หากคุณกำลังตัดสินใจว่าองค์กรตนเองต้องการ Supply Chain แบบไหนและต้องลงทุนเท่าไหร่ หรือหากคุณเป็น หรือกำลังจะเป็น ผู้รับผิดชอบใน Supply Chain บริษัทแล้ว Guru Logistics Podcast จะได้นำเสนอแนวคิดและเทคนิค เพื่อให้สามารถฝ่าคลื่นการเปลี่ยนแปลง ท่ามกลางความรวดเร็วในการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย เพิ่มประสิทธิภาพในส่งมอบและเพิ่มการบริการที่ได้ใจลูกค้ามากขึ้น
ในทุกวิกฤติ ถ้ามีการจัดการโลจิสติกส์ที่ดีพอ องค์กรจะสามารถผ่านวิกฤติไปได้ในระดับหนึ่ง แต่จะมีแนวทางไหนที่สามารถนำไปใช้แล้วช่วยให้ลดต้นทุนได้ทันทีบ้าง นี่คือ 10 แนวทางลดต้นทุนโลจิสติกส์ที่ได้ผลทันที ตอนที่ 2 ไปฟังกันว่ามีแนวทางไหนบ้างที่องค์กรสามารถหยิบไปใช้ได้ ใน EP 95 (SCM)[SS2]: แนวทางลดต้นทุนโลจิสติกส์ที่ได้ผลทันที ตอนที่ 2 [คลินิคซัพพลายเชน] กับซีรี่ส์การบริหารจัดการซัพพลายเชนและโลจิสติกส์
ในทุกวิกฤติ ถ้ามีการจัดการโลจิสติกส์ที่ดีพอ องค์กรจะสามารถผ่านวิกฤติไปได้ในระดับหนึ่ง แต่จะมีแนวทางไหนที่สามารถนำไปใช้แล้วช่วยให้ลดต้นทุนได้ทันทีบ้าง นี่คือ 10 แนวทางลดต้นทุนโลจิสติกส์ที่ได้ผลทันที ตอนที่ 1 ไปฟังกันว่ามีแนวทางไหนบ้างที่องค์กรสามารถหยิบไปใช้ได้ ใน EP 91 (SCM)[SS2]: แนวทางลดต้นทุนโลจิสติกส์ที่ได้ผลทันที ตอนที่ 1 [คลินิคซัพพลายเชน] กับซีรี่ส์การบริหารจัดการซัพพลายเชนและโลจิสติกส์
เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส กับการมีเวลามากขึ้นเมื่อเกิดโควิด-19 มาเตรียมตัวเองให้พร้อมเพื่อรับกับโอกาสที่จะมีมาหลังโควิด-19 จบลง คนที่พร้อมคือคนที่ได้เปรียบเสมอ ไปฟังกันเลยค่ะว่า 8 หนทางพัฒนาตนเองต่อเนื่องเพื่อความสำเร็จมีอะไรบ้าง
โควิด-19 ทำให้หลายอย่างเปลี่ยนแปลงไป ทั้งเรื่อง Demand และ Supply ส่งผลให้หลายกิจการได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กิจการที่อยู่รอดผ่านโควิดไปได้ ต้องการรักษากิจการ ปรับปรุงกิจการและฟื้นฟูกิจการ พนักงานจึงเป็นส่วนสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนให้องค์กรสามารถผ่านไปได้อย่างมาก ไปฟังกันค่ะว่าทักษะที่สำคัญที่องค์กรต้องการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ว่านั้นน่ะ มีอะไรบ้าง กับซีรี่ส์เส้นทางอาชีพโลจิสติกส์ EP 89 (SCM)[SS2]: ทักษะที่ต้องการหลังเกิดโควิด-19 [อาชีพโลจิสติกส์]
การดำเนินชีวิตให้ประสบความสำเร็จดีอย่างที่ได้วางไว้ มีองค์ประกอบหลายอย่างที่จะช่วยให้เราประสบความสำเร็จ มีความสุข แน่นอนว่าการใช้ความรู้ความสามารถเพียงด้านเดียวคงจะไม่พอในการไปถึงจุดหมายปลายทาง การพัฒนาระดับความสามารถ (Quotient) ในด้านต่างๆ ของแต่ละบุคคลเลยเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิต และช่วยให้ชีวิตการทำงานดีขึ้นไปด้วย ไปฟังกันค่ะว่า IQ EQ SQ MQ AQ ดีต่อใจ ดีต่องาน ดีต่อชีวิตอย่างไร
