POPULARITY
ที่ผ่านมาเพิ่งมีการเลือกตั้งของสหราชอาณาจักรไป ซึ่งเป็นชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ของพรรคแรงงาน นับเป็นการได้รับชัยชนะแบบ landslide ในรอบหลายปี.เป็นที่น่าสนใจว่า การเปลี่ยนขั้วครั้งนี้ เป็นเรื่องของอุดมการณ์หรือแค่เบื่อจึงเปลี่ยนพรรคการเมือง ประกอบกับการใช้เวลาอันสั้น เพียงหลังจากการเลือกตั้งเพียงไม่กี่วันและได้รัฐบาลใหม่ การเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา ที่แข่งขันกันอย่างดุเดือด และมีการลอบยิงกัน และการเลือกตั้งในฝรั่งเศสที่ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ เนื่องจากไม่มีฝ่ายใดได้รับคะแนนสูงสุด จากนั้นจึงมองย้อนกลับมาที่ประเทศไทย ว่าทำไมการเลือกตั้งของเราจึงออกมาหน้าตาแบบนี้
ที่ผ่านมาเพิ่งมีการเลือกตั้งของสหราชอาณาจักรไป ซึ่งเป็นชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ของพรรคแรงงาน นับเป็นการได้รับชัยชนะแบบ landslide ในรอบหลายปี.เป็นที่น่าสนใจว่า การเปลี่ยนขั้วครั้งนี้ เป็นเรื่องของอุดมการณ์หรือแค่เบื่อจึงเปลี่ยนพรรคการเมือง ประกอบกับการใช้เวลาอันสั้น เพียงหลังจากการเลือกตั้งเพียงไม่กี่วันและได้รัฐบาลใหม่ การเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา ที่แข่งขันกันอย่างดุเดือด และมีการลอบยิงกัน และการเลือกตั้งในฝรั่งเศสที่ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ เนื่องจากไม่มีฝ่ายใดได้รับคะแนนสูงสุด จากนั้นจึงมองย้อนกลับมาที่ประเทศไทย ว่าทำไมการเลือกตั้งของเราจึงออกมาหน้าตาแบบนี้
การเลือก สว. ของไทยเป็นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญได้สิ้นสุดลงแล้ว หน้าตาของว่าที่ สว. ชุดใหม่ทั้ง 200 ท่าน ก็ได้ผ่านหน้าสื่อกันไปแล้ว ทว่า มีถึง 12 จังหวัด ที่ไม่มี สว. เลย แต่มีบางจังหวัด ที่มีจำนวน สว. มากถึง 14 ท่าน! ระบบการเลือกในลักษณะนี้ มีการออกแบบอย่างทั่วถึงตั้งแต่ระดับอำเภอ แต่เปิดโอกาสให้ท้ายที่สุดไม่จำเป็นต้องครอบคลุมพื้นที่ก็ได้? จึงเกิดคำถามตามมาว่า กติกาการเลือกแบบนี้ ทำให้ สว. เป็นตัวแทนใคร? รวมถึงเอกสารปกขาว ที่ทางสถาบันพระปกเกล้าได้รวบรวมจากการลงพื้นที่รับฟังเสียงประชาชนร่วมกับ TPBS ว่าประชาชนต้องการและอยากฝากให้ สว. ทำหน้าที่อย่างไร ซึ่งจะเปิดตัวในวันปฐมนิเทศ สว. ที่จะถึงนี้เช่นกัน
การเลือก สว. ของไทยเป็นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญได้สิ้นสุดลงแล้ว หน้าตาของว่าที่ สว. ชุดใหม่ทั้ง 200 ท่าน ก็ได้ผ่านหน้าสื่อกันไปแล้ว ทว่า มีถึง 12 จังหวัด ที่ไม่มี สว. เลย แต่มีบางจังหวัด ที่มีจำนวน สว. มากถึง 14 ท่าน! ระบบการเลือกในลักษณะนี้ มีการออกแบบอย่างทั่วถึงตั้งแต่ระดับอำเภอ แต่เปิดโอกาสให้ท้ายที่สุดไม่จำเป็นต้องครอบคลุมพื้นที่ก็ได้? จึงเกิดคำถามตามมาว่า กติกาการเลือกแบบนี้ ทำให้ สว. เป็นตัวแทนใคร? รวมถึงเอกสารปกขาว ที่ทางสถาบันพระปกเกล้าได้รวบรวมจากการลงพื้นที่รับฟังเสียงประชาชนร่วมกับ TPBS ว่าประชาชนต้องการและอยากฝากให้ สว. ทำหน้าที่อย่างไร ซึ่งจะเปิดตัวในวันปฐมนิเทศ สว. ที่จะถึงนี้เช่นกัน
ช่วงนี้เป็นช่วงที่เกิดสถานการณ์ทางการเมืองที่สำคัญขึ้นหลายอย่าง ตั้งแต่การมีร่าง แก้ไข พรบ.ประชามติเข้าสภา แนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรบ.งบประมาณรายจ่าย คดีสำคญของนักการเมือง และคดียุบพรรคก้าวไกล และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย ได้จัดงานสัมมนา “ ทางออกประชามติ ปูทางสู่รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย ” ที่มีการปภิปรายถึงแนวทางและเนื้อหาของ พรบ. ประชามติที่ควรจะเป็น เพื่อจะเป็นประตูเปิดไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญในอนาคตอันใกล้ รวมถึงให้ฉากทัศน์ที่ดีที่สุด หรือ "as good as it gets" ของการเมืองไทยในอีก 3-4 ปีข้างหน้า เราจึงมาพูดคุยถึงจุดนี้กัน
ช่วงนี้เป็นช่วงที่เกิดสถานการณ์ทางการเมืองที่สำคัญขึ้นหลายอย่าง ตั้งแต่การมีร่าง แก้ไข พรบ.ประชามติเข้าสภา แนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรบ.งบประมาณรายจ่าย คดีสำคัญของนักการเมือง และคดียุบพรรคก้าวไกล และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย ได้จัดงานสัมมนา “ ทางออกประชามติ ปูทางสู่รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย ” ที่มีการปภิปรายถึงแนวทางและเนื้อหาของ พรบ. ประชามติที่ควรจะเป็น เพื่อจะเป็นประตูเปิดไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญในอนาคตอันใกล้ รวมถึงให้ฉากทัศน์ที่ดีที่สุด หรือ "as good as it gets" ของการเมืองไทยในอีก 3-4 ปีข้างหน้า เราจึงมาพูดคุยถึงจุดนี้กัน
สมาชิกวุฒิสภาชุดแรกของรัฐธรรมนูญฯ 60 ได้หมดวาระไปเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้ต้องเกิดการ "เลือก" สว. ชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่ แต่ทว่า การเลือกนั้น มีความซับซ้อนพอสมควร และเป็นการออกแบบมาเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกับการเลือกตั้ง สส. และให้มีการเลือกกันเองจาก 20 กลุ่มทางสังคม จากทุกอำเภอ นอกจากนี้ ยังมีการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคม เพื่อให้ สว. ที่ได้มานั้น ทำตามเจตจำนงของประชาชน เพื่อให้การทำงานของรัฐสภามีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด เนื่องจาก สว. นั้นมีอำนาจในการลงมติรับรององค์กรอิสระ ที่มีอำนาจในการตรวจสอบรัฐบาลนั่นเอง เราจึงจะมาวิเคราะห์และพูดคุยกันในเรื่อง สว. ใหม่ ภายใต้รัฐธรรมนูญกัน
