISODE
    • weekly NEW EPISODES
    • 57m AVG DURATION
    • 207 EPISODES


    Search for episodes from 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก with a specific topic:

    Latest episodes from 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก

    ภาวะอันยอดเยี่ยมสู่อมตธรรม [6601-6t]

    Play Episode Listen Later Jan 6, 2023 54:10


    #29_อุทายีสูตร พระผู้มีพระภาคทรงปรารภเรื่อง “อนุสสติฏฐาน” กับท่านพระอุทายี และท่านพระอานนท์ ซึ่งคำตอบของท่านพระอุทายีเป็นปัญญาการระลึกชาติได้ซึ่งยังเป็นโมฆะอยู่ ส่วนท่านพระอานนท์ได้กล่าวทูลในเรื่องของฌาน 1-2-3 เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และฌาน 4 ย่อมรู้แจ้งธาตุ มนสิการอาโลกสัญญา (ความสว่าง) เพื่อญาณทัสสนะ พิจารณากายนี้โดยความเป็นของปฏิกูล และเป็นซากศพที่ถูกทิ้งไว้ในป่าช้าเพื่อละกามราคะ และถอนอัสมิมานะ และพระผู้มีพระภาคทรงกล่าวเสริมข้อที่ 6 คือ อิริยาบถรู้ตัวทั่วพร้อมเพื่อสติสัมปชัญญะ#30_อนุตตริยสูตรภาวะ บุคคลใดมีศรัทธาตั้งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใสอย่างยิ่ง แล้วไปเพื่อได้เห็น..ได้ฟังธรรม..ได้ศรัทธา..ได้บำรุง..ได้ระลึกถึงตถาคต หรือสาวกของตถาคตแล้วได้ศึกษาในไตรสิกขา ซึ่งเป็นภาวะอันยอดเยี่ยมกว่าภาวะทั้งหลาย เพราะเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งในนิพพานพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต อนุตตริยวรรค Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    สมัยที่ควรพบผู้เจริญภาวนา [6552-6t]

    Play Episode Listen Later Dec 30, 2022 56:56


    #25_อนุสสติฏฐานสูตร เมื่อตามระลึกถึงอนุสสติฏฐาน 6 ประการนี้แล้ว จิตย่อมไม่ถูกกิเลสกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรง ทำจิตบริสุทธิ์ขึ้นมาได้ อันได้แก่ 1. พุทธานุสสติ 2. ธัมมานุสสติ 3. สังฆานุสสติ 4. สีลานุสสติ 5. จาคานุสสติ 6. เทวตานุสสติ#26_มหากัจจานสูตร พระมหากัจจานะได้ปรารภการ “บรรลุช่องว่างในที่คับแคบ” ซึ่งหมายถึง อนุสสติฏฐาน 6 ที่ประกอบด้วยจิตอันไพบูลย์เป็นมหัคคตะ คือ ไม่ว่าเราจะถูกบีบคั้นจากอายตนะ 6 อย่างไร ถ้าเราจัดการจิตเราได้อย่างถูกต้องย่อมบรรลุถึงนิพพานได้ #27_#28_ปฐม_ทุติยสมยสูตร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุรูปหนึ่ง (สูตร 1) และท่านพระมหากัจจานะได้กล่าวกับเหล่าภิกษุเถระ (สูตร 2) ถึงสมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ซึ่งก็ได้แก่สมัยที่ถูกนิวรณ์ 5 กลุ้มรุม และไม่รู้นิมิตซึ่งเป็นที่สิ้นอาสวะสำหรับผู้อาศัยมนสิการอยู่ เพื่อขอให้ท่านได้แสดงอุบายเป็นเครื่องนำออกจากสิ่งนั้นได้ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต อนุตตริยวรรค Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    “ ภัย ” เป็นชื่อของกาม [6551-6t]

    Play Episode Listen Later Dec 23, 2022 55:18


    #21_สามกสูตร พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่วิหารโปกขรณีย์ ใกล้หมู่บ้านสามะ ทรงปรารภเทวดาที่มาเข้าเฝ้ากราบทูลถึงธรรมที่เป็นไปเพื่อความเสื่อม 3 ประการ คือ 1. เป็นผู้ชอบการงาน 2. ชอบการพูดคุย 3. ชอบการนอนหลับ และพระองค์ทรงแสดงปริหานิยธรรมเพิ่มอีก 3 ประการ ให้แก่ภิกษุทั้งหลาย คิอ 4. ชอบคลุกคลีด้วยหมู่ 5. เป็นผู้ว่ายาก 6. มีปาปมิตร (มิตรชั่ว)#22_อปริหานิยสูตร อปริหานิยธรรม (ธรรมที่ไม่เป็นเหตุแห่งความเสื่อม) คือ ยกเอาธรรมในข้อ #21 ทั้ง 6 ประการ มากล่าวถึงในทางตรงข้ามกัน#23_ภยสูตร คำว่า ‘ภัย (อันตราย) ทุกข์ (ยึดถือ) โรค (อ่อนกำลัง) ฝี (จิตกลัดหนอง) เครื่องข้อง (บีบคั้น) เปือกตม (จมอยู่)' นี้เป็นชื่อของกาม เพราะกามทำให้ผูกพันธ์ มีฉันทะราคะ ลุ่มหลง ก็จะทำให้เกิด ‘ภัย ทุกข์ โรค ฝี เครื่องข้อง เปือกตม' ขึ้นทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า#24_หิมวันตสูตร ธรรม 6 ประการนี้ ย่อมทำลายอวิชชาได้ คือ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ (สัปปายะ) ในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้ ในการออกจากสมาธิ ในความพร้อมแห่งสมาธิ ในอารมณ์แห่งสมาธิ และในอภินิหารแห่งสมาธิพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต อนุตตริยวรรค Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    มรณสติ มีอมตะเป็นที่หยั่งลง [6550-6t]

    Play Episode Listen Later Dec 16, 2022 58:07


    #17_โสปปสูตร พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน ทรงปรารภพวกภิกษุใหม่ โดยชี้คุณ และโทษของผู้ที่หาความสุขในการนอน แล้วให้ภิกษุตามประกอบใน อปัณณกปฏิปทา เห็นแจ้งในกุศลธรรม เจริญโพธิปักขิยธรรม จะทำให้ถึงความสิ้นอาสวะได้ #18_มัจฉพันธสูตร พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล ทรงปรารภชาวประมง แล้วทรงตรัสเรื่อง คนฆ่าปลา ฆ่าโค ฆ่าแกะ ฆ่าสุกร พรานนก และพรานเนื้อ กระทำด้วยใจที่เป็นบาป เพราะกรรมนั้นจึงไม่มีโภคทรัพย์มาก ยิ่งผู้ที่ฆ่ามนุษย์ ย่อมมีทุกข์มากตลอดกาล ตายแล้วย่อมไปเกิดในอบาย ฯ #19_#20_ปฐม_ทุติยมรณัสสติสูตร (สูตร 1-2) พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ คิญชกาวสถาราม ทรงปรารภการเจริญมรณสติ มีอานิสงส์มาก มีอมตะ (นิพพาน) เป็นที่สุด พึงเจริญมรณสติอย่างแรงกล้า เพราะเหตุแห่งความตายมีมาก เช่น ภัยจากสัตว์ร้าย ลื่นหกล้ม อาหารไม่ย่อย ดี-เสมหะ-ลมพิษกำเริบ จึงพึ่งตั้งสติมั่นในการละอกุศล เจริญแต่กุศลให้มากพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต สารณียวรรค Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    การอยู่อย่างมีความตายที่เจริญ [6549-6t]

    Play Episode Listen Later Dec 9, 2022 58:19


    ทบทวนเพิ่มเติม ข้อ#13_นิสสารณียสูตร ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว กล่าวถึง ธาตุที่สลัด 6 ประการ คือ 1. เมตตาเจโตวิมุตติสลัดพยาบาท 2. กรุณาเจโตวิมุตติสลัดวิหิงสา (เบียดเบียน) 3. มุทิตาเจโตวิมุตติสลัดอรติ (อิจฉาริษยา) 4. อุเบกขาเจโตวิมุตติสลัดราคะ 5. อนิมิตตาเจโตวิมุตติ (อรหัตผล) สลัดนิมิต (เครื่องหมาย) ทั้งปวง 6. ที่ถอนอัสมิมานะ (อรหัตมรรค) นี้เป็นธาตุที่สลัดความเคลือบแคลงสงสัยข้อ#14_ภัททกสูตร และ ข้อ#15_อนุตัปปิยสูตร เป็นธรรมคู่ตรงข้าม ว่าด้วย การอยู่อย่างมีความตายที่ไม่เจริญ (มีความหวาดกลัว) และมีกาลกิริยาที่เดือดร้อน (เกิดในอบายภูมิ) คือ เป็นผู้ชอบการงาน ชอบการพูดคุย การนอน การคลุกคลีด้วยหมู่ คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้าข้อ#16_นกุลปิตุสูตร นางนกุลมาตา ได้คลายความกังวลใจให้กับสามีผู้ป่วยเป็นไข้หนัก ว่าไม่ให้กังวลหรือห่วงใยในตัวนาง เพราะการตายของผู้ที่ยังมี ความห่วงใย เป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคก็ทรงติเตียน เมื่อนกุลปิตาผู้เป็นสามีได้ฟังธรรม (การครองเรือน) นั้นแล้ว ก็หายจากความเจ็บไข้นั้นพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต สารณียวรรค Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    สารณียธรรม ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน [6548-6t]

    Play Episode Listen Later Dec 2, 2022 57:54


    สิ่งที่จะทำให้เราระลึกถึงกันได้ ไม่ใช่จิตที่เต็มไปด้วยพยาบาท เบียดเบียน แต่เป็นจิตที่เต็มไปด้วยความเมตตาอันไม่มีประมาณ ซึ่งก่อให้เกิดความรัก ความเอื้อเฟื้อ ความสามัคคีปองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ข้อ#11_ปฐมสารณียสูตร ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน คือ ตั้งมั่นเมตตากายกรรม วจีกรรม มโนกรรม บริโภคไม่แบ่งแยก(แบ่งปันสิ่งของให้) มีศีลบริบูรณ์ และ มีอริยทิฐิ(สัมมาทิฐิ)ทั้งต่อหน้าและลับหลังข้อ#12_ทุติยสารณียสูตร สารณียธรรม 6 ประการที่กล่าวมาแล้วนี้ (ข้อ#11) ย่อมเป็นเหตุทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ข้อ#13_นิสสารณียสูตร ธาตุ(สภาวะว่างจากอัตตา)ที่สลัด เมื่อทำให้มากเจริญให้มาก ฯลฯ ใน 1.เมตตาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดพยาบาท 2.กรุณาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดวิหิงสา(เบียดเบียน) 3.มุทิตาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดอรติ(อิจฉาริษยา) 4.อุเบกขาเจโตวิมุตตินี้เป็นธาตุที่สลัดราคะ 5.อนิมิตตาเจโตวิมุตติ(อรหัตผล)นี้เป็นธาตุที่สลัดนิมิตทั้งปวงพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต สารณียวรรค Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    ความสิ้นไปแห่งกิเลส [6545-6t]

    Play Episode Listen Later Nov 11, 2022 58:31


    การภาวนา เจริญให้มากในสัญญาทั้งหลาย เป็นทางดำเนิน (มรรค) เพื่อความรู้ยิ่ง..เพื่อความจางคลาย..เพื่อดับอวิชชาข้อ#286-#292 ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา (สามเณรีอายุ 18 ปีขึ้นไป) สามเณร สามเณรี อุบาสก และอุบาสิกา ที่มีความประพฤติทุศีล (ศีล 5) ย่อมดำรงอยู่ในนรก และผู้ที่ประพฤติถูกศีลย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ข้อ#293-#302 นักบวชนอกศาสนาที่มีความประพฤติทุศีลย่อมดำรงอยู่ในนรกข้อ#303-#1151 ธรรมที่เมื่อเจริญแล้วจะเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความสละคืน เพื่อความสิ้นไปแห่งอุปกิเลส (17 อย่าง) อันมี ราคะ โทสะ โมหะ โกธะ ฯลฯ เป็นต้น ได้แก่ สัญญา 7 ประการ และอาทีนวสัญญา อนัตตสัญญา ปหานสัญญา วิราคสัญญา อินทรีย์ 5 และพละ 5พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต สิกขาปทเปยยาล ราคเปยยาล Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    ตระหนี่ธรรม [6544-6t]

    Play Episode Listen Later Nov 4, 2022 55:08


    ความตระหนี่นี้ มีไปตลอดสายของการปฏิบัติ ซึ่งจะมีความละเอียดลงไปตามลำดับขั้น การมาปฏิบัติก็เพื่อจะละความยึดถือ ก็คือละความตระหนี่เหล่านี้นั่นเองข้อ#251-#253 ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม ในกลุ่มของศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะชนิดที่เป็นอเสขะ (อรหันต์) เป็นผู้ที่ควรแก่การเป็นพระอุปัชฌาย์ ผู้ให้นิสสัย ผู้ให้สามเณรอุปัฏฐากได้ข้อ#254-#263 ความตระหนี่ 5 ประการคือ 1.ตระหนี่อาวาส 2.ตระหนี่ตระกูล 3.ตระหนี่ลาภ 4.ตระหนี่วรรณะ 5.ตระหนี่ธรรม ซึ่งความตระหนี่ธรรมจัดว่าน่าเกลียดสุด และผู้ที่ยังละความตระหนี่ไม่ได้ย่อมไม่บรรลุ และผู้ที่ละได้ย่อมบรรลุไล่ตั้งแต่ฌาณ1-4 ไปจนถึงทำให้แจ้งในอริยผลทั้ง 4 ขั้นข้อ#264-#271 ความตระหนี่อีกนัยหนึ่ง ที่มีความหมายและไส้ในเหมือนกันกับข้อ 254-263 แต่ต่างกันตรงข้อสุดท้ายคือ 5.อกตัญญู อกตเวทีข้อ#272-#285 คุณสมบัติของภิกษุที่จะมาทำหน้าที่ต่าง ๆ ในอาวาส คือ ไม่ลำเอียงเพราะชอบ เพราะชัง เพราะหลง เพราะกลัว และรู้ระบบของงานนั้นๆเป็นอย่างดี เป็นบัณฑิต บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัดทำลาย ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ และคู่ตรงข้ามคือลำเอียง ฯลฯ ย่อมดำรงอยู่ในนรกพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อุปสัมปทาวรรค สัมมุติเปยยาล Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    ศรัทธา(ไม่)เฉพาะบุคคล [6543-6t]

    Play Episode Listen Later Oct 28, 2022 55:50


    ความเลื่อมใสที่เรามีอย่างถูกต้องในคุณของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ แม้จะมีเหตุปัจจัยเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ตาม เราก็ย่อมทำการปฏิบัติของเราให้เจริญ และงดงามได้ เพราะด้วยศรัทธาที่เราตั้งไว้อย่างถูกต้องแล้ว#ข้อ241-#244 (สูตร 1) เป็นธรรมคู่ตรงข้าม ว่าด้วย โทษของทุจริต ทางกาย วาจา และใจ (อกุศลกรรมบถ 10) มีโทษ คือ 1. แม้ตนก็ติเตียนตนเองได้ 2. ผู้รู้ย่อมติเตียน 3. กิตติศัพท์อันชั่วย่อมกระฉ่อนไป 4. หลงลืมสติตาย 5. ตายแล้วไปเกิดในอบาย นรก#ข้อ245-#248 (สูตร 2) จะมีไส้ในเหมือน(สูตร1) มีความแตกต่างในตอนท้าย คือ 4. เสื่อมจากสัทธรรม 5. ตั้งอยู่ในอสัทธรรม#ข้อ249 เป็นธรรมที่อุปมาอุปไมยป่าช้ากับคน คือ บุคคลที่ประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ 10 ย่อมไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น (ชื่อเสีย) มีภัย (ไม่อยากอยู่ด้วย) เป็นที่อยู่ของอมนุษย์ (คนไม่ดีมาอยู่รวมกัน) เป็นที่คร่ำครวญของคนหมู่มาก (หมดอาลัย)#ข้อ250 เมื่อความเลื่อมใสเกิดขึ้นกับเฉพาะบุคคลย่อมมีโทษ คือ เมื่อบุคลที่เราเลื่อมใสถูกยกวัตร ถูกสั่งให้นั่งท้าย ย้ายไปที่อื่น ลาสิกขา หรือทำกาละ จึงไม่เลื่อมใส ไม่คบภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ได้ฟังธรรมเป็นเหตุให้เสื่อมจากพระสัทธรรมพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ทุจจริตวรรค Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    ธรรมอาวาสให้งดงาม [6542-6t]

