พอดคาสท์หลากหลายเรื่องราว ตั้งแต่สังคมศาสตร์ ปรัชญา การเมือง เทคโนโลยี ไปจนถึงสตาร์ทอัพ
ภาคต่อของสี่ปีนรกในเขมรเรื่องราวแห่งความยากลำบากที่ไม่ควรมีใครที่ต้องเผชิญกับชะตากรรมเหล่านี้
วันนี้จะมาชวนคุยถึงวิธีการค้นหาสิ่งที่ทำแล้วมีความสุขให้ฟังกันค่ะ และแถมอีก 3 แบบฝึกหัดแบบสั้นๆ เพื่อช่วยให้คุณผู้ฟังหาตกตะกอนความคิดและค้นหาสิ่งที่ทำแล้วมีความสุขได้ ถ้าพร้อมแล้วไปฟังพร้อมๆกันเลยค่ะ
สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้เราจะมาเล่าต่อจากตอนที่แล้วกัน เมื่อเราเตรียมอุปกรณ์พร้อมสำหรับงานเป็นล่ามแล้ว ตอนนี้เราจะต้องมีการเตรียมตัวกันอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้ว มาฟังกันเลยครับ
เรื่องราวของครอบครัวผู้ตกทุกข์ได้ยาก จากที่เคยสบายอยู่ดีดีแล้ววันนึงต้องมาตกระกำลำบากย้ายไปอยู่ห้องเช่าขนาดเล็ก มาดูกันว่า เขาเหล่านั้นจะหาทางออกกับชีวิตนี้ได้อย่างไรเมื่อเราอยู่ในสภาวะแห่งความจมไม่ลง!
อีพีนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง U-curve of happiness กัน ซึ่งกราฟตัวยูแห่งความสุขนี้ หมายถึง สุขภาวะทางจิตของมนุษย์ตลอดชีวิต ซึ่งจะเป็นไปตามลักษณะของกราฟรูปตัวยู (U-shape) ขนาดใหญ่ โดยจะมีความสุขมากที่สุดในช่วง 20- 30 ปี หลังจากนั้นความสุขจะลดลงเรื่อย ๆ และไปแตะจุดต่ำสุดที่อายุประมาณช่วง 40 ปี แต่เมื่อหันมามองสังคมในความเป็นจริงทำไมสมัยนี้คนรุ่นใหม่ในวัยเลขสองกลับมีความสุขต่ำลง ในขณะที่วัยเลขสี่ หลายคนกลับมีความสุขมากกว่าช่วงวัยรุ่นเสียอีก
วันนี้จะมาแชร์เทคนิคการวางแผนและจัดการชีวิตในเช้าที่เร่งรีบให้ฟังกันค่ะ เหมาะมากสำหรับคุณผู้ฟังที่ต้องตื่นแต่เช้าเพื่อไปทำงานให้ทัน แต่ก็ยังอยากทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆให้ครบถ้วนอย่างผ่อนคลาย ทำแบบไหน ทำอย่างไร ไปฟังพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
ในสภาวะที่เรากำลังเผชิญสถานการณ์ที่โหดร้ายที่สุด ไม่มีทั้งความหวัง ไม่มีทั้งความฝัน สิ่งเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่คือ การใช้ชีวิตในแต่ละวันให้ผ่านพ้นไปและรอคอยที่จะมีชีวิตรอดเพื่อกลับไปเล่าให้คนรุ่นลูกรุ่นหลานฟัง… หนังสือเล่มนี้เป็นตัวอย่างที่จะบอกกับเราว่าเมื่อวันที่เราทุกข์ที่สุดเราจะผ่านพ้นมันไปได้อย่างไร
วันนี้จะมาแบ่งปันวิธีรับมือกับคนพลังลบให้ฟังกันค่ะ episode นี้เกิดจากคุณผู้ฟังของ Keep Me Busy มาปรึกษาวิธีรับมือกับคนพลังลบที่เจอในช่วงนี้ วันนี้เลยจะมาแชร์ 5 วิธีรับมือกับคนพลังลบกันค่ะ ถ้าคุณผู้ฟังคนไหนกำลังปวดหัวกับคนแบบนี้อยู่ episode นี้เหมาะกับคุณค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปฟังกันเลย
เราเติบโตมากับคำสอนว่า “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั้น” แต่ในโลกความจริง คนที่ขยันมักไปถึงเป้าหมายจริงหรือไม่ หรือแท้จริงแล้วยังมีตัวแปรอื่นที่ส่งผลทำให้คน ๆ นึงประสบความสำเร็จไม่แพ้กัน?
