การพูดคุยปรึกษา คือ สากัจฉาทำให้เกิดความไม่ประมาทและมีปัญญาได้, มีคำถามอยู่ที่ไหน ก็มีคำตอบอยู่ที่นี่, ตอบทุกข้อสงสัย ทั้งในการดำเนินชีวิต, หลักธรรม หรือการภาวนา โดย ร่วมพูดคุยกับคุณเตือนใจ สินธุวณิก และ พระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณฺโณ ในช่วง "ตามใจท่าน". New Episode ทุกวันอาทิตย์ เวลา 05:00, Pod…
วัดป่า ดอนหายโศก ฟังธรรมะ donhaisok
Q: ถ้าเรามีคุณธรรมความเป็นคนถ่อย ควรแก้ไขอย่างไร?A: ความเป็นคนถ่อย “วสลสูตร” กล่าวถึงคุณธรรมของคนถ่อย 20 ประเภทไว้ / บุคคลไม่ได้เป็นคนถ่อยด้วยเพราะชาติกำเนิด ไม่ได้เป็นพราหมณ์ด้วยเพราะชาติกำเนิด แต่การที่จะเป็นคนถ่อยหรือเป็นพราหมณ์ ก็เพราะกรรม คือ การกระทำ ถ้าเราทำกรรมไม่ดีก็เป็นคนถ่อย ทำกรรมดีก็เป็นพราหมณ์ (พราหมณ์ ในที่นี้ คือ ผู้ที่ลอยบาปแล้ว)Q: เมื่อจิตไม่สงบ ขี้โมโห ควรแก้ไขอย่างไร?A: ทั้งความสงบและความโกรธ ล้วนเป็นอนัตตา เมื่อเป็นอนัตตา ก็อยู่ที่ เหตุ เงื่อนไข และปัจจัย ถ้าเราสร้างเหตุเงื่อนไขแห่งความโกรธ ความโกรธก็มีมา ให้เราสร้างเหตุ เงื่อนไข ปัจจัย คือ รักษาศีล ฟังธรรมเป็นประจำ ปฏิบัติธรรม ฝึกสมาธิทำจิตให้สงบ เพื่อเป็นการให้อาหารใจ คบกัลยาณมิตร ให้มีปัญญารู้จักสังเกต เห็นความเกิดขึ้น เห็นความดับไป เห็นว่าสิ่งต่างๆ มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา มีทั้งสติ และสัมปชัญญะอยู่ตรงนี้ จะสามารถปล่อยวางได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q: การ "พึ่งตนพึ่งธรรม" หมายถึงอะไร ต้องปฏิบัติอย่างไร?A: หมายถึง ให้เรามี “สติปัฏฐาน 4” ในจิตใจของเรา คือ ให้จิตของเรามีที่ตั้ง ที่ระลึกถึง แล้วไม่เผลอ ไม่เพลิน จึงจะเรียกว่า “พึ่งตนพึ่งธรรม” ถ้าไม่มีสติ คือ เผลอ เพลิน ลุ่มหลง กำหนัดยินดีพอใจหรือไม่ยินดีพอใจ เช่นนี้คือ ไม่มีที่พึ่ง คือ ไม่พึ่งตนพึ่งธรรมQ: ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน?A: ธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นเครื่องบอกทาง เป็นแผนที่ ที่เราถือไป เราต้องเดินไปเอง คือ พึ่งตนพึ่งธรรม หรือเมื่อมีความทุกข์ในจิตใจ เราก็ต้องเป็นผู้ถอนลูกศรเอง จึงจะถอนความเจ็บปวดได้ ก็ต้องพึ่งตนพึ่งธรรมนั่นเองQ: ให้เป็นผู้ที่อยู่ผาสุกได้ด้วยการพึ่งตนพึ่งธรรม มีตนเป็นที่พึ่งของตนA: สติ เมื่อฝึกให้มาก เจริญให้มาก จะทำให้ เราเข้าใจ “โลกธรรม 8” รู้ชัดด้วยสติ เกิดปัญญาแล้วปล่อยวางได้ เราก็จะอยู่กับทุกข์โดยไม่ทุกข์ ให้เรามีความก้าวหน้า พัฒนา ทำให้เจริญ ให้ดีขึ้น หมายถึง ให้เรามีกุศลธรรมสูง ทางที่เปิดไว้ คือ ทางไปสู่นิพพาน เป็นทางที่เกิดความเจริญได้Q: ความก้าวหน้าในอาชีพคืออะไร?A: ความก้าวหน้าในการดำเนินชีวิต คือ เราต้องรู้ว่าอะไรเป็น “สัมมาอาชีวะ” (การดำเนินชีวิตที่ไม่ให้กิเลสมันเพิ่ม) อะไรเป็น “มิจฉาอาชีวะ” (กิเลสเพิ่ม) เพราะหากแยกไม่ได้ เราก็จะทำผิด ความรู้ที่จะแยกแยะได้นั้นเป็น ปัญญา เรียกว่า “สัมมาทิฐิ” ความระลึกได้นั้น คือ “สัมมาสติ” รู้แล้วกำจัด ละสิ่งที่เป็น มิจฉาอาชีวะ เจริญสัมมาอาชีวะให้มาก ความเพียรพยาม นั้น เรียกว่า “สัมมาวายามะ” เราจึงจะรักษา สิ่งที่เป็นความก้าวหน้า ในการดำเนินชีวิตของเราได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q: มองอย่างไรให้เห็นโมหะ?A: โมหะ ที่ออกมาในช่องทางใจ คือ มืด เห็นไม่ชัดเจน มองไม่เห็นไม่เข้าใจ จึงมีความวิปลาส (ความเข้าใจผิด) เข้าใจว่าสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง เข้าใจว่าสุขเวทนาเป็นสุข เป็นเหมือนภาพลวงตา ไม่เข้าใจว่าเมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี ไม่เข้าใจปฏิจจสมุปบาท / ตัวอย่างอื่นๆ เช่น ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เห็นความตายซ่อนอยู่ไหม ถ้าไม่เห็น ก็มีโมหะมาก จะกำจัดโมหะ ได้ด้วย “ปัญญา” เป็นดั่งแสงสว่าง เหมือนไฟฉาย ที่จะสว่างมากหรือน้อย อยู่ที่กำลังปัญญา เมื่อเห็นความไม่เที่ยงของสิ่งต่างๆ ได้แล้ว จะสามารถกำจัดโมหะได้ จะเป็นปฏิปทาอันเป็นที่สบาย ให้ไปถึงนิพพาน ข้างหน้าได้Q: การเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดา อย่างไหนจะดีกว่ากัน?A: เทวดาจะบรรลุธรรมได้ง่าย หากอ้างอิงจากพระสูตรที่เกี่ยวข้องกับเทวดา จะเป็นพระสูตรสั้นๆ ที่เมื่อฟังแล้วจะบรรลุธรรมได้เร็ว ซึ่งการที่เทวดาบรรลุธรรมได้เร็ว ส่วนหนึ่งอาจเพราะเค้ามีปัญญา มีทาน ศีล ภาวนา สั่งสมบุญมามาก จึงเกิดเป็นเทวดา และพอได้ฟังธรรม ก็ทำให้บรรลุธรรมเร็วQ: การเริ่มปฏิบัติธรรม และการสวดมนต์ ควรสวดบทใด?A: การปฏิบัติธรรม หากเรามีความเพียร ตั้งใจปฏิบัติ ลงมือทำจริง แน่วแน่จริง ทุกอย่างฝ่าฟันได้ / การสวดมนต์ จะสวดบทไหนก็ได้ จุดประสงค์ของการสวดมนต์ คือ ทำให้จำได้และสวดแล้วทำให้จิตเป็นสมาธิ Q: ความหมายของคำว่า “ดวงตาเห็นธรรม”? A: ดวงตาเห็นธรรม มาจากคำว่า "ธรรมจักษุ" เป็นคำที่อยู่ในปฐมเทศนา “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” นี่คือ ดวงตาที่ต้องเห็น คือ เห็นได้ด้วยธรรมจักษุ เห็นถึงความไม่เที่ยง ซึ่งดวงตาที่เห็นแสงสว่างของแต่ละคน เห็นไม่เท่ากัน โดย เหตุปัจจัย ของการมีดวงตาเห็นธรรม คือ มรรค 8 ผู้ที่มีดวงตาเห็นธรรมอย่างน้อยจะได้ "โสดาปฏิผล"Q: พละ 7? A: ตั้งข้อสังเกตว่า น่าจะเป็นพละ 5 (ศรัทธา วิริยะสติ สมาธิ ปัญญา) และเพิ่มมาอีก 2 ข้อ คือ หิริ และโอตตัปปะ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q: ทำไมการเสี่ยงทาย หรือการบนบาน จึงเป็นการให้กําลังใจได้?A: กำลังใจเกิดได้ เพราะศรัทธา การที่เราเสี่ยงทาย หรือบนบาน เพราะต้องการกำลังใจ เมื่อผลที่ได้เป็นดังหวัง ก็ทำให้เกิดมีกำลังใจการเสี่ยงทายของพระโพธิสัตว์ แตกต่างจากการบนบาน เพราะท่านมีความตั้งใจมั่น มีศรัทธา มีความเชื่อ ว่าจะบรรลุ จึงทำให้เกิดการทำจริง แน่วแน่จริง ไม่ย่อท้อ ไม่ได้ประกอบด้วยการอ้อนวอนของร้อง หรืออามิส ส่วนการบนบานนั้น เป็นการวิงวอน ขอร้อง อ้อนวอน โดยไม่ลงมือทำในทางพุทธศาสนา ศรัทธาต้องประกอบด้วยปัญญาเสมอ เพื่อให้เกิดความสมดุล เพราะหากศรัทธามากเกินปัญญาจะกลายเป็นงมงาย แต่ศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญา จะเกิดการลงมือทำจริง แน่วแน่จริง ทำตามมรรค 8 อริยสัจสี่ ปัญญานั้นอยู่ในความเชื่อนั้น การลงมือทำนั้น จึงเป็น “กุศล ธรรม”Q: การตามหาความจริงตามหลักกาลามสูตรA: ความเชื่อ การที่เราจะเชื่อว่าเรื่องนี้จริงหรือไม่จริงนั้น ในการตามหาความจริง เราต้องตั้งจิตไว้ก่อนว่าเรื่องนี้อาจจะไม่จริงก็ได้ หากเราจะตามรักษาซึ่งความจริง อย่าพึ่งปักใจเชื่อว่าสิ่งนี้เท่านั้น สิ่งอื่นเปล่า ทางสายกลาง ไม่ใช่ว่าสุดโต่งไปด้านใด ด้านหนึ่ง เราต้องตามดูเหตุ ประกอบด้วยปัญญา ต้องมีปัญญาในการเห็น มีปัญญามาจับกับความเชื่อนี้ หากความเชื่อที่ว่าไม่จริงแล้วเกิดกิเลส ความเชื่อว่าไม่จริงก็ไม่ถูก เพราะฉะนั้น ต้องมีปัญญามองเห็นว่าสิ่งนั้นทำให้เกิดกิเลสหรือไม่ เกิด ราคะ โทสะ โมหะ หรือไม่ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q: การเห็นเกิดดับA: ท่านหมายถึง การเห็นความไม่เที่ยง เห็นความที่อาศัยเหตุเกิด เห็นเหตุการณ์เกิด เห็นผลของมัน ว่าผลที่เกิดขึ้น มีเหตุแห่งการเกิดQ: การเห็นอสุภะกรรมฐานA: คือ การพิจารณาเห็นว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นของไม่งาม เป็นของปฏิกูลQ: การตั้งอธิษฐานจิตA : หมายถึง การตั้งใจมั่นอย่างแรงกล้าที่จะทำสิ่งใด สิ่งหนึ่งQ: การมักมากกับการเปิดเผยA: การทำความดี หากทำแล้วยังประกอบไปด้วยตัณหา คือ เป็นไปด้วยกับการมีภพ-สภาวะใหม่ มีความกำหนัดด้วยอำนาจของความเพลินและต้องการลาภปัจจัยสี่ ที่เกี่ยวเนื่องด้วยกาม นั่นคือ ไม่ได้เจตนาดี หากเราทำความดี แล้วไม่ได้เกี่ยวข้องด้วยตัณหา อดทนต่อคำด่า คำชมได้ ทำเช่นนี้ได้ คือดี ยิ่งเปิดเผยยิ่งเจริญQ: ฌาน 2 กับวิปัสสนาA: เมื่อเข้าสมาธิจิตสงบแล้ว สมถะและวิปัสสนา จะเข้ากันได้ พอดีกัน เสมอกัน นุ่มนวล ไม่ได้มีความคิด เมื่ออยู่คู่กันแล้วจะเป็นญาณ (ปัญญา) เกิดขึ้น ท่านจึงบอกว่า ฌาน 3 จะละเอียดลงไป แต่ถ้าสมถะมากกว่าวิปัสสนา มันจะง่วง ขี้เกียจ เหนื่อยๆ หากวิปัสสนามากเกินไป จะฟุ้งซ่านQ: ลูกจะย้ายออกไปอยู่เอง ควรตั้งจิตอย่างไร?A: ปัญหาคือ เราอยากอะไรแล้วเราไม่ได้สิ่งนั้น เราจึงเป็นทุกข์ เราควรทำใจ เห็นความไม่เที่ยงหรือพิจารณาว่า ดีกว่าเค้าไปทำไม่ดีอย่างอื่น คิดถึงก็ไปหาได้ พอเรารู้ว่าเราเจ็บจุดไหน เรามีตัณหา ราคะตรงนี้ จะถอนก็ถอนตรงนี้ ให้เอาความอยากออกไป เห็นความดีในสิ่งที่เป็นมรรค เราจะสามารถวางได้ ทำใจได้ Q: “อัตตา หะเว ชิตัง เสยโย” หมายความว่าอย่างไร?A: หมายความว่า “ตนนั่นแหละชนะตนได้นั้นประเสริฐ การชนะตนนั่นแหละดีกว่า” คำว่า “ชนะตน” ในที่นี้ หมายถึง ชนะกิเลสหมดแล้ว คือ เป็นพระอรหันต์แล้ว เพราะกิเลสหมดไปแล้ว ไม่มีรากที่เป็นอวิชชาแล้ว และจะไม่กลับกำเริบได้อีก Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : ที่มาของ “ข้าวก้นบาตรพระ”A : คือ อาหารที่เหลือจากการพิจารณาของพระสงฆ์ เป็นอาหารที่พระได้มาจากสัมมาอาชีวะ จากการบิณฑบาตด้วยปลีแข้งของตน เป็นอาหารที่เกิดจากบุญ จากศรัทธาของผู้นำมาถวาย จากผู้รับคือพระสงฆ์ ที่มี ราคะ โทสะ โมหะ น้อย พิจารณาแล้วจึงบริโภค อาหารนี้จึงเป็นอาหารทิพย์Q : รักษาจิตด้วย อัปปมัญญา, พรหมวิหารและทิศทั้ง 6A : อัปปมัญญา คือ การพ้นที่อาศัยพรหมวิหาร คือมี เมตตา กรุณา มุทิตาและอุเบกขา “เมตตาเจโตวิมุต” คือ ความหลุดพ้นแห่งจิตที่อาศัยเมตตา จะกำจัดความพยาบาทได้ จะมีผลคือ “สุภวิโมกข์” (ความสุขที่หลุดพ้น สุขที่อยู่ภายใน) “กรุณาเจโตวิมุต” คือ ความหลุดพ้นแห่งจิตที่อาศัยกรุณา จะกำจัดความเบียดเบียน คิดให้เค้าได้ไม่ดี ในจิตใจของเรา“มุทิตาเจโตวิมุต” คือ ความหลุดพ้นแห่งจิตที่อาศัยมุทิตา จะกำจัดความไม่ยินดีในความสำเร็จของเขาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่มีในจิตใจของเรา ให้ออกไป“อุเบกขาเจโตวิมุต” คือ ความหลุดพ้นแห่งจิตที่อาศัยอุเบกขา จะกำจัดราคะในจิตใจของเราออกไป ถ้าเขาได้ไม่ดี ให้เราวางเฉยเสีย ให้อุเบกขากับทุกคน ไม่ว่าจะรักเราหรือจะเกลียดเราเจริญโดย ให้แบบไม่คิดว่าจะหมด ให้ทุกคน ไม่เว้น ให้ทุกทิศทุกทาง(ทิศทั้ง6) เสมอหน้ากันQ : พรหมวิหาร 4 ของศาสนาพุทธ ต่างจากศาสนาอื่นอย่างไร ?A : คือการเจริญพรหมวิหาร 4 ที่ประกอบไปด้วยกับโพชฌงค์ 7 Q : ผลของการเจริญพรหมวิหาร 4 ที่ประกอบด้วยโพชฌงค์ 7A : ผลของการเจริญเมตตาเจโตวิมุต คือ จะมี “สุภวิโมกข์” (ความสุขที่หลุดพ้น ความสุขที่อยู่ภายใน) เป็นอย่างยิ่ง ผลของกรุณา คือ จะทำให้เกิด “อากาสานัญจายตนะ” จะละปฏิฆะสัญญาได้ ผลของมุทิตา คือ จะทำให้เกิด“วิญญานัญจายตนะ” ผลของอุเบกขา คือ จะทำให้เข้าสู่ “อากิญจัญญายตนะ” ซึ่ง การเจริญเช่นนี้ มีผล มีอานิสงค์ คือ จะละธรรมะที่เป็นเสี้ยนหนาม 4 ประการนั้นได้นั่นเอง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q: พระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ท่านมีการปลงอายุสังขาร หรือมีการทูลขอให้อยู่ไปจนอายุ 1 กัป มีหรือไม่?A: พระพุทธเจ้าของเรา อายุน้อยที่สุดแล้ว ส่วนองค์อื่นๆ ท่านจะเกิดในสมัยที่มีอายุยืนกว่า 100 ปี และในพระสูตรก็ไม่มีปรากฏQ: อายุของมนุษย์?A: มนุษย์ต้นกัปอายุประมาณ 80,000 ปี แต่เพราะมีอกุศลกรรมต่อกันทำให้อายุลดลงเรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้จึงมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ เพื่อทวนกระแส ให้อกุศลกรรมเบาบางลง และจะมีสมัยหนึ่งที่มนุษย์จะมีอายุเพียง 10 ปี มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ จนมีคนที่รักษาศีล เหลือรอด อายุขัยก็จะค่อยๆ เพิ่มขึ้น ตามกุศลที่เพิ่มขึ้น จนถึงสมัยที่ มนุษย์อายุ 80,000 ปี จึงจะมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้อีกพระองค์Q: เจริญอิทธิบาท 4 อย่างไร?A: อิทธิบาท 4 จะทำให้พัฒนาได้ เกิดขึ้นได้ ต้องประกอบด้วย 1. อิทธิบาท 4 (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา) 2. ธรรมเครื่องปรุงแต่ง 3. สมาธิ โดยมีธรรมเครื่องปรุงแต่งอาศัย ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา มีสมาธิเป็นประธานกิจQ: ถ้าบรรลุโสดาบันขั้นผลแล้ว เปลี่ยนแปลงได้หรือไม่? ต่างกับปุถุชนทั่วไปอย่างไร?A: โสดาบันขั้นผล เปลี่ยนให้สูงขึ้นได้/โสดาบัน มรรคและผล ต่างกันที่ โสดาบัน ขั้นผล สามารถละสังโยชน์ 3 อย่างนี้ได้ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส/ปุถุชนกับโสดาบัน เหมือนกัน คือ มีเวทนา เหมือนกัน ต่างกันที่ เมื่อเกิดราคะ โทสะ โมหะ จะไม่ทำผิดศีล ส่วนปุถุชน เมื่อไม่มีความเลื่อมใส ความละอายต่อบาป ก็จะล้นออกมา ทาง กาย วาจา ใจQ: การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ใช้กับสิ่งที่เป็นธรรมชาติเท่านั้น หรือรวมสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วย?A: ใช้ได้กับทุกอย่าง สิ่งที่เป็นธรรมเครื่องปรุงแต่งทั้งหมด มีความเป็นอนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา สิ่งที่สามารถยึดถือโดยความเป็นตัวตนได้ นั่นคือ มีคุณสมบัติของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q : ควรตั้งจิตไว้อย่างไร เมื่อคิดไปในด้านอกุศล ?A : เมื่อมีความคิดเข้ามา ที่สำคัญ คือ เราต้องตั้งสติ คอยสังเกต แยกแยะให้ดี จิตเมื่อตริตรึกไปในสิ่งไหน สิ่งนั้นจะมีพลัง ก็จะดึงไป ทำให้เราลืม เผลอ เพลินไป/ จิต ความคิด ใจ เป็นคนละอย่างกัน เราต้องเลือกให้จิตของเราคิดหรือไม่คิดได้ โดยให้เราเจริญสติให้มาก ถ้าสติเรามีกำลังมากขึ้น ๆ มันจะทำให้ความคิดที่ผ่านเข้า-ออก ถูกป้องกัน ถูกกำจัด ให้อยู่ในกุศลธรรมได้ดีมากขึ้นนั่นเองQ : โลกียฌาณ และ โลกุตตรฌาณ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ?A : ส่วนที่เหมือนกันคือ ฌาน คือ การเพ่ง/เอาจิตจดจ่อ การรวมลงเป็นอารมณ์อันเดียว เรียกว่า สมาธิ / “โลกียฌาณ” คือ สมาธิที่ยังเกี่ยวเนื่องกับโลก ของหนัก มีทั้ง “สัมมาสมาธิ” และ “มิจฉาสมาธิ” / “โลกุตตรฌาณ” คือ การนำสมาธินั้น มาใช้ให้อยู่ในลักษณะเหนือบุญเหนือบาป เห็นโดยความเป็นของปฏิกูล เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นตามอริยสัจสี่ แบบนี้คือจะไปสู่ระดับเหนือโลก พ้นจากโลก เป็น “สัมมาสมาธิ”Q : จิตที่ตั้งมั่น สติสัมปัญชัญญะ และสติปัฎฐานสี่ เหมือนกัน เข้าใจถูกหรือไม่?A : สัมมาสติ คือสติปัฏฐาน 4 จะทำให้เกิดสัมมาสมาธิ สมาธิทำให้เกิดปัญญา ปัญญาทำให้ไม่เพลินในอาการต่าง ๆ หรือเรียกว่าสัมปชัญญะ สติสัมปชัญญะหมายถึงระลึกรู้ในอาการต่าง ๆ ไม่เผลอเพลินในอาการต่าง ๆ ซึ่งจะเกิดสติสัมปชัญญะได้นั้น ต้องปฏิบัติตามมรรค 8 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q: การปวารณา มี 2 แบบA: แบบที่ 1) พระสงฆ์ปวารณากันเอง คือ เปิดโอกาสให้พระตักเตือนกันได้ โดยถือเอาวันออกพรรรษาเป็นวันปวารณา แบบที่ 2) คฤหัสถ์ปวารณากับพระภิกษุ คือ ออกตัวให้พระภิกษุขอปัจจัยสี่ ที่เหมาะสม (กับปิยะ) ควรแก่สมณะจะบริโภค และสามารถกำหนดถึงสิ่งที่ท่านจะขอ รวมถึงควรกำหนดมูลค่าไว้ด้วยQ: การถวาย มี 2 แบบA: พระสงฆ์เป็นทั้งอาหุเนยยะบุคคล และทักขิเณยยบุคคล / “ทักขิเณยยบุคคล” คือ บุคคลผู้ควรรับทักษิณาทาน เช่น ญาติโยมจะทำบุญอุทิศให้กับพ่อแม่ที่ล่วงลับไป ก็จะทำอาหารสิ่งที่พ่อแม่ชอบทาน นำไปถวายพระ ไม่ว่าชอบทานหรือไม่ท่านก็รับ / “อาหุเนยยะบุคคล” พ่อแม่และพระสงฆ์ เป็นอาหุเนยยะบุคคล คือ หากพ่อแม่ยังอยู่ท่านชอบทานอะไร เราก็ทำให้ท่านทานได้เลยหรือหากถวายพระสงฆ์ เราก็จัดหาให้เหมาะสมกับที่ท่านจะกินจะใช้Q: ความหมายของคำว่า “กัปปิยโวหาร”?A: กัปปิยโวหาร แปลว่า คำพูดที่จะทำให้เหมาะสม ใช้ระหว่างพระและญาติโยมQ: ไวยาวัจกร?A: คือ ผู้ทำการแทนพระในกิจที่พระทำไม่ได้ โดยผู้ที่จะเป็นไวยาวัจกร ก็ต้องปวารณากับพระด้วยว่ายินดีทำหน้าที่เป็นไวยาวัจกรให้ท่าน แล้วจึงจะกำหนดให้บุคคลนั้นเป็นไวยาวัจกรได้Q: พระสงฆ์ครอบครองทรัพย์ได้หรือไม่?A: การมาบวชนั้นเพื่อเป็นการกำจัดกิเลส สละโภคะน้อย ใหญ่ ไม่ยินดีในการรับเงิน ทอง ที่ดิน ทาสหญิงหรือชาย หากท่านมีทรัพย์มาตั้งแต่ก่อนบวชแล้ว ก็ให้ตั้งจิตว่าจะสละทรัพย์เหล่านี้Q: กัปปิยโวหารเมื่อนิมนต์พระไปฉันที่บ้านA: กล่าวแค่ว่า นิมนต์ไปฉันเช้าหรือฉันเพล เวลาไหน ไปรับหรือให้มาเอง ไม่ต้องบอกว่าจะถวายอะไร เมนูไหน ถึงแม้จะปวารณาว่าให้พระขอได้ ว่าต้องการฉันอะไร พระก็ไม่ควรขอ แต่หากเป็นกรณีที่พระเจ็บป่วย ขอเพื่อระงับเวทนา แม้ผู้ถูกขอไม่ได้ปวารณาไว้ ก็ควรให้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q: ความหมาย และความเป็นมาของ “กฐิน”A: กฐินแยกตามศัพท์ มีความหมาย คือ ไม้สะดึง ผ้าที่ทำเสร็จแล้วสำหรับใช้ในพิธีกรานกฐิน งานบุญ สำหรับพระสงฆ์ หมายถึง พิธีกรรมหรือพิธีกฐินความหมายของกฐิน หมายถึง ผ้าที่ทำโดยเฉพาะหมู่ภิกษุ ที่สามัคคีกัน อยู่ในอาวาสใดอาวาสหนึ่งมาตลอดเข้าพรรษาเท่านั้น จึงพิเศษ ด้วยเวลา คือ เฉพาะ 1 เดือนหลังออกพรรษา ผู้ทำผ้า คือ หมู่พระที่อยู่ในนั้นทำด้วยกัน, ผู้รับ คือ พระที่อยู่ในหมู่นั้นเท่านั้นเป็นผู้รับ และด้วยสิ่งของสิ่งนั้นเรียกชื่อพิเศษว่า “กฐิน”ความเป็นมาของกฐิน สืบเนื่องมาจากพระภิกษุ ตั้งใจจะมาหาพระพุทธเจ้า ออกเดินทางมาต้นฤดูฝน จนใกล้ถึงวัด แต่ด้วยติดในช่วงเข้าพรรษาจึงต้องรอจนกว่าจะออกพรรษาแล้วค่อยออกเดินทาง ด้วยการเดินทางในหน้าฝน พระภิกษุเหล่านั้นจึงมาด้วยความไม่เรียบร้อย จีวรเปียก เปื้อน ขาด พอท่านทราบและเห็นถึงความสามัคคีพร้อมใจ ตั้งใจ ท่านจึงอนุญาต ให้พระสงฆ์สามารถรับผ้ากฐินได้Q: ความสัมพันธ์ของขันธ์ 5 และโลกธรรม 8 และการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน?A: ขันธ์ 5 คือ กองทุกข์ คือ กองอันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ (อุปทานขันธ์ 5) เราต้องกำหนดรู้ ต้องเข้าใจมัน คำว่า ปริญญา มาจากคำว่าเข้าใจ คือ ปริญเญยยในขันธ์ 5 ถึงหน้าที่ ที่ต้องทำแตกต่างกัน/อริยะสัจสี่ ได้แก่ 1. ทุกข์ ขันธ์ 5 ทั้งหมด เป็นทุกข์ เราต้องกำหนดรู้ ทำความเข้าใจ 2. สมุทัย คือ เหตุให้เกิดทุกข์ คือ ตัณหา ตัณหาจะทำให้เกิดทุกข์มากขึ้นๆ เราต้องละเสีย 3. นิโรธ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ เราต้องทำให้แจ้ง (สำเร็จ) 4. มรรค คือ ทางดำเนินให้ดับไม่เหลือแห่งทุกข์ คือ องค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง เราต้องทำให้มากเจริญให้มาก จะทำให้ความทุกข์ลดลง/โลกธรรม 8 อยู่ในส่วนของทุกข์ เพราะว่ามันไม่เที่ยง เป็นอริยสัจคือทุกข์/ขันธ์ 5 กับโลกธรรม 8 คือ อย่างเดียวกันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือคืออุปทานได้ทั้งสองอย่าง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Q: ตำนานของวิเศษในพระพุทธศาสนา A: เมื่อเราได้ยินสิ่งใดมา อย่าพึ่งเชื่อ ให้จำ และฟังไว้ แล้วนำไปเทียบเคียงกับพระสูตร หากตรงกัน ให้จดจำคำนั้นไว้ หากไม่ตรงกันให้ละทิ้งเสีย/ของวิเศษที่กล่าวถึง คือ 1. ดวงตาพญายม มาจากที่ท่านจะไต่สวน เรื่องเทวทูต แล้วมีการขยายเติมเข้าไป ว่าสามารถเห็นว่าใครทำกรรมดี กรรมชั่วอะไรมา ซึ่ง การที่สัตว์จะไปสวรรค์ หรือตกนรกนั้น นั่นเป็นกรรมของเขาอยู่แล้ว ไม่ใช่ว่าจะผ่านพญายมทั้งหมด 2. กระบองท้าวเวสสุวรรณ มีในพระสูตรทีฆนิกาย อธิบายลักษณะของกระบอง 3. ผ้าโพกหัวของอาฬวกยักษ์ จะพูดถึงในบทสวดชัยมงคลคาถา (พาหุง) ช่วงของการได้ชัยชนะของพระพุทธเจ้าจากอาฬวกยักษ์ ผ้าโพกหัวนี้ เมื่อขว้างไปตรงไหน ตรงนั้นจะไหม้ไปทั้งหมด ไม่สามารถเพาะปลูกได้ 4. วชิราวุธของพระอินทร์ มีในพระสูตรสัจจกนิครนถ์ อยู่ในชัยมงคลถาคา จะปรากฏออกมาตอนที่จะไปช่วยพระพุทธเจ้าในการแสดงธรรมในบางครั้งบางคราว 5. กงจักรพระนารายณ์ ในที่นี้หมายถึง “จักรแก้ว” ผู้ที่จะครอบครองได้ต้องเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ และจะมีรัตนะ 7 อย่าง ฤทธิ์ 4 อย่าง จะได้มาด้วยบุญญาธิการ ได้โดยตำแหน่ง ไม่ใช่สิ่งที่ใครจะไปเอามาได้ Q: วัตรบท 7? A: คือ ธรรมะที่จะทำให้เป็นพระอินทร์ ประกอบด้วย การกระทำสิ่งเหล่านี้ตลอดชีวิต คือ เลี้ยงดูบิดามารดา, เคารพผู้ใหญ่ในตระกูล, มีคำพูดอ่อนหวาน, ไม่พูดส่อเสียด พูดสมานสามัคคี, ไม่ตระหนี่ ชอบแบ่งปัน, มีวาจาสัตย์และเป็นผู้ไม่โกรธ Q: บุญที่เกิดจากการฟังธรรม สามารถอุทิศให้มารดาที่ล่วงลับไปแล้ว ท่านจะได้รับหรือไม่? A: ได้แน่นอน/ลักษณะของบุญที่เกิดจากการภาวนา ผู้รับอนุโมทนา ก็รับบุญได้ Q: เกร็ดความรู้เรื่อง พระอภิธรรม 7 คัมภีร์ที่พระใช้สวดในพิธีงานศพ A: นิยม สวดอภิธรรม 7 คัมภีร์ เพราะเป็นเนื้อหาธรรมะล้วนๆ 1. ธัมมสังคณี กล่าวถึง กุศลธรรม อกุศลธรรม 2. วิภังค์ อธิบายขันธ์ห้า 3. ธาตุกถา อธิบายการสงเคราะห์กันของธาตุ 4. ปุคคลบัญญัติ บัญญัติต่างๆ เกี่ยวกับบุคคล 5. กถาวัตถุ เป็นลักษณะถาม-ตอบ 6. ยมก คือ ธรรมะที่จะยกขึ้นเป็นคู่เปรียบเทียบ 7. ปัฏฐาน แสดงความสัมพันธ์ เป็นเหตุ เงื่อนไข ปัจจัย
Q: เกร็ดความรู้วันออกพรรษา A: ประเพณีที่สำคัญ คือ ประเพณีตักบาตรเทโว/พระสงฆ์มีการปวารณา คือ ออกตัวให้ติเตียน ตักเตือนได้หรือออกตัวให้ขอได้/สำหรับผู้ปฏิบัติ จะเป็นวันประมวลผลว่าในช่วงเข้าพรรษาที่ผ่านมา ได้ทำในสิ่งตั้งใจไว้สำเร็จหรือไม่ Q: นั่งสมาธิแล้วจิตฟุ้งซ่าน ควรแก้ไขอย่างไร? A: นั่งสมาธิก็สามารถคิดได้ เราต้องแยกแยะ ความคิดที่เข้ามาในช่องทางใจ หากคิดดี คิดกุศล คิดได้ เราอย่าบังคับจิต อย่าอยาก เพราะสมาธิจะไม่ได้มีได้ด้วยการข่มขี่บังคับ สติจะมีกำลังได้ด้วยการสังเกตดูเฉยๆ ไม่ตาม ไม่เพลิน ไปในความฟุ้งซ่าน จะทำให้สติมีกำลัง ความฟุ้งซ่านก็จะค่อยๆ หายไป เกิดความสงบระงับ เป็นสมาธิ Q: เมื่อนั่งสมาธิ แล้วเกิดเวทนา สามารถเปลี่ยนอริยาบท ได้หรือไม่ หรือควรอดทนแล้วพิจารณาเวทนา? A: สามารถทำได้ทั้ง 2 อย่าง คือ ถ้าไม่เปลี่ยนท่า สามารถใช้วิธี 1. สุขาปฏิปทา 2. ทุกขาปฏิปทา ถ้าเปลี่ยนท่า มี 2 ขั้นตอนคือ 1. ตั้งสติไว้ อย่าให้มีความไม่พอใจในเวทนานั้น แล้วค่อยๆ เปลี่ยนท่า 2. มีสัมปชัญญะ รู้ตัวทั่วพร้อมในการขยับกาย 3. อย่าให้มีความยินดีพอใจในสุขเวทนาท่าใหม่นั้น ให้ตั้งสติไว้ อย่าเพลินไปตามเวทนาใหม่ Q: การปฎิบัติ หากฟังธรรมะ ไปด้วย เราควรอยู่กับพุทโธ หรืออยู่กับการฟังธรรมะ หรืออยู่ควบคู่กันไป A: หากต้องการฟังธรรม จิตเราต้องเป็นสมาธิ อย่าเข้าสมาธิลึกจนเกินไป ให้ตั้งจิตไว้กับการรับรู้ทางเสียง (โสตวิญญาณ) Q: ชอบซื้อของเข้าบ้าน แต่ตัดใจที่จะทิ้ง หรือบริจาคของไม่ได้ เพราะยังเสียดายอยู่ ควรวางจิตอย่างไร? A: ควรบริจาค/สละออก เพราะการหวงสมบัติไม่ดี ความเสียดาย ความตระหนี่ จะพาเราไปนรก
Q: เกษียณให้ได้ประโยชน์ A: เป็นโอกาสที่จะสร้างคุณค่าแก่ชีวิตของเรา ด้วยการประพฤติปฏิบัติธรรม บำเพ็ญบุญ สร้างกุศล ให้จิตใจอยู่เหนือสุข เหนือทุกข์ให้ได้ จะทำให้การเกษียณได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ Q: การวางจิตของอุบาสิกาที่เป็นพยาบาลเมื่อต้องดูแลรักษาพระภิกษุผู้อาพาธ? A: พระวินัยเป็นข้อบังคับของพระสงฆ์ อุบาสิกาผู้เป็นพยาบาลให้ตั้งจิตให้ถูก ข้อบังคับนี้ ไม่ได้รวมถึงอุบาสิกา หากแต่ ก่อนเข้าทำการหัตถาการ ต้องขออนุญาต และบอกกล่าวท่านให้ทราบก่อน เพื่อที่ ท่านจะได้วางจิตได้ถูกต้อง และควรมีชายที่รู้เดียงสา หรือพระสงฆ์รูปอื่นอยู่ร่วมด้วย Q: เมื่อพระภิกษุต้องไปพยาบาลดูแลรักษามารดาสูงอายุที่เจ็บป่วยไข้ A: ด้านการถูกเนื้อต้องตัว ถ้าไม่มีจิตกำหนัด ไม่ผิด/ด้านการอุปถัมภ์ดูแล ท่านกล่าวว่า พระดูแลได้มากที่สุด คือ เรื่องของปัจจัยสี่ ซึ่งหากเป็นการลงมือทำเองนั้นเป็นเรื่องของฆราวาส อาจจะต้องจัดหาคนมาดูแลแทน เช่น สถานพยาบาล บ้านพักคนชรา Q: อนุพยัญชนะคืออะไร? A: อยู่ในหมวดของการสำรวมอินทรีย์ แบ่งเป็น 2 อย่างคือ 1. โดยนิมิต (ดูโดยรวม) 2. โดยอนุพยัญชนะ (ดูแยกเป็นส่วน แต่ละส่วนๆ) 2 อย่างตรงข้ามกันแต่มาด้วยกัน หาก 2 อย่างนี้ เกิดบาปอกุศลกรรมขึ้น นั่นคือ การไม่สำรวมอินทรีย์ (บาปอกุศลกรรม คือ ความเพ่งเล็งหรือ “อภิชฌา”)/การสำรวมอินทรีย์ หมายความว่า ไม่ให้บาปอกุศลกรรมเกิดขึ้นในจิตของเรา คือ มีสติ รักษาจิต เป็นตัวจัดระเบียบเมื่อมีผัสสะมากระทบ ก็จะไม่ไปตามอาสวะนั้น Q: กระบวนการป้องกันรักษาสำรวมอินทรีย์ A: ต้องฝึกสติเพื่อรักษาจิต เปรียบเสมือน นายทวารที่รักษาประตู Q: เตรียมตัวสำรวมใจเมื่อไปร้านอาหารสั่งผิด A: เราตั้งสติไว้ เตรียมพร้อมรับมือ ไม่เผลอ ไม่คาดหวัง