    Play Episode Listen Later Oct 21, 2022 61:24


    หมวดว่าด้วยคุณธรรมของผู้ดูแลอาวาสนี้ ไม่ใช่เฉพาะกับเจ้าอาวาสหรือภิกษุสงฆ์เท่านั้น แต่หมายถึงเราทุกคน ถ้ามีคุณธรรมเหล่านี้ย่อมยังอาวาสหรือองค์กรนั้นให้เจริญรุ่งเรือง และงดงามได้#ข้อ231-#234 เจ้าอาวาสที่มีคุณธรรมดังนี้ ย่อมเป็นที่รัก ที่เคารพยกย่อง มีอุปการะ ยังอาวาสให้งดงาม มาในหัวข้อที่ต่างกัน สรุปรวมลงไส้ในได้ดังนี้ คือ เป็นผู้มีมรรยาทและวัตรงาม มีศีล เป็นพหูสูต ทรงสุตะ มีความประพฤติขัดเกลาดี ยินดีการหลีกเร้น วาจางาม ยังคนให้อาจหาญ ดูแลปฏิสังขรณ์เสนาสนะและอุปการะภิกษุผู้มาจากต่างแคว้นได้ เป็นผู้ได้ฌาน 4 มีปัญญา ทำให้แจ้งซึ่งเจโตและปัญญาวิมุตติ#ข้อ235 เจ้าอาวาสที่ประกอบด้วยธรรมต่อไปนี้ ย่อมอนุเคราะห์คฤหัสถ์ คือ ให้สมาทานอธิศีลและให้เห็นธรรมได้ สามารถอนุเคราะห์คฤหัสถ์ป่วยไข้และเชิญชวนให้ทำบุญตามกาลสมัยได้ บริโภคของที่เขานำมาถวาย ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป#ข้อ236-#240 เป็นธรรมคู่ตรงข้าม มีหัวข้อที่เหมือนกันว่าด้วย เจ้าอาวาสที่เหมือนดำรงอยู่ในนรก คือ ไม่พิจารณาไตร่ตรองสรรเสริญคนที่ควรติเตียนหรือติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ ไม่พิจารณาไตร่ตรองปลูกความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใสหรือไม่ปลูกความเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส มีความตระหนี่ในอาวาส ตระกูล ในลาภ วรรณะ และทำศรัทธาไทยให้ตกไปพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อาวาสิกวรรค Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    เศร้าหมองเพราะความคุ้นเคย [6541-6t]

    Play Episode Listen Later Oct 14, 2022 57:45


    การทำความคุ้นเคยอยู่คลุกคลีไปมาหาสู่กันเป็นประจำ ถ้าไม่สำรวมระมัดระวังเผลอยินดีไปในกาม อาจทำให้ต้องอาบัติเศร้าหมองได้ ปฐม-ทุติยกุลุปกสูตร #225_#226 โทษของการเข้าไปสู่เรือนตระกูล และอยู่นานเกินเวลา อาจทำให้ต้องอาบัติเพราะหลีกไปโดยไม่ได้บอกลา ทำให้ได้เห็นหน้ากันเป็นประจำ ได้คลุกคลี นั่งในที่ลับในที่กำบังสองต่อสองกับมาตุคาม และได้บอกสอนพระบาลีเกิน 5-6 คำ เกิดความคุ้นเคยกัน ย่อมมีจิตจดจ่อทำให้ดำริไปในทางกามมาก ไม่ยินดีในการในการประพฤติพรหมจรรย์ โภคสูตร #227 โทษของโภคทรัพย์ คือเป็นสาธารณะทั่วไป ถูกทำลายสูญหายได้ด้วย ไฟ น้ำ พระราชา โจร และทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก ส่วนอานิสงส์ ทำให้ได้บำรุงเลี้ยงดูตนเอง บิดา-มารดา บุตร ภรรยา ทาส กรรมกร คนใช้ มิตรอำมาตย์ และบำเพ็ญทักษิณา อุสสูรภัตตสูตร #228การหุ้งต้มอาหารในเวลาสายมีโทษ คือ ไม่ได้ต้อนรับแขก ไม่ได้ทำพลีกรรม ไม่ได้ถวายอาหารแก่สมณะ ทาสกรรมกรและคนใช้หลบหน้าทำงานสาย อาหารมีรสไม่อร่อย ปฐม-ทุติยกัณหสัปปสูตร #229_#230 อุปมาอุปไมยงูเห่ากับมาตุคาม ว่า ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น มักโกรธและผูกโกรธ มีพิษร้าย (ราคะจัด) น่ากลัว ลิ้นสองแฉก (พูดส่อเสียด) และมักทำร้ายมิตร (นอกใจ) พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ทีฆจาริกวรรค

    อดทนให้เป็นปัญญา [6540-6t]

    Play Episode Listen Later Oct 7, 2022 55:25


    ความอดทน ไม่ใช่กำลังของคนพาล แต่เป็นกำลังของบัณฑิตที่เห็นโทษอกุศลนั้นด้วยปัญญา ทบทวน #ข้อ215-#ข้อ126 ว่าด้วยความไม่อดทน โดยได้ยกเอา เวปจิตติสูตร มาอธิบายเสริมทำความแจ่มแจ้งในเรื่องของการวางจิตในความอดทนเพื่อให้เป็นปัญญา ปฐม-ทุติยอปาสาทิกสูตร #ข้อ217-218 โทษของบุคคลผู้ไม่น่าเลื่อมใส (ทำผิดวินัย) สูตร 1-2 คือ แม้ตนก็ติเตียนตนเอง ผู้รู้ติเตียน ชื่อสียงไม่ดีกระฉ่อนไป หลงลืมสติตาย ตายแล้วไปเกิดในอบาย คนที่ยังไม่เลื่อมใส ย่อมไม่เลื่อมใส ผู้ที่เลื่อมใสแล้วกลายเป็นอื่น ไม่ปฏิบัติตามคำสอน คนรุ่นหลังเอาแบบอย่างได้ อัคคิสูตร #ข้อ219 โทษของไฟ คือ ทำให้ตาฝ้าฟาง ผิวหยาบกร้าน อ่อนกำลัง เพิ่มการคลุกคลีด้วยหมู่ สนทนาดิรัจฉานกถา มธุราสูตร #ข้อ220 นครมธุรา มีโทษ คือ พื้นดินไม่เรียบ มีฝุ่นละออง สุนัขดุ มียักษ์ร้าย อาหารหาได้ยาก ถ้าเราอยู่ที่ไหนแล้วมีจิตไม่เป็นสมาธิ ละอาสวกิเลสไม่ได้ ไม่ควรอยู่ที่นั่น ปฐม-ทุติยทีฆจาริกสูตร #ข้อ221-222 ผู้จาริกไปนาน ไม่มีกำหนดมีโทษ คือ จะไม่ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ไม่เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว ไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เสื่อมจากธรรมที่ได้บรรลุแล้ว ไม่แกล้วกล้าในเรื่องที่ได้ฟัง เป็นโรคร้ายแรง ไม่มีมิตร อตินิวาสสูตร-มัจฉรีสูตร #ข้อ223-224 การอยู่ประจำที่นานมีโทษ คือ มีสิ่งของ และเภสัชสะสมมาก มีกิจมาก คลุกคลีอย่างคฤหัสถ์ ห่วงใยและตระหนี่ในอาวาส ตระหนี่ในตระกูล ในลาภ วรรณะ และในธรรม พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อักโกสกวรรค ทีฆจาริกวรรค

    บาปทางวาจา [6539-6t]

    Play Episode Listen Later Sep 30, 2022 58:01


    การจะพูดอะไรนั้น ให้เรามีสติระลึกให้ดี ว่าคำพูดนั้นมีประโยชน์อย่างไร…ให้พูดแต่พอดี อย่ากล่าววาจาอันเป็นโทษ มีความอดทน แล้วเห็นโทษนั้นด้วย “ปัญญา” ทันตกัฏฐสูตร #ข้อ208 โทษของการไม่แปรงฟัน คือ ตาฝ้าฟาง ปากเหม็น รับรู้รสได้ไม่ดี อาหารย่อยยาก มีรสไม่อร่อย คีตัสสรสูตร #ข้อ209 โทษของการแสดงธรรมด้วยเสียงขับร้อง คือ แม้ตนเอง และผู้อื่นก็กำหนัดในเสียงนั้น พวกคฤหัสตำหนิ สมาธิเสื่อม คนรุ่นหลังเอาแบบอย่าง มุฏฐัสสติสูตร #ข้อ210 หลงลืมสติก่อนนอนมีโทษทำให้หลับ-ตื่นเป็นทุกข์ ฝันร้าย เทวดาไม่รัก และน้ำอสุจิเคลื่อน อักโกสกสูตร #ข้อ211 การด่าเพื่อนพรหมจารี ว่าร้ายพระอริยะมีโทษคือ ต้องอาบัติร้ายแรง จิตเศร้าหมอง เป็นโรคร้าย หลงลืมสติตาย ตายแล้วไปเกิดในนรก ภัณฑนการกสูตร #ข้อ212 ทำความบาดหมางให้แตกกัน มีโทษ คือ จะไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เลื่อมจากธรรม กิตติศัพท์อันชั่วขจรไป หลงลืมสติตาย ตายแล้วไปเกิดในนรก สีลสูตร #ข้อ213 ผู้มีศีลวิบัติมีโทษคือ จะเสื่อมจากโภคทรัพย์ เสื่อมเสียชื่อเสียง กังวลใจ หลงลืมสติตาย ตายแล้วไปเกิดในนรก พหุภาณิสูตร #ข้อ214 ผู้พูดมากจะมีโทษเป็นเหตุให้พูดเท็จ ส่อเสียด พูดหยาบ เพ้อเจ้อ ตายแล้วไปเกิดในนรก ปฐม-ทุติยอักขันติสูตร #ข้อ215-#ข้อ216 หัวข้อเหมือนกัน มีไส้ในสรุปรวมลงได้ 7 ข้อ ว่าด้วยโทษของความไม่อดทน คือ ไม่เป็นที่รัก มากด้วยเวร เพ่งโทษ ดุร้าย มีความร้อนใจ หลงลืมสติตาย ตายแล้วไปเกิดในนรก พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต กิมพิลวรรค อักโกสกวรรค

    กิเลส ดุจตะปูตรึงใจ [6538-6t]

    Play Episode Listen Later Sep 23, 2022 56:50


    จิตที่ไม่นุ่มนวล เพราะถูกกิเลสรัดตรึงไว้ จิตจะไม่ก้าวหน้า ให้เราเอาเครื่องขวางนี้ออก จิตของเราจะมีการพัฒนา บรรลุธรรมได้ กิมพิลสูตร #ข้อ201 ท่านกิมพิละได้ทูลถามพระพุทธเจ้าถึงเหตุปัจจัยให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้ไม่นานเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว นั่นก็คือ พุทธบริษัท 4 นี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระรัตนตรัย ในสิกขา และในกันและกัน ธัมมัสสวนสูตร #ข้อ202 การฟังธรรมจะมีอานิสงส์ 5 ประการ คือ ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว บรรเทาความสงสัยเสียได้ ทำให้มีความเห็นตรง จิตย่อมเลื่อมใส อัสสาชานียสูตร #ข้อ203 อุปมาอุปไมยม้าอาชาไนยกับภิกษุ ในเรื่อง ความตรง มีเชาว์ ความอ่อน อดทน และความเสงี่ยม พลสูตร #ข้อ204 พละ คือ กำลังคือศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ และปัญญา เจโตขิลสูตร #ข้อ205 กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู 5 ประการ คือ มีความเคลือบแคลง ไม่ลงใจในพระรัตนตรัย ในสิกขา และเป็นผู้มีโทสะในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ วินิพันธสูตร #ข้อ206 กิเลสเครื่องผูกใจ 5 ประการ คือ มีความกำหนัดในกามคุณ 5 ในกาย (อัตภาพ) ในรูป (ฌาน) กินอิ่มจนเกินไป และปรารถนาความเป็นเทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง ยาคุสูตร #ข้อ207 อานิสงส์ของยาคู (ข้าวต้ม) คือ บรรเทาความหิว กระหาย ลมเดินคล่อง ดีต่อลำไส้ ย่อยง่าย พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต กิมพิลวรรค

    ลางบอกเหตุ [6537-6t]

    Play Episode Listen Later Sep 16, 2022 58:15


    ความฝันใดๆ ถ้าเรามีสติแยกแยะ จะสามารถบอกได้ว่า ฝันนั้นจะเป็นจริงหรือเป็นเพียง “แค่ฝัน” ปิงคิยานีสูตร #ข้อ195 พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับเจ้าลิจฉวีและปิงคิยานีพราหมณ์ ถึงความปรากฎแห่งแก้ว 5 ประการที่หาได้ยากในโลก คือ การมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น มีผู้แสดงธรรมของพระพุทธเจ้า แล้วเข้าใจนำไปปฏิบัติให้เกิดผล รู้คุณ กระทำตอบ มหาสุปินสูตร #ข้อ196 พระพุทธเจ้าก่อนจะตรัสรู้ ได้ปุพนิมิตว่า แผ่นดินนี้เป็นที่นอนใหญ่ มีหญ้าแพรกงอกขึ้นจากสะดือจรดฟ้า แล้วมีหนอนขาวหัวดำไต่ขี้นจากเท้า นกมีสีต่างๆกัน บินมาตกลงแทบเท้ากลายเป็นสีขาว เดินไปมาบนภูเขาคูถลูกใหญ่แต่ไม่เปื้อนอุจจาระ วัสสสูตร #ข้อ197 อันตรายที่จะทำให้ฝนไม่มี ขาดช่วง หายไป คือ ธาตุไฟ ธาตุลมกำเริบในอากาศ เทพราหูรับเอาน้ำไปทิ้งในมหาสมุทร เทพแห่งฝนลืมทำหน้าที่ พวกมนุษย์ไม่ตั้งอยู่ในธรรม วาจาสูตร #ข้อ198 วาจาสุภาษิต ท่านผู้รู้ไม่ติเตียน คือ พูดถูกกาล พูดคำจริง อ่อนหวาน เป็นประโยชน์ และพูดด้วยเมตตาจิต กุลสูตร #ข้อ199 นักบวชผู้มีศีลไปสู่ตระกูลใด ตระกูลนั้นจะประสพสิ่งที่เป็นบุญ คือเมื่อได้เห็นแล้วเกิดจิตเลื่อมใส(เป็นไปเพื่อไปเกิดในสวรรค์) ยกมือไหว้ ถวายอาสนะ(เกิดในตระกูลสูง) มีจิตอยากกำจัดความตระหนี่(มีศักดิ์ใหญ่) ได้จัดของถวาย(มีโภคทรัพย์มาก) ได้พูดคุยสอบถามธรรมะ(มีปัญญา) นิสสารณียสูตร #ข้อ200 ธาตุที่สลัดกาม พยาบาท เบียดเบียน รูปทั้งหลาย และสักกายะ คือถ้าเรามนสิการใน 5 สิ่งนี้ แล้วไม่มีจิตน้อมไป แสดงว่าเรามีธาตุที่สลัดออกในสิ่งนั้นๆ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต พราหมณวรรค

    ธรรมของพราหมณ์ [6536-6t]

