Living Well Podcast

Follow Living Well Podcast
Share on
Copy link to clipboard

ช่องสาระ ความรู้ สรรหาประเด็นที่น่าสนใจเรื่องของสุขภาพ โดยคุณหมอและทีมสหสาขาวิชาชีพ พร้อมเสิร์ฟเรื่องยากให้เข้าใจง่าย #สุขภาพดีไปด้วยกัน #คุยกับหมอ

BDMS Phuket


    • Nov 12, 2021 LATEST EPISODE
    • every other week NEW EPISODES
    • 18m AVG DURATION
    • 99 EPISODES


    Search for episodes from Living Well Podcast with a specific topic:

    Latest episodes from Living Well Podcast

    EP.99 โรคปอดอักเสบ วัยไหนก็เป็นได้ โดย พญ.ภัททมาภรณ์ ศิริรัตน์สัตยะกุล : โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโ

    Play Episode Listen Later Nov 12, 2021 11:36


    โรคปอดอักเสบ วัยไหนก็เป็นได้ โรคปอดอักเสบ หรือที่เราคุ้นหูว่า ปอดบวม เป็นโรคติดต่อทางระบบเดินหายใจ ที่พบบ่อยในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ และผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ระดับความรุนแรงของโรคปอดอักเสบจะแตกต่างกันไป ที่อันตรายที่สุดคือการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ โรคปอดอักเสบเกิดขึ้นได้อย่างไร เป็นแล้วจะอันตรายหรือไม่ ใครบ้างที่เสี่ยงต่อโรคปอดอักเสบ วันนี้ คุณหมอภัททมาภรณ์ ศิริรัตน์สัตยะกุล อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจและภาวะวิกฤตระบบการหายใจ มีคำตอบมาฝาก เรามาฟังกันเลยค่ะ

    EP.98 โรคหลอดเลือดสมอง รักษาทัน ป้องกันอัมพฤกษ์-อัมพาต โดย นพ.ศักดิ์สิทธิ์ กฤตลักษณ์กุล : โรงพย

    Play Episode Listen Later Oct 29, 2021 6:20


    โรคหลอดเลือดสมอง รักษาทัน ป้องกันอัมพฤกษ์-อัมพาต โรคหลอดเลือดสมอง หรือ สโตรก Stroke คือ ภาวะที่สมองขาดเลือด เมื่อสมองขาดเลือด จะทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ อาการแสดงออกมากน้อยขึ้นกับระดับความรุนแรง และตำแหน่งของสมองที่ถูกทำลาย เช่น ชาหรืออ่อนแรงที่บริเวณใบหน้า ชาครึ่งซีกของร่างกายไม่ว่าจะเป็นบริเวณ ใบหน้า แขนขา บางรายอาจมีปัญหาเรื่องการพูด พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก เวียนศีรษะ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน เดินเซ ทรงตัวลำบาก หากมีอาการของโรคหลอดเลือดสมองควรรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล เพราะการมาโรงพยาบาลได้ทันท่วงทีจะลดความเสี่ยงของการเป็นโรคอัมพฤกษ์-อัมพาตเฉียบพลันจากโรคนี้ได้ ถ้าหากมีอาการแล้วต้องรีบมาหาหมอภายในระยะเวลาเท่าไหร่? จึงจะลดโอกาสการเกิดภาวะทุพพลภาพและลดอัตราการเสียชีวิตได้นั้น วันนี้ คุณหมอศักดิ์สิทธิ์ กฤตลักษณ์กุล อายุรแพทย์ระบบประสาทและสมอง มีคำตอบมาฝาก เรามาฟังกันเลยค่ะ

    EP.97 ปฏิวัติการมองเห็นด้วยเลนส์แก้วตาเทียมชนิดหลายระยะ

    Play Episode Listen Later Oct 26, 2021 31:01


    โดย นพ.กัปตัน วิริยะลัพภะ :โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

    EP.96 รู้ทัน ภัยเงียบ โรคกระดูกพรุน โดย นพ.มานพ จันทนพันธ์ : โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์