เมื่อโควิด-19 มีผลกระทบกับระบบซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ทั้งในองค์กรและทั่วโลก กิจการควรตั้งคำถามกับระบบซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ตัวเองเพื่อให้สามารถปรับตัวและเอาตัวรอดจากวิกฤติโควิด-19 ไปฟังตัวอย่างคำถามที่ควรต้องถามกันเลยค่ะใน EP 87 (SCM)[SS2]: คำถามที่ต้องถามกับระบบซัพพลายเชนในองค์กรเมื่อเกิดโควิด-19 [คลินิคซัพพลายเชน] กับซีรี่ส์การบริหารจัดการซัพพลายเชนและโลจิสติกส์
บรรจุภัณฑ์เป็นหนึ่งในต้นทุนสินค้าอย่างหนึ่งที่มักจะไม่ค่อยโฟกัสกันมากเนื่องจากมีเปอร์เซนต์ต้นทุนต่ำเมื่อเทียบกับตัวอื่น แต่ในภาวะวิกฤติ ไม่ว่าต้นทุนไหนที่ลดได้ ก็น่าจะช่วยให้กิจการรอดจากวิกฤติได้ ไปฟังกันค่ะ กับ 5 วิธีง่ายๆในการลดต้นทุนบรรจุภัณฑ์
ในบางครั้ง เชื่อไหมว่า ปัญหาบางปัญหา มันเกิดจากการลืมทำเรื่องพื้นฐานไป เรามาทวนเรื่องพื้นฐานแรกๆ ในการจัดการคลังสินค้ากันค่ะ เพื่อทำให้คลังสินค้าเราดูดีและดูง่าย
ไปฟังกันค่ะว่า องค์กรใหญ่ๆด้านโลจิสติกส์ มีการประกาศ Vision Mission ไว้ว่าอย่างไรบ้าง
ใช้สารพัดเทคนิคมาปรับปรุงโลจิสติกส์แล้ว แต่ไม่เคยสำเร็จสักที เพราะมาจบเห่ด้วยเรื่องนี้เรื่องเดียว !! เป็นเรื่องน่าปวดหัวมากกับเรื่องๆ นี้ สรรหาสารพัดจะเทคนิคและวิธีการแก้ปัญหาโลจิสติกส์ ทั้งในคลังสินค้า หรือปัญหาสต็อก แต่ทำไมเรื่องมันไม่จบ โดยเฉพาะเรื่องเป้าหมายสต็อกถูกต้องให้ได้อย่างน้อย 95% เรื่องนี้ ไม่ว่าจะเทคนิคไหนก็ช่วยไม่ได้เลย ก็คือเรื่องของอะไร ไปฟังกันเลยค่ะ
ปัญหาที่น้องใหม่ในที่ทำงานจะต้องเจอแน่ๆ ทั้งน้องใหม่แบบจบใหม่ กับน้องใหม่ในสายงานใหม่ ลองมาฟังกันดูนะคะ ว่าทำงานวันแรกจะเป็นยังไงบ้าง
เมื่อ เจฟฟ์ เบโซส ซึ่งเป็น CEO ของ Amazon ได้ประกาศในจดหมายประจำปีของทางบริษัทว่า “การนำเสนอจะไม่ใช้ PowerPoint แต่ให้ใช้การเขียน Memo แทน" หมายความว่าอะไรและจะเป็นอย่างไร ถ้า SME ไทยจะเอามาใช้บ้าง เหมาะกับคนทำงานบ้่านเราหรือเปล่า ไปฟังกันค่ะเลยค่ะ กับ Podcast ซีรี่ส์การบริหารจัดการซัพพลายเชน "how to improve supply chain management"
สายอาชีพนี้ ในองค์กรใหญ่ๆ ล้วนต้องมีคนทำงานด้านนี้ โดยเฉพาะหลังเกิดการระบาดของโควิด-19 สายอาชีพนี้มีการเติบโตและต้องการกันมาก ไปฟังรายละเอียดกันเลยค่ะ ในคลิปนี้ “EP83 (SCM)[SS2]: 4 เหตุผลทำไมควรเลือกทำงานสายอาขีพซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ [อาชีพซัพพลายเชน]" กับซีรี่ส์การบริหารจัดการซัพพลายเชน "how to improve supply chain management"