สมาชิกวุฒิสภาชุดแรกของรัฐธรรมนูญฯ 60 ได้หมดวาระไปเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้ต้องเกิดการ "เลือก" สว. ชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่ แต่ทว่า การเลือกนั้น มีความซับซ้อนพอสมควร และเป็นการออกแบบมาเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกับการเลือกตั้ง สส. และให้มีการเลือกกันเองจาก 20 กลุ่มทางสังคม จากทุกอำเภอ นอกจากนี้ ยังมีการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคม เพื่อให้ สว. ที่ได้มานั้น ทำตามเจตจำนงของประชาชน เพื่อให้การทำงานของรัฐสภามีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด เนื่องจาก สว. นั้นมีอำนาจในการลงมติรับรององค์กรอิสระ ที่มีอำนาจในการตรวจสอบรัฐบาลนั่นเอง เราจึงจะมาวิเคราะห์และพูดคุยกันในเรื่อง สว. ใหม่ ภายใต้รัฐธรรมนูญกัน
หลังสงกรานต์เราได้ ครม. ใหม่ แต่แล้วก็เกิดแผ่นดินไหว เมื่อมีรัฐมนตรีบางท่านยื่นจดหมายลาออกฟ้าผ่า ทำให้เราลองไปดูงานที่ผ่านมาของกระทรวงการต่างประเทศ ประกอบกับ วิกฤตการรบในเขตชายแดนพม่าในฝั่งตะวันตก ที่เป็นเขตที่มีทุนสีเทาเข้าไปปฏิบัติการ และเป็นที่มาของธุรกิจสีเทา นำมาซึ่งการค้ามนุษย์ แรงงานเถื่อน แรงงานทาส และแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และเมื่อย้อนกลับมาดูที่ประเทศเรา ที่การส่งออกมีปัญหา เสียดุลการค้าให้ประเทศอื่น ๆ การลงทุนและการผลิตในประเทศหดหาย ทำให้เงินทุนในประเทศน้อยลง และอาจเป็นที่มาให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศแย่ลง เช่น เกิดการลดสวัสดิการ เงินเดือน/ค่าจ้าง ต่ำลง เพราะเศรษฐกิจของประเทศอยู่ได้ด้วยแค่เงินทุนสีเทาที่คนนอกเอามาฟอก นี่จึงเป็นโจทย์ใหญ่ของ ครม ชุดใหม่ และรัฐบาล ว่าไม่เพียงแต่จะแก้ปัญหา แต่จะ "สร้าง" ประเทศไทยให้เข้มแข็งขึ้นได้อย่างไร
หลังสงกรานต์เราได้ ครม. ใหม่ แต่แล้วก็เกิดแผ่นดินไหว เมื่อมีรัฐมนตรีบางท่านยื่นจดหมายลาออกฟ้าผ่า ทำให้เราลองไปดูงานที่ผ่านมาของกระทรวงการต่างประเทศ ประกอบกับ วิกฤตการรบในเขตชายแดนพม่าในฝั่งตะวันตก ที่เป็นเขตที่มีทุนสีเทาเข้าไปปฏิบัติการ และเป็นที่มาของธุรกิจสีเทา นำมาซึ่งการค้ามนุษย์ แรงงานเถื่อน แรงงานทาส และแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และเมื่อย้อนกลับมาดูที่ประเทศเรา ที่การส่งออกมีปัญหา เสียดุลการค้าให้ประเทศอื่น ๆ การลงทุนและการผลิตในประเทศหดหาย ทำให้เงินทุนในประเทศน้อยลง และอาจเป็นที่มาให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศแย่ลง เช่น เกิดการลดสวัสดิการ เงินเดือน/ค่าจ้าง ต่ำลง เพราะเศรษฐกิจของประเทศอยู่ได้ด้วยแค่เงินทุนสีเทาที่คนนอกเอามาฟอก นี่จึงเป็นโจทย์ใหญ่ของ ครม ชุดใหม่ และรัฐบาล ว่าไม่เพียงแต่จะแก้ปัญหา แต่จะ "สร้าง" ประเทศไทยให้เข้มแข็งขึ้นได้อย่างไร
เรื่องจริยธรรมของนักการเมือง การเปรียบเทียบและแชร์ประสบการณ์การใช้กฎหมายและข้อบังคับในการควบคุมสมาชิกรัฐสภา โดยใช้กลไกในสภาเอง เพื่อป้องกันการแทรกแทรงจากหน่วยงานภายนอก แต่กลับกัน การใช้กลไกเหล่านี้ในรัฐสภาไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้ประมวลจริยธรรมฯ นั้น อาจเป็นที่มาของการใช้กลไกนี้ในการลงโทษทางการเมืองต่อฝ่ายตรงข้าม นอกจากนี้ ยังได้พูดคุยถึงสัญญะของการแต่งกายของนักการเมืองและสมาชิก ว่ามีผลต่อภาพลักษณ์ภายนอก และคะแนนนิยมหรือไม่อย่างไร
เรื่องจริยธรรมของนักการเมือง การเปรียบเทียบและแชร์ประสบการณ์การใช้กฎหมายและข้อบังคับในการควบคุมสมาชิกรัฐสภา โดยใช้กลไกในสภาเอง เพื่อป้องกันการแทรกแทรงจากหน่วยงานภายนอก แต่กลับกัน การใช้กลไกเหล่านี้ในรัฐสภาไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้ประมวลจริยธรรมฯ นั้น อาจเป็นที่มาของการใช้กลไกนี้ในการลงโทษทางการเมืองต่อฝ่ายตรงข้าม นอกจากนี้ ยังได้พูดคุยถึงสัญญะของการแต่งกายของนักการเมืองและสมาชิก ว่ามีผลต่อภาพลักษณ์ภายนอก และคะแนนนิยมหรือไม่อย่างไร
นายกรัฐมนตรีเดินกลางกรุงปารีส พันผ้าพันคอจากผ้าขาวม้า เดินหน้าลุยนำผลิตภัณฑ์จากไทยไปขายต่างประเทศ ถือเป็นการผลักดันสินค้าจาก soft power ไทย สู่สายตาชาวโลก นับเป็นเรื่องที่ดี ที่ไม่แม้เผยแพร่ "สไตล์" ผ้าแบบไทย แต่ยังส่งเสริมการส่งออกจากไทยอีกด้วย เราจึงลองไปสำรวจอุตสาหกรรมแฟชั่นทั่วโลก ว่ามีความเป็นมาอย่างไร และสามารถสร้างกำไรมหาศาลได้อย่างไร และการผลิตของประเทศไทยสามารถอยู่ตรงไหนในเศรษฐกิจโลกได้บ้าง เพราะหากเน้นแต่ "สไตล์" แต่ขาดการมองเรื่อง "ฐานการผลิต" และ "รายได้ของประเทศ" ก็หวั่นอาจซ้ำรอย กางเกงช้าง ที่ถูกนำไปผลิตในจีนเป็นจำนวนมาก ทำให้ไทยไม่เหลือรายได้เข้าประเทศ เป็นเพียงทางผ่านทางวัฒนธรรมเท่านั้น