    Play Episode Listen Later Oct 21, 2021 9:57


    รู้ทัน ภัยเงียบ โรคกระดูกพรุน กระดูกพรุน เป็นปัญหาของคนทุกเพศทุกวัยโดยเฉพาะผู้หญิง และผู้สูงอายุ ซึ่งเกิดจากแคลเซียมในร่างกายไม่เพียงพอ ทำให้ความหนาแน่นของกระดูกน้อยลงจนเกิดการแตกหักได้ง่าย โรคนี้เป็นภัยเงียบที่ไม่มีสัญญาณเตือนใด ๆ ส่วนมากจะตรวจพบจากการหกล้มหรือกระแทกจนกระดูกหัก หรือมาพบแพทย์เพราะมีปัญหาตัวเตี้ยลง หลังค่อมหรือหลังโก่ง... แต่สามารถพบเจอโรคนี้ได้ผ่านการตรวจความหนาแน่นของกระดูก ซึ่งจะทำให้เราเตรียมตัวรับมือได้ทันก่อนเกิดความเสี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาต วันนี้ คุณหมอมานพ จันทนพันธ์ สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญมะเร็งนรีเวช ผ่าตัดผ่านกล้องและมีบุตรยาก มีคำตอบมาฝาก เรามาฟังกันเลยค่ะ

    EP.95 อาการแบบนี้เป็นภูมิแพ้ หรือแค่หวัด โดย ผศ. พญ.จิตติมา เวศกิจกุล : โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจ

    Play Episode Listen Later Oct 15, 2021 16:44


    อาการแบบนี้เป็นภูมิแพ้ หรือแค่หวัด โรคภูมิแพ้และหวัด สามารถแยกความแตกต่างได้โดยที่โรคภูมิแพ้อากาศ เกิดจากการตอบสนองของร่างกายที่ไวต่อสารก่อภูมิแพ้มากกว่าปกติ จะมีอาการคันจมูก คันตา น้ำตาไหลร่วมด้วย ซึ่งต่างกับโรคหวัด ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส จะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล โดยช่วงแรกน้ำมูกจะใสแล้วค่อย ๆ ข้นขึ้น ปวดเมื่อยตามตัว บางรายอาจมีไข้ร่วมด้วย วันนี้ คุณหมอจิตติมา เวศกิจกุล กุมารแพทย์เฉพาะทางโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันในเด็ก ชวนมาทำความรู้จักกับโรคทั้งสอง เราไปฟังกันเลยค่ะ

    EP.93 คุณแม่ตั้งครรภ์ ต้องตั้งการ์ดอย่างไร ในยุคโควิด-19 โดย นพ.อรรถพล จิตต์วิวัฒน์ :โรงพยาบาลกร

    Play Episode Listen Later Oct 12, 2021 25:20


    ในภาวะสถานการณ์แบบนี้ แน่นนอนว่าคงสร้างความกังวลใจให้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ในยุค สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่รู้ตัวว่ากำลังตั้งครรภ์คงต้องรับมือ รักษาครรภ์ให้ปลอดภัยไปอีก 9 เดือนเพื่อให้ลูกน้อยได้รอดออกมาสมบูรณ์แข็งแรง

    EP.93 กินเจ กินอย่างไร ไตไม่พัง โดย พญ.แสงเดือน สำราญทรัพย์ : โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์

    Play Episode Listen Later Oct 8, 2021 25:12


    กินเจ กินอย่างไรไตไม่พัง โปรตีนในอาหารเจส่วนใหญ่ทำจากเต้าหู้ ฟองเต้าหู้และถั่ว ที่มีฟอสฟอรัสค่อนข้างสูง ซึ่งอาจส่งผลต่อระดับฟอสฟอรัสในเลือดได้ ผู้ป่วยโรคไตสามารถทานเจได้ หากได้รับคำปรึกษาจากแพทย์เฉพาะทาง หรือนักกำหนดอาหาร เพราะผู้ป่วยโรคไตแต่ละระยะมีความเข้มงวดในการควบคุมอาหารที่ต่างกัน > ทานเค็ม ทำให้เป็นไตวายเรื้อรังได้จริงเหรอ ? > ปริมาณความเค็มของแต่ละคนไม่เท่ากัน แล้วเท่าไหร่ถึงจะพอดี ? วันนี้ คุณหมอแสงเดือน สำราญทรัทย์ อายุรแพทย์โรคไต มีคำแนะนำมาฝาก เราลองไปฟังกันเลยค่ะ