ในการทำงานนั้น นอกจากความเชี่ยวชาญด้านงานที่ทำแล้ว ก็ยังต้องมีการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่จะก้าวหน้าไปยังระดับหัวหน้างาน ผู้จัดการ หรือผู้บริหาร ทักษะสำคัญในการเสริมการทำงานด้านซัพพลายเชน 6 ทักษะ สามารถเพิ่มเติมให้กับคนทำงานด้านนี้ได้ ติดตามฟังได้ในคลิปนี้ “EP82 (SCM)[SS2]: ทักษะสำคัญเสริมการทำงานด้านซัพพลายเชน [อาชีพซัพพลายเชน]" กับซีรี่ส์การบริหารจัดการซัพพลายเชน "how to improve supply chain management"
ในบางครั้งเราก็อาจจะมีอาการจิตตก คิดมาก คิดน้อยใจ คิดกังวล กลุ้มใจ Podcast นี้มาแบ่งปันให้ฟังกันค่ะว่า ถ้าเวลาที่เราจิตตก เราจะมีวิธีการจัดการมันยังไง ไปฟังกันได้เลยค่ะ กับ Podcast กระตุกต่อมความคิด พิชิตความสำเร็จกับ EP81 (กระตุกต่อม)[SS2]: จิตตกยังไม่ต้องเก็บ หาจิตใหม่มาใส่แทน
ถ้าจะตั้งเป้าหมายซัพพลายเชน โดยมีเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้อง ควรจะมีเป้าหมายอะไรบ้าง ติดตามฟังได้ในคลิปนี้ “EP77 (SCM)[SS2]: ตัวอย่างเป้าหมาย Supply chain ในยุคเทคโนโลยีที่กำลังโดดเด้งกว่าอะไร [คลีนิคซัพพลายเชน]" กับซีรี่ส์การบริหารจัดการซัพพลายเชน "how to improve supply chain management"
เป็นประโยคที่เป็นจริงเสมอ เพราะลูกค้าคือคนที่ซื้อสินค้า คนที่จ่ายค่าบริการให้ ถ้าลูกค้าไม่จ่าย ธุรกิจก็ไปไม่ได้ เพราะเงินลูกค้าคือรายได้ของธุรกิจ ถ้าเรามัวแต่คิดว่า เราเจ๋ง เราดี ลูกค้าต้องง้อ ยุคสมัยนี้ อาจไม่ใช่อย่างนั้น เพราะทางเลือกใหม่ๆ มีเกิดขึ้นมากมายในแต่ละวัน ไปติดตามฟังได้ในคลิปนี้ “EP76 (SCM)[SS2]: ระดับการบริการลูกค้าคือตัวชี้วัดความสำเร็จของธุรกิจ [คลีนิคซัพพลายเชน]" กับซีรี่ส์การบริหารจัดการซัพพลายเชน "how to improve supply chain management"
ในช่วงวิกฤติโควิด-19 ที่กลับมาระบาดใหม่อีกครั้งช่วงนี้ สิ่งที่ทุกคนควรมี ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของกิจการ เจ้าของธุรกิจ หรือคนทำงานทุกคนก็คือ "สติและสตังค์" ค่ะ ไปติดตามฟังได้ในคลิปนี้ “EP78 (SCM)[SS2]: สติและสตังค์ คือทางรอดทุกวิกฤติ [โควิด19] [คลีนิคซัพพลายเชน]" กับซีรี่ส์การบริหารจัดการซัพพลายเชน "how to improve supply chain management"
Lead time คือ key point สำคัญในกระบวนการซัพพลายเชน จะทำอย่างไร ให้ทุกอย่างมันเร็วได้ ไปติดตามฟังได้ในคลิปนี้ กับซีรี่ส์การบริหารจัดการซัพพลายเชน "how to improve supply chain management"
สำหรับใครที่ทำงานเกี่ยวกับซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ก็คงหวังไว้สักวัน ว่าเราจะก้าวหน้าไปจนถึงหัวหน้างานหรือผู้จัดการ ที่ได้ดูแลภาพรวมทั้งหมดของซัพพลายเชน การไปถึงจุดนั้น ต้องมีความรู้พื้นฐานที่สำคัญสำหรับการก้าวหน้าไปสู่ระดับหัวหน้างาน อาจจะมีมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับตำแหน่งนั้นๆ ทั้งนี้ ก็ไม่พ้น 5 ความรู้นี้ที่จะเป็นตัวตัดคะแนนว่าใครดีพอที่จะก้าวขึ้นไปอยู่ข้างบนบ้าง