นายกรัฐมนตรีเดินกลางกรุงปารีส พันผ้าพันคอจากผ้าขาวม้า เดินหน้าลุยนำผลิตภัณฑ์จากไทยไปขายต่างประเทศ ถือเป็นการผลักดันสินค้าจาก soft power ไทย สู่สายตาชาวโลก นับเป็นเรื่องที่ดี ที่ไม่แม้เผยแพร่ "สไตล์" ผ้าแบบไทย แต่ยังส่งเสริมการส่งออกจากไทยอีกด้วย เราจึงลองไปสำรวจอุตสาหกรรมแฟชั่นทั่วโลก ว่ามีความเป็นมาอย่างไร และสามารถสร้างกำไรมหาศาลได้อย่างไร และการผลิตของประเทศไทยสามารถอยู่ตรงไหนในเศรษฐกิจโลกได้บ้าง เพราะหากเน้นแต่ "สไตล์" แต่ขาดการมองเรื่อง "ฐานการผลิต" และ "รายได้ของประเทศ" ก็หวั่นอาจซ้ำรอย กางเกงช้าง ที่ถูกนำไปผลิตในจีนเป็นจำนวนมาก ทำให้ไทยไม่เหลือรายได้เข้าประเทศ เป็นเพียงทางผ่านทางวัฒนธรรมเท่านั้น
วันนี้เราได้มีแขกรับเชิญที่เพิ่งได้ไปท่องเที่ยวผจญภัยในอินเดียถึง 5 เมือง ซึ่งมีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ทั้งการเดินทาง การกิน การเที่ยว ไปจนถึงการเผาศพ จากการที่เห็น เราจึงเห็นได้ว่ายังมีอีกมุมหนึ่งของโลกที่มีความแตกต่างกับเรา และเรายังสามารถเห็นได้ว่าความแตกต่างนั้น เกิดจากปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจหรืออื่น ๆ อย่างไร
วันนี้เราได้มีแขกรับเชิญที่เพิ่งได้ไปท่องเที่ยวผจญภัยในอินเดียถึง 5 เมือง ซึ่งมีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ทั้งการเดินทาง การกิน การเที่ยว ไปจนถึงการเผาศพ จากการที่เห็น เราจึงเห็นได้ว่ายังมีอีกมุมหนึ่งของโลกที่มีความแตกต่างกับเรา และเรายังสามารถเห็นได้ว่าความแตกต่างนั้น เกิดจากปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจหรืออื่น ๆ อย่างไร
นายกรัฐมนตรีได้แสดงวิสัยทัศน์พัฒนายกระดับประเทศ IGNITE THAILAND เมื่อสัปดาห์ก่อน และยังจะได้มีการนำเสนอเป็นซีรี่ย์ในแต่ละประเด็นต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ประเทศไทยเป็น tourism hub, wellness hub, aviation hub หรือ financial centre ซึ่งเราจะเห็นว่าวิสัยทัศน์ของรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยนั้นเป็นเสรีนิยมใหม่ในแนวทางการรวมศูนย์ คือเป็นการใช้การแทรกแซงโดยรัฐมากำหนดการพัฒนาระบบต่าง ๆ ของประเทศออกจากศูนย์กลาง แต่ขณะเดียวกัน เมื่อสำรวจจากข้อวิจารณ์ของฝ่ายค้านโดยเฉพาะพรรคก้าวไกล จะเห็นได้ว่าเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยจากฐานราก จากการกระจายอำนาจและเป็นการส่งเสริมทุนย่อยให้สู้กับทุนใหญ่ได้ ความแตกต่างระหว่างสองสิ่งนี้อย่างไรก็ดียังวางอยู่บนฐานคิดแบบเสรีนิยมใหม่ ซึ่งแบบไหนจะเป็นผลดีต่อประเทศโดยรวมต้องลองไปดู
นายกรัฐมนตรีได้แสดงวิสัยทัศน์พัฒนายกระดับประเทศ IGNITE THAILAND เมื่อสัปดาห์ก่อน และยังจะได้มีการนำเสนอเป็นซีรี่ย์ในแต่ละประเด็นต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ประเทศไทยเป็น tourism hub, wellness hub, aviation hub หรือ financial centre ซึ่งเราจะเห็นว่าวิสัยทัศน์ของรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยนั้นเป็นเสรีนิยมใหม่ในแนวทางการรวมศูนย์ คือเป็นการใช้การแทรกแซงโดยรัฐมากำหนดการพัฒนาระบบต่าง ๆ ของประเทศออกจากศูนย์กลาง แต่ขณะเดียวกัน เมื่อสำรวจจากข้อวิจารณ์ของฝ่ายค้านโดยเฉพาะพรรคก้าวไกล จะเห็นได้ว่าเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยจากฐานราก จากการกระจายอำนาจและเป็นการส่งเสริมทุนย่อยให้สู้กับทุนใหญ่ได้ ความแตกต่างระหว่างสองสิ่งนี้อย่างไรก็ดียังวางอยู่บนฐานคิดแบบเสรีนิยมใหม่ ซึ่งแบบไหนจะเป็นผลดีต่อประเทศโดยรวมต้องลองไปดู
ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็น "ผลข้างเคียง" ของรัฐธรรมนูญ 40 เป็นต้นมา กระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมนั้น เกิดผลข้างเคียงในลักษณะ "human error" หรือไม่ หรือเป็นการใช้ช่องทางกฎหมายในการเล่นงานคู่ต่อสู้ทางการเมือง ประเด็นที่ชัดเจนที่สุดคือการเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถยื่นคำร้องเองต่อองค์กรอิสระได้ และคำร้องนั้นสามารถนำมาซึ่งการยุบพรรค หรือปลดนายกรัฐมนตรีได้ในเวลาต่อมา ทำให้เกิดอาชีพ "นักร้อง" ขึ้น หรือเป็นเพราะต้นกำเนิดของรัฐธรรมนูญ 40 ต้องการให้เกิดการตรวจสอบจากภายนอก จึงต้องมีหน่วยงานที่ไม่ใช่รัฐ ตามสมัยนิยมของอุดมการณ์แบบเสรีนิยมใหม่ ที่ต้องการให้ลดขนาดของรัฐ แต่องค์กรดังกล่าวนั้น มีความสัมพันธ์กับรัฐมากแค่ไหน และสรุปแล้ว เสียงของประชาชนที่เลือกพรรคการเมือง กับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง กับองค์กรอิสระที่ตรวจสอบ อำนาจเป็นของใคร?
ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็น "ผลข้างเคียง" ของรัฐธรรมนูญ 40 เป็นต้นมา กระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมนั้น เกิดผลข้างเคียงในลักษณะ "human error" หรือไม่ หรือเป็นการใช้ช่องทางกฎหมายในการเล่นงานคู่ต่อสู้ทางการเมือง ประเด็นที่ชัดเจนที่สุดคือการเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถยื่นคำร้องเองต่อองค์กรอิสระได้ และคำร้องนั้นสามารถนำมาซึ่งการยุบพรรค หรือปลดนายกรัฐมนตรีได้ในเวลาต่อมา ทำให้เกิดอาชีพ "นักร้อง" ขึ้น หรือเป็นเพราะต้นกำเนิดของรัฐธรรมนูญ 40 ต้องการให้เกิดการตรวจสอบจากภายนอก จึงต้องมีหน่วยงานที่ไม่ใช่รัฐ ตามสมัยนิยมของอุดมการณ์แบบเสรีนิยมใหม่ ที่ต้องการให้ลดขนาดของรัฐ แต่องค์กรดังกล่าวนั้น มีความสัมพันธ์กับรัฐมากแค่ไหน และสรุปแล้ว เสียงของประชาชนที่เลือกพรรคการเมือง กับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง กับองค์กรอิสระที่ตรวจสอบ อำนาจเป็นของใคร?