    EP.92 สุขภาพดี วัยสูงอายุ โดย นพ.ชัยวัฒน์ สวนยา และ นพ.ธันวา ธีรัตพชรากุล : โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโ

    Play Episode Listen Later Sep 30, 2021 10:51


    สุขภาพดี วัยสูงอายุ เมื่ออายุที่มากขึ้นส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายถดถอยลง ผู้สูงอายุจึงเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทั้งสุขภาพกายและจิตใจได้ง่ายขึ้น แต่การดูแลตัวเองอย่างดีอาจช่วยชะลอความเสื่อมนั้นได้ วัยผู้สูงอายุจึงเป็นวัยที่ต้องได้รับการดูแลเฉพาะที่แตกต่างจากวัยอื่น ๆ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสม มีสุขภาพแข็งแรงทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อลดปัญหาทั้งต่อผู้สูงอายุเอง ต่อครอบครัว และสังคม การดูแลผู้สูงอายุต้องให้ความสำคัญในด้านใดบ้าง? วันนี้ คุณหมอชัยวัฒน์ สวนยา แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และคุณหมอธันวา ธีรัตพชรากุล อายุรแพทย์ มีคำแนะนำมาฝาก เราลองไปฟังกันเลยค่ะ

    EP.91 เปิดตำราฟิตร่างกายฉบับมือใหม่ โดย คุณนามชนก สีหยาตรา นักวิทยาศาสตร์การกีฬา :โรงพยาบาลกร

    Play Episode Listen Later Sep 28, 2021 29:02


    ก้าวแรกๆ ของคนที่เริ่มออกกำลังกาย ควรเตรียมพร้อมร่างกายอย่างไร วันนี้นักวิทยาศาสตร์การกีฬามีคำแนะนำมาเล่าให้ฟัง

    EP.90 ไวรัสร้าย RSV โดย พญ.วรุณ ตั้งจิตราพิทักษ์ : โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์

    Play Episode Listen Later Sep 23, 2021 23:36


    RSV ไวรัสตัวร้าย เป็นโรคในระบบทางเดินหายใจ สามารถติดต่อกันได้ง่ายเพียงการสัมผัสใกล้ชิด หรือสัมผัสสารคัดหลั่งทางตา จมูก และทางลมหายใจ ช่วงนี้ภูเก็ตเจอทั้งฝน ทั้งมรสุม ทำให้อากาศชื้น เจ้าไวรัสร้าย RSV กำลังระบาด หากลูกน้อย มีไข้ มีเสมหะ หายใจเหนื่อย หายใจมีเสียงหวีด หายใจครืดคราด ให้รีบพบแพทย์ทันที ไวรัส RSV กับไข้หวัด แตกต่างกันอย่างไร ? อันตรายถึงชีวิตจริงหรือไม่ ? วันนี้ คุณหมอวรุณ ตั้งจิตราพิทักษ์ กุมารแพทย์ มีคำตอบมาฝาก เราลองไปฟังกันเลยค่ะ

    EP.89 โพรไบโอติกส์ จุลินทรีย์ดี ฮีโร่ประจำลำไส้ โดย พญ.วรมน พลายชุม : โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์

    Play Episode Listen Later Sep 17, 2021 31:57


    โพรไบโอติกส์ จุลินทรีย์ดี ฮีโร่ประจำลำไส้ โพรไบโอติกส์ มักพบในนมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ต ที่ช่วยในการทำงานของระบบทางเดินอาหารและระบบอื่น ๆ ของร่างกาย ช่วยผลิตสารต่อต้านหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคได้ ดังนั้น โพรไบโอติกส์จึงช่วยทำให้เกิดความสมดุลทั้งระบบของร่างกาย โพรไบโอติกส์ คืออะไร ? มีความสำคัญอย่างไรต่อสุขภาพ ? วันนี้ คุณหมอ.วรมน พลายชุม อายุรแพทย์ทั่วไป มีคำตอบมาฝาก เรามาทำความรู้กับจุลินทรีย์ตัวจิ๋วกันเลยค่ะ

    EP.88 สวยได้ในไทย ไม่ต้องบินไกลถึงเกาหลี โดย นพ.สงวน คุณาพร : โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์