    Play Episode Listen Later Sep 9, 2022 57:08


    โสณสูตร #ข้อ191 ว่าด้วยธรรมของพราหมณ์ ที่เปรียบเทียบกับสุนัขมาในเรื่อง การมีคู่ครองที่เหมาะสม ไม่ซื้อขายพราหมณี ไม่ทำการสะสมทรัพย์ แสวงหาอาหารเป็นเวลา โทณพราหมณสูตร #ข้อ192พระพุทธเจ้าได้ตรัสถามท่านโทณพราหมณ์ ว่า ท่านโทณะเป็นพราหมณ์แบบไหน ใน 5 จำพวกนี้ คือ 1.พราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหม 2.ผู้เสมอด้วยเทวดา 3.ผู้ประพฤติดี 4.ผู้ประพฤติทั้งดีและชั่ว 5.ผู้เป็นจัณฑาล ซึ่งท่านโทณะได้กราบทูลว่า “แม้แต่พราหมณ์ ผู้เป็นจัณฑาล ข้าพระองค์ยังให้บริบูรณ์ไม่ได้เลย” สังคารวสูตร #ข้อ193 สังคารวพราหมณ์ ได้ทูลถามพระพุทธเจ้าถึงเหตุที่ทำให้การสาธยายมนต์ไม่แจ่มแจ้ง ซึ่งก็คือ เมื่อใจถูกกามราคะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉากลุ้มรุม การณปาลีบุตร #ข้อ194 ท่านปิงคิยานีพราหมณ์ได้ตอบถึงเหตุที่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าแก่ท่านการณปาลีพราหมณ์ ว่า เมื่อบุคคลได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว ย่อมไม่ปรารถนาธรรมเหล่าอื่น ย่อมได้ความพอใจ โสมนัส ความทุกข์กาย ทุกข์ใจย่อมหมดไป ความเหน็ดเหนื่อย เร่าร้อนย่อมระงับไป พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต พราหมณวรรค

    ข้อปฏิบัติของผู้ประเสริฐ [6535-6t]

    Play Episode Listen Later Sep 2, 2022 60:25


    ผู้ที่หมั่นคอยขัดเกลาตนเอง และประพฤติปฏิบัติให้ยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยข้อปฏิบัติอันงาม จัดเป็นผู้เลิศ ผู้ประเสริฐสุด ภเวสีสูตร #ข้อ180 ภเวสีอุบาสก มีความคิดที่จะรักษาศีลให้สมบูรณ์ และปฏิบัติให้ยิ่งๆขึ้นไปใน การประพฤติพรหมจรรย์ บริโภคมื้อเดียว ไปจนถึงออกบวช และได้อรหัตผล แล้วได้ชักชวนบริวารอีก 500 คน ปฏิบัติตามจนได้อรหัตผลด้วยเช่นกัน #ข้อ181-#ข้อ190 หัวข้อจะเหมือนธุดงควัตร 10 ข้อแรก คือ ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร, ผู้ถือผ้าบังสกุล, อยู่โคนไม้, ป่าช้า, กลางแจ้ง, ถืออิริยาบถ 3, อยู่เสนาสนะตามที่จัดไว้, บริโภคมื้อเดียว, ห้ามภัตที่นำมาถวายภายหลัง, บริโภคในภาชนะเดียว มีลักษณะธรรมที่เป็นไส้ในเหมือนกัน แต่เปลี่ยนไปตามหัวข้อนั้นๆ คือประพฤติข้อวัตรเพราะโง่เขลา, ถูกความปรารถนาชั่วครอบงำ, มีจิตฟุ้งซ่าน, หวังคำสรรเสริญ, มีความมักน้อย สันโดษ ต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงาม จัดเป็นพวกที่เลิศประเสริฐสุด โสณสูตร #ข้อ191 ธรรมของพราหมณ์ ที่ปรากฏในพวกสุนัข แต่ไม่ปรากฏในพวกพราหมณ์ คือ ว่าในเรื่องการสมสู่ระหว่างพราหมณ์กับพราหมณี และในหญิงวัยเจริญพันธุ์ การซื้อขายพราหมณี การสะสมทรัพย์ และการแสวงหาอาหาร พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อุปาสกวรรค อรัญญวรรค พราหมณวรรค

    เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน [6534-6t]

    Play Episode Listen Later Aug 26, 2022 56:23


    ผู้ที่มีศีลบริบูรณ์ และได้สุขที่เกิดจากโสตาปัตติยังคะ 4 ย่อมประพฤติปฏิบัติให้สมบูรณ์ รู้จบธรรมะ เป็นทางไปสู่พระนิพพานได้ ปีติสูตร #ข้อ176 เมื่อมีสุขที่ได้จากสมาธิ ย่อมไม่มีทุกข์หรือสุขที่ปรารภด้วยกาม ไม่มีทุกข์หรือสุขประกอบด้วยอกุศล และไม่มีทุกข์จากสิ่งที่เป็นกุศล วณิชชาสูตร #ข้อ177 การค้าขาย 5 ประเภท ที่ตัวเองไม่ควรทำ และไม่ควรชักชวนผู้อื่นทำ คือ 1. ค้าขายอาวุธ 2. ค้าขายสัตว์เป็น 3. ค้าขายเนื้อสัตว์ 4. ค้าขายของมึนเมา และ 5. ค้าขายยาพิษ ราชสูตร #ข้อ178 ยกเอาศีล 5 ขึ้นมาเปรียบเทียบกับการลงโทษของพระราชาว่า ไม่เคยเห็นพระราชาลงโทษผู้มีศีล แต่ด้วยบาปกรรมของผู้นั้นมีอยู่ ถึงไม่ได้กระทำผิดศีลก็จริง ก็อาจเป็นไปได้ว่า ที่จะถูกลงโทษ คิหิสูตร #ข้อ179 พระพุทธเจ้าตรัสกับท่านพระสารีบุตร โดยปรารภท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี และคฤหัส 500 คน ว่า ถ้าใครมีศีล5 แล้วประกอบด้วยสุขที่เกิดจากโสตาปัตติยังคะ 4 ให้ฟันธงได้เลยว่า มีนรกสิ้นแล้ว ฯลฯ คือ เป็นโสดาบัน พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อุปาสกวรรค

    สิ่งที่เลิศ และอุบาสกแก้ว [6533-6t]

    Play Episode Listen Later Aug 19, 2022 59:15


    ในบรรดาการได้เห็น การได้ยิน ความสุข สัญญา และความเป็นอยู่ของผู้ที่เห็นตามความเป็นจริงแล้วทำให้อาสวะสิ้น จัดว่าเป็นเลิศที่สุด สีลสูตร #ข้อ168 การทุศีล และการมีศีล เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งใบ (ศีล) วิบัติหรือสมบูรณ์ สะเก็ด (สัมมาสมาธิ) เปลือก (ยถาภูตญาณทัสสนะ) กระพี้ (นิพพิทา-วิราคะ) แก่น (วิมุตติญาณทัสสนะ) ย่อมวิบัติ หรือสมบูรณ์ตามด้วย ขิปปนิสันติสูตร #ข้อ169 เหตุเป็นผู้ให้ใคร่ครวญได้เร็ว เรียนได้มาก แล้วสิ่งที่เรียนไม่เลือนหายไป ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดในอรรถในธรรม พยัญชนะ นิรุตติ เบื้องต้น และเบื้องปลาย (นำไปใช้) ภัททชิสูตร #ข้อ170 ท่านพระอานนท์ได้กล่าวเพื่อที่จะทำคำตอบให้ชัดเจนกับท่านพระภัททชิ ถึงการเห็น ได้ยิน สุข สัญญา และภพ ของผู้ที่เห็นตามความเป็นจริงแล้วอาสวะสิ้นไป การเห็น ฯลฯ นั้นๆ ว่าเป็นเลิศที่สุด #ข้อ171-#ข้อ174 เป็นธรรมคู่ตรงข้าม มีไส้ในเหมือนกัน ว่าด้วยผู้ไม่มีศีล 5 และมีศีล 5 มาในหัวข้อที่แตกต่างกัน คือ #ข้อ171 และ#ข้อ172 ธรรมที่เป็นเหตุให้ครั่นคร้าม และแกล้วกล้า #ข้อ173 ธรรมเป็นเหตุให้ไปอยู่ในนรกหรือสวรรค์ และ #ข้อ174 ภัยเวร คือ ความสะดุ้ง ร้อนใจ จัณฑาลสูตร #ข้อ175 อุบาสกจัณฑาล (ชั้นเลว) คือ ผู้ที่ไม่มีศรัทธา ทุศีล ถือมงคลตื่นข่าว แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้ ทำอุปการะนอกศาสนาก่อน และอุบาสกแก้ว (ชั้นเลิศ) คือ กล่าวถึงธรรมที่ตรงข้ามกับที่กล่าวมาแล้ว พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อาฆาตวรรค อุปาสกวรรค

    เหตุของคำถาม และการกล่าวโจทก์ [6532-6t]

    Play Episode Listen Later Aug 12, 2022 58:27


    ถ้าเราทราบเหตุของคำถาม เราจะมีวิธีที่จะตอบ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ และเมื่อถูกกล่าวโจทก์เราควรตั้งอยู่ในความจริงและไม่โกรธ ปัญหาปุจฉาสูตร #ข้อ165 การถามปัญหาด้วยเหตุ 5 ประการ คือ 1. เพราะโง่เขลา 2. ถูกความปรารถนาชั่วครอบงำ 3. ดูหมิ่น 4. ประสงค์จะรู้ จึงถาม 5. ถามเพื่อที่จะทำคำตอบให้ชัดเจน ให้เราเลือกใช้วิธีตอบปัญหาพยากรณ์ 4 อย่างของพระพุทธเจ้า นิโรธสูตร #ข้อ166 ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวถึง ผู้ที่ถึงพร้อมด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา และฌาน 9 ถ้าไม่ได้อรหัตผลในปัจจุบัน ก็เป็นไปได้ที่จะเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นกามภพ แต่ถูกท่านพระอุทายีคัดค้านถึง 2 วาระ (6 ครั้ง) พระพุทธเจ้าท่านทรงมารับรองคำของท่านพระสารีบุตร แล้วกล่าวกับพระอานนท์ว่า “ทำไมถึงปล่อยให้พระเถระถูกเบียดเบียน” เป็นเหตุให้ได้กล่าวถามธรรมกับท่านอุปวานะ ถึงธรรมที่เป็นที่รักเคารพ คือ เป็นผู้มีศีล เป็นพหูสูต มีวาจางาม ได้ฌาน 4 มีเจโตและปัญญาวิมุตติ โจทนาสูตร #ข้อ167 ผู้ประสงค์จะโจทก์ผู้อื่น ควรกล่าวในกาลอันควร กล่าวถ้อยคำจริง อ่อนหวาน ประกอบด้วยประโยชน์ มีเมตตาจิตไม่เพ่งโทษกล่าว พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อาฆาตวรรค

    อุบายกำจัดความอาฆาต [6531-6t]

    Play Episode Listen Later Aug 5, 2022 55:53


    เรา...ผู้รักสุข เกลียดทุกข์ คงไม่มีประโยชน์ที่จะเก็บความอาฆาต โกรธเคืองไว้ในจิตใจ และผู้ที่มีปัญญา...จะเพ่งแต่ส่วนที่ดี ที่มีประโยชน์ของบุคคลอื่น แม้ว่าผู้นั้นจะไม่มีส่วนดีเลยก็ตาม...ก็จะเมตตา สงสาร ในทุกข์ที่เขาเป็น อุทายีสูตร #ข้อ159 พึงตั้งธรรมไว้ 5 ประการ เมื่อจะแสดงธรรม คือ 1. แสดงธรรมไปตามลำดับ 2. แสดงอ้างเหตุ 3. อาศัยความเอ็นดู 4. ผู้ไม่เพ่งอามิส 5. ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น ปฐมอาฆาตปฏิวินยสูตร #ข้อ161 และทุติยอาฆาตปฏิวินยสูตร #ข้อ162 ว่าด้วยอุบายกำจัดอาฆาต คือ ให้มีเมตตา กรุณา และอุเบกขา ไม่พึงระลึกในเรื่องไม่ดี และให้เข้าใจในเรื่องกรรม แม้ว่าผู้นั้นจะบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ทางกาย วาจา ใจ ก็ตาม ให้มองแต่ข้อดีให้เกิดประโยชน์แก่จิตใจตนเอง สากัจฉสูตร #ข้อ163 ผู้ที่ควรสนทนาด้วย และอาชีวสูตร #ข้อ164 ผู้ควรแก่การถาม-ตอบ มีไส้ในเหมือนกัน คือ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ และตอบปัญหาที่มาในเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะสัมปทาได้ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อาฆาตวรรค

    ธรรมะกระจกเงา [6530-6t]

    Play Episode Listen Later Jul 29, 2022 57:21


    การพูดเรื่องดีๆ กับคนบางคนก็อาจจะเป็นเรื่องที่ขัดเคืองใจ หรือ กับคนบางคนก็ไม่ขัดเคืองใจ อยู่ที่เราตั้งจิตเพ่งไว้ตรงไหน ให้ตั้งจิตให้ถูก ให้เพ่งระลึกถึงกุศลที่เรามี จะเจริญกุศลให้งอกงามได้ ทบทวน #ข้อ154-156 การที่เรานำเอาธรรมที่เราได้เล่าเรียน (ปริยัติ) มาแสดง-อธิบาย บอกธรรม-บอกบาลี ใคร่ครวญ (ปฏิบัติ) จนให้ถึงมรรคผล (ปฏิเวธ) จะเป็นเหตุให้พระสัทธรรมดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ทุกกถาสูตร #ข้อ157 การพูดเรื่อง ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญากับผู้ที่ไม่มีในตน (ไม่พิจารณาเห็นในตน) ก็จะเป็นที่ขัดเคือง จึงเป็นเรื่องไม่ดี แต่ถ้าพูดกับผู้ที่มีความถึงพร้อมธรรมขัอนั้นๆ ในตน ก็จะได้ปิติปราโมทย์ เรื่องที่พูดนั้นจึงดี สารัชชสูตร #ข้อ158 ความครั่นคร้าม และความแกล้วกล้า เป็นธรรมคู่ตรงข้าม ประกอบด้วย มีหรือไม่มีศรัทธา มีศีลหรือทุศีล สุตะน้อยหรือทรงสุตะ เกียจคร้านหรือมีความเพียร ปัญญาทรามหรือมีปัญญา ทุปปฏิวิโนทยสูตร #ข้อ160 ธรรมที่เกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก ได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ ปฏิภาณ (มุ่งหวังที่จะพูด) และจิตคิดจะไป พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต สัทธัมมวรรค

    เหตุเสื่อมและเจริญแห่งพระสัทธรรม [6529-6t]

    Play Episode Listen Later Jul 22, 2022 57:50


    เหตุที่จะทำให้พระสัทธรรม ไม่เสื่อมสูญ คือ การที่เรานำเอาธรรมที่เราได้ยิน ได้ศึกษาเล่าเรียน ท่องจำ นำมาใคร่ครวญ ปฏิบัติจนให้ถึงผล #ข้อ151-#ข้อ153 หัวข้อเหมือนกัน คือ ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้ จะเป็นผู้เมื่อฟังธรรมอยู่ ก็สามารถที่จะหยั่งลงสู่ความเห็นที่ถูกต้องได้ ซึ่งเป็นธรรมคู่ตรงข้ามมีส่วนเหมือนและส่วนต่าง สรุปรวมแล้วได้ 10 ประการ ไม่มัวสนใจแต่คำพูด, ไม่สนใจแต่ผู้พูด, ไม่สนใจแต่ตัวเอง, ไม่เป็นคนโง่, ไม่สำคัญว่ารู้ในสิ่งที่ตนไม่รู้, ไม่ลบลู่ฟังธรรม, ไม่แข่งดี ฟังธรรม, ไม่จ้องจับผิดในผู้แสดงธรรม, มีจิตเป็นเอกัคคตา และทำในใจโดยแยบคาย #ข้อ154-#ข้อ156 ห้วข้อเหมือนกัน ว่าด้วยความเสื่อม และความตั้งอยู่ได้แห่งพระสัทธรรมเป็นธรรมคู่ตรงข้าม #ข้อ154 คือ ฟังธรรม เรียนธรรม ทรงจำธรรม ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพหรือไม่เคารพ #ข้อ155 คือ เรียนธรรม (นวังคสัตถุสาสน์) แสดงธรรม (อธิบาย) บอกธรรม (จดจำ) สาธยาย ตรึกตรองตามหรือไม่ #ข้อ156 คือ เล่าเรียนพระสูตรที่สืบทอดกันมาดี เป็นผู้ว่าง่าย เป็นพหูสูต เป็นเถระ ไม่มักมาก สงฆ์พร้อมเพรียงกันหรือไม่ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต สัทธัมมวรรค

    วิมุตติตามสมัย [6528-6t]