จากประสบการณ์ที่ไปอบรมที่สิงคโปร์มา 1 สัปดาห์ จึงถือโอกาสเล่าพัฒนาการของสิงคโปร์จากที่เป็นประเทศที่ถูกแยกตัวออกจากมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่จนและด้อยพัฒนา ว่ากลายมาเป็นประเทศที่เจริญขึ้นในเวลาเพียงไม่ถึงครึ่งศตวรรษได้อย่างไร สิงคโปร์นั้นเริ่มจากเป็นประเทศที่ใช้แรงงานมนุษย์เป็นหลัก จากนั้นเติบโตขึ้นจากการสร้างความเชื่อมั่นและการลงทุนจากต่างชาติ จนพัฒนาอุตสาหกรรม 4 ระดับ การรักษาความสมดุลระหว่างสหรัฐฯและจีน ขณะเดียวกันก็รักษาผลประโยชน์ของประเทศตัวเองไว้ได้ จึงเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่า นอกจากลักษณะเฉพาะทางภูมิศาสตร์และประชากรแล้ว สิงคโปร์ยังมีคติอย่างหนึ่งคือการหาวิธีการ “เอาตัวรอด” จากวิกฤติ มาเป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนา จึงนำมาเล่าสู่กันฟังถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม การบริหาร ว่าทำให้สิงคโปร์มาถึงจุดนี้ได้เร็วขนาดนี้ได้อย่างไร
จากประสบการณ์ที่ไปอบรมที่สิงคโปร์มา 1 สัปดาห์ จึงถือโอกาสเล่าพัฒนาการของสิงคโปร์จากที่เป็นประเทศที่ถูกแยกตัวออกจากมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่จนและด้อยพัฒนา ว่ากลายมาเป็นประเทศที่เจริญขึ้นในเวลาเพียงไม่ถึงครึ่งศตวรรษได้อย่างไร สิงคโปร์นั้นเริ่มจากเป็นประเทศที่ใช้แรงงานมนุษย์เป็นหลัก จากนั้นเติบโตขึ้นจากการสร้างความเชื่อมั่นและการลงทุนจากต่างชาติ จนพัฒนาอุตสาหกรรม 4 ระดับ การรักษาความสมดุลระหว่างสหรัฐฯและจีน ขณะเดียวกันก็รักษาผลประโยชน์ของประเทศตัวเองไว้ได้ จึงเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่า นอกจากลักษณะเฉพาะทางภูมิศาสตร์และประชากรแล้ว สิงคโปร์ยังมีคติอย่างหนึ่งคือการหาวิธีการ “เอาตัวรอด” จากวิกฤติ มาเป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนา จึงนำมาเล่าสู่กันฟังถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม การบริหาร ว่าทำให้สิงคโปร์มาถึงจุดนี้ได้เร็วขนาดนี้ได้อย่างไร
สำนักนวัตกรรมกำลังจะทำแพลตฟอร์มรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการร่าง/ตรากฎหมายออนไลน์ ทำให้เราได้หยิบยกกฎหมายนิรโทษกรรมที่กำลังจะถูกเสนอเข้าสภามาพูดคุยกัน ว่าความเป็นมาและหลักการของการนิรโทษกรรมในประเทศไทยนั้นเป็นอย่างไร มีความน่าสนใจและจะนำประเทศไทยไปสู่จุดไหน ประกอบกับกิจกรรมทางการเมืองที่ผ่านมาและอาจเกิดขึ้นในอนาคต
จากการย้ายวันหยุดปีใหม่ จาก 2 ม.ค. เป็น 29 ธ.ค. มีกระแสตอบรับอย่างล้นหลาม ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลเป็นอย่างมาก ปัญหารถติดเชื่อมโยงไปยังหลายปัญหาที่เรื้อรังสังคมไทยมายาวนาน ว่าจะเป็นบทพิสูจน์ให้กับรัฐบาลว่าจะสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ ประกอบกับนโยบายคืนภาษีที่ต้องใช้ e-receipt ซึ่งเป็นนโยบายที่ดีแต่ยังไม่ได้สื่อสารชัดเจนมากนัก และศึกอภิปรายงบประมาณที่กำลังจะเกิดขึ้น จะทำให้รัฐบาลสามารถฝ่าวิกฤตมรสุมไปได้หรือไม่
เป็นเวลากว่า 50 ปี ณ จากครั้งสุดท้ายที่มนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา แม้จะมีการเสนอให้นำคนกลับขึ้นไปบนนั้น แต่สุดท้ายก็เงียบหายไป กระทั่งในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ดวงจันทร์กลับมาเป็นเป้าหมายที่นานาประเทศต่างอยากจะไปให้ถึง ทำไมดวงจันทร์ที่ดูห่างไกล จึงกลายเป็นเป้าหมายที่นานาชาติต่างอยากจะไปอีกครั้งหลังจากที่เงียบหายมานาน อะไรที่ดึงดูดให้ใคร ๆ ต่างก็อยากไปดวงจันทร์
เป็นเรื่องที่เป็น talk of the town ของวงการการเมือง ที่พรรคประชาธิปัตย์มีการเลือกหัวหน้าพรรคครั้งใหญ่ ที่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่สำคัญของพรรค เราจึงมาพูดคุยกันในกรณีพรรคประชาธิปัตย์ ถึงการเป็นสถาบันทางการเมือง และความเป็นสถาบันของพรรคนี้ แตกต่างกับพรรคอื่นอย่างไร รวมถึงความท้าทายใหม่ที่จะเกิดขึ้นหลังจากปรับโครงสร้างแล้ว
เมื่อเวียนมาพบหน้าหนาว ประเทศไทยของเราก็กลับมาพบกับปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 อีกเช่นเคย ซึ่งเป็นปัญหาที่มีนักวิชาการและนักวิเคราะห์หลายท่านกล่าวไว้ว่ามีความเชื่อมโยงกับการเพาะปลูกอ้อย เนื่องจากมีการเผาเพื่อเก็บเกี่ยว ทำให้เกิดฝุ่นควัน และเมื่อไปค้นดูประเทศที่ส่งออกอ้อยเพื่อน้ำตาลสดสูงสุด ก็คือบราซิล ซึ่งมีรายงานว่าเกิด PM2.5 สูง และมีผลต่อการมีชีวิตที่สั้นลงของชาวบราซิลจริง .เราจึงมาพูดคุยว่า ปัญหา PM2.5 ที่เกิดจากทำเกษตรเพื่อส่งออกประเทศโลกที่ 1 จากประเทศโลกที่ 3 นั้น เป็นปัญหาการขูดแรงแรงงานราคาถูกผ่านทุนใหญ่ในประเทศซึ่งเป็นนายหน้ารับงาน และมีความจำเป็นต้องกดราคาต้นทุนทางการผลิตที่ต่ำ ทำให้ไม่มีการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้หรือไม่ และจะต้องแก้ไขอย่างไร
เป็นประเด็นที่ร้อนแรงในสังคมกับเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท ว่าฝ่ายที่ไม่อยากให้แจก ต้องการชี้ให้เห็นว่าสามารถนำเงินไปทำอะไรอย่างอื่นได้บ้าง เช่น คุณธนาธร ตัวแทนภาคประชาสังคมที่ชี้ให้เห็นว่าสามารถนำเงินที่มีอยู่ ไปทำเป็นสวัสดิการในด้านต่าง ๆ เช่น น้ำประปา ถนน ขนส่งสาธารณะต่าง ๆ ได้ หากมีการใช้เงินให้เป็นประโยชน์ และโยกในส่วนที่ไม่จำเป็นได้ แต่ปัญหาคือ สิ่งเหล่านี้มันเป็นจริงได้มากแค่ไหน ความสามารถของ "รัฐบาล" จะมีอำนาจต่อรองกับ "รัฐ" ได้มากแค่ไหนในการโยกย้ายเงิน ความเป็นจริงของรัฐ จะสามารถขจัดอุปสรรคเหล่านี้ได้มากแค่ไหน หากมองในแง่ของความเป็น "รัฐ" ที่อยู่เหนือ "รัฐบาล"