    Play Episode Listen Later Sep 10, 2021 20:07


    สวยได้ในไทย ไม่ต้องบินไกลถึงเกาหลี สาว ๆ ที่อยากสวยแต่โควิดระบาดแบบนี้จะไปเกาหลีก็คิดหนัก จริง ๆ แล้วทำศัลยกรรมในไทยก็สวยปังได้ ไม่ต้องบินไกลถึงเกาหลี เพราะที่ PPSI เรามีแพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมตกแต่ง ที่ผ่านการรับรองโดยสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งทั้งไทยและต่างประเทศ … ไม่ใช่แค่ผ่านการรับรอง แต่สมาคมฯ จะสนับสนุนความรู้และเทคโนโลยีให้แพทย์อย่างต่อเนื่อง มั่นใจได้เลยว่าทำศัลยกรรมที่ PPSI คุณจะได้รับการรักษาที่เหมาะสม ปลอดภัย ตามมาตรฐานระดับสากล (JCI)

    EP.86 การผ่าตัดรักษามะเร็งลำไส้ตรงโดยวิธีการเก็บกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก (Sphincter Saving Surgery)

    Play Episode Listen Later Sep 7, 2021 34:37


    โดย ศ.(พิเศษ) ดร. นพ.อัฑฒ์ หิรัณยากาศ โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

    EP.86 แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวไว ด้วยเทคนิคการผ่าตัดผ่านกล้องแบบ MIS นพ.ธรณิศ ตันติพิริยะกิจ : โร

    Play Episode Listen Later Sep 3, 2021 6:18


    แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวไว ด้วยเทคนิคการผ่าตัดผ่านกล้องแบบ MIS การผ่าตัดผ่านกล้อง ด้วยเทคนิค MIS เป็นการผ่าตัดโดยการเจาะผ่านช่องท้องใกล้บริเวณอวัยวะที่ต้องการผ่าตัด เพื่อสอดอุปกรณ์ผ่าตัดและกล้องเพื่อบันทึกภาพ และส่งมายังจอซึ่งทำหน้าที่แทนตาของศัลยแพทย์ เพื่อให้การผ่าตัดสะดวกขึ้น ดีกว่าการผ่าตัดแบบเดิมอย่างไร? การผ่าตัดผ่านกล้องแบบ MIS ใช้กับอวัยวะใดได้บ้าง? วันนี้ คุณหมอธรณิศ ตันติพิริยะกิจ ผู้อำนวยการศูนย์ผ่าตัดผ่านกล้อง มีคำตอบมาฝาก เรามาฟังกันเลยค่ะ

    EP.85 มดลูกโตอะดีโนมัยโอซิสกับภาวะมีบุตรยาก โดย นพ.มานพ จันทนพันธ์ : โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน

    Play Episode Listen Later Aug 26, 2021 11:01


    ภาวะมดลูกโต อะดีโนไมโอซิส ฟังดูอาจไม่คุ้นหู แต่ถ้าบอกว่าเป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ สาว ๆ หลายคนคงร้องอ๋อทันที โดยเฉพาะกับผู้ที่วางแผนมีบุตร เพราะภาวะนี้เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้มีบุตรยาก ใครเป็นกลุ่มเสี่ยง? เป็นแล้วจะมีอาการอย่างไร? รักษาด้วยวิธีไหนได้บ้าง? วันนี้ คุณหมอมานพ จันทนพันธ์ สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญมะเร็งนรีเวช ผ่าตัดผ่านกล้องและมีบุตรยาก มีคำตอบมาฝาก เรามาฟังกันเลยค่ะ

    EP.84 หน้าก็ต้องแต่ง Maskก็ต้องใส่ ทำยังไง? ไม่ให้เป็นสิว โดย พญ.วริษฐา ดารารัตนโรจน์ :โรงพยาบาลกร

    Play Episode Listen Later Aug 24, 2021 29:46


    ในยุคปัจจุบันที่มีการระบาดของ Covid-19 เราจำเป็นจะต้องสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัส แต่เมื่อจำเป็นต้องใส่เป็นประจำทุกวันนั้น ก็ทำให้เกิดปัญหาผิวตามมาได้คือ สิวนั่นเอง

    EP.83 เนื้องอกมดลูก วัยไหนก็เป็นได้ โดย นพ.ชัยวิทย์ วนาโรจน์ : โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์