    Play Episode Listen Later Jul 15, 2022 57:35


    “สมยวิมุต” เป็นความพ้นชั่วคราว ถ้าสร้างเหตุดีมีวิมุตติเกิดขึ้นได้ ถ้าสร้างเหตุเงื่อนไขปัจจัยไม่ดี วิมุตติก็เสื่อมไปได้ ทบทวน #ข้อ144 เมื่อพิจารณาเห็นสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล และอาศัยอุเบกขาเห็นความไม่เที่ยง จะละราคะ โทสะ และโมหะได้ นิรยสูตร #ข้อ145 ผู้ที่ผิดศีล 5 เป็นเหตุให้ไปตกนรก และผู้ที่รักษาศีล 5 ได้ เหมือนได้รับเชิญให้ไปอยู่บนสวรรค์ มิตตสูตร #ข้อ146 ผู้ที่ไม่ควรคบและควรคบด้วย คือ ชอบใช้หรือไม่ใช้ให้ผู้อื่นทำงาน ชอบก่ออธิกรณ์ทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อพระเถระหรือไม่ ชอบหรือไม่ชอบไปสถานที่ไม่ควรไปอยู่เรื่อย และสามารถพูดให้เกิดกำลังใจในการปฏิบัติได้หรือไม่ อสัปปุริสทานสูตร #ข้อ147 เปรียบเทียบการให้ทานของคนดีและคนไม่ดี ซึ่งคนดีจะให้โดยเคารพ อ่อนน้อม ให้ด้วยมือตนเอง ให้ของดีๆ และเห็นอานิสงส์ของการให้ สัปปุริสทานสูตร #ข้อ148 การให้ทานของผู้ที่ให้ด้วยศรัทธา โดยเคารพ ให้ตามกาลอันควร มีจิตอนุเคราะห์ และให้โดยไม่กระทบตนและผู้อื่น ซึ่งมีอานิสงส์ของการให้ที่เหมือนกัน และต่างกันไป ปฐมสมยวิมุตตสูตร #ข้อ149 เปรียบเทียบธรรมของผู้มีจิตหลุดพ้นชั่วคราวกับพระอรหันต์ คือ ความชอบหรือไม่ชอบในการงาน การพูดคุย การนอน คลุกคลีด้วยหมู่ พิจารณาหรือไม่พิจารณาเห็นกิเลสที่หลุดออก ทุติยสมยวิมุตตสูตร #ข้อ150 เหมือน #ข้อ149 แตกต่างกันประการที่ 4 คือ สำรวมหรือไม่สำรวมอินทรีย์ และประการที่ 5 คือ รู้จักหรือไม่รู้จักประมาณในการบริโภค พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ติกัณฑกีวรรค

    สัญญาในสิ่งทั้งสอง [6527-6t]

    Play Episode Listen Later Jul 8, 2022 56:32


    พึงพิจารณา กำหนดหมายรู้ในสิ่งที่ เป็นปฏิกูล และ ไม่เป็นปฏิกูล เพื่อละ ราคะ โทสะ และโมหะ นั่นเอง อวชานาติสูตร #ข้อ141 บุคคล 5 จำพวก (ปุถุชน) มีปรากฏอยู่ คือ 1. บุคคลให้แล้วดูหมิ่นผู้รับ 2. อยู่ร่วมกันแล้วดูหมิ่นในศีล 3. เป็นคนเชื่อง่าย หูเบา 4. เป็นคนโลเล ศรัทธาหัวเต่า 5. ผู้เขลา อารภติสูตร #ข้อ142 บุคคล 5 จำพวก คือ บุคคลจำพวกที่ 1-4 มี ศีล สมาธิ สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์บ้าง และมีปัญญาพอประมาณ เมื่อละอาสวะที่เกิดจากการต้องอาบัติและวิปปฏิสาร และเจริญซึ่งสมถะกับวิปัสสนา ก็จะทัดเทียมจำพวกที่ 5 คือ อรหันต์ สารันททสูตร #ข้อ143 เจ้าลิจฉวี ได้สนทนากันเรื่อง “แก้ว 5 ประการ ที่หาได้ยากในโลก” โดยมุ่งไปในทางกาม ส่วนนัยยะของพระพุทธเจ้า คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อริยบุคคล และผู้กตัญญูกตเวที หาได้ยากในโลก ติกัณฑกีสูตร #ข้อ144 พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ป่าติกัณฑกีวัน ได้ตรัสเรื่อง การกำหนดหมายรู้ในสิ่งที่เป็นปฎิกูลและไม่ปฏิกูลเพื่อละความกำหนัด ความขัดเคือง และความหลง พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ติกัณฑกีวรรค

    ธรรมของผู้ปรารถนา [6526-6t]

    Play Episode Listen Later Jul 1, 2022 56:38


    ธัมมราชาสูตร #ข้อ133 เปรียบเทียบการปกครองโดยธรรมของพระเจ้าจักรพรรดิกับพระศาสดา ใน กาย วาจา ใจ อาชีพ บ้านและนิคม แบบไหนควรและไม่ควรประพฤติ ยัสสังทิสังสูตร #ข้อ134 เปรียบเทียบทิศที่ใช้ประทับของกษัตริย์กับภิกษุผู้มีศีล เป็นพหูสูต ปรารภความเพียร มีปัญญา และวิมุตติที่มีธรรม 4 ประการ ไม่ว่าจะอยู่ ณ ทิศใดๆ ก็เป็นผู้มีจิตหลุดพ้น ปฐมปัตถนาสูตร #ข้อ135 โอรสผู้สืบทอดบัลลังก์ ที่มีคุณสมบัติที่ดี ย่อมปรารถนาราชสมบัติได้ เปรียบมาในภิกษุผู้มีศรัทธา อาพาธน้อย ไม่โอ้อวด ปรารภความเพียร มีปัญญา ย่อมปรารถนาความสิ้นอาสวะได้ฉันนั้นเหมือนกัน ทุติยปัตถนาสูตร #ข้อ136 เหมือน #ข้อ135 มีไส้ในที่ต่างออกมา คือ เป็นที่รักของกองทัพ เป็นบัณฑิต ในส่วนของภิกษุ คือ เป็นผู้มีศีล เป็นพหูสูต มีสติปัฏฐาน 4 อัปปังสุปติสูตร #ข้อ137 บุคคล 5 ประเภท ที่นอนน้อย ตื่นมาก คือ สตรี บุรุษ โจร (เพราะกาม) พระราชา (ทรงงาน) และภิกษุ ทำความเพียรเพื่อสิ้นอาสวะ #ข้อ138-#ข้อ140 ว่าด้วยช้างต้นที่ยังฝึกไม่สำเร็จและสำเร็จแล้ว เปรียบมาในภิกษุที่เป็นเนื้อนาบุญ ใน ภัตตาทกสูตร #ข้อ138 คือ ไม่อดทน ต่อ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อักขมสูตร #ข้อ139 เหมือน #ข้อ138 เพิ่มเติมมาคืออดทนได้ และ โสตสูตร #ข้อ140 เปรียบช้างต้นกับภิกษุ รู้ฟัง รู้ประหาร รู้รักษา รู้อดทน รู้ไป พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต คิลานวรรค ราชวรรค

    จักรอันยอดเยี่ยม [6525-6t]

    Play Episode Listen Later Jun 24, 2022 58:54


    เปรียบจักร คือ กิจการงานที่เราต้องทำ และดำเนินไปนั้น ถ้าประกอบไปด้วยธรรมที่ดีงาม จะเป็นจักรที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ หาโทษมิได้ ปฐมอนายุสสาสูตร #ข้อ125 และทุติยอนายุสสาสูตร #ข้อ126 ธรรมที่เป็นเหตุให้อายุสั้นและอายุยืน มีไส้ในเหมือนกันอยู่ 3 ประการ เหตุให้อายุสั้น คือ ไม่รู้ประมาณ และไม่ทำในสิ่งที่เป็นสัปปายะ บริโภคสิ่งที่ย่อยยาก และที่ต่างกันใน #ข้อ125 คือ เที่ยวในเวลาไม่สมควร ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ (ขั้นต่ำศีล8) และ #ข้อ126 คือ ทุศีล มีปาปมิตร (มิตรชั่ว) ส่วนธรรมที่เป็นเหตุให้อายุยืน คือ กล่าวตรงกันข้ามกันกับที่กล่าวมาแล้ว วปกาสสูตร #ข้อ127 ไม่ควรหลีกออกไปอยู่ผู้เดียว คือ ผู้ไม่สันโดษด้วยปัจจัย 4 และมากด้วยความคิดไปในทางกาม และผู้ควรหลีกออกจากหมู่ คือ กล่าวตรงกันข้ามกันกับที่กล่าวมาแล้ว สมณสุขสูตร #ข้อ128 ทุกข์ของสมณะ คือ ผู้ไม่สันโดษด้วยปัจจัย 4 ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และสุขของสมณะ คือ กล่าวตรงกันข้ามกันกับที่กล่าวมาแล้ว ปริกุปปสูตร #ข้อ129 กล่าวถึง ผู้ทำอนันตริยกรรม5 (กรรมหนัก) คือ ผู้ที่ต้องไปอบาย ไปนรก เป็นผู้เดือดร้อน เป็นผู้แก้ไขไม่ได้ พยสนสูตร #ข้อ130 ความวิบัติแห่งญาติ โภคะและโรค ยังไม่ร้ายแรงเท่า ความวิบัติแห่งศีล และทิฐิ (มิจฉา) ที่เป็นเหตุให้ไปเกิดอบาย นรกได้ และว่าด้วยสมบัติแห่งญาติ โภคะและโรค ก็ไม่เท่าสมบัติแห่งศีล และทิฐิ (สัมมา) ให้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ปฐมจักกานุวัตตนสูตร #ข้อ131 เปรียบเทียบคุณธรรมของพระเจ้าจักรพรรดิกับพระพุทธเจ้า และทุติยจักกานุวัตตนสูตร #ข้อ132 เปรียบเทียบคุณธรรมของผู้ที่จะมาสืบทอดบัลลังก์พระเจ้าจักรพรรดิกับพระสารีบุตร ซึ่งมีบทพยัญชนะที่เหมือนกันแต่มีความหมายนัยยะต่างกัน คือ เป็นผู้รู้ประโยชน์ รู้ธรรม รู้ประมาณ รู้กาล รู้บริษัท พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต คิลานวรรค ราชวรรค

    “บรรลุสุข ได้ด้วยสุข” [6524-6t]

    Play Episode Listen Later Jun 17, 2022 58:47


    ความสุขที่ไม่ควรกลัว คือ จากฌานสมาธิ เพื่อให้ถึงบรมสุข คือ นิพพาน จากคำถามใน ปปติตสูตร #ข้อ 2 ได้อธิบายเพิ่มเติม “บรรลุสุขด้วยสุข” โดย “บรรลุสุข” หมายถึง นิพพาน “ด้วยสุข” หมายถึง ฌานทั้ง 4 ขั้น #ข้อ 116-#ข้อ 120 เปรียบเทียบธรรมในส่วนไม่ดีเหมือนอยู่ในนรก และส่วนดีเหมือนตำรงอยู่บนสวรรค์ มีไส้ในเหมือนกันอยู่ 3 ประการ คือ การพิจารณาและไม่พิจารณาไตร่ตรอง คนที่ควรสรรเสริญ คนที่ควรติเตียน ทำศรัทธาไทยให้ตกไป และในความต่างอีก 2 ประการ ของ วัณณนาสูตร #ข้อ 116 คือ แสดงความเลื่อมใส และไม่เลื่อมใสในสิ่งที่ควรและไม่ควรเลื่อมใส  อิสสุกินีสูตร #ข้อ 117 คือ มีและไม่มีความริษยา กับความตระหนี่ มิจฉาทิฏฐิกสูตร #ข้อ 118 เรื่องปัญญา คือ ทิฐิ และสังกัปปะ มิจฉาวาจาสูตร #ข้อ 119 เรื่องศีล คือ วาจา และกัมมันตะ มิจฉาวายามสูตร #ข้อ 120 เรื่องสมาธิ คือ วิริยะ และสติ คิลานสูตร #ข้อ 121 ภิกษุป่วยไข้ รักษาจิตของตนเองด้วยธรรม 5 ประการนี้ คิอ พิจารณาความไม่งามในกาย ปฏิกูลในอาหาร ความไม่เที่ยงในสังขาร มรณสัญญา ไม่เพลินในโลกทั้งปวง จะหวังอรหัตผลได้ สติสุปัฏฐิตสูตร #ข้อ 122 ไส้ในเหมือนกันกับ #ข้อ 121 ต่างกันแค่ประการแรก คือ ตั้งสติไว้ในภายใน จะเป็นอนาคามี หรือหวังอรหัตผลได้ ปฐมอุปัฏฐากสูตร #ข้อ 123 ผู้ป่วยไข้ที่พยาบาลได้ยากและง่าย คือ ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ (สบายเหมาะสมกับโรคนั้นๆ) รู้ประมาณในสิ่งที่เป็นสัปปายะ ฉันยา บอกอาการตามความเป็นจริง และอดกลั้นต่อเวทนาได้ ทุติยอุปัฏฐากสูตร #ข้อ 124 คุณสมบัติของผู้ที่จะมาดูแลผู้ป่วยไข้ คือ รู้ที่จะจัดยา รู้สิ่งที่เป็นสัปปายะ ไม่รังเกียจอุจจาระ ปัสสาวะ และชักชวนให้คนไข้มีกำลังใจขึ้นมาได้ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อันธกวินทวรรค คิลานวรรค

    รู้อดทน รู้ละตระหนี่ [6523-6t]

    Play Episode Listen Later Jun 10, 2022 56:56


    “อดทน” ไม่ใช่ “เก็บกด” ที่เก็บอกุศลธรรมเอาไว้ แต่อดทนเป็นการใช้ปัญญาไม่ให้อกุศลธรรมเกิดขึ้น ผู้ตระหนี่ เปรียบเสมือนอยู่ในนรก ผู้ที่ละได้แล้ว ย่อมเบาสบายเหมือนดำรงบนสรวงสวรรค์ กุลูปกสูตร #ข้อ111 ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล มีคุณสมบัติ 5 ประเภทนี้ จะยังความศรัทธาให้เกิดขึ้น คิอ ไม่แสดงอาการคุ้นเคยกับผู้ที่ยังไม่คุ้นเคย ไม่แทรกแซงอำนาจ ไม่คบตระกูลที่แตกแยกกัน ไม่พูดกระซิบที่หู ไม่ขอมากเกินไป และในทางตรงข้ามกันกับกล่าวมาแล้วนี้ จะทำให้ไม่เป็นที่พอใจ ที่เคารพ ปัจฉาสมณสูตร #ข้อ112 คุณสมบัติของภิกษุผู้เป็นปัจฉาสมณะ (พระผู้ติดตาม) คือ เดินไม่ห่างนัก ไม่ใกล้นัก รับบาตรหรือของในบาตร (คอยอำนวยความสะดวก) เมื่อพูดเกี่ยวกับสิ่งไม่ดีต้องคอยห้ามกัน ไม่ควรพูดแทรกขึ้น มีปัญญา รู้ความเหมาะสม เป็นผู้ควรพาไปด้วย สัมมาสมาธิสูตร #ข้อ113 ธรรมผู้เข้าสู่สัมมาสมาธิ คือ อดทนต่อ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ จะทำให้เข้าสู่สมาธิได้ง่าย และทางตรงข้ามกัน ถ้าไม่อดทน จิตใจจะถูกดึงไปกระทบตามอายตนะต่างๆ เข้าสมาธิได้ลำบาก อันธกวินทสูตร #ข้อ114 คุณธรรมสำหรับพระใหม่ ให้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมได้ คือ มีศีลเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ และอภิสมาจาร (มรรยาทที่ดีงาม) สำรวมอินทรีย์ พูดให้น้อย ให้มีที่จบ อาศัยเสนาสนะอันสงัด (กายวิเวก) มีสัมมาทัสสนะ (ความเห็นชอบ) มัจฉรินีสูตร #ข้อ115 ถ้ามีความตระหนี่ 3 นัยยะนี้ คือ ตนเองมีแต่ไม่ให้ ไม่มีและไม่อยากให้ผู้อื่นมี ตนเองมีดีแต่ไม่อยากให้ผู้อื่นมีดีกว่า ในที่อยู่ ตระกูล (ญาติโยม) ลาภ (ปัจจัย 4) วรรณะ (ศีล) ธรรม ย่อมอยู่ไม่เป็นสุข แต่ถ้าไม่มีความตระหนี่ย่อมอยู่ผาสุก พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อันธกวินทวรรค