สถานการณ์การท่องเที่ยวกับประเทศฟรีวีซ่าเริ่มสั่นคลอน เนื่องจากตรวจคนเข้าเมืองของเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวไทยที่สำคัญที่หนึ่ง ได้มีการปฏิเสธไม่ให้นักท่องเที่ยวของไทยเข้าประเทศ หลังจากเดินทางไปถึงที่สนามบินแล้ว เนื่องมาจากปัญหา “ผีน้อย” หรือผู้หลบหนีเข้าทำงานที่เกาหลีใต้ นี่จึงเป็นอีกหนึ่งปัญหาทางเศรษฐกิจและปัญหาระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของรัฐบาล ประกอบกับบทบาทของรัฐบาลในตอนนี้ ที่ดูจะเป็นที่ไม่พอใจของสื่อ และภาคประชาสังคมที่รุมรัฐบาลในทุก ๆ เรื่อง รัฐบาลจะสามารถแก้ปัญหานี้และฝ่าวิกฤตต่าง ๆ ไปได้หรือไม่ เราจะมาคุยกัน
จากกรณีที่มีการกล่าวว่าล่วงละเมิดทางเพศอยู่บ่อยครั้ง วันนี้เราจึงมาคุยกันว่า แค่ไหนถึงเรียกว่าล่วงละเมิดทางเพศ และผู้ถูกกระทำเอาตัวเองไปเสี่ยงหรือผู้กระทำฉวยโอกาสเองหรือไม่ รวมถึงประเด็นกรณีที่ว่าการล่วงละเมิดนั้นมีความเกี่ยวโยงกับผลประโยชน์ทางการเมืองหรือไม่ อย่างไร
รัฐบาลใหม่ มีอายุได้ราว 2 เดือนแล้ว มีอะไรใหม่ อะไรคืบหน้า อะไรยังเหมือนเดิม วันนี้เราจะมารีวิวกัน คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่ารัฐบาลเศรษฐา 1 นั้น ไม่มีช่วงเวลาที่เรียกว่าฮันนีมูน หากจะเปรียบเทียบกับผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ชัชชาติ ที่มีช่วงเวลาในการร้องเล่นเต้นไปกับประชาชนตอนได้รับตำแหน่งใหม่ๆ นายกเศรษฐากลับโดนรับน้องด้วยเหตุการณ์ที่ยากลำบากมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ยิงฯ สงครามอิสราเอล-ฮามาส ประกอบกับวิกฤตเศรษฐกิจหลังโควิด แต่นั่นก็ไม่ใช่ข้ออ้าง และรัฐบาลเองก็ยิ้มสู้อย่างเต็มที่ แต่นั่น มันเพียงพอหรือยังกับรัฐบาลจากการเลือกตั้ง ที่มาแทนที่รัฐบาลของลุง เราจะมาลองมารีวิวกัน
เมื่อมีประเด็นถกเถียงกันว่า รัฐบาลไทยควรประนามต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือไม่ เพราะบ้างกังวลว่าจะทำให้กลุ่มผู้ก่อการสังหารชาวไทยที่จับไว้เป็นตัวประกันมากกว่าเดิม จึงเกิดคำถามขึ้นในฐานะที่รัฐบาลไทยในเวทีโลก ควรจะแสดงท่าทีหรือไม่ และแสดงแล้ว จะต้องแสดงอย่างไร ให้เหมาะสมหรือ จะทำให้บรรลุวาระของรัฐบาลได้อย่างไร และเหตุการณ์ดังกล่าว จะมีผลกระทบต่อการโมงในประเทศอย่างไร
หลังจากการแถลงนโยบายของรัฐบาลเสร็จสิ้น จึงเกิดคำถามและข้อกังขามากมายว่ารัฐบาลจะสามารถทำตามนโยบายที่ให้ไว้ต่อสภาได้หรือไม่ ยังไม่นับข้อกังขาที่บางพรรคการเมืองนำสิ่งที่พรรครัฐบาลหาเสียงมาเปรียบเทียบกับนโยบายที่รัฐบาลแถลง ว่าไม่ตรงกัน อย่างไรก็ดี วันนี้เราจึงนำเสนอประวัติทางการเมืองอย่างย่อของรัฐมนตรีสามท่านที่น่าสนใจ คือ ปานปรีย์ พหิทธานุกร สมศักดิ์ เทพสุทิน และสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เพื่อให้เห็นภาพของเส้นทางการเมืองและความเชื่อมั่นในการทำตามนโยบายของรัฐบาล
หลังจากได้รัฐบาลใหม่ที่สมบูรณ์ เหลือเพียงแต่การแถลงนโยบายต่อสภา ได้มีการจัดลำดับความสำคัญของนโยบายในการทำก่อนหลัง จึงต้องจับตามองว่าในบริบทของรัฐบาลผสม จะสามารถทำตามนโยบายที่สัญญาไว้ได้มากแค่ไหน ประกอบกับฝ่ายค้านที่ยังไม่มีตัวผู้นำ ไม่ได้หมายถึงผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร แต่หมายถึงผู้นำที่สามารถเป็นตัวแทนของสมาชิกฝ่ายค้านเป็นกลุ่มก้อนที่สามารถจะตรวจสอบรัฐบาลได้อย่างเป็นเอกภาพ นี่ยังคงเป็นสิ่งที่ท้าทายของการเมืองไทยในยุคสมัยสภานี้
จากการเลือกนายกรัฐมนตรีโดยสมาชิกรัฐสภาเมื่อวันที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมา ได้มีมติเห็นชอบ "เศรษฐา ทวีสิน" เป็นนายกรัฐมนตรี แต่นั่นก็ทำให้มีเสียงจำนวนมาก เรียกเศรษฐาว่าไม่ใช่นายกที่มาจากการเลือกของประชาชน แต่เป็นเพราะเหตุใดกันแน่ เพราะไม่ได้เป็นแคนดิเดตนายกจากพรรคอันดับที่ 1 หรือเป็นเพราะพรรคเพื่อไทยนั้นจัดตั้งรัฐบาลข้ามขั้ว วันนี้เราจะมาพูดคุยกันในประเด็นนี้
ในหนึ่งเดือนที่ผ่านมาคงปฏิเสธไม่ได้ว่าภาพยนตร์ที่เป็นกระแสมากที่สุดคงหนีไม่พ้น Barbie และ Oppenheimer ซึ่งทั้งสองเรื่องต่างมีความเป็นการเมือง หากแต่ขณะที่ Barbie เป็นภาพยนตร์ที่มุ่งสนทนากับปัจจุบัน Oppenheimer กลับเป็นภาพยนตร์ที่พูดถึงการเมืองในอดีต . โดยหน้าฉาก Oppenheimer ดูเหมือนเป็นภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ แต่จริงๆ Oppenheimer เป็นภาพยนตร์การเมือง ภาพยนตร์เล่าการสืบสวนในช่วง Red Scare ของสหรัฐอเมริกา โดยเล่าพร้อมกับการสร้างระเบิดปรมาณูในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งสองสถานการณ์นี้มีความเป็นการเมืองในตัวเอง โดยเฉพาะการสืบสวนที่เกิดหลังจากการสร้างระเบิดปรมาณูไปแล้วหลายปีหลังจากนั้น แล้วนั้นทำให้ Oppenheimer มีความเป็นหนังการเมืองอยู่ในตัว