Q: เรื่องของสัมผัสทางกาย A: ระหว่างพระ และสตรี ไม่ควรถูกเนื้อต้องตัวกัน ทั้งกาย และของที่เนื่องด้วยกาย เช่น เส้นผม เสื้อผ้า/ท่านทรงบัญญัติวินัย ไว้ว่า การลูบคลำ เคล้าคลึง อวัยวะ ถ้ามีจิตกำหนัด แปรปรวน รักใคร่ ชอบพอ ถือว่าเป็น “อาบัติสังฆาทิเสส” Q: การนั่งอยู่ในที่เดียวกัน A: พระ และสตรี ไม่ควรนั่งหรือนอน ในที่เดียวกัน ไม่ว่าที่แห่งนั้นจะมีสตรีอยู่หลายคนก็ตาม หากมีพระอยู่รูปเดียว โดยไม่มีชายที่รู้เดียงสา หรือมีพระอื่นอยู่ด้วย ถือว่าอาบัติปาจิตตีย์ แต่ถ้าหากพระ หรือสตรียืนอยู่ ไม่ถือเป็นอาบัติข้อนี้ Q: การเดินทางด้วยกัน A: พระกับสตรี ห้ามเดินทางด้วยกันลำพัง ต้องมีผู้ชาย หรือพระรูปอื่นไปด้วย ยกเว้นเฉพาะเรื่องเรือข้ามฟาก Q: การถ่ายรูปคู่กัน A: ควรให้มีคนอื่นหรือมีกลุ่มคนอยู่ด้วย ซึ่งการถ่ายรูปไม่ผิดธรรมวินัย Q: การอยู่สถานที่เดียวกัน A: ที่สาธารณะ/ที่ลับหู คือ มองเห็นแต่ไม่รู้ว่าพูดคุยอะไรกัน ต้องระมัดระวังเรื่องการพูดที่ไม่เหมาะสม เช่น การพูดพาดพิงเมถุน พูดให้มีจิตกำหนัด พูดชักสื่อ พูดเกี้ยว/ที่ลับตา คือ มองไม่เห็น อาจมีการถูกเนื้อต้องตัวกัน ควรระวังการโจทย์/ไม่ไปมาหาสู่เป็นประจำ กับหญิง 3 ประเภท คือ หญิงหม้าย หญิงเทื้อ หญิงโสเภณี ไม่ว่าไปสถานที่ไหน ควรมีชายผู้รู้เดียงสา หรือพระสงฆ์อยู่ด้วย Q: การพูดการฟังที่ปรารภเรื่องที่เหมาะสม และไม่เหมาะสม และสถานที่พูด A: ไม่พูดคำพูดที่ทำให้มีจิตกำหนัด ไม่พูดคำพูดในลักษณะที่ชักสื่อให้ชาย หญิง เป็นสามีภรรยาหรืออยู่ร่วมกัน ไม่ควรไปมาหาสู่กับ หญิงหม้าย หญิงเทื้อ หญิงโสเภณีเป็นประจำ เพราะจำถูกติเตียนได้ ไม่พูดกระซิบข้างหู Q: การแสดงธรรมแก่มาตุคาม A: ห้ามแสดงธรรมกับผู้หญิงเกิน 5-6 คำ (หมายถึงพระบาลี) แต่ถ้าแสดงเพื่ออธิบายธรรม ไม่ได้มีสิกขาบทห้ามไว้ หากแสดงธรรมที่มากกว่านี้ต้องมีชายรู้เดียงสา หรือคนอื่นอยู่ด้วย Q: การพูดจาชักสื่อ A: ห้ามพระเป็นพ่อสื่อแม่ชัก ให้ชายหญิงแต่งงาน หรืออยู่ร่วมกัน รวมถึงการบอกฤกษ์ยามแต่งงาน หรือยุให้แตกกัน Q: การแต่งกาย A: ให้ระมัดระวังการแต่งกาย แต่งกายให้สุภาพ ไม่วาบหวิว
Q: ธรรมะ 5 ข้อ ที่เมื่อผู้ฟังอยู่สามารถที่จะหยั่งลงสู่ความเห็นที่ถูกต้องได้ จำเป็นต้องมีครบทั้ง 5 ข้อหรือไม่? A: ธรรมะ 5 ข้อ (1. ไม่วิพากษ์วิจารณ์คำพูด 2. ไม่วิพากษ์วิจารณ์ผู้พูด 3. ไม่วิพากษ์วิจารณ์ตน 4. เป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน คือมีจิตแน่วแน่ 5. ฟังธรรม มนสิการโดยแยบคาย) ถ้าสามารถปฏิบัติได้ทั้ง 5 ข้อ จะดีที่สุด Q: ความหมายของคำว่า อีโก้สูง เจ้ายศเจ้าอย่าง อัตตาตัวตนสูง และอุปทานขันธ์ 5 คำเหล่านี้มีความหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร A: คำว่า อีโก้สูง เจ้ายศเจ้าอย่าง อัตตาตัวตนสูงในทางคำสอน หมายถึง ความมี “มานะ” คือ ความรู้สึกเป็นตัวตน “อุปาทาน” หมายถึง ความยึดถือ (ยึดถือในขันธ์ 5) “ขันธ์ 5” หมายถึง กองของทุกข์ แบ่งได้ 5 กอง (ขันธ์) คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ/อุปทาน ตัณหา เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ พอเราไปยึดในอุปาทานขันธ์ 5 จึงมีความเป็นตัวตนขึ้นมา มีมานะขึ้นมา เพราะมี อุปาทาน จึงมี ภพ (ความเป็นสภาวะ ความมีตัวตน) เพราะมี “ภพ” จึงมี การเกิด (การก้าวลง) เมื่อก้าวลง หมายถึง จิตดิ่งปักลงไปในสิ่งนั้นว่า “สิ่งนี้มีในตน ตนมีในสิ่งนั้น สิ่งนั้นเป็นตน ตนเป็นสิ่งนั้น” Q: ถ้าเรามีอุปาทานความยึดถือ ควรแก้ไขตนเองอย่างไร? A: ปฎิบัติตามมรรค 8 ถ้าเรามีศีล สมาธิ ปัญญา เราจะไม่เพลิน ไม่พอใจ เมื่อไม่เพลิน ไม่พอใจ ความยึดถือก็จะไม่เกิด เมื่อเกิดไม่ได้ ความยึดถือก็ดับไป ความเป็นตัวตน มานะก็ดับไปๆ Q: วิธีละสักกายทิฏฐิ อัตตาตัวตน? A: ให้มี “สัมมาทิฐิ” มีปัญญาที่จะเข้าใจ ว่ามันไม่ใช่ อัตตาตัวตนของเรา เห็นว่าสิ่งต่างๆ ไม่เที่ยง ไม่เป็นของเฉพาะตน คือ เป็นอนัตตา ให้ตั้งสติไว้ตรงรอยต่อ ระหว่างกายใจ คือ ผัสสะ เราจะควบคุมสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ ก็ต้องตั้งสติไว้ตรงนั้น ถ้าเราควบคุมได้ รักษาไว้ได้ด้วยสติ จะทำให้เราเข้าใจถูกว่าเราไม่มีตัวตน ถ้าเรารักษาผัสสะได้ ความรู้สึกที่เป็นตัวตน จะลดลง จะละสักกายทิฎฐิได้
Q: เมื่อมีความคิดหยาบ เกิดขึ้นมาโดยอัตโนมัติ ควรแก้ไขอย่างไร/บาปหรือไม่? A: เราต้องระวังจิตของเราให้มาก ให้ตั้งสติขึ้น รักษาสติให้ดี ให้เราฝึกคิด ฝึกนึก ฝึกพูด คำพูดดีๆ เมื่อสั่งสมสิ่งดี จิตก็จะสะอาดขึ้น/รักษาศีลเพื่อความไม่ร้อนใจ/บาปแรงหรือเบานั้น ขึ้นอยู่กับเจตนา และขึ้นอยู่กับว่าเราทำกับใคร หากทำกับผู้มีบุญมาก ก็จะบาปมาก Q: การกล่าวคำขอขมาพระรัตนตรัย และพระเถระ จะช่วยแก้ไขบาปนี้ได้หรือไม่? A: เมื่อเห็นโทษ โดยความเป็นโทษ การขอขมา โดยการกระทำคืนตามธรรม ช่วยได้ ให้เอาเรื่องศีล โสตาปัตติยังคะ 4 มาเป็นกำลังใจ ตั้งใจ ตั้งสติให้ดี ไม่ให้ความคิดนี้มาอีก ถ้ายังมาอีก ก็ขัดออกอีก ทำไปเรื่อยๆ จนในที่สุดจะเหลือแต่สิ่งดีๆ Q: ผัสสะ อารมณ์ สัญญา เวทนา เกี่ยวข้องกันอย่างไร? A: เพราะมีเสียง มีหู กระทบกัน จึงมีการรับรู้เสียงในใจ (โสตวิญญาณ)/วิญญาณ เป็นตัวเชื่อมระหว่างนามรูป เป็นตัวเชื่อมระหว่างกายใจ จึงเกิด “อารมณ์” (เวทนา) ในช่องทางใจ ซึ่งเป็นผลของผัสสะ (เสียง หู วิญญาณ รวมกันเรียกว่า “ผัสสะ”) แล้วจะเกิด “สัญญา” (ความหมายรู้) เกิด“อารมณ์” (เวทนา/ความรู้สึก) ไปตามอารมณ์นั้น ถ้าเรามีสัมมาสติ มีมรรค 8 ตั้งมั่นไว้ เราจะเปลี่ยนได้จะอยู่เหนือเวทนานั้นได้ เป็นผู้ที่ตั้งตนไว้ชอบ Q: ระหว่างสวดมนต์มีอาการดิ่งวูบ คืออะไร A: เป็นการปรุงแต่งทางกาย (กายสังขาร) ให้เรารู้พร้อมเฉพาะซึ่งการปรุงแต่งทางกาย รู้อยู่กับลมหายใจ ตั้งสติไว้ รับรู้แต่ไม่เพลินไป ไม่ปรุงแต่ง ดูเฉยๆ รับรู้เฉยๆ ไม่ตามไป ต่อไป ทำการปรุงแต่งทางกายให้ระงับ คือ พอเราไม่สนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สิ่งนั้นจะอ่อนกำลัง กายก็จะระงับลงๆ Q: นิกายอื่นๆ ทั้ง 18 สามารถบรรลุอรหันต์ได้หรือไม่? A: การบรรลุธรรมอยู่ที่คำสอน ต้องเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา และมี “มรรค 8” ก็สามารถบรรลุธรรมได้
Q: อาฏานาฏิยรักษ์ คาถาป้องกันภัย (ยักษ์) ของท้าวเวสสุวรรณ A: เป็นคาถาที่ยกย่องพระพุทธเจ้า เป็นคาถาที่ไม่ให้ยักษ์เบียดเบียน เพื่อรักษา เพื่อป้องกัน ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลาย Q: การมีปิติเป็นภักษาหารเหมือนอาภัสสรเทพนั้น เป็นอย่างไร? A: อาภัสสรพรหม อยู่ในภพที่เป็น รูปภพ จะมีอาหารเป็นรูปละเอียด คือ ปิติ Q: การนอนอย่างตถาคต คือการนอนแบบใด? A: ก่อนนอนกำหนดสติสัมปชัญญะ น้อมไปเพื่อการนอน ว่า บาปอกุศลกรรมทั้งหลาย อย่าได้ติดตามเราไป ผู้ซึ่งนอนอยู่ กำหนดจิตไว้ว่ารู้สึกตัวเมื่อไหร่จะลุกขึ้นทันที Q: อนุตตริยะ 3 ประการ มีอะไรบ้าง? A: อนุตตริยะ แปลว่า สิ่งที่ยอดเยี่ยม ประการที่ 1. ทัศนานุตตริยะ คือ การเห็นอันยอดเยี่ยม 2. ปฏิปทานุตตริยะ คือ การปฏิบัติอันยอดเยี่ยม 3. วิมุตตานุตตริยะ คือ การพ้นอันยอดเยี่ยม Q: ความไม่เที่ยงในผัสสายตนะ 6 เป็นอย่างไร? A: เราจะดูว่าเที่ยงหรือไม่เที่ยง ด้วยการดูที่เครื่องหมาย/นิมิต คือ ถ้ามันอาศัยเหตุเกิด เหตุนั้นคือเครื่องหมายของความไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงก็เป็นทุกข์ ทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้ เกิดได้ ดับได้ คือ สภาวะที่เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง
Q: ผักที่เป็นพืชคาม ต้อง “กัปปิยะ”? A: กัปปิยะ คือ ของที่ควรให้เหมาะสม หากพืชที่จะโตงอกต่อได้หรือมีเมล็ด ต้องทำกัปปิยะ โดยวิธีทำกัปปิยะ คือ การนำเมล็ดออก บิออก เอาไฟลน เอาส้อมจิ้ม Q: เนื้อประเภทใดที่พระฉันไม่ได้ A: 1. เนื้อสัตว์ 10 ประเภทนี้ คือ เนื้อมนุษย์, เนื้อเสือเหลือง, เนื้อช้าง, เนื้อม้า, เนื้อสุนัข, เนื้องู, เนื้อสิงโต, เนื้อเสือโคร่ง, เนื้อหมี, เนื้อเสือดาว 2. เนื้อดิบ 3. เนื้อที่สงสัย ที่ได้ยิน รู้หรือเห็น ว่าฆ่าเจาะจงเพื่อท่าน Q: ถวายยาเสพติด เช่น บุหรี่ กัญชา แก่พระได้รึไม่? A: ไม่ควรถวาย Q: น้ำประเภทใดที่ไม่ควรนำมาถวายพระ? A: น้ำที่มีตัวสัตว์อยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นน้ำดื่มหรือน้ำใช้ ไม่ควรนำมาถวาย Q: การถวายอาหารพระที่พำนักอยู่ในป่า A: ต้องแจ้งท่านล่วงหน้าก่อนจึงจะเหมาะสม Q: การถวายผ้าอาบน้ำฝน A: ผ้าอาบน้ำฝน ถวายได้ในฤดูฝน พระสงฆ์สามารถรับถวายได้ ก่อนเข้าพรรษา 1 เดือน หลังฤดูฝนถวายไม่ได้ Q: การถวายเครื่องนุ่งห่มสำหรับกันหนาว A: ท่านมีอนุบัญญัติว่า พระไม่ควรนุ่งห่มเหมือนคฤหัสถ์ ทั้งนี้ กรณีที่หนาวมาก ควรจะทำให้เหมาะสมกับที่พระสงฆ์จะใส่ได้ ไม่ควรใช้เหมือนคฤหัสถ์ แต่ควรใช้ชนิดอื่น ที่ไม่เหมือนกันแทน Q: สถานที่ ที่ไม่ควรนิมนต์พระสงฆ์ไป? A: โรงสุรา ที่ขายเหล้า ที่มีสัตว์ดุร้าย ที่ค้าประเวณี ที่มีของโสโครก Q: ไม่ควรถวายของเล่นแก่พระ A: เช่น เรือเล็กๆ รถ ไพ่ หมากรุก รวมถึง การพนันที่แบ่งเป็นฝ่ายๆ เล่นกีฬา ดูฟุตบอล ไม่ควรถวาย ไม่ควรชวนเล่น Q: พระควรจะเกี่ยวข้องสตรีอย่างไร? A: ในหมวดธรรมะ อย่ามอง อย่าพูดด้วย ถ้าจำเป็นต้องพูดด้วยให้พูดอย่างมีสติ อย่าเข้าใกล้ ในหมวดพระวินัย ถ้าถูกกายหรือถูกของที่ติดกับตัว เช่น ซ้องผม ด้วยจิตอันกำหนัด จะเป็นอาบัติ จัดเป็น “วัตถุอนามาส” คือ วัตถุอันภิกษุไม่ควรจับต้อง
Q: ได้ฟังสวดอภิธรรม เมื่อตายแล้วจะได้ขึ้นสวรรค์หรือไม่? A: ขึ้นอยู่กับการรักษาจิต ว่าเราระลึกถึงความดีของเราได้หรือไม่ Q: เมื่อข้อปฏิบัติละเอียดขึ้น กิเลสละเอียด ที่ซ่อนอยู่ในจิตใจก็จะแสดงออกมา เข้าใจที่ถูกต้องหรือไม่? A: เมื่อข้อปฏิบัติของเราละเอียดลงๆ กิเลสก็ละเอียดลงๆ จะค่อยๆ แสดงออกมา ตามการปฏิบัติที่ละเอียดลงๆ Q: กฎไตรลักษณ์เรื่องของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ใช้กับสิ่งที่เป็นธรรมชาติเท่านั้น หรือรวมถึงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วย? A: สิ่งที่ใช้กฎไตรลักษณ์ เป็นการแบ่งคือ 1. สังขตธรรม คือ สิ่งที่ปรุงแต่งได้ ทั้งที่มีวิญญาณครองและไม่มีวิญญาณครอง 2. อสังขตธรรม คือ ไม่มีการปรุงแต่งเปลี่ยนแปลง (นิพพาน) Q: การภาวนาที่เป็นแบบฉบับตนไม่เหมือนคนอื่น จัดเป็นอนุสติเฉพาะตนตามแนวธรรมะของพระพุทธองค์หรือไม่? A: ให้เรากลับมาเทียบเคียงคำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะครูบาอาจารย์ที่ท่านสอน ท่านชำนาญวิธีไหน ท่านก็บอกสอนตามวิธีทีท่านรู้ เราก็นำมาเทียบเคียงกับคำสอนพระพุทธเจ้าดู ว่าใกล้เคียงกัน ลงกันได้ตรงไหน สิ่งที่ท่านตรัสรู้ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ไม่ว่าใครจะสอนเรื่องอะไร ก็จะจัดเข้าอยู่ใน 4 อย่างนี้ / การที่เราบริกรรม เราไม่ได้เอาที่คำบริกรรมแต่เราจะเอาสติ โดยเราใช้คำบริกรรมเป็นเครื่องมือ “นิพพาน มีทางปฏิบัติเข้ามาได้โดยรอบ” ไม่ได้มีทางเดียว อยู่ที่ว่าเราปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไหม ซึ่งท่านได้สอนไว้มาก คือ อย่าสับสน ให้เอาสักทางหนึ่ง Q: เรามีชีวิตเพื่ออะไร? A: เราลองปรับมุมมอง เปลี่ยนคำถาม “ทำไมจึงเกิด?” เพราะอะไรมี ความเกิดจึงมี วิธีคิดแบบนี้จะทำให้เกิดปัญญา หาวิธีพ้นทุกข์ แล้วเราจะพ้นทุกข์ได้อย่างไร ก็ให้ปฏิบัติตามมรรค 8 เมื่อเราเข้าใจทุกข์ด้วยปัญญาแล้ว เราจะพ้นทุกข์ได้