9 คำถามที่ต้องการคำตอบแสดงวิสัยทัศน์ ทัศนคติและภาวะผู้นำในการเป็นหัวหน้างานระดับผู้จัดการคลังสินค้าและขนส่งมืออาชีพ ส่วนใครที่กำลังอยากก้าวหน้าไปเป็นผจก.คลังสินค้าในองค์กรใหญ่ๆ เตรียมหาคำตอบ 9 ข้อนี้ไว้ ถามมา ตอบได้ รับรอง ได้งานชัวร์ องค์กรไหน กำลังหาผู้จัดการคลังและขนส่งที่มรประสิทธิภาพ คุ้มค่าเงินเดือน และวางใจให้ดูแลคลังอันทีสมบัติมูลค่ามหาศาลของบริษัทไว้ละก็ ถามคำถามเหล่านี้และรอคำตอบ แล้วคุณจะได้สิ่งที่มีค่าที่สุดไว้ในมือ เพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์และแก้ปัญหาโลจิสติกส์ได้ในภายหน้า ติดตามฟังได้ในคลิปนี้ “EP75 (SCM)[SS2]: คำถามไว้สัมภาษณ์เพื่อเฟ้นหาผู้จัดการฝ่ายคลังและขนส่งที่ดีเยี่ยม ตอนที่ 2 กับพอดแคสต์การบริหารจัดการซัพพลายเชน "how to improve supply chain management" 9 คำถาม 9 คำตอบ 1 ผู้ทรงคุณค่าในองค์กร
การจะได้บุคลากรที่ดีเยี่ยม ต้องรู้ว่าคาดหวังที่จะได้ผลงานอะไรจากคนที่จะมาทำงานคลังสินค้าและขนส่งในตำแหน่งนี้เสียก่อน การทำอะไรหรือไปในทิศทางไหน ถ้าไปในทางที่ถูกตั้งแต่แรก มันจะง่ายและลดปัญหาในระหว่างทางมากทีเดียว แต่ถ้าไปผิดทางตอนแรก มันจะทำให้เกิดปัญหาคาใจ จนต้องมาผิดใจกันทีหลัง เสียดายเวลาที่ทำงานกันมา put the right man on the right job and get the best result เพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์และแก้ปัญหาโลจิสติกส์ได้ในภายหน้า ติดตามฟังได้ในคลิปนี้ “EP72 (SCM)[SS2]: คำถามไว้สัมภาษณ์เพื่อเฟ้นหาผู้จัดการฝ่ายคลังและขนส่งที่ดีเยี่ยม ตอนที่ 1 กับพอดแคสต์การบริหารจัดการซัพพลายเชน "how to improve supply chain management"
ใส่ใจคน ใส่ใจเวลา ใส่ใจสถานการณ์ คือขุมทรัพย์ทางความคิด จากหนังสือ สร้างตัวเองใหม่ให้เป็น I DOL
3 เทคโนโลยีที่พอเอามาใช้ได้ในสเตจเริ่มต้นกับการทำงานในคลังสินค้าให้เหมือนคลังแอมะซอน รวมถึงการบริหารจัดการให้เกิดผลงานของคลังสินค้าต่อกิจการ ไม่ต้องถึงขนาดเพิ่มกำไรให้องค์กร แต่แค่ช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการพัฒนาระบบซัพพลายเชนและโลจิสติกส์
บทที่ 18 จงกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และเปิดรับสิ่งใหม่ จากหนังสือ เพราะคุณทำได้มากกว่าที่คุณคิด
คนซื้อไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ซื้อ ใช้คือฝ่ายผลิต แต่ไม่ได้เป็นคนสั่งซื้อ ส่วนคนซื้อคือฝ่ายจัดซื้อที่เป็นคนซื้อแต่ไม่ได้เป็นคนใช้งาน 1 ในสาเหตุของปัญหาด้านระบบซัพพลายเชนและโลจิสติกส์
การลงมือทำเท่านั้นค่ะที่จะทำให้คุณรู้ว่าอะไรผิด อะไรถูก ทำแล้วสำเร็จ หรือทำแล้วผิดพลาด และนำสิ่งที่ได้จากความผิดพลาดมาปรับปรุงและทำให้มันดีขึ้นกว่าเดิมในครั้งต่อไป แล้วสุดท้าย การทำสิ่งเดิมซ้ำ ๆ จะทำให้คุณไม่เกิดความผิดพลาดในเรื่องนั้น ๆ อีก