หลังจากพรรคเพื่อไทยได้ฉีก MOU 8 พรรคร่วม ตอนนี้แนวร่วมของเพื่อไทยก็ได้เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งก็แทบจะแน่นอนที่ก้าวไกลจะกลายเป็นพรรคฝ่ายค้านอย่างแน่นอน บางคนอาจกล่าวได้ว่าเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นผิดปกติที่พรรคอันดับ 1 ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ซึ่งเป็นเรื่องของกลไกที่เกิดจากรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ทำให้เราพูดได้แต่ว่าก็ได้แต่ทำใจเพียงเท่านั้น
วันหยุดยาวสำหรับเมืองไทย กิจกรรมที่ทำคงหนีไม่พ้นการเข้าห้าง ชมภาพยนตร์ ซึ่งในสัปดาห์ที่ผ่านมาภาพยนตร์ที่เข้ามาสร้างปรากฎการณ์คงหนีไม่พ้น Barbie กับ Oppenheimer.แม้จะมีโทนเรื่องที่ต่างกันสุดขั้ว แต่ทั้งสองก็ถูกกล่าวถึงจากชาวอินเทอร์เน็ตจนถึงขั้นมีการตั้งชื่อว่า 'Barbenheimer' หากแต่ภายใต้ความแตกต่างทั้งสองเรื่องต่างก็มีความเกี่ยวพันกับเรื่องการเมืองด้วยกันทั้งคู่ แม้มุมการเมืองที่ถูกเล่าออกมาของทั้งสองจะต่างกันเหมือนเช่นที่ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องดำเนินเรื่องไปคนละโทน แต่อย่างไรก็ตามทั้งสองต่างให้ความบันเทิงและเหมาะที่จะเป็นภาพยนตร์ที่จะชมในวันหยุดยาวสุดสัปดาห์นี้
จากการโหวตนายกของพิธา ไม่สามารถผ่านการรับรองให้เป็นนายกรัฐมนตรีได้จากรัฐสภาถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรกไม่ผ่านเพราะเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่งของรัฐสภา 375 เสียง เนื่องจากบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 60 กำหนดให้ต้องใช้เสียง สว ด้วย และครั้งที่สองไม่แม้แต่จะได้โหวต เพราะ ที่ประชุมรัฐสภาได้มีการลงมติว่าไม่สามารถเสนอญัตติซ้ำได้ จึงเป็นที่มาของการถกเถียงว่า การเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นนายกรัฐมนตรีได้นั้น เป็นญัตติหรือไม่ และรัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้หรือไม่ ว่าเสนอชื่อได้ 1 ครั้งต่อ 1 คน .ดังนั้น จึงเป็นที่มาของผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายออกมาเผยว่า นี่เป็นการใช้กฎหมายที่แปลกประหลาด และผิดหลักการ แต่คำถามต่อมาคือ กฎหมายเป็นสิ่งที่ต้องยึดถือเสมอไป หรือเป็นเพียงสิ่งที่มนุษย์เขียนขึ้นเพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติของมนุษย์ การมองว่าการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ เพื่อทำให้ตนบรรลุเป้าหมายทางการเมืองนั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ หรือธรรมชาติของการใช้กฎหมายมันก็เป็นแบบนี้อยู่แล้ว
ในที่สุด การโหวตประธานสภาผู้แทนราษฎรก็สิ้นสุดลงแล้ว โดยประธานสภาตกเป็นของวันมูหะมัดนอร์ มะทา จากพรรคประชาชาติ ขณะที่เพื่อไทยกับก้าวไกลต่างได้รองประธานสภาคนละตำแหน่ง การต่อรองเก้าอี้ประธานสภานับเป็นก้าวแรกของการจัดตั้งรัฐบาลของ 8 พรรคร่วม ซึ่งตลอดมาก้าวไกลมีท่าทีที่ต้องการตำแหน่งนี้มาตลอด โดยให้เหตุผลว่าเป็นธรรมเนียมที่พรรคอันดับหนึ่งต้องได้เก้าอี้ประธานสภา ขณะที่เพื่อไทยก็ไม่ยอมให้ก้าวไกลได้เก้าอี้ประธานสภาไปได้โดยง่าย จนสุดท้ายเพื่อที่จะรักษาพรรคร่วมเอาไว้ ก้าวไกลจึงต้องยอมถอยโดยให้พรรคประชาชาติทำหน้าที่คนกลางในตำแหน่งดังกล่าว การถอยครั้งนี้ สร้างความไม่พอใจให้กับโหวตเตอร์ก้าวไกลจำนวนหนึ่ง บ้างก็ว่าท่าทีของก้าวไกลอ่อนไปก็มี หากแต่การถอยครั้งนี้ของก้าวไกลในฐานะแกนนำจัดตั้งรัฐบาล จะเป็นความพ่ายแพ้ หรือว่าเป็นการถอยเพื่อที่จะก้าวต่อไปในอนาคตกันแน่
ก้าวต่อไปของก้าวไกล หลังจากใช้เวลากว่าหนึ่งเดือน ทางกกต. ก็ได้ทำการรับรองส.ส.เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะนำมาสู่การเปิดประชุมสภาเป็นลำดับต่อไป ทว่าความท้าทายของพรรคก้าวไกลในการจัดตั้งรัฐบาลยังคงมีอยู่ ไม่ว่าจะตำแหน่งประธานสภาที่ยังไม่แน่นอน หรือจะสามารถโหวต 'พิธา' ให้เป็นนายกรัฐมนตรีได้หรือไม่ แล้วถ้าเป็นรัฐบาลได้ แล้วจะแบ่งสรรงานกับพรรคร่วมยังไง แล้วอะไรคือความท้าทายที่ก้าวไกลต้องเผชิญ นั่นจึงมาถึงการสนทนาถึงทิศทางก้าวต่อไปของก้าวไกลในอนาคตที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้า SoundCloud: bit.ly/3gFv2JZ Blockdit: bit.ly/2Bi4tuj Podbean: bit.ly/36QsT9V Apple Podcasts: apple.co/2TQtROk Spotify: spoti.fi/2XJqvgX YouTube: bit.ly/2MeaxWR #InfinityPodcast #DemocracyXInnovations ##สำนักนวัตกรรมฯ
ทั้ง ๆ ที่ Spider-Man กับ The Little Mermaid มีตัวเอกเป็นคนผิวสีเหมือนกัน แต่ผลตอบรับกลับต่างกัน?” หากกล่าวถึงภาพยนตร์ที่โด่งดัง ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมาย่อมมีชื่อของ Spider-Man: Across the Spider-Verse และ The Little Mermaid ฉบับคนแสดงของดิสนีย์อย่างแน่นอน แม้ว่าทั้งคู่จะเป็นภาพยนตร์ที่ต่างทั้งประเภท กลุ่มลูกค้า และค่าย แต่สิ่งหนึ่งที่ทั้งสองเหมือนกันก็คือ การที่มีตัวเอกเป็นคนผิวสีทั้งคู่ หากแต่ผลตอบรับของภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องกลับต่างกัน ขณะที่ The Little Mermaid ได้รับผลตอบรับที่ไม่ค่อยดีเสียเท่าไหร่นัก แต่ Spider-Man: Across the Spider-Verse กลับได้รับเสียงชื่นชมจากทั้งนักวิจารณ์และผู้ชมในเชิงบวกอย่างล้นหลาม บางคนถึงขั้นบอกว่าเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ซุปเปอร์ฮีโร่ที่ดีที่สุด ทำไมถึงเกิดความแตกต่างนี้ขึ้น อะไรที่ทำให้ภาพยนตร์สองเรื่องนี้ได้รับผลตอบรับที่แตกต่างกัน ทั้ง ๆ ที่มีตัวเอกเป็นภาพแทนของกลุ่มอัตลักษณ์เหมือนกัน SoundCloud: bit.ly/3gFv2JZ Blockdit: bit.ly/2Bi4tuj Podbean: bit.ly/36QsT9V Apple Podcasts: apple.co/2TQtROk Spotify: spoti.fi/2XJqvgX YouTube: bit.ly/2MeaxWR #InfinityPodcast #DemocracyXInnovations ##สำนักนวัตกรรมฯ