ในตอนนี้เราได้คุยกับคุณบี ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี AI ทางการทหาร มาสนทนาถึงแนวโน้มสำคัญของการใช้ AI ในอนาคต โดยเฉพาะแนวคิด 'Self Reliance' หรือการพึ่งพาตนเองด้านการทหาร ซึ่งเป็นผลจากบทเรียนจากความขัดแย้งทั่วโลก เช่น สหรัฐฯ ระงับการแบ่งปันข้อมูลข่าวกรองกับยูเครนชั่วคราว นอกจากนี้ เราจะสำรวจว่า AI ที่ใช้ในระบบอาวุธจะไม่ใช่ AI ที่ฉลาดคิดเองได้ 100% แต่เป็น Machine Learning ที่ทำงานตามเงื่อนไขที่ตั้งไว้ เพื่อเสริมประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงจากการที่ AI อาจตั้งคำถามเองหรือไม่ทำตามคำสั่งมนุษย์ รวมถึงเหตุผลที่ทหารราบยังคงมีความสำคัญไม่แพ้เทคโนโลยีล้ำสมัย ดังที่เห็นในสงครามยูเครนและการฝึกร่วม Golden Dragon ร่วมค้นพบว่า AI ช่วยเสริมจุดแข็งและลดจุดอ่อนในสมรภูมิได้อย่างไร เช่น การปรับปรุงวิสัยทัศน์และการแจ้งเตือนนักบิน และมองความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยีการทหารของมหาอำนาจ ซึ่งข้อมูล AI มักจะไม่ถูกแบ่งปันง่ายๆ พร้อมเจาะลึกบทบาทและแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศอันน่าสนใจของไทยที่พยายามสร้างสมดุลกับมหาอำนาจทั้งจีนและสหรัฐฯ ผ่านการจัดซื้ออาวุธที่หลากหลายและการฝึกร่วม ปิดท้ายด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์โลกปัจจุบัน รวมถึงความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาที่กัมพูชาได้รับการสนับสนุนจากจีน และมุมมองว่าเรากำลังอยู่ใน 'สงครามเย็นเวอร์ชัน 2' มากกว่าสงครามโลกครั้งที่ 3 ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจว่าทำไมการเมืองและสงครามจึงเกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออก
วันนี้เราพูดถึงหลักการควบคุมทหารโดยพลเรือนในระบอบประชาธิปไตย โดยนักการเมืองมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดนโยบายทางทหารและบริหารงานบุคคล รวมถึงการกำหนดจำนวนและวิธีการสรรหากำลังพลเข้าสู่กองทัพ ระบบการสรรหากำลังพลทั่วโลกแบ่งเป็นสองแบบหลักคือการบังคับเกณฑ์ทหารกับการสมัครใจ การบังคับเกณฑ์ทหารมักพบในประเทศที่มีเพื่อนบ้านไม่เป็นมิตรและ/หรือใช้กองทัพเป็นเครื่องมือในการกล่อมเกลาพลเมือง เช่น เกาหลีใต้และอิสราเอล ซึ่งอิสราเอลมีทางเลือกในการรับราชการในหน่วยงานความมั่นคงอื่นนอกเหนือจากทหารได้ ส่วนระบบสมัครใจนั้นพบในประเทศอย่างอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ที่เคยใช้การเกณฑ์ทหารแต่เปลี่ยนมาใช้ระบบสมัครใจเนื่องจากการต่อต้านของประชาชนและการตระหนักว่าระบบนี้สอดคล้องกับคุณค่าประชาธิปไตยมากกว่า โดยมีการฝึกที่เข้มข้นและสร้างทหารอาชีพ สำหรับประเทศไทย พบว่าไม่เป็นไปตามหลักการควบคุมทหารโดยพลเรือน