    ปรับทิฐิ ด้วยปัญญา [6522-6t]

    Play Episode Listen Later Jun 3, 2022 55:11


    เมื่อเราเห็นข้อปฏิบัติหรือสิ่งไม่ดีของผู้อื่นแล้ว เราเลือกที่จะใช้ความดีปฏิบัติตอบ ให้เขาได้แก้ไข เปลี่ยนแปลง เป็นคนดีขึ้นมาได้ เป็นการรักษากันและกัน “ด้วยความดี”   จากคำถามใน #ข้อ100 กกุธเถรสูตร “ศาสดาท่านนี้จักทำกรรมใด เขาเองก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้น” เป็นอุบายการรักษาจิตของสาวก (ลูกศิษย์) ที่เมื่อเห็นอาจารย์ของตนปฏิบัติไม่ดีแล้ว เลือกที่จะรักษาจิตให้มีความดี ให้มีเมตตา   สีลสูตร #ข้อ107 ภิกษุถึงพร้อม (จนสุดถึงขั้นผล) ด้วย ศีล สมาธิ ปํญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะความหมายเหมือนกันกับ อเสขสูตร #ข้อ108 ภิกษุประกอบด้วย อริยศีลขันธ์ (ขันธ์ คือ กอง กลุ่มก้อน) สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก   จาตุททิสสูตร #ข้อ109 ภิกษุผู้เที่ยวไปในทิศทั้ง 4 (พระอรหันต์) เป็นผู้มีศีล พหูสูต สันโดษด้วยปัจจัย 4 ได้ฌาน 4 ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ ไส้ในเหมือนกันกับ อรัญญสูตร #ข้อ110 ภิกษุผู้ควรอยู่ในป่า (พระอรหันต์) ต่างกันประการที่ 3 คือ ปรารภความเพียร มีอาสวะสิ้นแล้ว จะอยู่ที่ไหนก็อยู่ได้ จะไปที่ไหน ก็ไปได้   พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ผาสุวิหารวรรค

    “เพ่งเฉพาะตน” [6521-6t]

    Play Episode Listen Later May 27, 2022 56:32


    เราควรเอาใจ มาใส่ไว้ใน “ศีล สมาธิ ปัญญา” ของตัวเอง มีเมตตาทางกาย วาจา ใจที่ดี ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ไม่ว่าคนอื่นจะไม่ดีอย่างไร จะไม่สะเทือนใจไปตาม เป็นผู้ที่อยู่ผาสุกได้ สารัชชสูตร #ข้อ101 ธรรมเครื่องทำความแกล้วกล้าของผู้เป็นเสขะ ให้มีกำลังใจ กล้าที่จะทำต่อไป คือ ผู้มีศรัทธา (มั่นใจ กล้าลงมือปฏิบัติ) ศีล (มีวินัย นิสัยที่ถูกต้อง) พหูสูต (ฟัง ศึกษาธรรมมาก) ความเพียร (4ลักษณะ) ปัญญา (พิจารณา) อุสสังกิตสูตร #ข้อ102 ธรรมที่เมื่อเข้าไปเกี่ยวข้องแล้ว อาจทำให้ถูกสงสัยว่าไม่ดี ต่อให้ไม่ผิดเป็นพระอรหันต์แล้วก็ตาม เพราะอาจจะเกิดคำติเตียนได้ คือ ไปมาหาสู่อยู่เป็นประจำกับหญิงโสเภณี หญิงหม้าย สาวเทื้อ (สาวแก่) กะเทย นักบวชหญิง มหาโจรสูตร #ข้อ103 อุปมาโจร คือ อาศัยที่ขรุขระ (หายาก) ป่ารก (จับยาก) อิทธิพล (เส้นสาย) จ่ายทรัพย์กลบความผิด ไปคนเดียวไม่มีใครรู้ความลับ และอุปไมยภิกษุ คือ มีกรรมทางกาย วาจาและใจไม่ตรง เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีเส้นสายอิทธิพล ใช้เงินกลบความผิด ไปรูปเดียวไม่มีใครตรวจสอบความผิด เป็น “คนโขมยกิน” สมณสุขุมาลสูตร #ข้อ104 ธรรมสมณะผู้ละเอียดอ่อน จะถูกขอให้ใช้สอยปัจจัย 4 โดยส่วนมาก ได้รับกรรมทางกาย วาจา ใจที่น่าพอใจ สุขภาพดี ได้ฌาณ 4 ทำให้แจ้งด้วยเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ผาสุวิหารสูตร #ข้อ105 ว่าด้วยความผาสุก คือ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ประกอบด้วยเมตตาทั้งต่อหน้าและลับหลัง มีศีล และอริยทิฏฐิ (วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ) อานันทสูตร #ข้อ106 เครื่องอยู่ผาสุกที่ประณีต คือ มีศีล ไม่ติเตียนผู้อื่นด้วยศีล ใส่ใจตนเอง ไม่ใส่ใจผู้อื่น (ไม่เพ่งโทษผู้อื่น) ไม่กังวลใจกับชื่อเสียง เป็นผู้ได้ฌาณ 4 ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ผาสุวิหารวรรค

    ทางแห่งความผาสุก [6520-6t]

    Play Episode Listen Later May 20, 2022 58:16


    “สมาธิ” คือ เครื่องอยู่ที่จะทำให้เกิด “ความผาสุก” เป็นความสุขอีกประเภทที่เหนือกว่า สุขเวทนา และทุกขเวทนา ผาสุวิหารสูตร #ข้อ94 ธรรมที่เป็นเครื่องอยู่ให้เกิดความผาสุก คือ สมาธิในขั้นที่ 1-4 (รูปฌาน) เป็นความพ้นจากกิเลสที่อาจจะยังกลับกำเริบได้ อุปไมยเหมือนหินทับหญ้า แต่ถ้าประกอบด้วยเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ คือ ไม่เร่าร้อนไปตามอำนาจกิเลส เป็นความสิ้นไปแห่งอาสวะนั่นเอง อกุปปสูตร #ข้อ95 ผู้มีธรรมไม่กลับกำเริบ คือ ปฏิสัมภิทา 4 ปัญญาแตกฉานใน อรรถ (เข้าใจความหมายได้หลายนัยยะ) ธรรม นิรุตติ (เข้าใจภาษาได้ลึกซึ้ง) ปฏิภาณ (ไหวพริบถาม-ตอบปัญหา) และการพิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้วในแต่ละขั้น ฝึกสังเกตเห็นการเกิด-ดับ เสริมปัญญาให้ถึงธรรมะที่ไม่กลับกำเริบได้ #ข้อ96-98 ธรรม 5 ประการนี้ เมื่อทำอานาปานสติก็จะบรรลุธรรมได้ไม่นานนัก มีไส้ในที่เหมือนกันอยู่ 4 ประการ คือ มีธุระน้อย ไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง นอนน้อย พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว ส่วนที่แตกต่างใน สุตธรสูตร #ข้อ96 คือ เป็นพหูสูต ฟังธรรมมาก ส่วนในกถาสูตร #ข้อ97 คือ กถาวัตถุ 10 ทำให้จิตเปิดโล่ง มาคิดในทางที่จะทำให้เกิดการบรรลุธรรม และอารัญญกสูตร #ข้อ98 คือ อยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท สีหสูตร #ข้อ99 การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าที่เปรียบเทียบไว้ว่าเหมือน “ราชสีห์ บรรลือสีหนาท” คือ เป็นผู้หนักในธรรม เมื่อจะแสดงธรรมแก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา และปุถุชน ก็จะแสดงโดยเคารพในธรรม พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต กกุธวรรค

    มีธรรมเป็น “เครื่องรักษาตน” [6519-6t]

    Play Episode Listen Later May 13, 2022 55:37


    “ความดี” ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องอาศัยผู้อื่นมาคอยช่วยยืนยันรักษาว่าเรามีดี เพราะความดีที่มีอยู่ ย่อมเป็นเครื่องรักษาตน และหอมฟุ้งด้วยตัวเอง กกุธเถรสูตร #ข้อ100 แบ่งศาสดาไว้ 5 ประเภท ตามคุณธรรม 5 อย่างนี้ คือ ศีล อาชีพ ธรรมเทศนา (อรรถ ความหมาย) เวยยากรณะ (ภาษาตัวบท) ญาณทัสสนะ (เห็นตามความเป็นจริง) ที่ไม่บริสุทธิ์ แต่พูดว่าบริสุทธิ์ สาวก(ลูกศิษย์) อยู่ด้วยจะรู้ และด้วยเหตุเพราะเป็นศาสดา จึงร่ำรวยปัจจัย 4 ถ้าเตือนกันก็อาจทำให้ไม่พอใจ จึงช่วยปกปิดรักษาธรรมที่ไม่บริสุทธิ์นั้น แต่พระศาสดาเรามีธรรมบริสุทธิ์อยู่แล้ว จึงไม่ต้องอาศัยผู้อื่นมาช่วยรักษา ปฐมสัมปทาสูตร #ข้อ91 ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล สุตะ (การฟังธรรม) จาคะ (ทาน), ปัญญา ควรทำให้มี ดีขึ้น ให้เต็มพร้อม ทุติยสัมปทาสูตร #ข้อ92 ความถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ (การหลุดพ้น) วิมุตติญาณทัสสนะ (ความรู้ในการหลุดพ้นนั้น รู้ว่า ราคะ โทสะ โมหะ สิ้นไปแล้ว) ใน #ข้อ91 และ #ข้อ92 มีอานิสงส์ทำให้เกิดความดี และความสุขในสัมปรายภพ พยากรณสูตร #ข้อ93 บอก หรือตอบผลลัพธ์ของเหตุที่เราเดิน (มรรค) ปฏิบัติมา ได้โดย 5 ประการนี้ ตอบว่าได้อรหัตผล เพราะว่า โง่เขลาเข้าใจผิด ปรารถนาลาภสักการะ ตีเอาความที่บัญญัติไว้ด้วยจิตที่ฟุ้งซ่าน คิดไปเอง และประการสุดท้าย คือ บรรลุอรหัตผลจริงๆ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต กกุธวรรค ข้อที่ 91-93 และข้อที่ 100

    “ผู้นำ” เพื่อประโยชน์สุข [6518-6t]

    Play Episode Listen Later May 6, 2022 56:57


    สิ่งดีงามต่างๆ ถ้าได้ไปอยู่ในมือของผู้ที่มีความเห็นที่ถูกต้อง เป็น “สัมมาทิฏฐิ” สิ่งนั้นจะเป็นไป “เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข เพื่อประโยชน์กับตนเอง และผู้อื่น” และในสิ่งดีงามที่มีอยู่เช่นเดิม ถ้าไปอยู่ในมือของผู้ที่มีความเห็นผิด เป็น “มิจฉาทิฏฐิ” สิ่งนั้นจะ “เป็นทุกข์ ไม่เกื้อกูล ไม่เป็นประโยชน์กับตนเอง และผู้อื่น” ปฏิสัมภิทาปัตตสูตร #ข้อ86 คือ ปฏิสัมภิทา4 ปัญญาแตกฉานใน อรรถ (เข้าใจความหมายได้หลายนัยยะ), ธรรม, นิรุตติ (เข้าใจภาษาได้ลึกซึ้ง), ปฏิภาณ (ไหวพริบถาม-ตอบปัญหา) และข้อ5 ขยัน ไม่เกียจคร้าน สีลวันตสูตร #ข้อ87 เป็นผู้มีความงามของศีล, เป็นพหูสูต เวลาบอกสอนมีข้อมูลพร้อม, พูดจาไพเราะ, มีสมาธิ, มีปัญญา ผู้ที่ประกอบด้วยธรรมใน #ข้อ86และ #ข้อ87นี้ “ย่อมเป็นที่รัก ที่น่าเคารพยกย่อง” เถรสูตร #ข้อ88 ธรรมที่ไม่เกื้อกูล ไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก คือ เป็นผู้บวชมานาน, มีชื่อเสียง ยศ บริวาร, ร่ำรวยด้วยปัจจัย 4, เป็นพหูสูต, เป็น มิจฉาทิฏฐิ (อกุศลเพิ่ม) และธรรมที่เกื้อกูล เป็นประโยชน์แก่คนหมู่มาก จะเหมือนกันใน 4 ประการแรก แตกต่างกันในประการที่ 5 คือ เป็น สัมมาทิฏฐิ คือ อกุศลลด กุศลเพิ่ม วางความยึดถือลงได้ ปฐมเสขสูตร #ข้อ89 ธรรมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ผู้ที่เป็นเสขะ (ยังต้องศึกษา) คือ ชอบการงาน, พูดคุย, หาความสุขในการนอน, ชอบคลุกคลี, ไม่พัฒนาคุณธรรมให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไป และธรรมเพื่อความเจริญ คือ ตรงข้ามกับที่กล่าวมา ทุติยเสขสูตร #ข้อ90 มีกิจมาก, ปล่อยเวลาล่วงไป, คลุกคลีกับคฤหัสถ์, ออกบิณฑบาตเช้า-กลับสายนัก, ไม่ประกอบด้วยธรรมกถาต่างๆ แล้วละการหลีกเร้น จิตไม่เป็นสมาธิ เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ผู้ที่เป็นเสขะ และธรรมเพื่อความเจริญ คือ ตรงข้ามกับที่กล่าวมาแล้ว พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต เถรวรรค ข้อที่ 86-90

    ธรรมอันเป็น “ที่รัก” [6517-6t]

    Play Episode Listen Later Apr 29, 2022 56:41


    ทักษะอะไร ที่เมื่อเราอยู่ร่วมกับผู้อื่นแล้ว จะเป็นเหตุให้ เป็น “ที่รัก ที่น่าพอใจ ที่น่าเคารพ และยกย่อง” ข้อที่ 81-85 นี้ ว่าด้วยธรรมของ “พระเถระ” เป็นข้อปฏิบัติของความเป็นผู้ใหญ่ที่ดี ในแต่ละข้อ จะประกอบด้วยธรรม 5 ประการ คือ “ธรรม” ที่จะเป็นเหตุให้ “ไม่เป็นที่รัก ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเคารพยกย่อง” และในทางตรงกันข้ามกัน “ธรรม” ที่จะเป็นเหตุให้ “เป็นที่รัก ที่น่าพอใจ น่าเคารพและยกย่อง” รชนียสูตร #ข้อ81 กำหนัด ขัดเคือง หลง โกธร มัวเมา ให้มาพิจารณาถึงความไม่เที่ยงในสิ่งต่างๆ รู้เห็นตามจริงในอริยสัจ 4 เอาโลกธรรม 8 มาพิจารณา จะไม่กำหนัด ขัดเคือง หลง โกธร มัวเมาได้ วีตราคสูตร #ข้อ82 ใน 3 ข้อแรก (ราคะ โทสะ โมหะ) ความหมายเหมือนกันกับ #ข้อ81 ที่แตกต่างกันออกมา คือ “เป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน” คือ การไปด้อยค่า หรือคุณธรรมของบุคคลอื่น และ “เป็นผู้ตีเสมอ” คือ ยกคุณของตัวเองให้เสมอเขา ดีกว่าเขา กุหกสูตร #ข้อ83 เป็นผู้หลอกลวง พูดป้อยอ ผู้ทำนิมิต พูดบีบบังคับ แสวงหาลาภด้วยลาภ คือ พูดหรือแสดงอาการเพื่อให้เกิดความเลื่อมใส หวังลาภสักการะ ชื่อเสียง อัสสัทธสูตร #ข้อ84 เป็นผู้ไม่มีศรัทธา หิริ โอตตัปปะ เกียจคร้าน มีปัญญาทราม ตรงกันข้ามกัน คือ ให้เชื่อมั่น กลัวละอายต่อบาป มีความเพียร โยนิโสมนสิการ จะสอดคล้องกับธรรมของเสขพละ 5 อักขมสูตร #ข้อ85 เป็นผู้ไม่อดทนต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ให้เป็นผู้อดทนต่อผัสสะนั้นๆ เพื่อไม่ให้มีอกุศลธรรมเกิดขึ้นมา ความอดทนเป็นทักษะที่ฝึกฝนกันได้ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต เถรวรรค