"Pride Month กับพรรคการเมืองและการเสนอนโยบายสมรสเท่าเทียม" ใน Pride Month Bangkok ปีนี้ เราได้เห็นบรรดาพรรคการเมืองออกมาร่วมขบวนเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศกันอย่างคึกคัก นั่นก็อาจเป็นเพราะพรรคก้าวไกลที่จะได้เสียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุดของประเทศนั้น เป็นพรรคที่โอบรับความต้องการของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศเอาไว้อย่างชัดเจนที่สุด ในปีนี้จึงมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 5 หมื่นคน และมีสัญญาณว่าจะมีการผลักดัน สมรสเท่าเทียม ให้ผ่าน เพื่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศจะสามารถแต่งงานและมีสิทธิ์ได้รับผลประโยชน์ทางกฎหมายด้วย เกมในสภาจะถูกดำเนินไปอย่างไร และเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มหลากหลายทางเพศหรือไม่ SoundCloud: bit.ly/3gFv2JZ Blockdit: bit.ly/2Bi4tuj Podbean: bit.ly/36QsT9V Apple Podcasts: apple.co/2TQtROk Spotify: spoti.fi/2XJqvgX YouTube: bit.ly/2MeaxWR #InfinityPodcast #DemocracyXInnovations ##สำนักนวัตกรรมฯ
"ค่าแรงขั้นต่ำ ทำได้จริง หรือแค่นโยบายประชานิยม" ยังไม่ทันได้เป็นรัฐบาลเต็มตัว แต่ว่าที่นายกฯพิธา ก็ต้องเจอกับคำถามราวกับว่าเข้ามาบริหารประเทศแล้ว สิ่งหนึ่งที่ท้าทายที่สุดคือ นโยบายค่าแรง 450 บาท ต่อวัน ซึ่งเป็นประเด็นอย่างมากในสังคม เพราะค่าแรงทุกวันนี้มันน้อยเหลือเกิน และค่าครองชีพก็สูงมาก เกี่ยวกับว่าจะขึ้นได้ไหม ควรขึ้นไหม และจะมีผลกระทบต่อผู้ประกอบการอย่างไร รวมถึงผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจโดยรวมมากแค่ไหน เมื่อกว่า 10 ปี ที่แล้ว ที่เราขึ้นค่าแรง 300 บาท เมื่อขึ้นแล้ว ค่าครองชีพขึ้นตามมาหรือไม่ อย่างนั้นแล้วค่าครองชีพ จะเป็นการตอบโจทย์จริงหรือไม่ แต่แรงงานที่รับเงินรายวันก็ประสบปัญหาเงินไม่พอใช้อยู่ ขณะที่ผู้ประกอบการ SME ก็ได้รับผลกระทบเนื่องจากมีเงินไม่พอในการนำมาจ่าย เพราะไม่ได้กำไรสูงเหมือนทุนใหญ่ และอาจนำไปสู่การเลิกจ้างในที่สุด ประเด็นนี้จึงเป็นเสมือนภาวะอิหลักอิเหลื่อที่เสียไม่ได้ของนโยบายที่จะมีผลกระทบต่อผู้สนับสนุนของพรรคที่อยู่ในตำแหน่งแห่งที่ทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน โจทย์อาจเป็นเราจะทำอย่างไรให้มีเงินมากพอมาจ่ายค่าจ้างได้? แต่คำถามต่อมาคือ เงินที่มีอยู่มันเพียงพออยู่แล้ว แต่จัดสรรไม่ดี หรือ เงินมีไม่พอจึงจัดสรรไม่ได้กันแน่? SoundCloud: bit.ly/3gFv2JZ Blockdit: bit.ly/2Bi4tuj Podbean: bit.ly/36QsT9V Apple Podcasts: apple.co/2TQtROk Spotify: spoti.fi/2XJqvgX YouTube: bit.ly/2MeaxWR #InfinityPodcast #DemocracyXInnovations ##สำนักนวัตกรรมฯ
"ผ่านไปสองสัปดาห์ ยังไร้วี่แวว กกต. รับรองผลการเลือกตั้ง" การเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 ผ่านไปจะแล้วสองสัปดาห์ แต่ กกต. ก็ยังไม่มีวี่แววจะรับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ ทำให้ยังไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดได้รับการรับรองเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ก็เท่ากับว่าเปิดสภาไม่ได้ เพราะไม่ได้มีการรับรองเกิน 95% ตามรัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการดีล ล็อบบี้ และเล่นแร่แปรธาตุกับผลการเลือกตั้งมากยิ่งขึ้น ทำให้ผลการเลือกตั้งสุดท้ายแล้ว อาจไม่เหมือนผลการเลือกตั้งที่เราเห็นกันหลังจากการเลือกตั้งเสร็จสิ้นนั่นเอง เราจึงมาคุยกันถึงความเป็นไปได้ในการเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ในอนาคต ว่าอาจจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เช่น พรรคอันดับหนึ่งอาจจะเปลี่ยนแปลง หรือพรรคอะไรอาจไม่ได้ไปต่อ เพราะถูกยุบหรือถอดถอนก่อนการรับรองผลการเลือกตั้ง ระยะเวลาในการรับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ จึงมีความสำคัญมาก ต่อหน้าตาของรัฐบาล ความเข้มแข็งของพรรคร่วมรัฐบาล และที่สุดแล้ว ความล่าช้าคืออุปสรรคของประชาธิปไตย SoundCloud: bit.ly/3gFv2JZ Blockdit: bit.ly/2Bi4tuj Podbean: bit.ly/36QsT9V Apple Podcasts: apple.co/2TQtROk Spotify: spoti.fi/2XJqvgX YouTube: bit.ly/2MeaxWR #InfinityPodcast #DemocracyXInnovations ##สำนักนวัตกรรมฯ