และกระบวนการเกณฑ์ทหารของไทยก็ยังคงแตกต่างจากประเทศอื่น ๆ ที่ศึกษามา มีการเสนอแนวทางในการปรับปรุงแม้จะยังไม่สามารถแก้รัฐธรรมนูญได้ โดยอาจกำหนดให้การเกณฑ์ทหารเป็นเพียงกรณีสำหรับกองกำลังสำรอง และควรให้รัฐมนตรีเสนอร่างต่อรัฐสภาเพื่ออนุมัติการบังคับเกณฑ์ทหารในสภาวะปกติ นอกจากนี้ หากยังคงการเกณฑ์ทหารไว้ ควรเพิ่มทางเลือกให้ผู้ถูกเกณฑ์ไปทำงานในหน่วยงานอื่น ๆ ที่ขาดแคลนกำลังพล เช่น ตำรวจ หรือหน่วยงานบริการสาธารณะที่จำเป็น เช่น การช่วยเหลือภัยพิบัติ การสนทนาชี้ว่าการปรับปรุงเหล่านี้เป็นการถกเถียงและนำเสนอแนวทางที่เป็นเหตุเป็นผล เพื่อให้เกิดความเข้าใจและจัดการความสัมพันธ์ระหว่างทหารกับพลเรือนอย่างจริงจังในประเทศไทย
เราได้เห็นกรณีเกิดงูเห่าตามมาถึงการที่เกิดการ "ยื่นแยกพรรค" ในพรรคเดียวกันเอง ซึ่งเกิดเป็นรอยแตกร้าวในพรรคเพื่อเป้าหมายต่าง ๆ การย้ายพรรคและผลกระทบต่อความเข้มแข็งของพรรคการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอและเป็นเพียง "ที่พักพิงของกลุ่มผลประโยชน์" เนื่องจาก ส.ส. ที่ถูกขับออกจากพรรคยังคงสถานะ ส.ส. ได้ ต่างจากรัฐธรรมนูญ 2540 ที่พยายามทำให้พรรคการเมือง "เข้มแข็ง" ขึ้น โดยกำหนดให้ ส.ส. ต้องเป็นสมาชิกพรรค หากถูกขับออกจะสิ้นสุดสมาชิกภาพ มีการยกตัวอย่างกรณีคุณธรรมนัสที่ย้ายจากพรรคพลังประชารัฐไปตั้งพรรคกล้าธรรม และกรณีคุณศรีนวลกับคุณกฤตที่พยายามให้พรรคขับออกเพื่อรักษาที่นั่ง มีการเสนอแนวทางในการทำให้พรรคการเมืองเข้มแข็งขึ้นโดยไม่ใช้มาตรการทางกฎหมายที่เข้มงวดแบบรัฐธรรมนูญ 2540 แต่เน้นใช้ "ข้อบังคับการประชุมสภา" และ "ธรรมเนียมปฏิบัติทางการเมือง" แทน โดยควรกำหนดให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ของ ส.ส. ในสภา เช่น การอภิปราย โควต้ากระทู้ และการนั่งใน กมธ. เป็น "โควต้าของพรรคการเมือง 100%" หาก ส.ส. ฝ่าฝืนมติพรรค ควรถูกตัดสิทธิ์เหล่านี้ทั้งหมด ปัจจุบันข้อบังคับสภายังไม่รองรับเรื่องเหล่านี้ ทำให้ ส.ส. ที่ถูกมองว่าเป็น "งูเห่า" ยังคงได้รับสิทธิประโยชน์หากพรรคใหม่สนับสนุน ท้ายที่สุด ชี้ว่าปัญหาทางการเมืองปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองที่อ่อนแอ หรือรัฐบาลที่เน้นการดำรงอยู่ให้ครบเทอมมากกว่าการผลักดันนโยบาย ล้วนมีสาเหตุมาจาก "รัฐธรรมนูญ 2560" ซึ่งเป็นมรดกจากการรัฐประหาร และยังเชื่อมโยงกับแนวคิด "ชาตินิยม" ที่ทรงพลัง ซึ่งสามารถกระตุ้นให้เกิดการเรียกร้องการรัฐประหารได้เมื่อรัฐบาลไม่สามารถจัดการปัญหาได้ทันใจ
การตัดสินใจหลายอย่างของเราถูกขับเคลื่อนด้วย “บรรทัดฐานทางสังคม” มากกว่าที่คิด ส่งผลให้หลาย ๆ ครั้งคนเรารู้สึกไม่มีความสุข Tell Me Why ตอนนี้ชวนตั้งคำถามว่าทำไม บรรทัดฐานทางสังคม ส่งผลต่อความคิดของเราและการหลุดจากกรอบเหล่านี้เป็นไปได้ไหม?