    “ผาสุก” จากอนาคตภัย [6516-6t]

    Play Episode Listen Later Apr 22, 2022 58:29


    “ภัยจากในอนาคต” ทั้งที่ไกลและใกล้มีมาก “รีบทำความเพียร ในการทำให้แจ้งซึ่งธรรม” ไม่ประมาทในวันและเวลา จะเป็นผู้ที่อยู่อย่างผาสุกได้ แม้เมื่อภัยนั้นมาถึงแล้ว ปฐมอนาคตภยสูตร #ข้อ77 ภัยของผู้ที่อยู่ป่า คือ ภัยจาก งูพิษ ลื่นล้ม ลมพิษ เสือ สิงโต โจร ผู้ร้าย อมนุษย์ ยักษ์ เป็นภัยที่อยู่ใกล้ความตายอย่างมาก มีความตายมาเป็นเหตุกระตุ้น ให้รีบทำความเพียรในตอนนี้ ทุติยอนาคตภยสูตร #ข้อ78 ภัยในอนาคตทั่วๆ ไป คือ ภัยจาก ความแก่ เจ็บไข้ ภิกษาหาได้ยาก ความวุ่นวาย สงฆ์แตกแยก จะทำความเพียรได้ยาก ให้ทำในเวลาที่ยังทำได้ง่ายอยู่นี้ ตติยอนาคตภยสูตร #ข้อ79 ภัยที่ยังไม่เกิดขึ้น แต่จะเกิดขึ้นในเวลาต่อมา คือ เมื่อภิกษุไม่เจริญกายคตาสติ ศีล สมาธิ และปัญญา จึงไม่สามารถแนะนำ พร่ำสอนคุณสมบัติเหล่านี้ได้ มีความเข้าใจผิด สนใจธรรมเหล่าอื่น ทอดทิ้งธุระในการหลีกเร้น จึงเป็นเหตุให้เสื่อมในธรรมและวินัย จตุตถอนาคตภยสูตร #ข้อ80 เมื่อภิกษุชอบจีวรสวยงาม เที่ยวถือบิณฑบาตที่มีรสอร่อย ชอบเสนาสนะที่สวยงาม คลุกคลีกับภิกษุณี สามเณรี คนวัด และสามเณร ทำให้เกิดการแสวงหาที่ไม่เหมาะสม เป็นการเตือน เพื่อให้ละภัยเหล่านั้น พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต โยธาชีวรรค ข้อที่ 77-80

    พ้นแล้วด้วยจิตและปัญญา [6515-6t]

    Play Episode Listen Later Apr 15, 2022 53:55


    “ธรรมะ” ที่จะทำให้มีการบรรลุธรรมขั้นสูงคือ เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ เมื่อเจริญให้มากซึ่งสมถะและวิปัสสนา จนเป็นผลให้มีการหลุดพ้นด้วยจิตกับปัญญา ปฐมเจโตวิมุตติผลสูตร #ข้อ 71และ ทุติยเจโตวิมุตติผลสูตร #ข้อ 72 เมื่อปฏิบัติร่วมกัน ( มีข้อธรรมที่เหมือนกันอยู่ 1 ข้อ คือ อนิจจสัญญา) จนมีเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติเป็นผลแล้ว ย่อมเป็นผู้ละอวิชชา, การเกิดในภพใหม่, ตัณหา, สังโยชน์เบื้องต่ำและเบื้องสูงได้หมดสิ้น ปฐมธัมมวิหารีสูตร #ข้อ 73 การเป็นผู้ที่อยู่ด้วยธรรมคือ ต่อให้เป็นผู้ที่เรียนธรรมมามากจนเทศนาบอกต่อได้ ท่องจำ และใคร่ครวญในธรรมนั้น แต่ถ้าห่างเหินการหลีกเร้น ไม่ทำความสงบในจิตใจ ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม เน้นมาในเรื่องสมถะ ทุติยธัมมวิหารีสูตร #ข้อ 74เน้นมาในวิปัสสนา ทำปัญญาให้ยิ่ง คือกิเลสต้องลดลง กำจัดกิเลสออกได้ โดยการนำหลักธรรมที่เหมือนกันกับในปฐมธัมมวิหารีสูตรนี้ นำมาปฏิบัติให้เข้าสู่จิตใจ จนให้ผลเป็นความสงบใจ แล้วให้เกิดปัญญา พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต โยธาชีวรรค ข้อที่ 71-74

    นักรบของพระศาสดา [6514-6t]

    Play Episode Listen Later Apr 8, 2022 54:35


    เปรียบอุปมาอุปมัย ในนักรบที่เมื่อต้องเข้าสู่สมรภูมิการต่อสู้ อะไรเป็นเหตุให้ได้ชนะหรือพ่ายแพ้ เปรียบมาในนักบวชหรือบรรพชิตซึ่งข้าศึกของบรรชิตคือสตรีหรือเพศตรงข้าม ความหวั่นไหวที่เกิดขึ้นจนต้องบอกคืนสิกขา ไม่อาจถือครองพรหมจรรย์อยู่ต่อไปได้ ไม่ใช่อะไรแต่เป็นกิเลสในจิตใจของตน คือ ราคะ โทสะ และโมหะ ที่มีผัสสะเป็นแดนเกิด คือการไม่รู้จักสำรวมในอินทรีย์ จึงเป็นเหมือน นักรบที่พ่ายแพ้ ในปฐมโยธาชีวสูตร นี้ กล่าวถึงนักรบ 5 ประเภท คือในประเภทที่ 1-4 นี้ แค่เห็นฝุ่นคลุ้งขึ้น, เห็นยอดธง, ได้ยินเสียงกึกก้อง และหวาดสะดุ้งต่อการประหารของข้าศึก เกิดอดทนไม่ได้ เปรียบมาในนักบวชที่ได้ฟังหรือได้เห็นได้พูดคุยกับมาตุคามแล้ว มีการถูกต้องสัมผัสทางกาย เกิดความเพลิดเพลิน ยินดี พอใจในผัสสะนั้น บอกคืนสิกขาไป ส่วนนักรบประเภทที่ 5 คือ เป็นยอดของนักรบที่เป็นผู้ชนะในสงคราม เปรียบกับนักบวชที่กำหนดรู้ เห็นกิเลสแล้วละเสีย แล้วเจริญฌานทำให้แจ้งถึงความสิ้นอาสวะ และในทุติยโยธาชีวสูตร ก็คล้ายกันเปรียบนักรบที่ถูกฆ่าตายบ้าง ตายในระหว่างจะไปรักษา รักษาแล้วตายหรือหายบ้าง เปรียบมาในนักบวชที่เมื่อเห็นมาตุคามแล้วเกิดผัสสะอยากบอกคืนสิกขา และนักรบประเภทสุดท้ายคือ เข้ายึดค่ายเป็นผู้ชนะในสงคราม นั้น กล่าวคือ รู้จักสำรวมอินทรีย์ ฆ่าเสียซึ่งกิเลส เจริญสมาธิ ทำวิมุตติญาณทัสสนะให้เกิดขึ้นได้ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต โยธาชีวรรค ข้อที่ 75-76

    ธรรมเพื่อความสิ้นอาสวะ [6513-6t]

    Play Episode Listen Later Apr 1, 2022 58:31


    ปฐม/ทุติยวัฑฒิสูตร ถ้าชีวิตต้องการความเจริญ ต้องมี 5 ข้อนี้ ถ้าชีวิตมีปัญหาแสดงว่า 5 ข้อนี้บกพร่องไป นั่นคือ ศรัทธา, ศีล, สุตะ, จาคะ และปัญญา  สากัจฉาสูตรและสาชีวสูตร สากัจฉาคือการสนทนากัน สาชีพคือการถามตอบเป็นการเอื้อเฟื้อในการอยู่ร่วมกัน ทั้งสองข้อนี้เป็นสิ่งที่ท่านนั้นมีอยู่ทำได้อยู่แล้วและยังสามารถตอบปัญหาในเรื่องนั้น ๆ ได้ด้วย ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา สามข้อแรกนี้คือส่วนของมรรคนั่นเอง ถัดมาคือวิมุตติ เป็นการพ้น มี 2 นัยยะ นัยยะแรกคือพ้นชั่วคราวจากภาวะในสมาธิ และพ้นแบบไม่กลับกำเริบ นั่นคือนิพพาน สุดท้ายคือวิมุตติญาณทัสสนะ การรู้ได้ด้วยตนเองว่าพ้นแล้วมีสติสัมปชัญญะในการพ้นนั้น  ปฐมและทุติยอิทธิปาทสูตร อิทธิบาทคือฐานแห่งฤทธิ์ การเจริญอิทธิบาท 4 และการมีความขะมักเขม้น จะทำให้เกิดผลสูงคืออรหัตตผลหรืออย่างน้อยอนาคามีผล และเมื่อครั้งเป็นโพธิสัตว์ก็ด้วยการเจริญ 5 ข้อนี้ ยังผลให้มีฤทธิ์มาก ธรรมที่ทำให้มีฤทธิ์มากนี้คือ ฉันทะ/วิริยะ/จิตตะ/วิมังสา ที่ประกอบด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่งที่ผสานด้วยสมาธิ และความขะมักเขม่นคือความพอดีในการปฏิบัติประดุจการประคองหม้อน้ำมันให้พ้นจากเงื้อมดาบของเพชฌฆาต นิพพิทาสูตรและอาสวักขยสูตร การพิจารณาธรรม 5 ข้อนี้แล้วจะทำให้เกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด การที่เรามีความเพลินความยินดีในสิ่งใดแสดงว่าเรามีอุปาทานความยึดถือในสิ่งนั้น ๆ ว่าเป็นตัวเราว่าเป็นของเรา การพิจารณาความไม่งามของกาย ความปฏิกูลในอาหาร ความไม่น่าเพลิดเพลินของโลก ความไม่เที่ยง มรณสัญญา พิจารณาเรื่อย ๆ ความดับของจิตที่จะไปยึดถือจากกิเลสจะเกิดขึ้นได้ ส่วนอาสักขยสูตร การสิ้นอาสวะ คือการปฏิบัติตาม 5 ข้อนี้ ความยึดถือจะก้าวลงไม่ได้ ราคะ โทสะ โมหะ จะไม่มี การปรุงแต่งจะเป็นการปรุงแต่งจากอราคะ อโทสะ และอโมหะ ซึ่งเป็นการปรุงแต่งตามมรรค 8 พอเราปรุงแต่งตามมรรค การแทรกซึมของกิเลสจะเกิดไม่ได้ เจริญทั้งหมดนี้เป็นไปเพื่อการสิ้นอาสวะ ดับกิเลส เพราะกิเลสหรืออนุสัยเป็นตัวอบรมจิต พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต สัญญาวรรค ข้อที่ 63-70

    สัญญาพานิพพาน [6512-6t]

    Play Episode Listen Later Mar 25, 2022 54:39


    ลิจฉวิกุมารกสูตร ปรารภเจ้าลิจฉวี เป็นลักษณะการใช้จ่ายทรัพย์ที่ทำให้เกิดความเจริญในชีวิตไม่มีเสื่อมเลย 5 ข้อนี้เป็นการแบ่งจ่ายทรัพย์ใน 4 นัยยะ  ในปฐมและทุติยวุฑฒปัพพชิตสูตร เป็นเรื่องของพระบวชเมื่อแก่ ที่มักเรียกว่า “หลวงตา” ที่สำคัญคืออย่าไปเหมารวมว่าไม่ดีหมด ไม่ใช่ แต่ให้มองว่าถ้ามีคุณลักษณะที่ดี 2 นัยยะ นัยยะละ 5 ข้อนี้แล้ว ก็จะสามารถเป็นบุคคลที่ประเสริฐได้  ในปฐมและทุติยสัญญาสูตร หมวดว่าด้วยสัญญา สัญญาหมายถึงความหมายรู้ กำหนดรู้ขึ้น สัญญาไม่ใช่เหมือนกันหมด บางสัญญาก็จะเป็นไปเพื่อความมีกิเลสมาก ขณะเดียวกันสัญญาบางอย่างก็ลดกิเลสได้ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาที่ทำให้กิเลสเพิ่มหรือกิเลสลด ต่างก็ไม่เที่ยงเหมือนกัน เพราะฉะนั้นมรรคกับทุกข์เหมือนกันตรงความไม่เที่ยง ต่างกันตรงหน้าที่ มรรคทำให้มาก ทุกข์ให้เข้าใจ สัญญา 5 ประการได้แก่ อนิจจสัญญา กำหนดหมายว่ามันไม่เที่ยง เพื่อลดความมัวเมาในอัตตาตัวตน, อนัตตสัญญา กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในสิ่งทั้งปวง ทุกสิ่งล้วนมีเหตุมีปัจจัย ไม่ได้เป็นอัตตา ละอุปาทานในความเป็นตัวฉัน ความเป็นของฉัน และความเป็นตัวตนของฉัน เพื่อลดความเข้าใจว่าสิ่งต่าง ๆ เป็นของเรา, มรณสัญญา การกำหนดหมายว่าสิ่งต่าง ๆ มีความตายเป็นธรรมดา เป็นการลดความมัวเมาในชีวิต, อาหาเรปฏิกูลสัญญา กำหนดหมายในความไม่น่าดู เพื่อรู้ประมาณในการบริโภค รู้เวทนา เป็นไปเพื่ออานิสงส์ใหญ่ และ สัพพโลเกอนภิรติสัญญา กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง ไม่ใช่การมองโลกในแง่ร้าย แต่มองตามความเป็นจริง เป็นธรรมดา มองผ่านสติ สัญญา 5 ประการนี้เป็นทางแห่งมรรค ที่เมื่อเจริญแล้ว จะทำความเป็นอมตะให้เกิดขึ้นได้  พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต นีวรณวรรค ข้อที่ 58-62

    พ้นเหตุที่ทำให้ถึงซึ่งการสึก [6511-6t]

    Play Episode Listen Later Mar 18, 2022 54:36


    มาตาปุตตสูตร พูดถึงความสัมพันธ์ต่อกันของเพศตรงข้าม ที่มาตามรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ อันเป็นที่เกิดความกำหนัด เป็นอันตรายต่อนิพพาน โดยยกกรณีของมารดากับบุตร ที่แม้บวชแล้วก็ยังคลุกคลีกันจนนำไปสู่ความพ่ายแพ้ ต้องระวังให้ดีไม่ว่าใครก็ตาม ไม่ว่าอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม จนแม้กระทั่งตายไปแล้วก็เช่นกัน การอยู่กับเพศตรงข้ามแล้วมีจิตลุ่มหลงจะรอดยากกว่าเจออสรพิษ อุปัชฌายสูตร ปรารภภิกษุผู้ที่มีเหตุจะให้สึก การที่มีกายหนัก ทิศทั้งหลายไม่ปรากฏ ธรรมทั้งหลายไม่แจ่มแจ้ง ถีนมิทธะครอบงำ ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และมีความสงสัยในธรรม เหตุเพราะว่า 1) ไม่คุ้มครองในอินทรีย์ แก้โดยมีสติเป็นนายทวาร 2) ไม่รู้ประมาณในการบริโภค รู้ประมาณ คือ การพิจารณาจากเวทนาทั้งที่เป็นสุข และที่เป็นทุกข์ เป็นไปเพื่อระงับเวทนา และไม่เป็นไปเพื่อเวทนาใหม่ที่มากเกินไป ตั้งจิตคอยสังเกตเวทนาที่เกิดขึ้นเหมือนการกินเนื้อบุตร ปรับความคิดเห็นว่าการมีกายที่เบานั้นเหมาะแก่การเจริญภาวนา 3) ไม่ประกอบธรรมอันเป็นเครื่องตื่น เครื่องตื่น คือ ตื่นตัวอยู่เสมอในความเพียร ไม่ใช่ไม่นอน 4) ไม่เห็นแจ้งในกุศลธรรมทั้งหลาย แก้โดยให้จับฉวยให้ไวในศีล สมาธิ ปัญญา 5) การไม่ประกอบเจริญในโพธิปักขิยธรรม ถ้าไม่เจริญธรรมนั้นก็จะมีแต่เสื่อมท่าเดียว สามารถนำไปปรับใช้ได้กับสถานการณ์ที่บีบบังคับได้ดี เป็นธรรมที่คุ้มครองให้ผ่านอุปสรรคไปได้ ฐานสูตร ความเป็นธรรมดานั้น คือ การพิจารณาว่ามันเกิดได้กับทุกคน ไม่ใช่การมองโลกในแง่ร้าย ความธรรมดาที่ล่วงพ้นไปไม่ได้ ควรพิจารณาอยู่เนืองๆ ที่เมื่อพิจารณาแล้วจะทำให้ละ หรือลดความมัวเมาได้ ได้แก่ ความแก่ลดความมัวเมาในวัย ความเจ็บไข้ลดความมัวเมาในความไม่มีโรค ความตายลดความมัวเมาในชีวิต ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่ชอบใจละความกำหนัดได้ และทุกคนมีกรรมเป็นของตน ความเข้าใจนี้จะทำให้ไม่ไปตามมงคลอื่นๆ เมื่อเข้าใจทั้ง 5 ประการนี้แล้วจะทำให้อยู่ในมรรค ก้าวหน้าในธรรม จนเป็นอริยบุคคลขั้นใดขั้นหนึ่งได้ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต นีวรณวรรค ข้อที่ 55-57