Q: โจทก์ภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกในการอวดอุตริมนุสธรรม A: อุตริมนุสธรรม คือ ธรรมะที่เหนือกว่าของมนุษย์ ภิกษุใดอวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตน อันนี้เป็นปาราชิก เว้นไว้แต่เข้าใจผิด (เข้าใจว่าได้บรรลุ) ไม่ถือว่าเป็นอาบัติปาราชิก Q: เมื่อถูกหลอกเอาทรัพย์ เราควรวางจิตอย่างไร? A: เราไม่ควรเคียดแค้น ผูกเวร เพราะจิตใจเราจะไม่ดี จะอยู่ไม่เป็นสุข จะเศร้าหมอง จิตใจเราให้มีเมตตา กรุณา อุเบกขา ส่วนทรัพย์จะตาม หรือจะปล่อยทิ้งต้องพิจารณาเป็นกรณีไป Q: นั่งสมาธิแล้วจิตกระเพื่อม ส่ายไปมาขวาซ้ายๆ ควรแก้อย่างไร? A: พิจารณาทางกาย หากกายไม่สบายให้ไปพบแพทย์เพื่อรักษา หากไม่ใช่ ก็เป็นเรื่องของจิต คือ การปรุงแต่งของจิตยังไม่ระงับ ให้ตั้งสติไว้กับลม อย่าตามการปรุงแต่งของจิตนั้นไป พอจิตจดจ่ออยู่กับลม ก็จะไม่จดจ่อไปกับการปรุงแต่งของจิต พอจิตไม่ได้ตริตรึกไปเรื่องใด มันก็ไม่น้อมไปเรื่องนั้น มันก็จะอ่อนกำลัง การปรุงแต่งของจิตก็จะระงับ Q: ข้อปฏิบัติอะไรที่จะทำให้สติของเรามีกำลังเพิ่มขึ้น? A: ท่านอธิบายเรื่องศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ ข้อปฏิบัติทางกาย วาจา เพิ่มเติม จากศีล 5 ข้อ เรียกว่า “ศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ” คือ การรู้ประมาณในการบริโภค การสำรวมอินทรีย์ การอดทนรับฟังการตักเตือนด้วยความเคารพหนักแน่น การประกอบด้วยธรรมอันเป็นเครื่องตื่น การอยู่เสนาสนะอันสงัด และการมีกัลยาณมิตร มีครูบาอาจารย์คอยบอก คอยสอน จะเป็นข้อปฏิบัติที่ทำให้สติเราตั้งขึ้น ตั้งมั่น ด้วยดี Q: ผู้ร่วมทำการสังคายนาพระไตรปิฎกต้องเป็นพระอรหันต์เท่านั้นหรือ? A: การสังคายนาครั้งแรก นำโดยท่านพระมหากัสสปะ ท่านได้รวมเอาเฉพาะ พระขีณาสพ (พระอรหันต์) มาทำการสังคายนา / คำว่า “สังคายนา” หมายถึง การสวดขึ้นพร้อมกัน / การทำสังคายนา ก็คือ การสวดคำพูดของพระพุทธเจ้าที่ท่านได้สอนไว้ สวดขึ้นพร้อมกัน ว่าจดจำได้ถูกต้องตรงกันหรือไม่ แล้วจัดหมวดหมู่ เพื่อสะดวกในการจดจำ ให้เป็นรูปแบบภาษาที่จะรักษาคำสอน รูปแบบนี้ เรียกว่า “พระไตรปิฎก”
Q: ควรแก้ไขอย่างไรเมื่อติดสุขในสมาธิ? A: อาการติดสุขในสมาธิ แบบแรก คือ เมื่อนั่งสมาธิแล้วสามารถทำได้ เมื่อไม่นั่งจะหงุดหงิด อารมณ์เสีย แบบที่สอง คือ สงบ นิ่ง ได้ แต่ไม่น้อมไปเพื่อให้เกิดปัญญาในการเห็นตามจริง ไม่เห็นความไม่เที่ยง ไม่เบื่อหน่ายคลายกำหนัด (นิพพิทา) พอสมาธิค้างตรงนี้ จึงไม่เกิดการปล่อยวาง ให้เราน้อมจิตไปอีกทางหนึ่ง คิด ใคร่ครวญให้แยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ว่าสมาธิเที่ยงหรือไม่เที่ยง นี่คือการ “วิปัสสนา” เห็นตามความเป็นจริง “วิปัสสนา เมื่อทำให้มาก เจริญให้มากแล้ว ปัญญาจะเจริญ ปัญญา เมื่อทำให้มาก เจริญให้มากแล้ว จะละอวิชชาได้ “ ต้องฝึกเข้า ออกอยู่เรื่อยๆ Q: ความง่วงขณะนั่งสมาธิ ถูกกระตุ้นโดยทางกายหรือใจ? / การนอนหลับ จิตจะได้พักหรือไม่ หรือไปรับรู้สิ่งใด? A: ความง่วง สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ ทางกาย หากเหนื่อย เมื่อยล้า ก็ง่วงได้ ทางใจ หากมีสมาธิมากแล้วเพลินในสมาธิ ก็จะออกมาในรูปของการง่วงซึม เป็นเครื่องกั้น (นิวรณ์)/การนอนหลับ จิตกับกายไม่เหมือนกัน กายเป็นธาตุสี่ จิตเป็นนาม ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างกายกับใจเข้าด้วยกัน ขณะหลับ กายได้พักผ่อน ไม่รับรู้อะไร เพราะจิตไม่ได้ไปทำหน้าที่ในการรับรู้ (วิญญาณ) จิตนั้นเกิดขึ้นดับไป ตลอดวัน ตลอดคืน ไม่จำเป็นต้องพักผ่อน ไม่มีข้อจำกัดเหมือนกาย Q: เมื่อต้องรักษาอาการป่วยที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ควรวางจิตอย่างไร? A: ให้รักษาจิตไว้ด้วยสติ ระลึกถึงความดี ศีล ศรัทธา ของเรา หากมีความกังวลใจ ให้ทำสมาธิให้เกิด ให้มีสติ ระลึกถึงความดี ศีล ศรัทธา ตั้งจิตไว้อย่างนี้ เราจะอยู่ผาสุกได้ Q: ในมงคลชีวิต เรียบเรียงเนื้อหาจากง่ายไปยากใช่หรือไม่? A: เป็นไปตามลำดับขั้นเริ่มจากปฏิบัติขั้นพื้นฐานไปขั้นสูง Q: ควรถวายอาหารรสอร่อยหรือรสธรรมดาแก่พระสงฆ์? A: การที่เราเอาอาหารไปถวายพระ เพราะเราต้องการบูชา ซึ่งจะละเอียด หยาบ หรือประณีต ขึ้นอยู่กับผู้ที่บูชา Q: การพูดให้ผิดไปจากโลก? A: การพูดให้ผิดไปจากโลก คือ ไม่เห็น บอกเห็น ได้ยิน บอกไม่ได้ยิน หากพูดเลี่ยงไปทางอื่น จะไม่เรียกว่าพูดผิดไปจากโลก/จุดสำคัญที่เราไม่ควรมองผิวเผิน คือ ท่านพูดอะไร ท่านทำจิตเค้าให้เบาได้อย่างไร ถึงทำให้ เพชฌฆาตที่จะมาฆ่าท่านบรรลุธรรม Q: คำพูดของท่านพระภัททิยะที่ว่า “สุขหนอ” นี้เป็นสุขจากอะไร? A: สุขที่เหนือจากเวทนา เรียงลำดับจาก หยาบไปละเอียด คือ กามสุข สุขที่เกิดจากสมาธิ สุขเวทนาในภายใน วิมุติสุข คือ สุขตั้งแต่สมาธิขึ้นไปดีทั้งหมด ถ้าเราจะเอาสุขที่สูงขึ้นไป ก็เอาวิมุตติสุข ดีที่สุด
Q: เหตุที่ต้องมีพระวินัย A: หากมีการแสดงธรรมโดยพิสดาร มีคำสอนมาก รายละเอียดมาก สิกขาวินัยมาก คำสอนจะตั้งอยู่ได้นาน ศาสนาจะไม่เสื่อมเร็ว เปรียบดังดอกไม้ที่จัดเรียงไว้สวยงามแต่ไม่ได้ร้อยไว้ พอลมพัดมาก็กระจัดกระจาย แต่หากร้อยไว้ด้วยเชือก แล้วมีลมพัดมา ดอกไม้ก็สวยงามดังเดิมได้ การอยู่กันด้วยวินัยร้อยเรียงเอาไว้จะอยู่ด้วยกันเรียบร้อยได้ ตรงนี้จึงเป็นเรื่องราวที่ท่านบัญญัติไว้ เป็นความหมายว่าทำไม “ระเบียบวินัยเป็นแนวทางแห่งความสำเร็จ” Q: การรับประเคน 5 A: 1. ของเขาให้ด้วยกาย รับประเคนด้วยกาย 2. ของเขาให้ด้วยกาย รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย 3. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย รับประเคนด้วยกาย 4. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย 5. ของเขาให้ด้วยโยนให้ รับประเคนด้วยกาย หรือด้วยของเนื่องด้วยกาย Q: การประเคน 5 ประการ A: 1. อาหารที่นำมาให้ต้องไม่ใหญ่เกินไป พอยกได้ 2. ต้องเข้ามาใน “หัตถบาส” (เท่ากับช่วง 2 ศอก 1 คืบ) 3. น้อมเข้ามาถวาย 4. ผู้ประเคนจะเป็นเทวดา มนุษย์ สัตว์ก็ได้ 5. สิ่งที่รับประเคนนั้นด้วยกาย หรือ ด้วยของเนื่องด้วยกาย Q: ทำไมพระไทยต้องใช้ของเนื่องด้วยกายเสมอกับผู้หญิง? A: เพราะใน สิกขาบท สังฆาทิเสส หากสัมผัสแตะต้องกายหญิงด้วยจิตมีกำหนัด จะต้อง ”อาบัติสังฆาทิเสส” คือ อาบัติหนัก พระท่านจึงระวังมาก Q: องค์แห่งการขาดประเคน A: คนที่รับประเคนมาแล้ว ท่านตาย มรณภาพ ลาสิกขา อาบัติปาราชิก เปลี่ยนเพศจากชายเป็นหญิง ให้ไป สละไปโดยไม่มีเยื่อใย ถูกชิงหรือขโมยเอาไป Q: ประเคนอาหารทั้งโต๊ะเลยได้หรือไม่? A: ให้พิจารณา การประเคน 5 ประการ ควรประเคนทีละอย่าง และต้องอยู่ใน “หัตถบาส” เพื่อความเรียบร้อยและเป็นการให้ที่เคารพ / หากอาหารที่จะถวายอยู่ไกลเกินไป ไม่ควรให้พระหยิบให้โยมแล้วโยมประเคนให้พระอีกรูปหนึ่ง เพราะของที่หยิบให้โดยยังไม่ประเคน ไม่ถูกต้อง จะเป็น “อุคคหิตก์” คือ ไม่ควร รับมาแล้วก็ฉันไม่ได้ เพราะรับมาด้วยการไม่ควร Q: “กาลิก” อาหารตามกำหนดเวลาของพระ A: “ยาวกาลิก” คือ รับประเคนแล้วเก็บไว้ฉันได้แค่เช้าถึงเที่ยง “ยามกาลิก” คือ รับแล้วเก็บไว้ฉันได้ถึงวันรุ่งขึ้น “สัตตาหกาลิก” คือ รับแล้วเก็บไว้ฉันได้ภายใน 7 วัน “ยาวชีวิก” คือ เก็บไว้ฉันเวลาป่วย/ฉันได้ตลอดไป
Q: จิต กับ ธาตุรู้ คืออะไร อยู่ที่ไหน เหมือนและต่างกันอย่างไร? A: เหมือนกัน คือ อยู่ในช่องทางใจและเป็นนามเหมือนกัน ต่างกัน คือ ธาตุรู้ มาจากคำว่า วิญญาณธาตุ ทำหน้าที่รับรู้เฉย ส่วน ”จิต” เป็นลักษณะภาวะของการสะสม เข้าไปเกลือกกลั้วและเสวยอารมณ์ Q: วิธีแก้โรควิตกจริต A: เปรียบเหมือนตัดต้นไม้ ที่ตัดที่โคนต้น พอฝนผ่านมา ต้นไม้นั้นก็งอกขึ้นมาใหม่ เราต้องขุดรากถอนโคนต้นไม้นั้น นำมาตัด มาผ่า เผา จนเป็นถ่านเป็นขี้เถ้า บดให้ละเอียด แล้วโปรยในที่ลมพัดแรงหรือในกระแสน้ำที่เชี่ยวกราด ในการขุดรากถอนโคนนั้น ต้องใช้ปัญญาในการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง พิจารณามรณสติ ทำซ้ำ ทำย้ำ อยู่เรื่อยๆ จะระงับความคิดนี้ได้ Q: กาม และ อกุศลธรรม มีซอฟต์พาวเวอร์ หรือไม่? A: กาม (ราคะ โทสะ โมหะ) มีสภาวะบังคับ บีบคั้น ไม่ใช่ ซอฟต์พาวเวอร์ แต่เป็น ฮาร์ดพาวเวอร์ ทั้งหมด เพราะกาม บีบบังคับเราให้ต้องทำ ส่วน ธรรมะทั้งหมดเป็นซอฟต์พาวเวอร์ เพราะไม่ได้ถูกบีบบังคับ ให้เป็นไปตามอำนาจ ราคะ โทสะ โมหะ คือ ทางสายกลางหรือมรรค 8 นั่นเอง Q: ทุกข์สัมพัทธ์กับเวลาหรือไม่? A: เวลาและสถานที่ เป็นลักษณะของภพ เพราะมีภพ จึงมีการเกิด เพราะมีการเกิด จึงมี ความแก่ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ จึงเกิดขึ้น ครบถ้วน เพราะฉะนั้น “ทุกข์” ต้องมีเวลา ไม่ว่าจะเร็วหรือช้า ก็มีเวลาทั้งนั้น Q: ความไม่เที่ยงและเวลาเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกันหรือไม่? A: เหตุปัจจัยของเวลา ในที่นี้หมายถึง ภพ (เวลา/สถานที่) เหตุปัจจัยของภพ คือ อุปาทาน (ความยึดถือ) ความยึดถือจึงเป็นเหตุเงื่อนไขของเวลาและสถานที่, อุปาทาน เป็นตัณหา ไม่ใช่มรรค, ความไม่เที่ยงเป็นเหตุให้ถึงความดับแห่งภพ จะดับภพได้ ก็เพราะความดับไม่เหลือของอุปาทาน จะดับอุปาทาน ก็ต้องปฏิบัติตามมรรค 8 ซึ่ง หน้าที่ ที่ทำต่างกัน, ความไม่เที่ยง ต้องทำให้มาก พัฒนาให้มี ทำให้เจริญ โยนิโสมนสิการตามหลักอริยสัจสี่ แล้วเราจะไม่หลงประเด็น
Q : กิเลส มักเกิดขึ้นในใจ ในรูปแบบของความคิด ก่อนที่จะออกมาเป็นคำพูดหรือการกระทำ ใช่หรือไม่? A : กิเลสเกิดจากจิตที่มีอวิชชาแฝงอยู่ แล้วไม่มีสติรักษา เมื่อมีผัสสะมากระทบ ก็จะปรุงแต่งไปตามสิ่งที่พอใจหรือไม่พอใจ ออกมาในรูปแบบ ความคิด คำพูด การกระทำ และเมื่อปรุงแต่งออกไปแล้ว ก็จะมีอาสวะกลับเข้ามาในจิต Q : มีสติเห็นความคิดที่ผ่านเข้ามาแล้วไม่ตามมันไป จะช่วยขูดเกลากิเลสได้หรือไม่? A : การที่เราแยกแยะได้ รู้ว่าสิ่งนี้ดี สิ่งนี้ไม่ดี ความรู้นั้น เป็น “สัมมาทิฏฐิ” เมื่อเรามีปัญญา มีความเพียร มีสติ สมาธิ กิเลสก็จะอยู่ไม่ได้ จะค่อย ๆ หลุดลอกออก Q : แนวทางจากคำถามข้างต้น คือ มรรค8 คือ สัมมาสังกัปปะ ใช่หรือไม่? A : ล้วนเป็นแนวทางของมรรค 8 ตามกันมา เราทำอันใดอันหนึ่งก็จะตามกันมาหมด ซึ่ง มรรค8 คือ ทางเดียว ที่มีองค์ประกอบ 8 อย่าง ไม่ใช่ทาง 8 สาย Q : การเข้าฌาน กับ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ เกี่ยวข้องกันอย่างไร? A : ฌาน คือ กิริยา การเพ่ง จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ส่วน ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ นั้น เป็นระดับความลึกของสมาธิ ถ้าทำได้ไม่นาน จัดเป็น “ขณิกสมาธิ” ถ้าพอจะเป็นที่อยู่ได้ จัดเป็น “อุปจารสมาธิ” ถ้าทำสมาธิได้ลึกซึ้งนาน จัดเป็น “อัปปนาสมาธิ” Q : เราสามารถตั้งสติจนถึงรอยต่อที่จะหลับได้หรือไม่ ? สภาวะนั้นเทียบได้กับตอนที่จะตาย ใช่หรือไม่ ? หากตอนเราจะตายตั้งสติไม่ได้ ส่งผลเสียมากหรือไม่ ? A : ความตายเกิดขึ้นได้ตลอด ไม่ใช่แค่เกิดขึ้นระหว่างรอยต่อ ตรงไหนมีผัสสะ ตรงนั้นมีรอยต่อ เป็นกระแสเกิดและดับ สิ่งสำคัญคือเมื่อกระแสดับแล้ว จิตเราจะระลึกถึงอะไร คว้าอะไร เราจึงควรทำดี มีสติ ฝึกทำอยู่ตลอด ตรงไหนที่กังวลใจก็ให้กำจัดอาสวะส่วนนี้ออก สมาธิเราก็จะเต็ม ก็จะไปขั้นสูงขึ้นไปได้อีก Q : ถ้าต้องป่วยด้วยอาการทางสมองระหว่างปุถุชนกับอริยะบุคคลต่างกันหรือไม่? A : เหมือนกันที่ ทางกายบกพร่องทางสมอง ต่างกันที่ อริยะบุคคล เมื่อถูกลูกศรดอกที่ 1 แทงที่กาย ท่านจะรักษาจิตท่านไว้ได้ ไม่ไปหาความสุขทางกาม ส่วนปุถุชนนั้น เมื่อถูกลูกศรดอกที่ 1 แทงที่กายแล้ว ยังถูกลูกศรดอกที่ 2 แทงไปที่ใจ คือ กังวลใจ ไม่ผาสุก แล้วไปหาความสุขทางกาม Q : ควรเตรียมตัวอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้จิตไปอบายภูมิ ถ้ายังไม่ได้เป็นอริยบุคคล A : เราต้องรักษาจิตเราให้ดี ฝึกสติ เห็นไปตามจริง อะไรที่ต้องบรรลุ อะไรที่ต้องทำให้ถึง เมื่อทำได้แล้ว ถึงเวลานั้นเราจะเป็นผู้ที่อยู่ผาสุกได้ Q : อนมตัคคปริยายสูตร น้ำตาเปรียบด้วยมหาสมุทร A : เราทุกข์เพราะไม่เห็นอริยสัจสี่ ให้เราตั้งสติให้ดี เห็นในความเป็นจริงด้วยปัญญา ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นทุกข์ เป็นสิ่งที่ยึดถือไม่ได้ ให้ ระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และศีล สี่อย่างนี้จะพาให้เราสู่กระแสนิพพานเป็น “โสตาปัตติยังคะ 4” ได้