วันนี้จะมาแชร์ประสบการณ์และแชร์ 9 เทคนิคการเป็น MC แบบออนไลน์ให้ลูกค้ารัก ผู้ชมก็ชอบให้ฟังกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปฟังกันเลย
เคยสงสัยกันหรือเปล่าครับว่าการเป็นล่ามแปลภาษาเราเคยเห็นในสถานการณ์ต่าง ๆ นั้นเค้าทำงานกันอย่างไรบ้าง ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง ถ้าสงสัยล่ะก็ วันนี้ผมจะมาเล่าให้ทุกคนฟังเองครับ ถ้าพร้อมแล้ว มาฟังกันเลยครับ
วันนี้จะชวนคุณผู้ฟังมาวางแผนชีวิตประจำวันฉบับคนขี้ลืมกันค่ะ เพราะทำแล้วชีวิตง่ายขึ้นมากๆและไม่พลาดทุกเรื่องสำคัญ แม้ว่าเราจะเป็นคนขี้ลืมก็ตาม เพียงแค่เรามาจัดระบบให้กับชีวิตประจำวัน เหมาะมากสำหรับคนที่งานยุ่งจนแทบไม่มีเวลามาจัดการชีวิตส่วนตัว ทำอย่างไรกันนะ ถ้าพร้อมแล้ว ไปฟังพร้อมๆกันเลยค่ะ
การเปิดคาสิโนในไทยอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนมากกว่าการเปิดในประเทศอื่นจริงหรือ วันนี้ Tell Me Why จะชวนคุณผู้ฟังมาขบคิดถึงเรื่องของการเปิด entertainment complex ที่มีคาสิโนเป็นส่วนหนึ่งว่าถึงแม้จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย แต่ในเชิงของพฤติกรรมของคนในสังคมจะส่งผลอย่างไรเมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่มีคาสิโนแต่มีบริบทของสังคมและมีกฎหมายที่แตกต่างออกไป
Keep Me Busy episode ที่ 239 วันนี้จะมาชวนคุยถึงวิธีการสร้างความภูมิใจในตัวเองให้ฟังกันค่ะ เหมาะมากสำหรับคุณผู้ฟังที่กำลังรู้สึกไม่ภูมิใจในตัวเองหรือหมดความมั่นใจในตัวเอง เราขอเป็นหนึ่งในช่องทางในการช่วยสร้างและกอบกู้ความภูมิใจในตัวเองนั้นให้กลับมาค่ะ ทำแบบไหน ทำได้อย่างไร episode นี้มีคำตอบค่ะ ถ้าพร้อมแล้ว ไปฟังพร้อมกันเลย
กระแสความไม่เชื่อมั่นในประชาธิปไตยไทย ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากมุมมองที่ว่าการรัฐประหารอาจมีผลดี นำไปสู่คำถามว่าสังคมไทยยังเชื่อในอำนาจที่เหนือกว่าประชาชนหรือไม่ ปัญหานี้ถูกเชื่อมโยงกับข่าว วัดไร่ขิง 888 ที่สะท้อนปัญหาการสะสมความมั่งคั่งของสถาบันศาสนาในสังคมเหลื่อมล้ำ ซึ่งเกิดจากแนวคิดการทำบุญกับผู้มีสถานะสูงเพื่อหวังผลบุญมาก ทำให้คนจนบริจาคให้คนรวยกว่า ยิ่งเสริมความเหลื่อมล้ำ ปัญหาหลักคือ เมื่ออำนาจหรือเงินอยู่ในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา มักถูกมองว่าบริสุทธิ์และ ขาดระบบตรวจสอบที่ดี ทำให้เงินอาจถูกนำไปใช้ส่วนตัวได้ บทเรียนสำคัญคือ อำนาจใดๆ ก็ตามมีโอกาสคอร์รัปชันได้เสมอหากไม่มีระบบตรวจสอบถ่วงดุล เช่นเดียวกับองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญที่ถูกมองว่าศักดิ์สิทธิ์และถูกออกแบบให้ตรวจสอบได้น้อย สุดท้ายก็พบปัญหาการใช้อำนาจที่ไม่โปร่งใสหรือไม่สมเหตุสมผล ดังนั้น จุดยืนใหม่ที่ควรตั้งคือ ไม่ควรไว้วางใจอำนาจใดเท่าเทียมกัน ทุกอำนาจมีโอกาสคอร์รัปชัน และต้องมีกลไกตรวจสอบที่เข้มแข็ง สังคมไทยยังมีเรื่องที่เป็นทาบู เช่น ศาสนาและศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้ยากต่อการตั้งคำถามซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น แม้ไทยจะยังไม่เป็น "fail state" แบบเม็กซิโก แต่รัฐบาลปัจจุบันถูกมองว่า ไม่สามารถส่งมอบนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนหนึ่งเพราะไม่แก้รัฐธรรมนูญและกฎหมายที่สร้างกลไกขัดขวางการทำงาน โดยเฉพาะระบบบริหารงานบุคคลในราชการ ทำให้ฝ่ายบริหารที่มาจากการเลือกตั้งผลักดันงานยาก ดังที่เห็นจากความยากลำบากของผู้ว่าฯ กทม. ในการส่งมอบนโยบายแม้ได้รับความนิยมสูง สรุปคือ ปัญหาเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการแก้รัฐธรรมนูญและกฎหมายที่มอบอำนาจล้นเกินให้บางองค์กร และยืนยันว่าการมองทุกอำนาจด้วยสายตาที่ไม่ไว้ใจพร้อมสร้างระบบตรวจสอบที่แข็งแกร่งเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนประชาธิปไตย
วันนี้ Keep Me Busy Podcast จะมาแชร์เรื่องเทคนิคฝึกความคิดแบบยืดหยุ่น หรือ Cognitive Flexibility ให้ฟังกันค่ะ ล่าสุดเอมได้เจอกับพี่ๆที่เป็นคนยืดหยุ่นมากๆในสถานการณ์ที่เรากำลังสติแตก ซึ่งทำให้เรารู้สึกว่าคนที่เค้ามีความยืดหยุ่นนี่เท่ดีจังเลย เลยอยากฝึกเป็นคนยืดหยุ่นแบบนี้ได้บ้างจังเลย เลยเกิดเป็น episode นี้ขึ้นมาค่ะ Cognitive Flexibilty คืออะไร ทำแล้วดีอย่างไร แล้วฝึกด้วยวิธีอะไรได้บ้าง วันนี้เราจะมาเล่าให้ฟังกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปฟังพร้อมๆกันเลย
ในวันที่แย่…ร้านเราก็ยังมีแซนด์วิชไข่ไว้ให้กินนะ
เคยไหม เวลารู้สึกเบื่อ มือก็เริ่มคว้าโทรศัพท์ เปิดตู้เย็น หรือแม้แต่ลุกขึ้นมาจัดบ้าน Tell Me Why เราจะชวนคุณมาสำรวจกับสิ่งที่เรียกว่าด้วย “ความเบื่อ” ทำไมมนุษย์เราเวลารู้สึกเบื่อ ต้องหาอะไรสักอย่างทำ ความเบื่อเป็นสิ่งที่แย่หรือไม่ แล้วเราจะใช้ความเบื่อของเราให้เป็นประโยชน์อย่างไร
สวัสดีค่ะ Keep Me Busy Podcast episode ที่ 237 จะมาชวนคุยเรื่อง การหาและสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นในทุก ๆ วัน ผ่านหลากหลายวิธีการ เชื่อว่า episode นี้เหมาะมากสำหรับคุณผู้ฟังที่กำลังหมดไฟ เหนื่อยและท้อแท้อยู่ ให้ episode นี้ของ KMBS ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับคุณผู้ฟังกันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วไปฟังกันเลย
หมู่บ้านที่เกิดเหตุฆาตกรรมต่อเนื่อง เมื่อมีประชากรย้ายเข้ามาอยู่ใหม่หนึ่งคน ถ้าเขาคนนั้นไม่ใช่ฆาตกรแล้วใครกันล่ะคือฆาตกรตัวจริง
วันนี้ Keep Me Busy Podcast จะมาแชร์ 20 Tips and Tricks มารยาททางสังคมเล็ก ๆ ที่จะทำให้คุณผู้ฟังเป็นคนที่น่ารัก น่าคบและมีเสน่ห์มากขึ้น ถ้าพร้อมแล้วไปฟังกันเลยค่ะ
สวัสดีครับทุกท่าน ตอนนี้เรามาถึงเดือนพฤษภาคมแล้ว ซึ่งในวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปีก็เป็นวันแรงงาน แถมเป็นหนึ่งในวันหยุดยาวของจีนด้วย วันนี้ผมก็เลยว่าจะมาเล่าในเรื่องรูปแบบการไปเที่ยวของคนจีนให้ฟังกัน ถ้าพร้อมแล้ว มาฟังกันเลยครับ
เรื่องราวของเด็กชายคนหนึ่งที่สูญสิ้นแล้วกับความหวังทุกอย่างในชีวิตจนกระทั่งมีคนยื่นมือเข้ามาเพื่อให้เขาได้กลับมาใช้ชีวิต อย่างมีความหมายอีกครั้ง
พอพูดถึงความโลภ หลายคนอาจเคยสงสัยว่าจริง ๆ แล้วมนุษย์เรามีความโลภมากจริงหรือไหม ความโลภนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรบ้าง แล้ว Civic honesty คืออะไร สามารถนำมาอธิบายเรื่องความโลภได้อย่างไร Tell Me Why เอพิโสดนี้จะชวนมาหาคำตอบ
Keep Me Busy Podcast episode นี้ จะมาแชร์ประสบการณ์ทริปสานฝันวัยเด็กกับน้องชายให้ฟังกัน และมาแชร์ Tips and tricks ในการจัดกระเป๋าที่คิดว่า work มากๆสำหรับการไปทริปให้ฟังกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปฟังกันเลย
จริงหรือที่ว่าบ้านสามารถสร้างความโชคร้ายให้กับเรา…. เรื่องราวของห้าครอบครัวกับบ้านหลังหนึ่งที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นบ้านแห่งความโชคร้าย
เรื่องราวของหญิงสาวที่กำลังสานต่อร้านอาหารของครอบครัว โดยเธอได้รับเงื่อนไขจากคุณแม่ว่าต้องทำอาหารให้คน 7 คนได้ทาน เพื่อปลดพันธนาการบางอย่างของชีวิตผู้คนเหล่านั้น
จบไปแล้วกับงานมหาสงกรานต์ทั่วประเทศ ที่มีการจัดอย่างยิ่งใหญ่ต้อนรับนักท่องเที่ยวสมกับเป็นเมืองที่เน้นด้านการท่องเที่ยวแบบประเทศไทย คาดว่าสร้างเม็ดเงินให้กับประเทศและเป็นหน้าตาให้กับประเทศไทยได้อย่างมาก จึงคาดหวังให้ประเทศไทยสามารถทำอย่างนี้ได้ตลอดไป เพื่อเป็นลายเซ็นของการท่องเที่ยวไทย ให้ยกระดับสู่สากล เมื่อพูดถึงเรื่องรายได้ จึงหลีกเลี่ยงไม่พ้น การพูดถึงการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐอเมริกา ที่เป็นเรื่องร้อนแรงเขย่าโลกของประธานธิบดีโดนัล ทรัมป์ เราจึงมามองในมุมมองของการขึ้นภาษีในแบบที่มันเป็น มากกว่ามองในเชิงยุทธศาสตร์ เนื่องจากการเจรจาต่อรองในแง่นี้ ไม่อาจมีระเบียบแบบแผนเหมือนการเจรจาในทั่วไป การดำเนินการของทรัมป์อาจเป็นการฉีกตำราทุกเล่ม เราจุงอาจต้องทำความเ้ขาใจผ่านสายพานการผลิตทั่วโลก (global supply chain) และการแบ่งงานกันทำ (global division of labour) ของโลกแห่งเศรษฐกิจเน้นส่งออก (export-based economy) เป็นต้นมา ทำให้เข้าใจถึงหลักการของและเหตุผลที่ทำให้บางคนหวงแหนการค้าเสรี (free trade)
เป็นความจริงที่ว่า "ความสำเร็จ" ไม่ว่าจะธรรมดาหรือใหญ่โตก็ล้วนควรค่าแก่การเฉลิมฉลองทั้งสิ้น แต่จริง ๆ แล้วเราควรฉลองกับความสำเร็จทุก ๆ ความสำเร็จ ถึงแม้สิ่ง ๆ นั้นจะไม่ได้ใหญ่โตอะไรมากก็ตามไหม Tell Me Why จะชวนมามองในอีกมุมหนึ่ง ภายใต้ความธรรมดานั้นอาจทำให้เราตกอยู่ใน The Mediocrity Trap (กับดักความธรรมดา) ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อการทำงานก็เป็นได้...
หลังวันหยุดยาว ๆ แบบนี้ เชื่อว่าคุณผู้ฟังหลายคนน่าจะมีอาการเศร้าหลังวันหยุดยาวกันไม่มากก็น้อยนะคะ วันนี้ Keep Me Busy Podcast เลยจะมาชวนคุยถึงเรื่อง Tips and Tricks วิธีการรับมือกับ Post Vacation Blues หรืออาการเศร้าหลังวันหยุดยาว เพื่อที่เราจะได้มีความสุขทั้งระหว่างวันหยุดและหลังวันหยุดค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปฟังกันเลย
Keep Me Busy Episode ที่ 233 จะชวนคุณผู้ฟังมาเป็น Lifelong learner หรือนักเรียนรู้ตลอดชีวิตกันค่ะ เพราะในปัจจุบันเราต้องพบกับความท้าทายมากมาย ทั้งความรู้ที่อายุสั้นลง การแข่งขันที่สูงขึ้นจากทั้งมนุษย์ด้วยกันและการเข้ามาของ AI และเทคโนโลยีต่าง ๆ ทักษะการเรียนรู้และการออกแบบการเรียนรู้แบบต่อเนื่องเลยมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ เลยอยากจะมาแชร์ 10 วิธีการพัฒนาตัวเองให้เป็นนักเรียนรู้ตลอดชีวิตกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปฟังกันเลย
เรียกได้ว่าเกือบทุกประเทศตื่นตระหนกไปตาม ๆ กัน เมื่อโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาประเทศมาตรการภาษีใหม่เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา เพราะอะไรทำไมทรัมป์ถึงตัดสินใจขึ้นภาษี อีพีนี้ StartYup มีทฤษฏีที่น่าสนใจที่อาจเป็นเบื้องหลังการตันสินใจของทรัมป์มาเล่าให้ฟัง