อยากได้ระบบซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ที่ดีและมีมาตรฐานสำหรับบริษัท แต่เมื่อบุคลากรในบริษัท ไม่ได้เก่งด้านโซัพพลายเชน แล้วจะสามารถมีระบบซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ดีๆในบริษัทได้หรือเปล่า ไปฟังคำตอบกันค่ะ
ไม่จำเป็นว่า คุณต้องเป็นเจ้าของกิจการ หรือเป็นผู้บริหาร เท่านั้นที่ควรอ่าน แต่ถ้าหากคุณสนใจในการจัดการซัพพลายเชน หรือคุณทำงานเกี่ยวกับด้านซัพพลายเชน หนังสือเล่มนี้จะแนะนำมุมมองและแนวคิดในการพาองค์กรรอดจากวิกฤติได้อย่างไม่ยากเย็น
จะแก้ปัญหาที่แท้จริง ต้องใช้เวลาค้นหา อย่าคิดว่ามันเสียเวลา เมื่อเทียบการใช้เวลาในการถามคำถาม ยังน้อยกว่าเวลาที่เราเจอปัญหาที่ไม่ได้แก้อย่างแท้จริงด้วยซ้ำไป
ระบบโลจิสติกส์จะเป็นสิ่งที่ถูกให้ความสำคัญมากขึ้นเมื่อเกิดโควิด-19 แม้ก่อนหน้านี้จะมีความสำคัญอยู่แล้ว แต่พอจบโควิด-19 มันจะมีมากขึ้นไป เอสเอ็มอีกและกิจการต่างๆ คงไม่สามารถมองข้ามความสำคัญในการบริหารจัดการซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพได้อีกแล้ว
ทำไม บริษัทใหญ่ๆ ถึงใช้ Barcode ในการบริหารจัดการโลจิสติกส์ แล้วมีรหัสลับอะไรซ่อนอยู่ใน Barcode บ้าง
หลังจบ โควิด 19 ล่ะ new normal ที่เขาว่าๆกัน จะมีผลอะไรกับการทำธุรกิจของ SME และ startup บ้าน จะขอยกตัวอย่างเพื่อให้เป็นแนวทางในการให้ SME และ startup ที่ฟังอยู่ได้เริ่มเอาไปคิด วิเคราะห์แล้วเตรียมความพร้อมตัวเองให้มากที่สุด
ในเรื่องการเป็นคนเก่งแล้ว เคล็ดลับเรื่องการตลาดมีความสำคัญไม่แพ้เรื่องอื่น ๆ เลย
new normal หรือ ความปกติใหม่ นั่นคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนไป อาจมีอยู่หลายอย่างด้วยกัน ในที่นี้ ขอยกตัวอย่างที่น่าจะเห็นได้ชัดมาก ประมาณ 3 ประเด็น
อยากรู้หรือไม่ว่า คลังสินค้าเราแค่ "ดูได้" หรือ "ดูดี" ลองเช็คสุขภาพคลังสินค่าเบื้องต้น กับคำถามง่าย ๆไม่ต้องยุ่งยาก
คบคนดี เป็นศรีแก่ตัว คบคนชั่ว มืดมัวในวังวนของความล้มเหลว
ส่วนงานทั้ง 4 นี้เรียกได้ว่าเป็นขุนพลสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายการบริหารจัดการสต็อกให้มีประสิทธิภาพเลยหรือจะเรียกว่าเป็น 4 หัวใจแห่งขุนเขาเลยก็ได้
เป้าหมายหลักของการบริหารจัดการสต็อกให้มีประสิทธิภาพก็เพื่อเป้าหมาย 3 ข้อ คือ ลดต้นทุนจม ปรับระดับการบริการลูกค้าให้เหมาะสม และเพิ่มสภาพคล่องให้กับกิจการ หลายแนวทางเมื่อนำไปลงมือทำแล้วกลับพบอุปสรรค มีวิธีไหนบ้างที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายการบริหารสต็อกให้มีประสิทธิภาพอย่างง่าย ง่ายมาก ง่ายที่สุด
หากคุณสามารถอดทนรอคอยในวันที่ความสำเร็จจะมาส่งถึงบ้านคุณ นั่นเท่ากับคุณเอาชนะความท้อถอย และการหมดกำลังใจได้อย่างยอดเยี่ยม และหากคุณชนะตัวเองได้ ในชีวิตนี้คุณจะไม่มีวันพ่ายแพ้ต่ออะไรทั้งสิ้น