Q: ขณะดำเนินชีวิตประจำวัน ควรเจริญสติอย่างไร? A: เจริญสติได้ในทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะทำกิจการงานใด โดยให้ระลึกด้วย “สัมมาสติ” คือ คิดดี มีเมตตา คิดแล้วกิเลสลด ไม่คิดไปในทางที่ไม่ดีหรือมิจฉาสติ (คิดแล้วกิเลสเพิ่ม) Q: พระเครื่องไม่มีในพระพุทธศาสนาใช่ไหม? A: พระเครื่องมีภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า สิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราควรทำ คือ เดินตามทางมรรค 8 ไม่ใช่ห้อยพระเพื่อ อยากให้บันดาลสิ่งนั้นสิ่งนี้ หรืองมงาย เป็นความหลง เป็น “วัตตโกตูหลมงคล” Q: สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนที่คิดได้รู้สึกได้ว่าเป็นตัวตน และสิ่งที่ถูกหลอกว่าเป็นตัวตนนั้นคือสิ่งใด? A: สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน คือ “ขันธ์ 5” สิ่งที่ถูกหลอกว่าเป็นตัวตน คือ “จิต”/เมื่อตัณหาไปยึดถือในขันธ์ 5 จึงมีความรู้สึกว่าเป็น จิต ขึ้นมา รู้สึกว่ามีตัวตน เพราะไปยึดในขันธ์ 5 คือ รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร และวิญญาณ รู้สึกว่ามันมี นั่นคือ ถูกหลอก/ถ้าเราเห็นความไม่เที่ยง ความไม่ใช่ตัวตน ตรงนี้เป็นกุญแจ คลายความยึดถือ ปลดล็อคได้ ให้เรารักษาจิตด้วยสติ ศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อความจริงปรากฏว่า จิตก็ไม่เที่ยง เมื่อเห็นความไม่เที่ยง จิตก็จะละเอียดลงๆ หลุดพ้นจากความยึดถือ อวิชชาที่อยู่ที่จิต ก็จะหายไปดับไป สิ่งที่เหลืออยู่ คือ จิตที่ยินดี ร่าเริง ไม่สะดุ้งไปตามสิ่งต่างๆ คือ จิตที่บริสุทธิ์นั่นเอง Q: การใช้ชีวิตตอนอยู่นอกคอร์สปฏิบัติธรรม ควรปฏิบัติตนอย่างไร? A: เมื่อเรายังต้องอยู่ในสังคม สิ่งที่สำคัญ คือ “จิตใจ” ให้อยู่เหนือโลก เหนือผัสสะ เหนือด้วยสติปัญญา อย่าทำตัวเป็นคนหลุดโลก ให้ดูว่าเพื่อนที่ไปด้วย ว่าเป็นกัลยาณมิตรไหม ชวนคุยเรื่องธรรมะหรือหากคุยเรื่องงานก็ให้คุยด้วยสัมมาวาจา Q: คนเลือกเกิดได้หรือไม่? A: ทั้งได้และไม่ได้ หากเราทำดีรักษาศีล เราก็เลือกเกิดไปสวรรค์ได้ หากเราผิดศีล ก็คือเลือกเกิดไปนรก หรือจะเลือกไม่เกิดเลยก็ได้ คือ ทำตามรรค 8 ไปนิพพาน/อีกนัยยะหากหมายถึง เลือกเกิดได้ แบบอยากรวย สวย หล่อ ต้องตั้งจิตอธิฐาน ซึ่งอาจจะได้หรือไม่ได้ก็ได้
Q: เพื่อนที่ทำงานซื้อของมาให้ พอเรารับไว้เราก็ไม่สบายใจ ไม่รับก็กลัวจะน้อยใจ เราควรตั้งจิตอย่างไร? A: เราสามารถรับไว้ แล้วซื้อของกลับให้เพื่อผูกมิตร ทั้งนี้ ควรตรวจสอบสภาวะจิตเราด้วยว่า ซื้อของให้เค้าแล้ว เราไม่อยากซื้อให้กลับหรือเปล่า/แนะนำเรื่องการแบ่งจ่ายทรัพย์/หากเค้ามีศรัทธากับเรา เราก็ดูว่าเราจะทำตัวเป็นเนื้อนาบุญได้ไหม/แนะนำเปลี่ยนจากการซื้อของให้เป็นการหยอดกระปุก เพื่อร่วมทำบุญด้วยกัน หรือนำไปใช้เป็นสวัสดิการในที่ทำงานร่วมกัน Q: คุณสมบัติของเนื้อนาบุญเปรียบกับช้างทรงของพระราชา A: อดทน ต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ต้องเป็นช้างที่ รู้ประหาร (กำจัดสิ่งที่เป็นอกุศล) รู้รักษา (สำรวมอินทรีย์) รู้ไป (ไปทางนิพพาน) รู้ฟัง (ฟังธรรมะ) รู้อดทน (อดทนต่อเวทนา คำด่า คำว่า) Q: ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ อุเบกขา วิมุต ต่างกันอย่างไร? A: ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ มาจากศัพท์คำว่า “อทุกขมสุข” คือ ถ้ามีผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งความรู้สึกที่จะบอกไม่ได้ว่าสุขหรือทุกข์ มากระทบ ก็จะมีความรู้สึกที่จะบอกไม่ได้ว่าสุขหรือทุกข์ (อทุกขมสุข) เกิดขึ้น อุเบกขา คือ ความวางเฉย เป็นหนึ่งในสติปัฏฐานสี่ เป็นหนึ่งในองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ธรรม วิมุตติ คือ พ้น (เจริญสติปัฏฐานสี่มาก ทำให้มากแล้ว เราจะมีองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ธรรม คือ “โพชฌงค์” พอมี โพชฌงค์แล้ว อาศัย วิเวก วิราคะ นิโรธ น้อมไปด้วยความสลัดคืน วิชา และวิมุตติ จะเกิดขึ้น) Q: อุเบกขาต่างจากวิมุตติอย่างไร? A: ความต่าง คือ อุเบกขา ละเอียดกว่า อทุกขมสุข, อุเบกขา เป็นหนึ่งใน สติปัฏฐานสี่ หนึ่งในองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ ความเหมือน คือ เป็นเวทนาเหมือนกัน มีความเพลินเหมือนกัน มีสติอยู่ด้วยเหมือนกัน Q: นั่งสมาธิแล้วรู้สึกเหมือนมีหนอนไต่ตามร่างกาย อาการนี้คืออะไร แก้ไขอย่างไร A: พิจารณา กรณีที่ 1) เป็นนิมิตว่า เราเห็นความเป็นปฏิกูลในกายนี้ คือ ไม่น่ายินดี ให้รักษาสติ เห็นตามจริง อย่าตกใจ หากตกใจ ให้ตั้งสติขึ้นใหม่ ให้มีกำลัง เห็นไปตามจริง กล้าเผชิญหน้า ว่ากายเราเป็นแบบนี้ นี่คือมาถูกทาง กรณีที่ 2) หากเราพึ่งเริ่มต้นปฏิบัติ แค่รู้สึกคันตามตัว อาการนี้คือ ลักษณะอาการปรุงแต่งทางกาย เป็นเครื่องทดสอบ เราต้องตั้งสติสัมปชัญญะไว้ให้ดี รู้เฉยๆ แต่ไม่ตาม พอสอบผ่านแล้วจะไม่คันอีก Q: การนั่งสมาธิทดแทนการหลับได้หรือไม่? A: ในการนอน 4 ประเภท หนึ่งในนั้น เรียกว่า การนอนอย่างตถาคต คือ ตื่นอยู่ในสมาธิ (คนนอนแบบตื่น คือ ชาคริยานุโยค) ไม่ง่วง ไม่หลับ จิตสว่างอยู่ ร่างกายได้รับการพักผ่อนอยู่ในสมาธิ ส่วนคนที่นอนไม่หลับ คือ ง่วง เหนื่อย เพลีย แต่นอนไม่หลับ Q: การทำสมาธิใกล้คนนอน มีผลกับคนนอนหรือไม่? A: หากเป็นการขยับร่างกาย ก็อาจมีผลต่อคนที่นอนใกล้ได้ หากเราทำสมาธิแล้วเราแผ่เมตตา ผลที่ได้ไม่ใช่แค่คนใกล้ คนไกล ก็ได้ประโยชน์ ได้ทั้งข้ามภพ ข้ามชาติด้วย
เราศึกษาวินัยเพื่อให้ญาติโยมปฏิบัติได้ถูกต้อง เป็นผู้ร่วมรักษาคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นการช่วยพระสงฆ์รักษาพระวินัย “ระเบียบวินัยเป็นแนวทางแห่งความสำเร็จ” ระเบียบวินัย เป็นขอบเขตของมรรค เพื่อให้อยู่ในเดินไปสู่นิพพาน อาหารที่ไม่ควรถวายพระสงฆ์ คือ 1) เนื้อสัตว์ 10 ประเภท ได้แก่ เนื้อมนุษย์ เนื้อช้าง เนื้อม้า เนื้อสุนัข เนื้องู เนื้อสิงโต เนื้อเสือเหลือง เนื้อเสือโคร่ง เนื้อหมี เนื้อเสือดาว 2)เนื้อดิบ เช่น ปูดอง แหนมหมู 3) พืชผักผลไม้ที่จะเติบโตต่อไปได้ ก่อนที่จะถวาย เราควรทำให้สมควรแก่สมณะ (กัปปิยะ) ก่อน เพราะหากพระท่านฉันเมล็ดพืชที่สามารถเติบโตต่อไปได้แล้วทำให้เมล็ดมันแตกหรือหัก จะทำให้อาบัติหรือผิดศีล
Q: ผลกรรมของการฆ่าบิดามารดาโดยเจตนากับบันดาลโทสะหรือประมาท เหมือนหรือต่างกันอย่างไร? A: บาปมากหรือน้อยดูที่เจตนา ท่านอุปมา ดังรอยกรีดบนพื้นน้ำ บนพื้นทรายและบนพื้นหิน ซึ่งกรรมก็จะให้ผลต่างกัน การฆ่าบิดามารดาหรือพระอรหันต์นั้นเป็น “อนันตริยกรรม” คือ กรรมที่หนักที่สุด ผลคือไปตก อเวจีมหานรก จนกว่าจะหมดกรรม แต่ก็ยังมีเศษกรรมที่ยังส่งผลต่อๆ มาอีก รองลงมาคือการฆ่าสัตว์ใหญ่ เช่น คน โค สัตว์เดรัจฉาน ตัวใหญ่หรือตัวเล็ก บาปก็จะลดลงมา ไล่ลงมา Q: ผู้ที่ทรมานด้วยโรคร้ายมานาน พอถึงแก่กรรม บ้างก็ว่าหมดกรรม บ้างก็ว่าสิ้นบุญ อย่างไหนถูกต้อง? A: ที่สำคัญ คือ ตายแล้วไปไหน ถ้าตายแล้วไปนรก นั่นไม่ดี ตายแล้วไปสวรรค์ หลุดพ้นหรือเป็นอริยบุคคล เรียกว่า ไปดี การตายนั้นดี ขึ้นอยู่กับว่าตอนยังไม่ตายเราประกอบกรรมอะไร Q: ขอทาน นำเงินที่ได้มาทำบุญ จะได้ผลบุญเท่ากับอาชีพทั่วไปหรือไม่? A: ขึ้นอยู่กับว่าผู้ให้ มีศรัทธา มีศีล มีสัมมาอาชีวะหรือไม่ ทำบุญในเนื้อนาบุญหรือไม่ ผู้รับเป็นเนื้อนาบุญหรือไม่ ผลที่ได้ก็จะต่างกันออกไป Q: บางคนอธิษฐานอยากได้บุตร แต่ไม่ได้หรือได้แล้วแต่เป็นตามที่หวัง เป็นเพราะอะไร? A: ความอยาก (ตัณหา) เป็นทุกข์ หากเราไม่มีความอยากก็จะไม่ทุกข์ เหตุปัจจัยที่จะควบคุมความอยากได้นั้น มีอยู่แล้วคือ มรรค 8 Q: ที่ว่าบุตรชายคล้ายแม่ บุตรสาวคล้ายพ่อ มักไม่อาภัพจริงหรือ? A: อาภัพหรือไม่ สิ่งที่สำคัญ คือ เมื่อเกิดมาแล้วจะไปสว่างหรือไปมืด Q: บาปไหม? ถ้าไม่รักษาคำพูด A: เทียบเคียงกับพระสูตร ข้อมิจฉาวาจา หากคำพูดตอนนั้น ไม่มีเจตนาหลอกลวง แกล้งกล่าวเท็จ ไม่ถือว่าผิดหรือบาป เพราะทุกคำพูดเป็นคำจริง แต่พอกาลเวลาล่วงมา ไม่สามารถรักษาคำพูดไว้ได้เนื่องจากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปนั่นเป็นโทษของวัฎฎะ Q: การแผ่เมตตาต่างจากการกรวดน้ำอย่างไร? A: กรวดน้ำเป็นกิริยาทางกาย การแผ่เมตตาเป็นกิริยาทางใจ ทั้งสองอย่าง ที่สำคัญ คือ จิตที่ตั้งไว้ด้วยดี มีเมตตา Q: บวชแบบไม่ต้องจัดงานอะไรเลยได้ไหม? A: สิ่งที่ต้องมี คือ มีบาตร จีวร หมู่สงฆ์อย่างน้อย 5 รูป อนุศาสนาจารย์ และมีพิธีบวช คือ มีอุปัชฌาย์แล้วต้องกล่าวคำนี้ หมู่สงฆ์รับรองแล้วจบ สิ่งอื่นที่ไม่ได้กล่าวไว้ไม่จำเป็น Q: จริงหรือที่ว่า "เบียดก่อนบวช" พ่อแม่จะได้บุญน้อยกว่า? A: พระพุทธเจ้าท่านก็แต่งงานมีลูกก่อน แล้วค่อยมาบวช สำคัญอยู่ที่การกระทำ ว่าบวชแล้วทำอะไร Q: พระทุกรูปเชื่อว่าผีมีจริงใช่ไหม? A: ใม่ใช่ทุกรูปที่จะมีสัมมาทิฐิ
Q: ผู้ป่วยติดเตียงดึงเครื่องช่วยหายใจออกเองแล้วตาย เป็นการฆ่าตัวตายหรือไม่? A: ดูที่เจตนาเป็นเกณฑ์ ว่าต้องการให้ชีวิตสิ้นสุดลงหรือไม่ Q: คนเรามักจะมีของที่ชอบเป็นพิเศษ นี้คือกาม คือมีอุปาทาน มีกิเลส ใช่หรือไม่? A: พิจารณาว่าเป็นเวทนาแบบไหน แบ่งตามนัยยะ คือ ถ้าเป็น อาหาร สถานที่ การงาน บุคคล ให้พิจารณาแล้วจึงเสพ (กุศลกรรมบถ 10 จิตตั้งมั่น/อาสวะ ปัจจัยสี่)/เพลง กลิ่น พิจารณาแล้วจึงอดกลั้น/สถานที่ พิจารณาแล้วจึงงดเว้น/ความคิดในทางอกุศลทุกอย่าง พิจารณาแล้วจึงบรรเทา Q: สิ่งที่เฉยๆ ไม่ได้โปรดปราน ไม่ใช่กามใช่ไหม? A: ความรู้สึกที่ไม่ได้บอกว่าเป็นทุกข์ เหรือ สุข เรียกว่า “อทุกขมสุขเวทนา” ซึ่งอาจทำให้เกิดกามได้ ถ้าจิตปรุงแต่งไป ดังนั้น เราควรฝึกสติเพื่อรักษาจิต ถ้ามีสติก็จะไม่มีกาม ถ้าไม่มีก็อาจเกิดเป็นกามได้ Q: ความกลัว เป็นโมหะหรือไม่?/ความกลัวกับโรคซึมเศร้า เป็นปัญหาทางใจใช่หรือไม่? A: ความกลัวมี 2 แบบ คือ 1. ความกลัวที่เป็นอกุศล (เป็นโมหะ) 2. ความกลัวที่เป็นกุศล (หิริโอตัปปะ) คือ กลัวต่อสิ่งที่เป็นอกุศล เช่น กลัวการตกนรก กลัวต่อบาป เราต้องมีความกล้าในการเผชิญหน้ากับความจริง ทำจริงแน่วแน่จริง ทำในสิ่งที่เป็นกุศล เมื่อปัญญาเกิด โมหะก็จะหายไป โดย การปฏิบัติธรรมรักษาได้
Q: การกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตชาติ มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้อีก และคนเรามักจะทำแบบเดิม ใช่หรือไม่? A: ทุกอย่างอยู่ที่เหตุ เงื่อนไข ปัจจัย ไม่ได้เป็นแบบนั้นทั้งหมด Q: เทวดามีกายทิพย์ จะปวดเมื่อยได้ไหม? A: ไม่ปวดเมื่อยเหมือนมนุษย์ Q: เทวดาสิ้นอายุได้ใน 4 ลักษณะ A: 1. ลืมทานอาหาร 2. บุญเพิ่มขึ้น 3. มีความโกรธ 4. หมดอายุบุญ Q: เทวดาที่ไม่มีรูป (อรูป) รู้สึกได้ด้วยอะไร? A: ท่านมีจิต นิ่งๆ อยู่อย่างเดียว ไม่สามารถติดต่อสื่อสารใด ๆ ได้ Q: การทดลองของพระเจ้าปายาสิ | ปายาสิราชัญญสูตร A: จะหาจิตโดยใช้เครื่องมือที่เห็นได้ด้วยตา หูฟังได้ด้วยเสียง ไม่ได้ เพราะจิตเป็นนาม วิธีมีอยู่ คือ ใช้การตรวจสอบด้วยตาทิพย์ โดยเราจะต้องมีปัญญา หากเราไม่มีก็ให้อาศัยความเชื่อ อาศัยคนที่มีปัญญา ดั่ง คนตาบอดแต่กำเนิด ไม่เคยเห็นแม่น้ำ ท้องฟ้า จะบอกว่าไม่มี ไม่ได้ เพราะคนตาดีเค้ามองเห็น ก็ต้องเชื่อในสิ่งที่คนตาดีเพราะคนตาดีเห็น