แผ่นดินไหวที่ผ่านมา เราเห็นความพยายามและตั้งใจของทีม ผู้ว่าฯ กทม. ที่ทำได้ดีในเรื่องของการสื่อสารและการช่วยเหลือผู้ประสบภัย แต่ในอีกด้านหนึ่ง กทม. เป็นการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษ ที่มีที่มาจากการเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ ชัชชาติ เป็นคนที่ได้รับการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย จึงไม่ได้เป็นผู้ว่าที่แข็งแกร่งแต่เพียงภาพที่เป็นไวรัลทางโซเชียลมีเดีย แต่ยัง "แข็งแกร่ง" จากการสนับสนุนจากประชาชนผู้ไปเลือกตั้ง และประชาธิปไตย แต่จากคลิปการประชุมสภากรุงเทพ เราได้เห็นว่า ตัวชัชชาติเอง ไม่สามารถดำเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณบางประการได้ เนื่องจากไม่ผ่านการพิจารณาจากสมาชิกสภากรุงเทพ (สก.) บางท่าน การมีการเลือกตั้งทางตรง แม้จะมีข้อดีในการได้ผู้นำจากประชาชนเลือกตั้งโดยตรง แต่หากขาดการสนับสนุนในสภา ก็ยากที่จะดำเนินนโยบายที่สัญญากับประชาชนไว้ได้ และอาจกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนในระยะยาว คำถามต่อมาคือ ในอนาคต ผู้ว่าที่มาจากการเลือกตั้ง จำเป้นต้องมี สก. ของตัวเอง จึงจะสามารถทำงานได้อย่างคล่องตัวหรือไม่
เมื่อพูดถึงความตาย คนส่วนใหญ่มักมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่อยากให้เกิด อย่างไรก็ดี สิ่งที่หนีไม่พ้นก็คือคำถามที่ว่า แล้วการวางแผนสำหรับ "การจากไป" มีความสำคัญมากน้อยเพียงใด Tell Me Why จะชวนมาพูดถึงกรณีของ Daniel Kahneman นักจิตวิทยาชื่อดัง ผู้เขียนหนังสือ Thinking, Fast and Slow ที่ได้ตัดสินใจจากโลกนี้ไปด้วยวิธี "การุณยฆาต"
วันนี้จะมาชวนคุยเรื่อง อะไรที่สำคัญเก็บไว้ vs อะไรที่ไม่จำเป็นก็ทิ้งไป ซึ่งเป็นเรื่องที่สรุปความคิดได้จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งในของการเตรียมพร้อมรับมือ การเพิ่มทักษะ และการจัดลำดับความสำคัญในชีวิตกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปฟังกันเลย
ตั้งแต่มีการกำหนดให้มีองค์กรตามรัฐธรรมนูญในรัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นต้นมา องค์กรที่เรามักเรียกกันว่าองค์กรอิสระ ก่อนจะมีการกำหนดชื่อให้อิสระ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมีอิสระนั้น องค์กรอิสระที่เราเห็นว่ามีอำนาจมากแทบจะเหนือฝ่ายการเมืองที่ยึดโยงกับประชาชนนั้น มีอำนาจมากกว่าที่เห็นในปัจจุบันเสียอีก สาเหตุก็มาจากการเมืองภาคประชาชนที่กำลังเบ่งบานในยุคสมัยนั้นมีความไม่ไว้วางใจนักการเมืองในระบบ เช่น ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร แต่ในปัจจุบัน กลับกลายมาเป็นอาวุธที่ทิ่มแทงนักการเมืองที่เป็นตัวแทนที่ประชาชนไว้วางใจเสียเอง ไม่ว่าจะเป็น กกต หรือ วุฒิสภา ที่มีอำนาจและอิทธิพลในการกำหนดที่มาของกรรมการในองค์กรอิสระที่มีอำนาจชี้ขาดชีวิตทางการเมืองของนักการเมือง เราจึงอภิปรายกันในเรื่องขอบเขตอำนาจและความเหมาะสมขององค์กรเหล่านี้ในระบอบประชาธิปไตยที่ควรจะเป็นกัน
สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้เราจะมาคุยกันกับเหตุการณ์อาคารของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินที่ถล่มจากผลกระทบแผ่นดินไหว ซึ่งวันนี้จะเป็นการแบ่งปันและพูดคุยกันในมุมความเห็นของผมเองกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถ้าพร้อมแล้ว มาฟังกันเลยครับ