เป้าหมายหลักของการบริหารจัดการสต็อกให้มีประสิทธิภาพก็เพื่อเป้าหมาย 3 ข้อ คือ ลดต้นทุนจม ปรับระดับการบริการลูกค้าให้เหมาะสม และเพิ่มสภาพคล่องให้กับกิจการ หลายแนวทางเมื่อนำไปลงมือทำแล้วกลับพบอุปสรรค มีวิธีไหนบ้างที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายการบริหารสต็อกให้มีประสิทธิภาพอย่างง่าย ง่ายมาก ง่ายที่สุด
7 แนวทาง เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสต็อก บางแนวทางแค่ตัดสินใจวันนี้ พรุ่งนี้ก็ลงมือปรับปรุงได้เลย บางแนวทางก็อาจต้องลงทุนนิดหน่อย ต้องใช้เวลาในการเจรจาต่อรอง บางแนวทางก็ต้องใช้เวลาในการศึกษาและเตรียมข้อมูลกันก่อน
การพูดเพื่อให้คนอื่นเชื่อในคำพูดของเรานั้น เราต้องสร้างความมั่นใจให้ตนเองเสียก่อน หากเราไม่มั่นใจในสิ่งที่เราจะสื่อออกไปแล้ว ใครเล่าจะรับฟังและเชื่ออย่างที่เราอยากให้เป็น
การขาดประสิทธิภาพการบริหารจัดการสต็อก ส่งผลกับสภาพคล่องของกิจการ เพราะเงินจม เปลี่ยนเงินที่ออกจากกระเป๋าซ้ายมากระเป๋าขวาไม่ทันกัน เงินสำรองเลยหมด เงินหมุนเลยไม่หมุน ทำให้ต้องไปหาเงินมามากขึ้น มากขึ้น จนเกิดเป็นหนี้เป็นสิน
เหตุผลหลักใหญ่ๆ ที่ทำไมคนไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เพราะกลัวว่าระหว่างช่วงเปลี่ยนแปลง ตัวเองจะได้รับผลกระทบมาก จนผลงานตก หรือต้องทำงานลำบากมากขึ้น เหนื่อยมากขึ้น ต้องสร้างมุมมองใหม่ๆ ให้เขาได้รู้ ด้วยการไม่ตั้งคำถามว่า เราจะทำยังไง แต่ให้เริ่มการสร้างมุมมองใหม่ๆ ด้วยคำถามว่า ทำไมเราต้องทำ
บุคลิกภาพแบบกองหนุนหรือหลังฉาก เป็นคนที่ทำงานเงียบๆ อยู่บริเวณซอกมุมหนึ่งหรือหลังห้องอย่างมีความสุขกับงาน โดยไม่ยอมให้อะไรมากวนใจ
ถ้าเราจะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในคลังสินค้าหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งมอบทั้งความถูกต้องและความรวดเร็ว เราจะทำได้อย่างไรบ้าง
5 ส.ที่ควรทำ ใครๆ ก็ทราบ แล้ว 5 ส. ที่ไม่ควรทำล่ะ มีอะไรบ้าง
คนที่มีนิสัยช่างคิดติดวิเคราะห์ มักจะประกอบอาชีพพวกวิศวกร นักฟิสิกส์ แพทย์ อาจารย์มหาวิทยาลัย นักเศรษฐศาสตร์หรือนักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ แต่เขาอาจเลือกอาชีพที่ไม่ต้องใช้เทคนิคมากก็ได้อย่างเช่นนักเขียนหรือสถาปนิก คนประเภทนี้จะมีความพอใจมากถ้าได้วิเคราะห์ ได้สร้างวิธีการใหม่ใหม่หรือปรับปรุงแก้ไขระบบที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้น
ปัญหาในระบบซัพพลายเชน ถ้าให้ไล่เรียงลำดับความยากง่ายในการแก้ปัญหาแล้วละก็ กิจกรรมการบริหารคลังสินค้าเป็นสิ่งที่เริ่มต้นทำได้ง่ายที่สุด ขอแนะนำวิธีการเริ่มต้นแก้ปัญหาแบบง่ายๆ ในคลังสินค้าด้วยการเจาะเฉพาะพื้นที่ทำงาน
ตัวอย่างลักษณะของคนที่มีบุคลิกภาพแบบจ่าฝูง เช่น ชอบผจญภัย ทะเยอทะยาน ชอบทำงาน อยากเด่น หุนหันพลันแล่น เรียกร้องมากเหมือนกัน มุ่นเน้นที่การปฏิบัติ มีความชัดเจนในตัวเอง และมีความคิดริเริ่ม .