    นิวรณ์ 5 สิ่งที่กั้นปัญญา [6510-6t]

    Play Episode Listen Later Mar 11, 2022 57:40


    ในข้อ 51 และ 52 เป็นเรื่องเกี่ยวกับนิวรณ์ และการแก้ไข นิวรณ์ หมายถึง เครื่องกั้น เครื่องลวง เครื่องห่อ เครื่องหุ้มเอาไว้ บังเอาไว้ ครอบงำจิต บังจิต หุ้มห่อจิต รัดรึงจิต เพื่อไม่ให้เกิดปัญญา เหมือนมีสนิมเคลือบที่มีดทำให้ไม่คม องค์รวมของมัน คือ ทำจิตให้ไม่มีกำลังปัญญา มีนิวรณ์ที่ใดที่นั้นไม่มีสมาธิ นิวรณ์มี 5 อย่าง คือ 1) กามฉันทะ คือ ความพอใจในกาม: กามหรือกิเลสกาม คือ ความกำหนัดยินดีลุ่มหลงในวัตถุกาม วัตถุกาม คือ วัตถุที่สามารถทำให้เกิดความกำหนัดยินดี ในแต่ละคนจะไม่เหมือนกันความหยาบละเอียดต่างกันอยู่ที่กำลังจิตของคนนั้นๆ กามฉันทะ คือ ความพอใจในกาม เป็นสิ่งที่เกิดก่อนกามกิเลส กามฉันทะทำให้เกิดกิเลสกามได้ทั้งสิ่งที่ล่วงไปแล้ว และสิ่งที่กำลังจะมาถึง จึงต้องมีสติอยู่เสมอ 2) ความพยาบาท คือ ความคิดร้ายผูกเวร ถ้าเราสร้างรติในที่ใด ก็จะมีอรติในอีกที่หนึ่งเสมอ แล้วจะไล่มาเป็นปฏิฆะ โกธะ โทสะ และพยาบาทในที่สุด 3) ถีนมิทธะ คือ ความหดหู่ ความเซื่องซึม แก้ด้วยวิธีทั้ง 8 และสติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ 4) อุทธัจจกุกกุจจะ คือ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ แก้ด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ และการสำรวมอินทรีย์ 5) วิจิกิจฉา คือ ความลังเล เคลือบแคลง สงสัย คำถามทุกคำถามไม่ได้จะเป็นวิจิกิจฉาทั้งหมดขึ้นอยู่ที่ศรัทธา ในข้อที่ 53 ถ้าเราจะทำความเพียรเพื่อให้เกิดผล คือ สติ และปัญญา ต้องมีคุณสมบัตินี้ คือ มีศรัทธา มีอาพาธน้อย ไม่มีมายา มีความเพียร มีปัญญา และในข้อที่ 54 เป็นการเปรียบเทียบในสมัยที่จะทำความเพียรได้ผลมากหรือน้อย โดยมีความสัมพันธ์กับข้อที่ 52 คือ สมัยที่เป็นคนแก่ มีอาพาธ ข้าวยากหมากแพง มีการปล้น สมัยที่ภิกษุแตกกัน จะเห็นว่าสมัยเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว แต่ยังโชคดีที่ยังมีช่องให้ผ่านไปได้ พระสุตตันตปิฏก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต: นีวรณวรรค ข้อที่ 51-54

    เหตุถอนลูกศรคือความโศก [6509-6t]

    Play Episode Listen Later Mar 4, 2022 57:55


    ปุญญาภิสันทสูตร ว่าด้วยห้วงบุญกุศล: การทำบุญด้วยจีวร บาตร เสนาสนะ ตั่งเตียง เภสัช แด่ภิกษุที่เป็นอรหันต์ จะเกิดห้วงแห่งบุญ คือ บุญที่ต่อเนื่องไม่ขาดสาย เปรียบเหมือนน้ำจืดที่ไหลลงทะเลไม่เคยขาด เหมือน Passive income เป็นธนาคารบุญ ในข้อที่ 44 ที่อุคคคหบดีถวายของ 6 อย่าง ก็จัดเข้ากับสิ่งของ 5 อย่างนี้นั่นเอง ใน สัมปทาสูตร คือ ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา เราต้องฝึกให้เกิดขึ้น ให้พร้อมขึ้นมา ใน ธนสูตร มีไส้ในเหมือนสัมปทาสูตร เปรียบ 5 ประการนี้ เหมือนอริยทรัพย์ที่เป็นสมบัติเฉพาะตนไม่มีใครจะขโมยไปได้ ไม่เลือนหายไปตามกาล สถานที่ หรือสิ่งแวดล้อม ใน ฐานสูตร ว่าด้วยฐานะที่ใครๆ ไม่พึงได้ หมายถึง เกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา หรือเกิดขึ้นไม่ได้ไม่เป็นธรรมดา มองใน 3 มุม ดังนี้ มุมที่ 1 มองในมุมของอฐานะ คือ ขอของที่มีความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความสิ้นไป ความเปลี่ยนแปลงไปว่า อย่าถึงซึ่งความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความสิ้นไป ความเปลี่ยนแปลงไปนี้ ไม่ได้ เป็นอฐานะ มุมที่ 2 หรือจะเป็นฐานะ คือ ขอ ขอแล้วคุณจะได้ซึ่งความโศก ร่ำไห้ คร่ำครวญ นี่เป็นฐานะ หรือมุมที่ 3 ขอในสิ่งที่ใครๆ ก็ไม่ได้ คุณก็จะไม่ได้ นี่เป็นฐานะ ให้เข้าใจความเป็นธรรมดาที่ว่าห้าสิ่งนีี้เกิดกับใครก็ได้เป็นธรรมดา ไม่ควรยึดถือ พิจารณาให้ดีจะถอนลูกศรแห่งความโศกได้ เป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน เหมือนในข้อที่ 49 และ 50 สองพระราชาเมื่อได้ฟังธรรมจึงสามารถถอนลูกศรแห่งความโศกนี้เสียได้ เข้าใจว่าประโยชน์แม้เพียงเล็กน้อยจากความโศกไม่มี มีกิจอะไรก็ทำไปตามควรแแก่หน้าที่ตน จบ มุณฑราชวรรค พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต มุณฑราชวรรค ข้อที่ 45-50

    ธรรมที่น่าปรารถนา [6508-6t]

    Play Episode Listen Later Feb 25, 2022 55:32


    มุณฑราชวรรค หมวดว่าด้วยพระเจ้ามุณฑราช เริ่มด้วยข้อที่ 42 สัปปุริสสูตร เพราะมีความเกี่ยวเนื่องด้วยข้อที่ 40 ไส้ในเหมือนกัน หัวข้อและอุปมาต่างกัน ในข้อที่ 42 นี้คือ คนดีเกิดมาเพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก คนดีดูได้ที่ ศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา ท่านอุปมาเฆฆฝนที่ตั้งขึ้นย่อมมีคุณต่อชาวนาในการเพาะปลูก ข้อที่ 41 อาทิยสูตร บุคคลที่มีโภคทรัพย์แล้ว ควรถือประโยชน์จากทรัพย์นั้นให้ครบทั้ง 5 ประการ เพราะแต่ละข้อให้ประโยชน์แตกต่างกัน ควรจะขวนขวายเอาให้หมดจากเงินแม้น้อยหรือมากที่เรามีก็ตาม รู้จักบริหารเป็นสุขอยู่โดยธรรม ด้านบำรุงครอบครัวและมิตรให้พลังมีความเพียร ด้านป้องกันภัยให้มีเงินเก็บรู้จักลงทุน ด้านสละเพื่อสังคมทำให้มีกัลยาณมิตร และด้านที่สละออกแด่เนื้อนาบุญจะทำให้บุญนั้นให้ผล ข้อที่ 43 อิฏฐสูตร ธรรมะ 5 อย่างที่ใครๆ ก็ปรารถนา คือ อายุ วรรณะ ความสุข ยศ สวรรค์ แต่การได้มานั้นพระพุทธเจ้าไม่ได้ให้อ้อนวอนหรือเพลิดเพลินไปในสิ่งนั้น ให้เห็นถึงความไม่เที่ยง ให้มีปฏิปทาที่ให้เกิดผลนั้นอยู่ ถ้าเราสร้างเหตุเฉยๆ ไม่มีความอยาก มีความแยบคายในการปฏิบัติ อริยสาวกย่อมได้รับธรรมะห้าข้อนี้ ที่น่าสนใจ คือ เรามักสร้างเหตุถูกต้องตามที่พระพุทธเจ้าสอน แต่เงื่อนไขเราทำมันไม่ถูกต้อง เพราะทำตามความอยาก มันกลายเป็นอ้อนวอนทันที มันกลายเป็นที่น่าปรารถนาทันที ทั้งๆ ที่ไม่ได้คุกเข่าอ้อนวอนอย่างเดียวสร้างเหตุไปด้วย นั่นแหละผิด ต้องไม่อ้อนวอน ไม่อยาก อย่าไปเพลิน สร้างเหตุที่ถูกต้อง ได้ก็ดี ไม่ได้ก็ไม่มีปัญหา คนอย่างนี้จะรักษาประโยชน์ทั้งในโลกนี้และโลกหน้าได้ ข้อที่ 44 มนาปทายีสูตร ผู้ที่ถวายของที่น่าพอใจ ย่อมได้ของที่น่าพอใจ เหมือนกับคฤหบดีนี้ที่เห็นผลเมื่อไปเกิดในสวรรค์ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] ๕. มุณฑราชวรรค ข้อที่ 41-44

    ทานที่ให้ปัญญา [6507-6t]

    Play Episode Listen Later Feb 18, 2022 55:25


    ยังอยู่ในสุมนวรรคเกี่ยวกับอุบาสกอุบาสิกาเป็นเรื่องของการให้ทานการครองเรือน ในข้อที่ 34 สีหเสนาปติสูตร สีหเสนาบดีทูลถามเรื่องผลแห่งทานที่จะเห็นได้ด้วยตนเอง การไม่เผลอเพลินในกามคุณทั้ง 5 จะทำให้ได้อานิสงส์ 5 อย่างนี้ คือ เป็นที่รัก สัตบุรุษคบหา ชื่อเสียงขจรขจาย ไม่ครั่นคร้าม เมื่อตายย่อมไปสุคติ ข้อที่ 35 ทานานิสังสสูตร เหมือนในข้อที่ 34 ต่างตรงข้อที่ 4 คือผู้ให้ทานย่อมไม่เหินห่างจากธรรมของคฤหัสถ์ ซึ่งก็คือการไม่ครั่นคร้ามเวลาเข้าหมู่นั่นเอง ข้อที่ 36 กาลทานสูตร กาลทานคือเฉพาะเวลานั้นเท่านั้นที่จะสามารถทำอย่างนั้นได้ มีจุดเริ่มและจุดจบ ในที่นี้ยังชี้ให้เห็นพรที่นางวิสาขาขอ นางเป็นผู้ฉลาดในการให้ทานที่เป็นทั้งกาลทานและนิจทาน  ข้อที่ 37 โภชนทานสูตร การให้อาหารคือการให้ทุกอย่าง คือ อายุ วรรณะ พละ สุขะ ปฏิภาณหรือปัญญา เมื่อตายไปจะได้รับอานิสงส์อันเป็นทิพย์นี้ด้วย ทานมากน้อยควรทำ ปริมาณไม่ได้เกี่ยวกับบุญมากบุญน้อย อยู่ที่ศรัทธา ทำตามกำลังทรัพย์แล้วตั้งศรัทธาไว้ให้มาก เราจะได้ฐานะ 5 อย่างนี้ ข้อที่ 38 สัทธสูตร เมื่อศรัทธาแล้วย่อมได้รับอานิสงส์จากสัตบุรุษก่อนใครอื่น คือ อนุเคราะห์ ไปหา ให้การต้อนรับ แสดงธรรม และตายก็ไปสู่สุคติ ข้อที่ 39 ปุตตสูตร มารดาบิดาที่ปรารถนาบุตรควรสอนบุตรให้ห้ามจากบาปและตั้งอยู่ในความดีแล้วจะได้รับอานิสงส์นี้ ข้อที่ 40 มหาสาลปุตตสูตร เปรียบต้นสาละใหญ่ที่อยู่ในดินดีย่อมมีกิ่งใบ ใบอ่อน เปลือก สะเก็ด กระพี้ แก่น ที่สมบรูณ์ กุลบุตรถ้ามีศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา ก็จะเจริญในธรรมวินัยนี้ 5 ข้อนี้เปรียบเหมือนน้ำหล่อเลี้ยงจิตใจนั่นเอง จบสุมนวรรค ปัญจก-ฉักกนิบาต สุมนวรรค ข้อที่ 34-40  พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

    เมื่อมีเหตุแล้วย่อมมีผล [6506-6t]

    Play Episode Listen Later Feb 11, 2022 57:48


    เหตุและผล 4 พระสูตรในทีนี้ เริ่มข้อที่ 30 เกี่ยวกับสิ่ง 5 อย่างที่ไหลออก คือ อุจจาระปัสสาวะ ความทุกข์ความโศก ความไม่สวยงามเป็นปฏิกูล ความเป็นปฏิกูลในผัสสะ และความคลายไปของความยึดถือ ที่เป็นผลเกิดจากการกระทำบางอย่างอยู่เป็นประจำ เทียบเคียงกับคนที่ได้เนกขัมมสุขหรือสุขที่เกิดจากสมาธิ ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ที่ไม่ติดในลาภยศสรรเสริญ ข้อที่ 31 เกี่ยวกับผลที่เป็นทิพย์ 5 อย่าง คือ อายุ วรรณะ ความสุข ยศ และอธิปไตย ที่ทำให้แตกต่างกันของผู้ที่ให้ทานกับไม่ได้ให้ แม้จะมีศรัทธา ศีล ปัญญาเสมอกัน กระทั่งผู้ที่ออกบวชที่เคยเป็นผู้ให้ (ทายก) ก็จะได้รับปัจจัยสี่และได้รับการประพฤติกายกรรมวจีกรรมมโนกรรมอันเป็นที่น่าพอใจกว่าดีกว่า ส่วนข้อที่ 32 กล่าวถึงองค์คุณ 4 อย่างของผู้ที่จะไปสู่กระแสหรือโสตาปัตติยังคะ 4 คือ บุคคลที่มีพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์เป็นสรณะ และรักษาศีล 5 ได้ดี เมื่อตายไปย่อมเกิดในสุคติอย่างเดียว ไม่เกิดในทุคติเลย ส่งผลให้มีบุญ 5 อย่าง คือ อายุ วรรณะ เกียรติยศ สุข และพละ และสุดท้ายข้อที่ 33 ปรารภอุคคตเศรษฐีที่ลูกสาวจะออกเรือน จึงนิมนต์พระพุทธเจ้าแล้วได้สอบถามคำถามได้ฟังธรรม 5 อย่างที่เมื่อไปอยู่บ้านสามี จะทำให้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เมื่อตายไปจะเกิดในสวรรค์ (พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต ข้อที่ 30 - 33]

    จุดที่สมาธิเปลี่ยนเป็นปัญญาด้วยองค์ 5 [6505-6t]