วันนี้เราพูดถึงเรื่องการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นในระดับมหาวิทยาลัย หรือในระดับมัธยม ว่ามีการได้รับการสนับนุนจากรัฐมากน้อยแค่ไหน รวมไปถึงการเสียโอกาสของคนไม่ความรู้แต่ไม่มีทุนทรัพย์ ประกอบกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจ การเข้ามาของเสรีนิยมใหม่ ทำให้ต้องเกิดการลดต้นทุน ค่าใช้จ่ายของรัฐต่าง ๆ กระทบกระเทือนถึงการศึกษา อันเป็นต้นทุนของประชากรในประเทศ เราจะทำอย่างไรให้ประชากรในประเทศมีคุณภาพต่อตลากแรงงาน ยังไม่สนับถึงคุณภาพชีวิตของผู้ที่ทำการสอน ครู หรืออาจารย์ ที่มีเงื่อนไขการจ้างงานที่ย่ำแย่
สวัสดีค่ะ วันนี้ Keep Me Busy episode ที่ 231 จะชวนคุณผู้ฟังมาเป็นเพื่อนร่วมงานที่ดีและน่ารักกัน Episode นี้ได้แรงบันดาลใจมาจากงานเลี้ยงขอบคุณตอนปิดโปรเจคของเอมและเพื่อนร่วมงานค่ะ ทำให้รู้เลยว่า เรานี่โชคดีจริง ๆ ที่มีเพื่อนร่วมงานที่ดีและน่ารักขนาดนี้เลยอยากแบ่งปันประสบการณ์นี้ให้ฟังกัน ถ้าพร้อมแล้วไปฟังกันเลย
โศกนาฏกรรมของหญิงสาวทั้งห้าแห่งตระกูลลิสบอน
งานที่ใช่หรือเงินที่ชัวร์? เคยเจอทางแยกที่ต้องเลือกระหว่าง "งานที่รัก" กับ "งานที่รวย" ไหม Tell Me Why จะชวนมาคุยและแชร์มุมมองผ่านประสบการณ์และงานวิจัยที่จะช่วยวัยทำงานในการตัดสินใจเรื่องการทำงาน
วันนี้ Keep Me Busy Podcast จะมาชวนคุยเรื่องการจัดระเบียบชีวิต (ภาคต่อ) หลังจากที่ภาคก่อนหน้าใน ep.213 ได้รับความสนใจล้นหลาม เลยอยากจะมาแชร์ Small Win ในด้านการจัดระเบียบชีวิตกันต่อ แอบบอกว่า episode นี้เหมาะมากสำหรับใครที่กำลังจะไปสัปดาห์หนังสือและกำลังเดินทางท่องเที่ยวในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้ ถ้าอยากรู้แล้ว ก็ไปฟังพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
จากหัวใจที่แหลกสลาย…เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้ด้วยน้ำผึ้งเพียงหยดเดียว
รู้หรือไม่ คลังสมบัติของ Mr. Beast เจ้าพ่อ YouTube ผู้ติดตามหลักร้อยล้าน ไม่ได้มาจากคอนเทนต์แต่คือ "ช็อกโกแลต" อีพีนี้เราจะมาฟังเรื่องราวของ Mr. Beast and His Chocolate Factory กัน
สวัสดีค่ะ คุณผู้ฟัง วันนี้ Keep Me Busy Podcast จะมาแชร์ประสบการณ์ Gap Year 2 ปีในวัยใกล้ 40 ปี ให้ฟังกันค่ะ แม้ว่า Gap year หรือช่วงหยุดพัก 1-2 ปีของนักเรียนมัธยมก่อนเข้ามหาวิทยาลัย เพื่อหาประสบการณ์ชีวิตหรือตามหาสิ่งที่ชอบ สิ่งที่ถนัดก่อนเลือกเรียนในมหาวิทยาลัย แต่สำหรับวัยทำงานอย่างเราๆ เมื่อทำงานมาถึงจุดหนึ่งของการทำงานอาจจะถึงจุดอิ่มตัวและเกิดคำถามกับตัวเองเหมือนกันว่า จริงๆแล้วตัวเราเก่ง, ถนัดหรือชอบทำอะไรกันแน่ วันนี้เลยถือโอกาสมาแบ่งปันประสบการณ์ Gap Year ของเอมให้ฟังกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปฟังกันเลย
มาทำความรู้จักกับแบรนด์ 'Mixue' ร้านไอศกรีม-ชานมที่ตอนนี้มีสาขามากที่สุดในโลกจากประเทศจีน และล่าสุดเพิ่งจดทะเบียนเข้าตลาดหุ้นฮ่องกงเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา โมเดลธุรกิจของ Mixue คืออะไร ไปติดตามได้ใน Start Yup อีพีนี้
ทำไมบุคคลในแวดวงวิชาการที่เป็นต้นแบบแห่งความรู้ถึงหันไปสู่การทุจริตทางวิชาการ (academic fraud) Tell Me Why จะชวนไปสำรวจถึงสาเหตุและโครงสร้างเบื้องหลังที่ทำให้นักวิชาการบางคนตัดสินใจทุจริตงานวิจัย แล้วจะมีวิธีไหนบ้างไหมที่จะทำให้การทำงานวิจัยของนักวิชาการมีความโปร่งใสมากขึ้น