Q: บุญคืออะไร ผลบุญ มีจริงหรือไม่? A: บุญเป็นชื่อของ “ความสุข”/บุญทุกอย่างล้วนให้อานิสงส์ (ผล) ทำแล้วได้ความสุขจึงเรียกได้ว่าเป็น “บุญ” Q: ความแตกต่างระหว่างกุศลกรรมบถ 10 และ บุญกิริยาวัตถุ 10? A: บุญกิริยาวัตถุ 10 หรือกุศลกรรมบถ 10 เป็นการกระทำที่จะทำให้เกิดความสุข/กุศลกรรมบถ 10 เป็นพุทธพจน์ แบ่งเป็น ทางกาย 3 วาจา 4 และทางใจ 3 อย่าง/บุญกิริยาวัตถุ 10 เป็นการกำหนดจิตในการให้ทาน โดยอรรถกถาจารย์ ท่านได้กล่าวอธิบายเพิ่มเติมขึ้นมา ประกอบด้วย 1. ทานมัย 2. สีลมัย 3. ภาวนามัย 4. อปจายนมัย 5. ปัตติทานมัย 6. ปัตตานุโมทนามัย 7. เวยยาวัจจมัย 8. ธัมมัสสวนมัย 9. ธัมมเทสนามัย 10. ทิฏฐุชุกัมม์ Q: บุญที่เกิดจากการให้ทาน ควรตั้งจิตไว้อย่างไร? A: การกำหนดจิตในการให้ทาน ระดับที่ 1. ให้ทานด้วยความอยาก 2. ให้ทานด้วยความมี “หิริโอตตัปปะ” 3. ให้ทานด้วยความละอายต่อบาป 4. ให้ทานโดยไม่มีเศษเหลือ 5. ให้ทานในทักขิเณยยบุคคล 6. ให้ทานด้วยจิตเลื่อมใส ปลื้มใจ โสมนัส 7. กำหนดจิตไว้ว่าเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต 8. บุญที่เกิดจากการฟังและศึกษาธรรม 9. บุญที่เกิดจากการให้ความรู้ผู้อื่น 10. บุญที่เกิดจากการทำความเห็นให้ตรง/อานิสงส์ของการให้ทาน คือ ให้มีโภคทรัพย์ ไปเกิดในสวรรค์ อานิสงส์ของศีลและภาวนา คือ เกิดการบรรลุธรรม ไปเกิดในสวรรค์ Q: ทำบุญเอาหน้า จะได้ผลบุญหรือไม่? A: ทำบุญย่อมได้บุญ มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเขาตั้งจิต
Q: นกสร้างรังรบกวน ควรแก้ไขอย่างไรจึงไม่บาป? A: แผ่เมตตา ใช้วิธีธรรมชาติหรือเทคโนโลยีป้องกัน หมั่นดูแลบ้านเรือน Q: แผ่เมตตาแล้วหายเจ็บเกิดจากอะไร? A: แผ่เมตตาก็เป็นสมาธิ สมาธิเป็นบุญ เมื่อเราระลึกถึงบุญก็จะเกิดปิติสุข ทุกขเวทนาก็จะระงับลง โดยควรแก่ฐานะได้ Q: กังวลใจว่ายังไม่ได้ชำระหนี้สงฆ์ บาปหรือไม่? A: ท่านช่วยเหลือสงเคราะห์เรา ไม่ได้ถือว่าเป็นบาป การที่เรารู้คุณท่าน คือ ความกตัญญู กตเวทีของเรา เป็นสิ่งที่ดีที่ควรทำ เป็นบุญ Q: เมื่อได้ความรู้/ปัญญาจากการปฏิบัติแล้วควรทำอย่างไรต่อไป? A: ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการใช้ไปในทางไหน ในทางธรรม หากเราต้องการความละเอียดลงไปอีก ก็ให้เห็นว่าความรู้ที่เกิดขึ้นนั้นมันไม่เที่ยง ในทางโลก หากนำปัญญามาใช้ก็จะพัฒนาตนเองได้ Q: จะแยกว่าอะไรเป็นอภิธรรม อะไรไม่ใช่อภิธรรม ได้อย่างไร? A: ธรรมะทั้งหมดคืออภิธรรม ส่วนที่มีตัวละคร สถานที่ บทพูดคือพระสูตร Q: อภิวินัย มีหรือไม่? A: มี อภิธรรม อภิวินัย เป็นของคู่กัน Q: ฆราวาสควรสนใจพูดกล่าวถึงอภิธรรม หรือไม่? A: ควรเป็นคนที่ศึกษาธรรมวินัย อบรมศีล กาย วาจา จิต ปัญญา มาก่อน
วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน วันเดียวกัน สิ่งสำคัญที่เราควรระลึกถึง คือ มรดกที่ท่านมอบไว้ให้ คือ คำสอน ระลึกถึงการเกิดขึ้นของพุทโธ ระลึกว่าสิ่งใดที่ควรเกิดขึ้นในใจเรา ที่เป็นกุศล เป็นความดี สิ่งใดที่ควรตายไปจากเรา คือ อกุศล ความไม่ดี Q: เกร็ดความรู้ งานตัดหวาย+ผูกพัทธสีมา A: โบสถ์ จัดอยู่ในรูปแบบของเสนาสนะ ในด้านสถาปัตยกรรม จะหยาบหรือละเอียดได้ทั้งหมด/เสนาสนะทางพระวินัยบัญญัติไว้ว่า ถ้าทำเพื่อตัวเอง ไม่เกิน 50 ตร.ว. ไม่ต้องแสดงเขตที่ แต่หากมีกิจอื่นที่ต้องทำมากขึ้นต้องมีการแสดงเขตที่ ต้องมีการสวดถอน เพราะหากก่อนหน้านี้เคยมีเสนาสนะ แล้วเราไม่สวนถอน การใช้พื้นที่นี้จะถือว่าเป็น “โมฆะ” จึงต้องมีการสวดถอนเพื่อประกาศเพื่อเป็นเขตสีมา จำเป็นต้องผูกสีมา ซึ่งในรัชสมัยนี้จะมีการทำ “วิสุงคามสีมา” นิยมใช้เครื่องหมายที่กำหนดเขต คือ “ลูกนิมิต” แล้วมีใบเสมาปักไว้ด้านบนเพื่อแสดงว่าด้านล่างมีลูกนิมิต Q: สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนที่คิดได้รู้สึกได้ว่าเป็นตัวตนคือสิ่งใด?/สิ่งที่ถูกหลอกว่าเป็นตัวตน คือสิ่งใด? A: จิต/ขันธ์ 5/การที่เรารู้สึกว่ามันเป็นตัวตนของเรานั่นคือจิต จิตไปยึดถือขันธ์ 5 ในความเป็นตัวตน ถูกหลอกว่าขันธ์ 5 เป็นตัวตน จิตก็เข้าไปยึดถือขันธ์ 5 ในความเป็นตัวตน สองสิ่งนี้อาศัยกันเกิด เพราะฉะนั้นเราจึงควรพิจารณาเห็นว่า จิต และขันธ์ 5 เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน Q: เมื่อไหร่จิตคิดได้ รู้สึกได้ แบบเป็นตัวตน และเมื่อไหร่จิตถูกหลอกว่าเป็นตัวตน A: คิดได้ รู้สึกได้ นั่นคือมีอวิชชามาครอบงำ ในขณะที่ถูกหลอกด้วย อุปาทาน ทั้ง 2 อย่างถูกหลอกด้วยอวิชชาอยู่แล้ว ด้วยอวิชชา เป็นอาหารของตัณหา เพราะมีตัณหาจึงมีอุปาทาน คือ ความยึดถือลงไปในขันธ์ 5 จิตจึงไปถูกหลอกให้ยึดถือขันธ์ 5 ถูกหลอกด้วยอวิชชา อวิชชาเป็นตัวหลอกให้เข้าใจผิด Q: สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน คิดได้ รู้สึกได้ ว่าไม่ใช่ตัวตนตลอดเวลาคือสิ่งใด? A: ปัญญา Q: นอกจากจิตแล้ว สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน ที่คิดได้ รู้สึกได้ คือสิ่งใด? A: อะไรที่คิดได้ เราเรียกสิ่งนั้นว่า “จิต” Q: กำไลหยกตกแตกกับการพิจาณาความไม่เที่ยง? A: เราต้องมีสติ เข้าใจสถานการณ์ ไม่หวั่นไหวไปตามสิ่งต่างๆ จะดีไม่ดีก็อยู่ที่ กาย วาจา ใจ กำไลจะแตกหรือไม่มันก็ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย หากมีเหตุปัจจัยที่ทำให้มันแตก มันก็แตก
Q: การศึกษาพุทธศาสนามีด้านเดียวหรือสองด้าน? A: พิจารณาได้ทั้ง 2 อย่าง นัยยะของ 2 ด้าน อาจหมายถึง พิจารณาด้านประโยชน์และโทษ ว่าด้านไหนมาก ด้านไหนน้อย นัยยะของด้านเดียว อาจหมายถึง ทางสายกลาง (มรรค 8) Q: สมาธิเสื่อมได้หรือไม่ เกิดจากเหตุปัจจัยใด? A: สิ่งใดที่เจริญได้ ก็เสื่อมได้ บางทีอาจเสื่อมจากสมาธิเพราะกายเมื่อยล้า คลุกคลีมาก ทำให้เจริญได้ คือ ไม่ยินดีในการเอนกาย รู้จักหลีกเร้น การปฏิบัติตามมรรค 8 จะช่วยปรับให้ไปตามทางได้ รู้จักเอาประโยชน์ หลีกออกจากโทษ Q: ขณะนั่งสมาธิ รู้สึกเคลิ้มจนลืมคำภาวนา ลืมลมหายใจ เรียกว่าขาดสติหรือไม่? A: ขาดสติ คือ เพลินในสมาธิ ยึดถือในสมาธิ มีสมาธิแต่เผลอสติ การระงับลง ไม่ถือว่าเป็นการขาดสติ เพราะยังมีสติสัมปชัญญะ รู้ว่าระงับลง ให้เราฝึกตั้งสติสัมปชัญญะขึ้น เห็นความเกิดขึ้น เห็นความดับไป ฝึกให้ชำนาญในการเข้า การดำรงอยู่ และการออก ทำบ่อยๆ เราจะรู้ตัวทั่วพร้อม รู้พร้อมเฉพาะ ในการที่ความคิดนั้นดับไป Q: ขณะบริกรรมพุทโธ ครูอาจารย์ก็เทศน์สอนด้วย เราควรเอาสติไปจับอยู่กับอะไร? A: ตั้งสติอยู่กับโสตวิญญาณ (การรับรู้ทางหูด้วยเสียง เกิดในช่องทางใจ) Q: นั่งสมาธิแล้วฟุ้งซ่าน เบื่อท้อไม่อยากนั่งต่อ ควรแก้ไขอย่างไร? A: ให้พิจารณา เอาจิตจดจ่อตรงที่เราทำได้ จิตก็จะน้อมไปทางนั้น จิตเราน้อมไปทางไหน สิ่งนั้นจะมีพลัง หากเราตริตรึกแต่ตรงที่ฟุ้งซ่าน ท้อแท้ จิตเราจะไปในทางอกุศล Q: ผู้ปฏิบัติดี มีสมาธิมั่นคง เมื่อถึงที่สุดแห่งทุกข์ หลุดพ้นแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติต่อไปอีก? A: ท่านยังต้องปฏิบัติอยู่ ยังมีศีล สมาธิ ปัญญาอยู่ แต่เหตุผลในการปฏิบัติ ไม่เหมือนเดิม คือ เหตุที่จะต้องทำเพื่อหลุดพ้น ไม่ต้องแล้ว เพราะหลุดพ้นแล้ว สำเร็จแล้ว
วันแรงงานให้ระลึกถึงความเพียร ความอดทน ยิ่งใช้ ยิ่งเกิด ยิ่งใช้ ยิ่งมี ปรับให้สม่ำเสมอ ความดี ความงามจะพัฒนาขึ้น Q: การค้าขายที่ไม่ควรพึงกระทำ? A: ค้าอาวุธ ค้าเนื้อสัตว์ ค้าน้ำเมา ค้ายาเสพติด และยาพิษ Q: ความหมายของสัมมาอาชีวะและมิจฉาอาชีวะ? A: มิจฉาอาชีวะ คือ การพูดหลอกลวง พูดให้ผู้อื่นเจ็บใจจนยอมตกลง พูดบีบบังคับ พูดป้อยอ พูดล่อลาภด้วยลาภ สัมมาอาชีวะ คือ การกระทำที่ไม่เป็นมิจฉาอาชีวะ Q: อุปสรรคของผู้ปฏิบัติที่หวังจะเข้าสู่กระแสนิพพาน? A: อุปกิเลส 11 อย่าง เป็นเครื่องมือที่จะตรวจสอบว่าเราอยู่ในมรรคหรือไม่/ทางที่จะไปสู่นิพพานต้องเดินตามทาง มรรค 8 เท่านั้น เอามรรค 8 เป็นเกณฑ์ ถ้าเจออุปสรรคแล้วผ่านมาได้ มีการพัฒนา กิเลสลดลงๆ จะเป็นทางที่ไปสู่นิพพานได้ ไม่เนิ่นช้า Q: จะบอกบุญ และสร้างศรัทธาให้แก่ผู้อื่นได้อย่างไร? A: บอกบุญให้ถูกช่องทาง/ตั้งจิตไว้ว่า ห้ามเขาเสียจากบาป อนุเคราะห์ด้วยใจอันงาม ทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตร ชี้ทางสวรรค์ให้ เค้าจะมีศรัทธาหรือไม่ ต้องค่อยเป็นค่อยไป ปชส. พระอาจารย์ฯ ไปเทศน์ที่ ยุวพุทธิกสมาคม ในวันที่ 8 พ.ค. 65
Q: การด่าออกไปกับด่าในใจ ผิดศีลหรือไม่? A: อยู่ที่ว่าเรานับสัมมาวาจา อีก 3 ข้อ (ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อ) เข้ามาเป็นศีลด้วยหรือไม่ ให้เราฝึกยิ่งๆ ขึ้นไป จะเกิดการพัฒนา รักษา กาย วาจา ใจ เรา ปฏิบัติให้ละเอียดขึ้นไปได้ยิ่งดี Q: จากนิทานพรรณา "ผู้รู้เสียงสัตว์" ถ้าไม่มีญาณวิเศษนี้ เราจะดำรงตนในธรรมได้อย่างไร? A: วิธีที่จะพ้นทุกข์ได้จริงและปลอดภัยจากภัยใน ”วัฏฏะ” ได้ ต้อง “อาสวักขยญาณ” เท่านั้น คือ ญาณในการรู้อริยสัจสี่ Q: การละวาง การปล่อยวางและการวางเฉย มีความหมายเหมือนหรือต่างกันอย่างไร? A: ละวาง ในที่นี้ หมายถึง ละ(ปหานะ) คือกำจัดทิ้งเสีย ใช้กับตัณหา สิ่งที่เป็นอกุศลเท่านั้น ปล่อยวาง คือ การวิราคะ วิมุตติ พ้น ซึ่งจะเป็นส่วนของมรรค 8 ใช้ตามสายของมรรค ใช้กับขันธ์5 คือปล่อยวางขันธ์ 5 วางเฉย (อุเบกขา) Q: ชวนจิต มีความสัมพันธ์กับการทำสมาธิและวิปัสสนาอย่างไร ทำไมต้องมี 7 ขณะ? A: เป็นเรื่องของอภิธรรม Q: ควรจะแก้ปัญหาน้องชายที่ติดยาอย่างไร? A: 1. ให้เรามีพรหมวิหารสี่ 2. หาช่องแนะนำให้เกิดประโยชน์ทั้งเราและเขา 3. ระมัดระวังความคิด อย่าเอา ”ความอยาก” เป็นตัวนำ ว่าอยากให้เขาเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ จิตใจเราให้มีความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ปรารถนาดีต่อกัน ใช้วิธีการให้ถูก ตั้งอยู่ในแดนกุศล Q: หากต้องนอนบนเตียงนานๆ เหมือนผู้ป่วยติดเตียง ควรนำธรรมะข้อใดมาปฏิบัติจึงจะผ่านพ้นไปได้? A: สำหรับผู้ที่เตรียมตัวมา ก็จะอยู่ด้วยความผาสุกได้ คือ จิตสงบ มีเครื่องอยู่ หากไม่ได้เตรียมตัว ก็จะไม่ผาสุก วุ่นวายใจ รับไม่ได้ เมื่อรับไม่ได้ ก็เกิดทุกข์ ให้เข้าใจทุกข์ เห็นทุกข์ ได้ด้วยปัญญาตามมรรค 8 อยู่กับมันได้ทุกข์ก็ลดลง
Q : ศรัทธาที่ตั้งไว้ถูกกับผลของการอ้อนวอนขอร้อง ? A : ศรัทธามี 3 ระดับ 1. ไม่มีศรัทธาในอะไรเลย 2. มีศรัทธา ด้วยการอ้อนวอนขอร้อง ไม่ได้ผลเป็นไปเพื่อการสิ้นทุกข์ คืออยากจะสิ้นทุกข์ แต่ไม่โดยชอบ 3. มีศรัทธาตั้งไว้ดี ประกอบด้วยปัญญา มีการกระทำโดยชอบด้วยเหตุผล นั่นคือ “วิริยะ” ที่เหมาะสม ออกมาในรูปของศีลที่เป็นไปเพื่อความไม่ร้อนใจ เป็นหนึ่งใน มรรค 8 มีที่สุดจบคือ นิพพาน เรียกว่าเป็นศรัทธาถูกที่และดีที่สุด / ผลจากการอ้อนวอนขอร้องแล้วได้ บางครั้งเกิดจากเทพบันดาล บางครั้ง เกิดจากผลกรรมที่ทำมา Q : ศรัทธาในพระธรรมวินัยแตกต่างอย่างไรกับศรัทธาที่เกิดจากการปฏิบัติ ? A : ศรัทธาในธรรมวินัยเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ศรัทธาที่เกิดจากการปฎิบัติจนเป็นผลแล้วจึงไม่เชื่อตามบุคคลอื่น รู้ได้ด้วยตนเอง Q : รู้อะไรเห็นอะไรจึงเรียกว่า “สันทิฏฐิโก” ? A : เห็นประจักษ์ในสิ่งที่เราได้รับผล รู้ชัด เห็นชัด รู้ได้เอง เห็นได้เอง ไม่เชื่อตามผู้อื่นในคำสอนของศาสดาตน Q : อาจิณณกรรม กับ จิตสุดท้าย อะไรที่สำคัญกว่ากัน ? A : ทั้งสองสิ่งล้วนสำคัญ เราควรทำกรรมดี ไม่ประมาท ความไม่ประมาทจะรักษาทั้งอาจิณณกรรมฝ่ายดีและจิตสุดท้ายฝ่ายดีได้ Q : คำว่า ”สีมา” หมายถึงอะไร ทำไมต้องผูกพัทธสีมาและฝังลูกนิมิต ? A : สีมา คือ ขอบเขต หลักเขต สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น ถนน, แนวภูเขา หรือสิ่งที่สร้างขึ้นเองเป็นนิมิต (เครื่องหมาย) เช่น เสาหินหรือลูกนิมิต เป็นหลักเขตและปัก “ใบเสมา” หรือ “สีมา” ไว้ ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกว่าใต้ใบสีมา มีลูกนิมิตอยู่ด้านล่าง