"หลังเลือกตั้ง 66 จัดตั้งรัฐบาลในระบบรัฐสภา ต้องมีการต่อรอง?" เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า "ฝ่ายค้านเดิม" ได้รวมเสียงกันได้กว่า 313 เสียงในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ในสภาวะการณ์ปกติที่ไม่มีบทเฉพาะกาล แต่ ณ ขณะนี้ยังมีบทเฉพาะกาลที่ให้วุฒิสภานั้นมีส่วนในการลงคะแนนเสียงในการเลือกนายกรัฐมนตรีในสภาได้อยู่ การต่อรองของพรรคอันดับ 1 ที่สมควรจะเป็นพรรคที่เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลตามธรรมเนียมของระบบรัฐสภานั้น จึงไม่ได้ต้องต่อรองเพียงเฉพาะพรรคการเมืองร่วม แต่ยังต้องต่อรองกับวุฒิสมาชิกด้วย ระบบรัฐสภาจึงเป็นระบบที่ต้องหารือ ต่อรองกัน ไม่ใช่ Zero-sum game ที่ชนะแล้วจัดตั้งได้ตามใจเลย แต่ยังต้องต่อรองเพื่อหาขอสรุปร่วม เพื่อให้การจัดตั้งรัฐบาลร่วมเป็นไปได้ ซึ่งก็เป็นธรรมดาของระบบรัฐสภาที่ต้องการให้เสียงของประชาชนแต่ละฝ่ายนั้น ถูกสะท้อนนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่เวลาในการประกาศคะแนนอย่างเป็นทางการของ กกต. นั้น นานเกินไป โดยมีกรอบเวลากว้างถึง 60 วัน และ การเปิดสภาครั้งแรก ยังใช้เวลาอีก 15 วัน และไม่มีการกำหนดกรอบเวลาในการเลือกนายกรัฐมนตรีในสภา ซึ่งอาจทำให้กระบวนการกว่าจะได้นายกใหม่นั้น ใช้เวลาถึง 3 เดือน ก็เป็นได้ นี่คงจะเป็นประเด็นในการแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นจุดร่วมของรัฐบาลผสมนี้ ต่อไป SoundCloud: bit.ly/3gFv2JZ Blockdit: bit.ly/2Bi4tuj Podbean: bit.ly/36QsT9V Apple Podcasts: apple.co/2TQtROk Spotify: spoti.fi/2XJqvgX YouTube: bit.ly/2MeaxWR #InfinityPodcast #DemocracyXInnovations ##สำนักนวัตกรรมฯ
"สัปดาห์นี้จะเลือกตั้งแล้ว" การเลือกตั้งกำลังจะมาถึง ประกอบกับบทเรียนที่ได้จากการเลือกตั้งล่วงหน้า/นอกเขต ในวันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ทำให้เรามองเห็นถึงความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในการเลือกตั้ง และอาจทำให้ผลคะแนนนั้นผิดเพี้ยนไปได้ เราจึงชวนเฟมในฐานะผู้สังเกตการณ์หาเสียง มาวิเคราะห์ถึงการหาเสียง กติกา และการทำงานของ กกต. ที่ผ่านมา เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเลือกตั้งให้มากที่สุด การหาเสียงนั้นดำเนินไปอย่างดุเดือด มีการงัดกลยุทธ์แตกต่างในการหาเสียง ทั้งในพื้นที่และโซเชียลมีเดีย แต่วันจริงจะเป็นอย่างไร ต้องไปวัดกันที่คูหาเลือกตั้ง ประกอบกับความไม่ชัดเจนของ กกต. และกรรมการประจำหน่วย ว่าผู้มาใช้สิทธิ์/ผู้สังเกตการณ์สามารถทำอะไรได้บ้าง ถ่ายภาพสังเกตการณ์ได้ไหม หรือ จดเบอร์ใส่มือเข้าไปเพื่อจำหมายเลขได้ไหม นี่ยังเป็นช่องว่างที่ กกต. ที่เป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินต้องให้ความชัดเจน เพื่อให้การเลือกตั้งนั้นมีความบริสุทธิ์ ยุติธรรมอย่างแท้จริง SoundCloud: bit.ly/3gFv2JZBlockdit: bit.ly/2Bi4tujPodbean: bit.ly/36QsT9VApple Podcasts: apple.co/2TQtROkSpotify: spoti.fi/2XJqvgXYouTube: bit.ly/2MeaxWR#InfinityPodcast #DemocracyXInnovations ##สำนักนวัตกรรมฯ
ใกล้เลือกตั้งแล้ว!!! สัปดาห์นี้เราเลยขอมาถามความเห็นนักวิชาการจากสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้าของเราว่าอยากเห็นนโยบายแบบไหนจากพรรคการเมืองบ้าง วันนี้เราอยู่กับป่านและขวัญข้าวเพื่อคุยถึงเรื่องนโยบายที่อยากให้เกิดขึ้น ซึ่งก็มีตั้งแต่ นโยบายการต่างประเทศ เศรษฐกิจระหว่างประเทศ การพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้ให้ประเทศ ไปจนถึงนโยบายด้านการอวกาศ ที่อาจทำให้ไทยหลุดพ้นจากความยากจนได้อย่างจริงจัง มากกว่านโยบาย ลด แลก แจก แถม ที่ใช้หาเสียงกันในตอนนี้ SoundCloud: bit.ly/3gFv2JZ Blockdit: bit.ly/2Bi4tuj Podbean: bit.ly/36QsT9V Apple Podcasts: apple.co/2TQtROk Spotify: spoti.fi/2XJqvgX YouTube: bit.ly/2MeaxWR #InfinityPodcast #DemocracyXInnovations ##สำนักนวัตกรรมฯ
"พรรคทหาร จากสามัคคีธรรม-รสช ถึง พปชร/รทสช/คสช การเลือกตั้ง 62 และ 66 ที่จะถึงนี้ นับว่าเป็นการเลือกตั้งครั้งที่ 2 หลังจากการรัฐประหารในปี 57 และยังเกิดพรรคการเมืองที่มีผู้ที่มีบทบาทในการรัฐประหารมาดำรงตำแหน่งทางการเมือง วันนี้เราจึงชวนพี่ปาร์คมาพูดคุยเกี่ยวกับการเมืองช่วงการยึดอำนาจในปี 34 ถึงความคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ และความเกี่ยวข้องของพรรคการเมืองในการยึดอำนาจปี 57 และพรรคการเมืองที่ก่อตั้งมาหลังจากนั้น และพูดคุยถึงความเป็นไปได้ หลังจากอิทธิพลของทหารหมดไปแล้ว จะเป็นอย่างไร ไปติดตามกันได้เลย SoundCloud: bit.ly/3gFv2JZBlockdit: bit.ly/2Bi4tujPodbean: bit.ly/36QsT9VApple Podcasts: apple.co/2TQtROkSpotify: spoti.fi/2XJqvgXYouTube: bit.ly/2MeaxWR#InfinityPodcast #DemocracyXInnovations ##สำนักนวัตกรรมฯ
ส่องนโยบายการศึกษาในเลือกตั้ง 2566 วันนี้เราลองมาดูนโยบายทางการศึกษาของพรรคการเมืองกันบ้าง ที่ผ่านมา การศึกษามักถูกละเลยให้เป็นประเด็นที่มีความสำคัญลำดับท้าย ๆ เสมอ (แม้งบประมาณจะเยอะก็ตาม) แต่เพราะอะไรล่ะ? เพราะการศึกษาไม่สำคัญ หรือเพราะเรามีต้นทุนไม่พอที่จะให้ระบบการศึกษาที่ดีได้? คำตอบคงจะมีหลายแบบ แต่เราลองมาดูว่า นโยบายด้านการศึกษาของพรรคการเมืองต่าง ๆ เป็นอย่างไร และจะทำให้นักเรียน นักศึกษา เติบโตไปเป็นประชากรที่มีคุณภาพ และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติได้หรือไม่ SoundCloud: bit.ly/3gFv2JZ Blockdit: bit.ly/2Bi4tuj Podbean: bit.ly/36QsT9V Apple Podcasts: apple.co/2TQtROk Spotify: spoti.fi/2XJqvgX YouTube: bit.ly/2MeaxWR #InfinityPodcast #DemocracyXInnovations ##สำนักนวัตกรรมฯ