    Play Episode Listen Later Feb 4, 2022 60:37


    ปัญจังคิกสูตร ว่าด้วยการเจริญสัมมาสมาธิด้วยองค์ 5 ประการ คือ การไล่มาตามลำดับของการได้มาซึ่งฌานทั้ง 4 และปัจจเวกขณนิมิต จะได้ทราบอุปมาอุปไมยของการได้มาซึ่งฌานนั้น ๆ การเห็นอะไรจึงจะเลื่อนขึ้นในฌานที่สูงขึ้นไปละเอียดลงไปได้ ก็ต้องขจัดความหยาบของฌานที่ได้อยู่แล้วจึงจะพัฒนาต่อไปได้ เมื่อได้ฌานทั้ง 4 บวกกับปัจจเวกขณนิมิต คือ ญาณในการรู้ว่าเรามีเราละอะไรได้ จะทำให้ละเอียดขึ้นได้อย่างไร และการเห็นองค์ประกอบต่าง ๆ ในฌานต่าง ๆ ได้ชัดเจน จิตใจของคนเราถ้ามีสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ 5 ประการนี้แล้ว จะเกิดประโยชน์ในการกำจัดกิเลสได้ วิชชา 6 จะเกิดขึ้น ทำปัญญาให้เกิดขึ้นได้ นี่คือจุดที่สมาธิจะเปลี่ยนเป็นปัญญา ตลอดกระบวนการต้องมีสติอยู่แล้วจึงจะสามารถรู้เห็นตรงนี้ได้ และปัจจเวกขณนิมิตมีได้ในทุกระดับฌาน เป็นตัวที่จะทำให้ฌานเลื่อนขึ้นได้เร็ว ส่วนในจังกมสูตร จังกม แปลว่าการเดิน ทำให้เกิดอานิสงส์ คือ 1. อดทนต่อการเดินทางไกล 2. อดทนต่อการทำความเพียร นี่คืออดทนต่อสิ่งที่อดทนได้ยาก รู้อยู่ว่าทุกข์แต่อยู่กับมันได้ 3. อาหารย่อยได้ง่าย 4. มีอาพาธน้อย นี่คือมีสุขภาพดี มีเวทนาเบาบาง และ 5. สมาธิที่เกิดตั้งอยู่ได้นาน ในอิริยาบถหยาบ ๆ ยังสามารถทำสมาธิให้เกิดขึ้น ยิ่งทุกข์มากยิ่งเห็นธรรมะ มีปัญญาในการแก้ปัญหา (พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต: ปัญจังคิกวรรคข้อที่ 28 - 29)

    การเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ 5 [6504-6t]

    Play Episode Listen Later Jan 28, 2022 58:59


    อยู่ในหมวดธรรมะ 5 ข้อ หมวดที่ 3 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการได้มาซึ่งสัมมาสมาธิจนไล่ลำดับไปถึงปัญญาเพื่อการหลุดพ้น ในปฐม และทุติยอคารวสูตร ว่าด้วยความไม่เคารพ มีเนื้อหาคล้ายกันพูดถึงเหตุปัจจัยที่จะได้สัมมาสมาธิ และเปรียบเทียบส่วนต่างว่า ถ้าทำอย่างนี้จะไม่ได้ หรือได้สัมมาสมาธิ ในข้อที่ 21 เริ่มจากสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วค่อย ๆ ทำให้เกิดสิ่งที่ยิ่งใหญ่ตามมา นั่นคือ เริ่มจากการมีความเคารพยำเกรงในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ก่อให้เกิดอภิสมาจาริกธรรม อภิสมาจาริกธรรมก่อให้เกิดเสขธรรม เสขธรรมก่อให้เกิดศีล ศีลก่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิก่อให้เกิดสัมมาสมาธิ ในข้อที่ 22 เปลี่ยนตรง 3 ข้อสุดท้ายจากศีลเป็นสีลขันธ์ จากสัมมาทิฏฐิเป็นสมาธิขันธ์ จากสัมมาสมาธิเป็นปัญญาขันธ์ เป็นความละเอียดลงไปในแต่ละข้อ ศีลก็เป็นเหตุให้เกิดสมาธิ สมาธิต่อยอดขึ้นไปก็เป็นปัญญาขึ้นมา ในข้อที่ 23 ว่าด้วยความเศร้าหมอง เปรียบเทียบอุปมาอุปไมยเครื่องเศร้าหมอง 5 อย่างของทองกับของจิต ที่เมื่อกำจัดออกไปแล้วจะทำให้ถึงซึ่งนิพพานได้ เครื่องเศร้าหมองของจิตก็คือ นิวรณ์ 5 นั่นเอง จะกำจัดออกไปได้ก็ด้วยสติ ถ้าเรากำจัดนิวรณ์ออกไปจากจิตได้ ความรู้ 6 อย่างจะเกิดขึ้น และจะเป็นตัวที่จะทำให้บรรลุธรรมได้ ในข้อที่ 24 ทุสสีลสูตร ว่าด้วยโทษแห่งความทุศีล และคุณแห่งความมีศีล เปรียบกับต้นไม้ที่มีกิ่งหัก สะเก็ด เปลือก กระพี้ และแก่นจะสมบรูณ์ไปได้อย่างไร เหมือนกับผู้ทุศีลจะไม่สามารถมีสัมมาสมาธิได้ เมื่อไม่มีสัมมาสมาธิการเห็นตามความเป็นจริงย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะศีลเปรียบเหมือนฐานรากของทุกสิ่ง ถ้าศีลสมบรูณ์บริบรูณ์ก่อให้เกิดสัมมาสมาธิที่สมบรูณ์บริบรูณ์ จนทำให้เกิดปัญญาในการเห็นความไม่เที่ยง เกิดยถาภูตญาณทัสสนะ นิพพิทา วิราคะ ทำวิมุตติให้เกิดขึ้นได้ ในข้อที่ 25 ศีล สุตตะ สากัจฉา สมถะ และวิปัสสนา 5 อย่างนี้เป็นองค์ประกอบของสัมมาทิฏฐิ ในข้อที่ 26 บอกถึงลักษณะของบุคคลที่จะบรรลุธรรมได้จากการฟัง การแสดงธรรม การสาธยายธรรม ตรึกตามตรองตามเรื่องที่ได้ฟังมา และมีสมาธิดีจนเข้าใจธรรม ในข้อที่ 27 สมาธิที่เจริญแล้วทำให้เกิดญาณความรู้เฉพาะตนขึ้น สมาธิเราก้าวหน้าหรือไม่ ดูได้จากการเกิดขึ้นหรือไม่ของ 5 ข้อนี้ (พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ปัญจังคิกวรรค หมวดว่าด้วยการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ ข้อที่ 21 - 27)

    Live : ตอบคำถามและหัวข้อธรรมสังคหวัตถุ 4 [6503-6t]]

    Play Episode Listen Later Jan 21, 2022 57:56


    "...เป็นกำลังใจให้ ให้อดทนเอา คนจะรู้ถึงความสุขได้ ต้องผ่านความทุกข์ก่อน โลกก็เป็นอย่างนี้ แต่ความทุกข์ในนรกมันมากกว่า" Q: อิติปิโสต้องสวด 108 ครั้ง?  A: สาระสำคัญอยู่ที่เข้าใจความหมาย และจิตต้องเป็นสมาธิ เรื่องจำนวน และคำพูดเป็นเรื่องรองลงมา การระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเป็นเรื่องสำคัญครูบาอาจารย์บางท่านจึงตัดเหลือแค่พุทโธ เอาตรงจิตที่เป็นสมาธิ Q: ชีวิตมีปัญหาแต่ยังสุขใจที่ได้ฟังธรรม A: เป็นความมหัศจรรย์ 1 ใน 3 อย่างที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น ทำให้กิดความสงบเป็นการทวนกระแสกิเลส Q: เวลาสวดมสต์จำเป็นต้องออกเสียงหรือไม่ A: พระพุทธเจ้ายังเคยให้ท่านพระจุนทะสวดให้ฟัง ไม่ต้องสวดเองก็ได้ อยู่ที่การรักษาจิต หัวข้อธรรมสังคหวัตถุ 4 เป็นธรรมที่สามารถสงเคระห์กันได้ เน้นปิยวาจา ไม่ทำร้ายคนที่ใกล้ชิด Q: 84000 มีจริงหรือไม่หรือแค่สำนวน และเสนอให้นำเรื่องในนักธรรมมาเทศน์ A: เป็นสำนวนแสดงถึงการมีจำนวนมาก เรื่องนักธรรมจะนำเสนอในใต้ร่มโพธิบท Q: การวางตนเสมอกันและสัลเลขธรรมคืออะไร A: การวางตนเสมอกันคือการรู้หน้าที่ของตนไม่ใช่การตีตนเสมอ สัลเลขธรรม คือธรรมะแห่งการขูดเกลาเอากิเลสออก Q: อานาปานสติทำอย่างไร ดูกายด้วยได้หรือไม่ และจะรู้ได้อย่างไรว่าได้ฌาน A: ไม่ตามลม ไม่บังคับลม กำหนดรู้ที่ปริมุกขังบริเวณที่รับรู้ถึงลมเข้าลมออก ดูกายด้วยก็ได้เพราะเป็นแหล่งให้เกิดสติได้เช่นกัน ส่วนเรื่องฌานเป็นเรื่องที่ต้องทำบ่อย ๆ จะเข้าใจรู้ได้ Q: การเขียนอักษรธรรมเป็นสมาธิแบบไหน มีอานิสงส์อย่างไร A: ในพุทธพจน์ไม่พบ แต่เทียบเคียงจัดอยู่ในการฟังธรรมได้ อานิสงส์เมื่อตายไปจิตจะระลึกได้ว่าธรรมะเป็นอย่างนี้ มีความซาปซึ้ง ลักษณะที่ทำงานแล้วจิตเป็นสมาธินี้เป็นลักษณะของสติสัมปชัญญะ Q: ชีวิตผกผันควรวางจิตอย่างไร A: เป็นกำลังใจให้ ให้อดทน คนจะรู้ถึงความสุขได้ต้องผ่านความทุกข์มาก่อน โลกก็เป็นอย่างนี้ แต่ความทุกข์ในนรกมีมากกว่านี้มากนัก Q: ศีล 5 ข้อไหนสำคัญที่สุด A: ทุกข้อเป็นไปเพื่อความปกติของความเป็นคน แก้และป้องกันในแต่ละด้าน

    พละ 5 ธรรมที่ทำให้องอาจ [6502-6t]

    Play Episode Listen Later Jan 14, 2022 58:51


    มาในพลวรรค ข้อที่ 11 - 14 อธิบายโดยรวมได้ดังนี้ พละ 5 เป็นธรรมที่องอาจเป็นการบันลือสีหนาทของพระพุทธเจ้า ทำให้เราได้ฟังได้ยินในสิ่งที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน พละ คือ กำลัง มี 5 อย่าง คือ ศรัทธา: ความมั่นใจความเลื่อมใส ความลงใจในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า แม้เอ่ยเพียงหนึ่งแต่ให้เข้าใจว่ารวมทั้งหมดพุทธธรรมสงฆ์ เป็นศรัทธาที่ไม่เศร้าหมอง เพราะศรัทธาในสัมมาสัมพุทโธ มีศรัทธาแล้วจะทำให้ไม่ลังเลที่จะทำจริงแน่วแน่จริง มีความกล้าในการเผชิญหน้ากับทุกข์ เห็นตามจริง สติเกิดขึ้น สมาธิปัญญาก็ตามมาตามลำดับ ปัญญามีสูงสุดในแต่ละขั้นที่ผ่านไป หิริ โอตัปปะ และสติ สมาธิสามารถนำมาใช้แทนกันได้สลับไปมาได้ในพละนี้ ในข้อที่ 15 จะชี้ให้เห็นว่า สามารถหาคุณธรรมทั้ง 5 ได้จากที่ไหน ศรัทธาหาได้ในโสตาปัตติยังคะ 4 วิริยะหาได้ในสัมมัปปธาน 4 สติหาได้ในสติปัฏฐาน 4 สมาธิหาได้ในฌาน 4 ปัญญาหาได้ในอริยสัจ 4 ทำไมจึงกล่าวว่าหาปัญญาได้ที่อริยสัจ 4 เพราะอริยสัจ 4 เป็นตัวรวมธรรมะทั้งหมด ปัญญาจะเป็นตัวพาเราไปสู่ดินแดนที่ไม่เคยไป ข้อที่ 16 เปรียบปัญญาเป็นอันดับสูงสุดของหลังคา ทุกสิ่งต้องอยู่ใต้หลังคานั้น ปัญญาเป็นยอด สมาธิเป็นตัวดัน มีพื้นฐาน คือ ศรัทธา ส่งต่อกันมาด้วยความเพียรด้วยสติ มาตามลำดับแล้วพัฒนาไปด้วยกัน พละ 5 จะทำให้ทรงอยู่ในมรรคได้ อินทรีย์ 5 เป็นตัวที่จะทำให้บรรลุได้เร็วหรือช้า ความหมายเดียวกัน ต่างกันที่บริบทการใช้ ข้อที่ 17 18 19 20 รายละเอียดเหมือนกันต่างกันที่หัวข้อ คุณธรรม 5 อย่างคือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ 5 อย่างนี้เป็นไปเพื่อเกื้อกูล หรือไม่เกื้อกูล ทั้งตนเอง และผู้อื่นหรือไม่ และควรพัฒนาไปอย่างไร (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต : พลวรรค ข้อที่ 11 - 20)

    เสขพละ ธรรมะที่ทำให้เติบโต [6501-6t]

    Play Episode Listen Later Jan 7, 2022 58:42


    พละ หมายถึง กำลังในการบรรลุธรรม กำลังในความก้าวหน้าในคำสอนนี้ เสขะ คือ ผู้ที่ยังต้องศึกษาอยู่ทำความเพียรอยู่ เปรียบเหมือนเด็กที่ต้องค่อยพัฒนาไป เสขพละมี 5 ประการดังนี้ ศรัทธา: คือ ความมั่นใจในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ จะเป็นสิ่งที่ทำให้เราอดทนมีกำลังใจปฏิบัติต่อไปได้ หิริ: คือ ความละอายต่อบาป เกิดจากข้างในตนเอง โอตัปปะ: คือ ความเกรงกลัวต่อบาป เป็นการปรารภคนอื่นให้สะดุ้งกลัว วิริยะ: คือ ความเพียร ความกล้าในการเอาอกุศลธรรมออกไป นำกุศลธรรมเข้ามา มีความบากบั่น มีกำลังใจในการที่จะทำ ปัญญา: ปัญญาไม่ได้หมายถึงความจำ แต่เป็นปัญญาในการชำแรกกิเลสให้สิ้นไป บุคคลใดก็ตามที่ไม่มีคุณธรรมทั้ง 5 นี้จะมีความเดือดร้อนรุ่มร้อน เพราะเป็นการเปิดทางให้อกุศลธรรมเข้ามาจนนำพาไปนรกได้ ส่วนบุคคลใดที่มีแล้วแต่ยังไม่ได้สติสมาธิแต่ยังมีความอดทนอยู่ในธรรมวินัยนี้ได้แม้น้ำตานองหน้าอยู่ นั่นคือ ดีแล้ว ตรงนี้จึงเป็นข้อสังเกตุที่ว่าในหมวดนี้สติสมาธิหายไปไหน ในข้อที่ 7 พระพุทธเจ้าเปรียบเสขพละดุจพี่เลี้ยงเด็ก ที่จะคอยประคบประหงมจนถึงวัยที่รู้ความปลอดภัย ในข้อที่ 8, 9 และ 10 เปรียบเทียบส่วนต่างระหว่างความไม่มีกับมีคุณธรรม 5 ข้อนี้ ข้อที่ 8 พูดถึงความเคลื่อนหรือไม่เคลื่อนในพระสัทธรรม ข้อที่ 9 เพิ่มความเคารพยำเกรงจะหมดไปหรือคงอยู่ ข้อที่ 10 เพิ่มความไม่เจริญงอกงามไม่ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ - ๑ สุตตันตปิฎกที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก ฉักกนิบาต :เสขพลวรรค ข้อที่ ๑ - ๑๐)

    Claim 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก

    In order to claim this podcast we'll send an email to with a verification link. Simply click the link and you will be able to edit tags, request a refresh, and other features to take control of your podcast page!

    Claim Cancel