Q : ปฏิบัติธรรมไปเพื่ออะไร ไม่ปฏิบัติธรรมได้ไหม ? A : ธรรมะเมื่อนำไปทำ นำไปปฏิบัติแล้วจะนำความผาสุกมาให้ / อย่าเข้าใจผิดว่า ผาสุกคือ สุขเวทนา ไม่ดีคือทุกขเวทนา เพราะทั้งสุขเวทนาและทุกขเวทนา ล้วนเป็นทุกข์ ให้เห็นธรรมะ เป็นสาระสำคัญ เราจะอยู่ผาสุกได้ / การปฏิบัติธรรมสามารถปฏิบัติได้ทุกรูปแบบ การมีเมตตาต่อกัน รู้จักใช้จ่ายทรัพย์ ก็ถือเป็นการนำธรรมะมาปฏิบัติ ควรปฏิบัติในทุกรูปแบบเพื่อความผาสุก Q : การฝึกสมาธิในขณะที่ลืมตากับหลับตา สภาวธรรมจะต่างกันหรือไม่ ควรฝึกอย่างไรจึงเหมาะสม A : สมาธิสามารถฝึกได้ในทุกอิริยาบถ ให้มีสติรู้ตัวทั่วพร้อม ตรงไหนเราทำได้ เอาตรงนั้นเป็นที่ตั้ง ตั้งจิตไว้ตรงนั้น ทำให้ชำนาญ แล้วค่อยพัฒนาไปอย่างอื่น/ อานิสงส์ของสมาธิในการเดิน จะทำให้อาหารย่อยง่าย สมาธิตั้งอยู่ได้นาน Q : ประโยชน์และโทษของการฝึกสมาธิแบบอรูปฌาน A : ฌาน หมายถึง การเพ่ง เอาใจจดจ่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง / การเพ่งนั้นขึ้นอยู่กับผู้ใช้ ว่าจะใช้เครื่องมืออะไร แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ หยาบและละเอียด คำว่า “รูปฌาน” เป็นการเอารูปมาจดจ่อแล้วให้เกิดความเป็นอารมณ์อันเดียว ระงับลง จนเป็นสมาธิ จากนั้น เมื่อล่วงรูปทั้งหลาย ใช้สิ่งที่ไม่ใช่รูปมาจดจ่อ เรียกว่า “อรูป” ส่วนประโยชน์และโทษนั้นมีอยู่ในทุกอย่างแต่สัดส่วนไม่เท่ากัน Q : พอถึงขั้นอรูปฌาน ไม่มีรูปให้เพ่ง จะต้องเพ่งอะไร? A : เมื่อถึงขั้นอรูป จะมีอายตนะพิเศษที่รับรู้ถึงอากาศไม่มีที่สิ้นสุด “อากาสานัญจายตนะ” พอก้าวล่วงอากาศ ก็เป็นอายตนะที่รับรู้ถึงวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด “วิญญาณัญจายตนะ” Q : ควรวางใจอย่างไรเมื่อบอกบุญหรือชวนผู้อื่นมาทำบุญ ? A : ให้ระลึกถึงอานิสงส์ ในการชักชวน ตั้งจิตไว้ว่าบอกทางสวรรค์ให้ บอกในลักษณะให้เขามีศรัทธา
Q: ขณะนั่งสมาธิรู้สึกเคลิ้ม ลืมภาวนา ลืมลมหายใจ รู้สึกสบาย ถือว่าขาดสติหรือไม่? A: ในการภาวนา หากเราเห็นอาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป คือ มีสติ หากเราไม่เห็นหรือเห็นเกิดแต่ไม่เห็นดับ นั่นคือ เผลอสติ Q: ขณะกำหนดจิตบริกรรม พุธโธ และฟังเทศน์ไปด้วย ควรกำหนดสติไว้กับอะไร? A: สติตั้งไว้ตรงช่องทางที่เสียงจะเข้ามา (หู)/เอาจิตไว้ที่ “โสตวิญญาณ” Q: ถ้าปฏิบัติจนถึงที่สุดแห่งทุกข์แล้วไม่จำเป็นต้องปฏิบัติอีก ถูกหรือไม่? A: ไม่ต้องปฏิบัติเพื่อหวังเอาผล เพราะพ้นได้แล้ว แต่ยังต้องปฏิบัติ รักษาศีล เพื่อดำรงอยู่ เพื่อรักษาสภาวะนี้ ดำรงอยู่ในมรรค เพื่อประกอบให้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน Q: เข้า ฌาน 1 แล้วพิจารณากายนี้ ถือว่าเป็นวิตกวิจารหรือเป็นวิปัสสนาแล้ว? A: หากพิจารณากายตนเองแล้วเห็นความไม่เที่ยง ในกายตน ถือว่าเป็นวิปัสสนา แต่หากพิจารณากายบุคคลอื่น เป็นลักษณะรูปภาพ ถือว่าเป็นวิตกวิจารณ์ Q: จะแก้ไขเรื่องตื่นนอนแล้วไม่ยอมลุก ได้อย่างไร? A: ก่อนนอน ขณะอยู่ในอิริยาบถ นอน ให้ตั้งสติไว้ว่า “รู้สึกตัวเมื่อไหร่ จะลุกขึ้นทันที จะไม่ยินดีในการเคลิ้มหลับ จะไม่ยินดีในการนอน” แล้วน้อมจิตไปเพื่อการนอน ตั้งสติไว้ว่า “บาปอกุศลอย่าตามเราไป ผู้ที่นอนหลับอยู่” การนอนก็จะมีสติ เพราะได้ตั้งสติไว้/ทำบ่อยๆ จะค่อยพัฒนาขึ้นได้ Q: ทุกข์ของพระพุทธเจ้าคืออะไร กับทุกข์ที่เราเจอใช่ตัวเดียวกันหรือไม่? A: ทุกข์ของพระพุทธเจ้าตอนที่เป็นโพธิสัตว์นั้นเป็นทุกข์เดียวกันกับเรา/ตอนที่ท่านเป็นพระพุทธเจ้าแล้วนั้นท่านทรงพ้นจากทุกข์แล้วเพราะท่านค้นพบทางพ้นทุกข์ ทุกข์จึงดับไป/ทุกข์ที่ท่านสอน คือความที่ทนได้ยาก ไม่เที่ยง/ทุกขเวทนา คือ ความรู้สึก/ทุกขลักษณะ คือ รวมสุขเวทนา ขันธ์ 5 รวมทุกอย่าง Q: เราจะรู้ได้อย่างไรว่าคนที่เสียชีวิตไปแล้วนั้นจะไปดีหรือเปล่า? A: จะรู้ข้อนี้ได้ต้องมี จุตูปปาตญาณ
Q: ทำจิตอย่างไรจึงจะเลิกกลัวงู ที่ได้เคยทำร้ายในสมัยก่อน? A: ให้ทำความดีเพิ่ม ทำบ่อยๆ ทำมากๆ เมื่อเราระลึกถึงบุญ ระลึกถึงความดี ภาวนามากขึ้น ความร้อนใจ ก็จะเบาบางลง Q: ใช้การภาวนาคาถา แทนการดูลมหายใจได้หรือไม่? A: การภาวนา ก็ถือว่าเป็น ธัมมานุสติ เป็นหนึ่งใน อนุสติสิบ สามารถใช้วิธีไหนก็ได้ Q: เทคนิคแก้ฝันร้าย A: ก่อนนอน ให้กำหนดสติสัมปชัญญะ กำหนดรู้อิริยาบถในการนอนแล้วเจริญเมตตา มุทิตา กรุณา อุเบกขา น้อมจิตไปเพื่อการนอน กำหนดจิตว่า รู้สึกตัวเมื่อไหร่ จะลุกขึ้นทันที ตั้งสติสัมปชัญญะไว้ว่า “ขอให้บาปอกุศลอย่าได้ตามเราผู้ที่นอนอยู่” แล้วบาปอกุศลจะไม่ตามเราไป เพราะเราตั้งสติไว้แล้ว Q: ทิศทางสู่นิพพานในขณะที่ยังเป็นฆราวาสผู้ครองเรือนอยู่ A: หนทางไปสู่นิพพานมีทางเดียว คือ มรรค 8/ฆราวาสผู้เดินตามทาง มรรค 8 ก็ไปสู่นิพพานได้ Q: การเจริญมรรคของฆราวาส เจริญแบบไหนจึงได้ชื่อว่าทางสายกลาง? A: ให้เอาศีลเป็นหลัก มีกัลยาณมิตรดี มี “มรรค” เป็นเกณฑ์ ถ้าออกนอก มรรค ก็ให้ตั้งสติ ปรับจิตใจ ทำความเพียรให้มาก จะพัฒนาไปได้ Q: วิธีแก้ไขเมื่อนั่งสมาธิแล้วฟุ้งซ่าน A: ให้ตั้งสติแล้วพิจารณาว่า ตอนที่ทำสมาธิได้นั้นทำอย่างไร อย่าเผลอสติ น้อมจิตไปในทางฟุ้งซ่าน ฝึกสติใหัมาก ทำให้มาก แล้วจะชำนาญ Q: สมาธิเสื่อมได้หรือไม่ ถ้าได้เกิดจากเหตุปัจจัยใด? A: เสื่อมได้/เหตุของสมาธิ คือ สติ สัมมาทิฐิ โดยมีศีลเป็นพื้นฐาน ถ้าเหตุเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไป สมาธิก็เสื่อมได้ ให้รักษาเหตุของสมาธิ ก็จะรักษาสมาธิได้ พัฒนาได้ ไม่เสื่อม
Q: ความสันโดษกับเรื่องกาม? A: กาม แบ่งเป็น 1. กิเลสกาม (ความยินดีพอใจ) 2. วัตถุกาม (เสื้อ ผ้า อาหาร คือ วัตถุกาม ที่มีทั้งปราณีต และไม่ปราณีต)/ความสันโดษ (มี 3 นัยยะ คือ 1. ยินดีตามที่มี 2. ยินดีตามกำลัง 3. ยินดีตามความเหมาะสม)/ให้ทำความเข้าใจความสันโดษให้ถูกต้อง ก็จะเลือกปฏิบัติได้ Q: ไม่อิ่มไม่พอ พร่องอยู่เสมอ (กาม) กับอิ่มแล้วพอ (มรรค 8)? A: ไม่อิ่มไม่พอ นั่นคือ ”กาม” จะไม่มีที่สุดจบ วนไปเรื่อยๆ เติมอย่างไรก็ยังพร่องอยู่เสมอ/อิ่มแล้วพอ (ไม่หิว) เมื่อเดินตามทางสายกลาง (มรรค 8) จะมีนิพพานเป็นที่สุดจบ Q: การบรรลุไม่ได้ขึ้นอยู่กับทุกข์มากหรือทุกข์น้อย แต่ขึ้นอยู่กับทำความเข้าใจทุกข์นั้นด้วยปัญญา A: เราต้องเข้าใจทุกข์ให้ถูก ว่าเป็นของเกิดดับได้ คือ 1. เข้าใจทุกข์ 2. เข้าใจเหตุเกิดของทุกข์ 3. เข้าใจความดับไม่เหลือของทุกข์ 4. แก้ได้อย่างไร (ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)/ให้เดินตาม “มรรค 8” ปฏิบัติไปตามทาง ความยึดถือลดลง ความทุกข์ลดลง เข้าใจมากขึ้น ปัญญาเกิด เห็นความเกิดขึ้นและดับไปของทุกข์นั้น Q: บทสวดพระอภิธรรมในงานศพ A: ที่มาในอันดับแรก คือ สมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าท่านเทศน์หมวดอภิธรรมโปรดพระมารดาบนสวรรค์เป็นระยะเวลา 3 เดือน ที่เกี่ยวข้องกับงานศพมีเฉพาะในประเทศไทย/หมวดอภิธรรม จะอธิบายถึง 4 อย่าง แบ่งออกเป็น 7 คัมภีร์
Q: ทานในอนุปุพพิกถาเป็นทานประเภทไหน? A: อามิสทาน/เป็นลักษณะการสละออก ทานโดยใช้สิ่งของภายนอก ทั้งนี้ เราทำอะไรทางกาย ก็มีผลทางใจด้วย เพราะกาย วาจา ใจ มันเกี่ยวเนื่องกัน เราสละสิ่งที่เป็นอามิส กิเลส ราคะ โทสะ โมหะ ก็จะลดลงด้วย Q: อภัยทานกับอโหสิกรรม เหมือนหรือต่างกันอย่างไร? A: ในความหมายของภาษาไทยนั้นนำมาใช้แทนกันได้ โดย อโหสิกรรม จะมีอุเบกขา นำ เน้นมาในทางไม่ผูกเวรต่อ อภัยทานมีเมตตากรุณานำ โดยทั้ง 2 อย่างนั้น สำคัญที่ใจต้องไม่ผูกโกรธ Q: บุญที่เกิดจากอภัยทานกับธรรมทาน เหมือนหรือต่างจากบุญที่เกิดจากอามิสทานอย่างไร? A: การให้ทานล้วนเป็นบุญทั้งสิ้น จะเหมือนหรือแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้สิ่งไหน อยู่ที่ผู้ทำและผู้รับด้วย Q: อดทนต่อคำด่า ไม่โต้ตอบแล้วทำให้คนที่ด่า โกรธมากขึ้น จะเป็นการเพิ่มอกุศลกรรมให้กับคนที่ด่าหรือไม่/ควรทำอย่างไร? A: สิ่งที่ควรทำ คือ อดทน ไม่โต้ตอบ ทำด้วยเจตนาที่ดี/คนไม่ดี พอเห็นความดีแล้วไม่พอใจ ก็เป็นธรรมดา ด้วยอำนาจโมหะเขาจึงโกรธมากขึ้น จะสุขหรือทุกข์เป็นผลที่เกิดจากโมหะของเขาเอง Q: ลักษณะของวาจาด่าทอว่าร้าย 5 คู่ A: 1. ว่าด้วยเรื่องที่จริง-ไม่จริง 2. เป็นประโยชน์-ไม่เป็นประโยชน์ 3. คำอ่อนหวาน-คำหยาบคาย 4. จิตมีโทสะ-จิตมีเมตตา 5. ถูกเวลา-ไม่ถูกเวลา Q: เพราะอยากดังจึงกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่าเป็นเรื่องไม่จริง บาปมากน้อยอย่างไร? A: เขาจะพูดอย่างไร เป็นเรื่องของเขา แต่เราต้องรักษาตนเอง โดย ให้มีเมตตา กรุณา อุเบกขา ให้เขามากขึ้น Q: อุปกิเลส 16 ประการ A: ตามนัยยะของ อุปมาว่าด้วยผ้า ”วัตถูปมสูตร” จิตจะมีเครื่องเศร้าหมอง 16 อย่าง คือ 1. โลภ เพ่งเล็งอยากได้ 2. พยาบาท 3. โกรธ 4. ผูกโกรธ 5. ลบหลู่คุณท่าน 6. ตีเสมอ 7. ริษยา 8. ตระหนี่ 9. มารยา 10.โอ้อวด 11. หัวดื้อ 12. แข่งดี 13. มานะ 14. ดูหมิ่น 15. มัวเมา 16.ประมาท
Q: คำแปลและความหมายของศีลในข้อ 7 และ 8 A: ศีลข้อ 7 นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนมาลาคันธวิเลปนธารณมัณฑนวิภูสนัฏฐานา เวรมณี คือ เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ การทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้ ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง / ศีลข้อ 8 อุจจาสยนมหาสยนาเวรมณี คือ เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่ Q: ผลกรรมที่ทำผิดศีล 5 A: ไม่ว่าจะเป็นสังคม ในอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต เรื่องศีลย่อมได้รับผลเหมือนกัน เพราะธรรมะ ไม่เนื่องด้วยกาล เป็นอกาลิโก Q: ผู้ที่นับถือศาสนาอื่นจะนรก หรือสวรรค์เดียวกันกับผู้ที่นับถือพุทธหรือไม่? A: คนเราเกิดมามี อายตนะ เหมือนกันจะนับถือศาสนาไหน ก็ยังมือายตนะเหมือนกัน นรก สวรรค์ ก็เป็นอย่างเดียวกัน Q: สัดส่วนของความสุขความทุกข์ในนรก และสวรรค์ A: นรกมีสุขน้อย มีทุกข์มาก/สวรรค์ มีสุขมาก มีทุกข์น้อย Q: ความหมายของสักกายทิฐิ และการละสักกายทิฏฐิ A: สักกายทิฏฐิ แปลว่า ความเข้าใจว่านี่เป็นตัวตนของเรา การจะละสักกายทิฏฐิได้ จะต้อง เห็นถึงความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่ใช่ตัวตน มีปัญญาเกิดขึ้น ทำสัมมาทิฏฐิให้เกิดขึ้นได้ สักกายทิฏฐิ ก็ละไป Q: ทำสมาธิ พิจารณาร่างกาย แต่ใจเศร้าหมองไม่เบิกบาน แก้ไขอย่างไรดี A: ใช้โพชฌงค์ 7 ในฝ่ายที่ทำให้จิตใจสงบ คือ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
Q: จิตฟุ้งซ่านขณะเดินจงกรม ควรทำอย่างไร? A: หากมีความคิดเข้ามา ให้ตั้งสติกำหนดจิตเดิน และทำต่อไปโดยไม่หยุดเดิน การปฎิบัติด้วยการเดินผัสสะจะมากกว่าการนั่ง หากเราฝืนทำต่อไปได้ สมาธิที่ได้จะอยู่ได้นาน Q: ขณะนั่งสมาธิ เกิดมีอาการคัน ควรแก้ไขอย่างไร? A: วิธีแก้มี 2 วิธี คือ 1. เอาจิตไปจดจ่อดูความเป็นตัวตน คือ เห็นทุกข์ในสิ่งนั้น เห็นความไม่เที่ยงในสิ่งนั้น (ทุกขาปฎิปทา) 2. ไม่เอาใจใปใส่ในมัน เข้าสมาธิให้ลึกลงไป (สุขาปฏิปทา) ทั้งนี้การจะวางได้เร็วหรือช้า อยู่ที่อินทรีย์ 5 หากอินทรีย์อ่อน จะวางได้ช้า หากอินทรีย์แก่กล้า จะวางได้เร็ว Q: เมื่อเกิดมีปีติมากล้น จะปล่อยวางได้อย่างไร? A: ใช้วิธีสุขาปฏิปทา หรือทุกขาปฏิปทา ให้เห็นถึงความไม่เที่ยง เพื่อการปล่อยวางความปิติ ฝึกทำบ่อยๆ ปิติจะดับไป Q: จำเป็นหรือไม่ ที่ต้องสวดมนต์เฉพาะหน้าพระพุทธรูป? A: สามารถสวดมนต์ที่ไหนก็ได้ Q: เหตุใดฝึกทำสมาธิแล้วไม่ได้สมาธิ ได้แต่ความเพียร? A: พละ 5 คือ กำลังของคนที่ศึกษาอยู่ (เสขะ) ประกอบด้วย 1. ศรัทธา 2. หิริ 3. โอตัปปะ 4. ความเพียร 5. ปัญญา ให้เราทำไปเรื่อยๆ เหมือนเราทำนา เราไม่สามารถกำหนดได้ว่าข้าวจะสุกวันไหน ผลผลิตได้เท่าไหร่ แต่จะมีเวลาที่เหมาะสม ตามเหตุตามปัจจัยของเขา ซึ่งคนที่ปฎิบัติธรรมในธรรมวินัยนี้ กิจที่ต้องทำ มี 3 อย่าง คือ การสมาทานการปฏิบัติในศีลอันยิ่ง การสมาทานการปฏิบัติในสมาธิอันยิ่ง การสมาทานการปฏิบัติในปัญญาอันยิ่ง Q: นิพพานกับความตายคนละอย่างกัน? A: นิพพานกับความตายคนละอย่างกัน/ในนิพพาน ไม่มีความเกิด ไม่มีความตาย ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงในนิพพาน นิพพานแปลว่า ความดับ ความเย็น/ความตายมีเหตุ คือ การเกิด แต่ในนิพพานไม่มีการเกิด จึงไม่มีการตาย ต้องเข้าใจเหตุผลของความเกิด ความตาย ให้ได้ ว่าคนที่ตาย ไม่ใช่ความตายดับ แต่ความตายเกิด (อุบัติ) ขึ้น จึงตาย Q: ธรรมะข้อใดที่ทำให้ไม่ฝัน? A: ฝันดีแบบกุศลธรรม คือ ฝันไม่เกี่ยวเนื่องด้วยกาม/วิธีแรก ท่านให้กำหนดสติสัมปชัญญะก่อนนอนว่า รู้สึกตัวเมื่อไหร่จะลุกขึ้นทันที และด้วยสติสัมปชัญญะ น้อมไปในการนอน ด้วยอาการอย่างนี้ว่า “เราผู้ที่นอนไปแล้ว ขออย่าให้ บาปอกุลศกรรมทั้งหลาย ติดตามเราผู้ที่นอนอยู่เลย” จะทำให้เวลาที่เรานอน ไม่ฝันร้าย ไม่ฝันเกี่ยวเนื่องด้วยกาม วิธีที่สอง การแผ่เมตตา อานิสงส์ คือ ไม่ฝันร้าย ตื่นแล้วมีความสุข Q: จำเป็นต้องฆ่าเพื่อกิน ทำอย่างไรจึงจะให้บาปน้อยลง A: อุปมารอยกรีดเปรียบเหมือนเจตนาที่เราทำลงไป หากเราทำด้วยเจตนาน้อย เปรียบเสมือน รอยกรีดบนน้ำ เจตนามาก เปรียบเสมือนรอยกรีดบนหิน
Q: ทำสมาธิอย่างไรให้ตั้งอยู่ได้นาน? A: เราไม่ควรออกจากสมาธิ ควรฝึกสติให้มีกำลังสติสัมปชัญญะในทุกอิริยาบถ หรือการอยู่ในที่หลีกเร้น เสนาสนะอันสงัด รู้ประมาณในการบริโภค และที่สำคัญ คือ การฟังทำธรรมะ เมื่อสติมีกำลัง สมาธิก็จะตั้งอยู่ได้นาน Q: ระดับและอานิสงส์ของสมาธิ A: สมาธิมี 9 ขั้น/อานิสงส์ของสมาธิ คือ ทำให้เกิดปัญญาจะได้ผลเป็นอริยบุคคล 4 ขั้น (โสดาปัตติผล/สกทาคามิผล/อนาคามิผล/อรหัตตผล) Q: ทำสมาธิเพื่ออะไร/สิ่งที่ควรเสพในสมาธิ A: ทำสมาธิเพื่อให้เกิดเป็นปัญญา มีผล คือ อริยบุคคล 4 ขั้น และไปสู่ความสงบสุขที่สุด คือ “นิพพาน”/สุขจากสมาธิ ซึ่งสุขจากสมาธิก็เป็นเวทนาอย่างหนึ่ง ให้เห็นถึงความไม่เที่ยง สุขเวทนาnสมาธิเป็นของไม่เที่ยง เสพแล้วทำให้มาก เจริญให้มาก Q: กรรมของคนบ้า? A: กรรมจากดื่มสุราเมรัย/เสพยาเสพติด คนถ้าเป็นอยู่ตอนนี้จะแก้อย่างไร คนบ้า ไม่ใช่คนประสาท คนดีก็บ้าได้ บ้า คือ วิปลาส (เห็นสิ่งไม่เที่ยงว่าเที่ยง/เห็นสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน ว่าเป็นตัวตน/เห็นสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข) ให้เจริญมรรค 8 เห็นไปตามจริง จะหายจากอาการวิปลาสได้ Q: สมณศักดิ์ของภิกษุสงฆ์ A: เริ่มมีมาในสมัยรัตนโกสินทร์ สืบเนื่องมาจาก พระราชามีความศรัทธาจึงมอบสมณศักดิ์ให้ พระสงฆ์จึงรับพระอนุวัตตามพระราชา ทั้งนี้ การเคารพกันของพระสงฆ์นั้นท่านเคารพกันตามพรรษา ไม่ได้เคารพตามสมณศักดิ์ Q: เมื่อจำเป็นต้องฆ่าสัตว์ ทำอย่างไรที่จะทำให้บาปลดลง? A: บาปมากที่สุด คือ ลงมือฆ่าเอง รองลงมา คือ ซื้อหรือสั่งให้ทำ ขาย เลี้ยงเพื่อขาย กิน เราควรละ หลีกเลี่ยงทุกอย่างที่เป็นการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงเป็นการดีที่สุด/เกณฑ์ที่พระพุทธเจ้า ให้พระภิกษุกระทำ คือ 1. ไม่ลงมือเอง 2.ไม่สั่งให้ทำ 3. ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่สงสัย ว่าฆ่าเจาะจงเพื่อให้เรากิน
Q : จิตกับใจใช่สิ่งเดียวกันหรือไม่? A : เป็นนามเหมือนกัน ต่างกันคือทำหน้าที่คนละอย่าง ใจ (เป็นช่องทาง) /จิต (สภาวะแห่งการสั่งสม,ยึดถือ) Q : อยากให้มีการจัดรายการธรรมะรับอรุณต่อไป..ความอยากนี้ เป็นกิเลสหรือไม่? A : เป็น / ความอยากมีทั้งความอยากที่เป็น “สมุทัย” และความอยากที่ประกอบด้วยความเพียร (สัมมาวายามะ) หากเราทำแล้วกุศลกรรมเพิ่ม อกุศลกรรมลด แสดงว่าเราทำมาถูกทางแล้ว คือ “สัมมา” นั่นเอง Q : เราไปวัดกันทำไม? A : คนโบราณ มีกุศโลบายคือไปวัดเพื่อพบเห็นสมณะ ได้กราบไหว้ ได้รับศีล ได้ฟังธรรม ได้ถวายทาน ครบในข้อของ “อุบาสกรัตนะ” Q : สมาทานศีลที่บ้านเองได้หรือไม่ ? A : ได้ / อยู่ที่เราตั้งจิต ทำด้วยความปกติจะเป็นการดี Q : สวรรค์ชั้น 7 มีจริงหรือไม่? สวรรค์ชั้นพรหมเป็นอย่างไร? A : สวรรค์มีแค่ 6 ชั้น สูงขึ้นไปคือชั้นพรหมแบ่งเป็น รูปพรหม/อรูปพรหม (มีแต่ใจ ไม่มีตา หู สื่อสารไม่ได้)
พอจ. มีศรัทธา กำลังใจ พลังใจจากพระพุทธเจ้า จากผู้ฟัง ผู้ฟัง ฟังแล้วมีศรัทธา มีกำลังใจสูง ได้ประโยชน์มาก มีศรัทธาเพิ่มขึ้น ทำให้ พอจ. มีกำลังใจเพิ่มมากขึ้น และจะทำรายการต่อไป Q : เบญจศีล เบญจธรรม คืออะไร? A : เบญจศีล คือ ศีล 5 เบญจธรรม คือ ธรรมะ 5 / คู่ของธรรมะ 5 อย่าง กามสังวร คือ สำรวมในกาม การรู้จักยับยั้งควบคุมตน ไม่ให้หลงใหลใน รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส (การสำรวมระวังในกาม) คือ ความเพลิน พอใจยินดีในกามคุณ Q : โทษที่จะเกิดขึ้นจากการที่พูดยุยงให้แตกกัน ? A: โทษน้อยที่สุด คือ พูดแล้วคนอื่นไม่เชื่อ แตกจากมิตร / หนัก คือ ตกนรก Q : คนที่พูดขวานผ่าซากไม่สนใจความรู้สึกผู้อื่น ? A : ให้พูดถนอมน้ำใจกัน / อย่าเอาความดี (สัจจะ) มาอ้างโดยการทำไม่ดี (พูดแล้วสะเทือนใจผู้อื่น) Q : การแผ่เมตตาเหมือนกับการอุทิศส่วนบุญกุศล ? A : บุญเกิดได้จากหลายอย่าง การแผ่เมตตา และการอุทิศส่วนกุศล เป็นบุญคนละอย่างกัน แต่เป็นบุญเหมือนกัน เกิดขึ้นทางใจเหมือนกัน Q : แผ่เมตตาให้กับคนที่ไม่ถูกกันแล้วดีขึ้น เป็นเพราะเขาได้รับผลจากการแผ่เมตตาของเราหรือเพราะเรามีจิตที่เมตตาขึ้น? A : เวลาเราแผ่เมตตาให้ใคร เมื่อผู้นั้นเห็นเรา เขาก็จะเห็นเหมือนเรายิ้มให้ จิตใจเขาจะอ่อนนุ่ม นุ่มนวล
Q : ผู้ไม่มีโรคทางใจ มีแต่พระอรหันต์เท่านั้น ? A : แน่นอนว่าเป็นแต่พระอรหันต์เท่านั้นที่ท่านไม่มีโรคทางใจ/ โรคทางใจ พระพุทธเจ้าท่านได้กล่าวไว้ถึงอาการที่เกี่ยวกับโรคทางใจ 3 อาการคือ ราคะ โทสะ โมหะ Q : วิธีการใดที่คนธรรมดาจะไม่เป็นโรคทางใจ ? A : ใช้ยาที่แก้โรคทางใจคือ มรรค 8 ต้องทำให้มากเจริญให้มาก เปรียบดังเราเป็นโรคอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วทานยา รักษาจนหายแล้ว เราก็ยังรักษาตัวเองต่อเนื่อง คือ ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ไม่รับประทานของแสลง ทำอยู่อย่างนี้จนหมดชีวิตเรา Q : มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม กรรมใดมาก่อน ? A : มโนกรรม ใจเป็นใหญ่ เป็นประธาน / ผัสสะต่างๆ มีใจ เป็นที่แล่นไปสู่ Q : เจตนาของ มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม คืออะไร ? A : คือจิตของเรา Q : กรรมอะไรให้ผลทันที ? A : ทิฏฐธรรม (กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน) / กรรม จำแนกตามผล ได้ 3 ลักษณะคือ กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน, กรรมที่ให้ผลในเวลาถัดมา/ กรรมที่ให้ผลในเวลาถัดมาและถัดมาอีก Q : ภพชาติมีจริงไหม ? A : หากสิ่งไหนไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่สามารถพิสูจน์ได้ทั้งสองฝ่าย พระพุทธเจ้าท่านจะไม่ทรงตรัสสิ่งนั้น
Q : เพื่อนแกล้งควรทำอย่างไร ? A : หากเราโต้ตอบด้วยกำลังก็จะเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนให้โต้กลับ ด้วย 1)ความอดทน 2)ไม่เบียดเบียน 3) เมตตา 4) รักใคร่เอ็นดู Q : เหตุแห่งการมีบริวาร A : เวลาทำบุญ ให้ทำบุญด้วยตัวเองและชักชวนผู้อื่นทำบุญด้วย / สงเคราะห์ด้วยปิยวาจา อัตถจริยา สังคหวัตถุสี่ และการแบ่งปัน Q : คว่ำหน้ากิน แหงนหน้ากิน หมายถึงอะไร ? A : เป็นคำถามของปริพาชก ปริพาชกมีข้อปฏิบัติหลายอย่าง /พระสารีบุตร ท่านเคยเกิดเป็นปริพาชก ท่านได้ตอบคำถามนี้ว่า ท่านไม่ได้คว่ำหน้ากิน แหงนหน้ากิน Q : การสมาทานศีล A : สามารถสมาทานศีลได้ด้วยตัวเองหรือต่อหน้าผู้ที่เรามีหิริโอตตัปปะ หากมีศีลเป็นปกติ (พระโสดาบัน) ก็ไม่ต้องสมาทานศีล Q: จะใช้ธรรมมะอยู่ในโลกที่เบียดเบียนได้อย่างไร ? A: ใช้ความเมตตา รักษาศีล 5 เพื่อเป็นการส่งต่อความดี ไม่ให้ความดีหยุดอยู่ที่เรา Q : สมาธิในขั้นอรูปฌาน บรรลุธรรมได้หรือไม่ ? A : หากยินดีในรูปฌานก็จะไปอยู่ในรูปฌาน เมื่อหมดจากรูปฌาน ก็จะมาอยู่ใน อกนิตภพ เป็นอนาคามีแล้วบรรลุธรรมในภพนั้น / ให้เห็นความไม่เที่ยงของอรูปฌาน Q : เมื่อมีความคิดสร้างสรรค์แล้วเราจะวางอุเบกขาอย่างไร ? A : หากเรามีความคิดสร้างสรรค์แล้วดีใจมากเกินไป ให้วางอารมณ์ วางอุเบกขา ที่มากับความดีใจนั้น
พระพุทธเจ้าท่านให้ทำการรักษา นอบน้อมทิศเบื้องขวา คือ ทิศของครูบาอาจารย์ ผู้เป็นศิษย์ควรให้ความเคารพ เชื่อฟังด้วยความนอบน้อม ผู้ที่เป็นครู ก็สอนด้วยความเมตตา ให้โดยไม่เหลือไว้ในกำมือ Q: การเห็นไตรลักษณ์ในอริยสัจสี่เป็นสัมมาทิฏฐิหรือไม่ ?A : การจะละสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ ต้องเห็นในความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นในทุกข์ เพื่อจะได้รู้รอบในทุกข์ คือ รู้เหตุเกิดของมัน ตัวมัน รสอร่อย โทษ และวิธีที่จะออกจากมัน และกิจที่ควรทำในแต่ละอย่างไม่เหมือนกัน ทั้งที่ไม่เที่ยงเหมือนกันเราต้องเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในอริยสัจสี่ Q : การเจริญสมาธิระหว่างที่นั่งกับตอนทำงาน อย่างไรดีกว่ากัน?A: ได้สติทั้ง 2 อย่าง ไม่ติดกับรูปแบบ อยู่ที่การฝึกและความชำนาญ รู้จักแบ่งเวลาให้เหมาะสม สะดวกเวลาไหนทำเวลานั้น Q: ทำอย่างไรน้องที่ภาวนามาด้วยนิสัยจะดีขึ้นได้ ?A: ถ้ามีเหตุแห่งการพัฒนา การก้าวหน้า หลุดพ้น ย่อมมีได้ ให้พึ่งตนเอง ลงมือทำเอง พึ่งตนพึ่งธรรม Q: ได้ยินเสียงต่าง ๆ ระหว่างนั่งภาวนา ?A: หากนั่งสมาธิแล้วเห็นภาพได้ยินเสียงแล้วตามไป อาจจะวิปลาสภาพ วิปลาสเสียงได้ อย่าตามแสง เสียง ภาพไป ให้เห็นว่ามันเป็นของไม่เที่ยง คือ เห็นแต่ไม่ใส่ใจไปในมัน
Q : ขณะใส่บาตรควรยืนหรือนั่งจึงจะเหมาะสม?A : ขึ้นอยู่กับจิตศรัทธาของผู้ให้ ที่ให้ด้วยความเคารพ โดยไม่ยึดติดพิธีกรรมว่าแบบนี้เท่านั้นแบบอื่นไม่ได้ Q : การอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้วายชนม์ ควรทำระหว่างหรือหลังใส่บาตร?A : บุญ เกิดตั้งแต่ ก่อนให้ ระหว่างให้และหลังให้ แค่คิดว่าเราจะทำก็เป็นบุญแล้ว เพราะจิตเรามีความสุข ที่สำคัญต้องมี “มโนกรรม” คือ ต้องตั้งจิตเอาไว้ว่าจะให้ คิดด้วยจิตที่เป็นสมาธิ ยิ่งมีสมาธิมาก ยิ่งส่งได้ไกลและทำโดยไม่สงสัยว่าบุญที่ทำจะถึงหรือไม่ Q : การที่นำปัจจัยใส่ซองทำบุญแล้วเขียนชื่อญาติที่ล่วงลับ ให้พระช่วยแผ่บุญ แผ่ส่วนกุศลให้ แบบนี้ทำได้หรือไม่ ?่A : การที่เราระลึกถึงบรรพบุรุษ แล้วเราทำบุญอุทิศให้ท่าน เป็นหน้าที่ของลูกหลาน ที่ต้องทำอยู่แล้ว การทำบุญในนามของท่าน ก็คือ อุทิศให้ท่าน Q : ทำบุญแล้วต้องกรวดน้ำที่โคนต้นไม้ใหญ่ บุญจึงจะถึง แบบนี้ใช่หรือไม่?A : การทำบุญ ต้องมี “มโนกรรม” มาก่อน ส่วนพิธีกรรม สามารถทำได้ภายหลัง / การกรวดน้ำ (กายกรรม) การเอ่ยชื่อ (วจีกรรม) คือ หากไม่มีจิตที่เป็นบุญ (มโนกรรม) บุญย่อมไม่ถึง Q : การถวายสังฆทาน ที่เวียนไป เวียนมา เราควรตั้งจิตอย่างไร บุญจึงจะไม่เศร้าหมอง?A : การถวายสังฆทาน คือ การถวายสิ่งของที่ควรแก่สมณะจะบริโภค ให้แก่ภิกษุสงฆ์โดยไม่เฉพาะเจาะจง ให้เราตั้งจิตด้วยดีว่า เราจะถวายแด่สงฆ์โดยมีของสิ่งนี้เป็นตัวแทน และมีพระที่ท่านนั่งอยู่เป็นประธานตัวแทนสงฆ์ โดยระมัดระวังอย่าให้เกิดอกุศลในจิตของเรา Q : เมื่อทำบุญแล้วโพสต์ให้ผู้อื่นอนุโมทนาบุญด้วย ผู้ที่อนุโมทนาบุญด้วยสามารถรับบุญได้หรือไม่?A : ความดีเกิดขึ้นที่จิต เราเห็นคนอื่นทำความดีแล้วเราดีใจด้วย ความรู้สึกดีใจนั่นแหละ คือ บุญ เห็นเขาทำเราก็อยากทำ เป็นการส่งความดีต่อ ๆ กัน เหมือนการต่อเทียน Q : ความขุ่นเคืองใจ ที่กลิ่นควัน/สุนัขเพื่อนบ้าน เข้ามาในบ้าน คือการโกรธหรือไม่ มีโทษอย่างไร?A: ในเรื่องนี้ มีลำดับขั้นการทำงานของโทสะอยู่ เรียงจากโทษมากไปหาน้อย พยาบาท โทสะ โกธะ ปฏิฆะ (ขัดเคือง) อรติ (ไม่พอใจ) กรณีของคุณย่า พอเราตั้งความพอใจว่าในบ้านเรา อย่างอื่น อย่าเข้ามารบกวน พอเข้ามา ก็จะไม่พอใจและถ้าเผลอสติ มันจะเลื่อนขึ้นไปเป็นความขัดเคือง ว่าทำไมเค้าทำแบบนี้ พอเลื่อนขั้นขึ้นมา แสดงว่าเราต้องเผลอสติแล้ว เพราะถ้ามีสติ มันจะไม่เลื่อนขึ้นมาเป็นความขัดเคือง พอสะสมความขัดเคืองแล้วเราตั้งสติ ไม่พอ มันก็จะเลื่อนขึ้นมาเป็น “โกธะ” หากเราไม่กำจัดอาการนี้ออกไป มันก็จะเติบโตขึ้น สะสมต่อไป กลายเป็น “โทสะ” หากยังสติไม่พอ ยับยั้งไม่ได้อีกจะเริ่มเป็น ”พยาบาท”กรณีของคุณย่า พอมีความขัดเคือง แล้วพยายามยับยั้ง ไม่ให้เลื่อนไปเป็นความโกรธ นี่คือ ใช้เทคนิค”ลิ่มสลักอันน้อยมางัดลิ่มสลักอันใหญ่” งัดอกุศลกรรมออกไป อย่าไปคิดไม่ดีกับเขา ไม่ให้ไปถึงโทสะ อย่าให้จิตใจเราวุ่นวายไปจนถึงโกธะ ให้หยุดที่ขัดเคืองก็พอ