    Play Episode Listen Later Aug 20, 2021 15:07


    ประจำเดือนผิดปกติสัญญาณร้ายเนื้องอกมดลูก เนื้องอกมดลูก โรคยอดฮิตของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ เกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจนกระตุ้นให้เกิดเป็นเนื้องอก โดยเนื้องอกจะค่อย ๆ เพิ่มขนาดขึ้นอย่างช้า ๆ ทำให้สาว ๆ ไม่ทันสังเกต แต่เนื้องอกสามารถมีขนาดลดลงได้หากเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรือที่เรียกว่าวัยทอง เนื้องอกมดลูกสามารถพบได้หลายตำแหน่ง เช่น บริเวณในกล้ามเนื้อมดลูก บริเวณที่ผิวด้านนอกมดลูก และบริเวณเนื้องอกที่โพรงมดลูก การรักษาเนื้องอกมดลูก หากไม่มีอาการไม่จำเป็นต้องรักษาใด ๆ เพียงตรวจอัลตร้าซาวด์เป็นระยะ เพื่อติดตามดูขนาดของเนื้องอก แต่สำหรับผู้ที่มีอาการก็จำเป็นที่ต้องได้รับรักษา เริ่มจากการให้ยา หากไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาจำเป็นที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

    EP.82 มะเร็งทางนรีเวช น่ากลัวแค่ไหน? โดย นพ.มานพ จันทนพันธ์ : โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์

    Play Episode Listen Later Aug 13, 2021 13:39


    มะเร็งทางนรีเวช หรือ มะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์ผู้หญิง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของผู้หญิง โดยปัจจัยสำคัญเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือประวัติการเป็นมะเร็งของคนในครอบครัว ที่ทำให้ผู้หญิงไทยเป็นโรคมะเร็งนรีเวชกันมากขึ้น ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก และมะเร็งรังไข่ เพราะมะเร็งทางนรีเวชสามารถเป็นได้ทุกช่วงอายุ ดังนั้นผู้หญิงทุกคนควรหมั่นสังเกตตัวเอง หากพบว่ามีอาการผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เฉพาะทาง รวมถึงการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำจากแพทย์

    EP.81 อยากเป็นคุณแม่แต่ยังอยู่ในยุคโควิดต้องทำอย่างไร? โดย พญ.ศศิญา เมธาธราธิป:โรงพยาบาลกรุงเ

    Play Episode Listen Later Aug 10, 2021 12:48


    ในสถานการณ์แบบนี้ การตั้งครรภ์คงน่ากังวลใจมากกว่าเดิม มาฟังข้อมูลกันดีกว่า ว่าผู้หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงมากน้อยแค่ไหน และส่งผลกระทบต่อคุณแม่และเด็กในครรภ์อย่างไรบ้าง?

    EP.80 ครรภ์คุณภาพของคุณแม่ ต้องดูแลอย่างไร? โดย นพ.ชัยวิทย์ วนาโรจน์ : โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน

    Play Episode Listen Later Aug 5, 2021 18:15


    การฝากครรภ์ ที่ดีที่สุดควรฝากตั้งแต่ที่ทราบว่าตั้งครรภ์ เพื่อให้คุณหมอได้มีการติดตามพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ ตลอดจนให้คำแนะนำคุณแม่ในการปฏิบัติตัวระหว่างการตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้อง ให้มีสุขภาพที่แข็งแรงจนกระทั่งคลอดอย่างปลอดภัย และหากพบความผิดปกติบางอย่างของคุณแม่และลูกน้อยระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น ความผิดปกติของรก ความพิการของลูกน้อย ภาวะเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการมีชีวิตรอดของลูกน้อย หรือโรคบางชนิดที่สามารถถ่ายทอดทางกระแสเลือด คุณหมอจะได้วินิจฉัยหาแนวทางป้องกัน หรือให้การรักษาได้อย่างทันท่วงที เตรียมความพร้อมเพื่อเป็นคุณแม่ที่มีครรภ์คุณภาพต้องทำอย่างไรบ้าง ไปฟังคุณหมอกันเลยค่ะ

    EP.79 กินอย่างไร ไตไม่พัง โดย พญ.ปฐมาภรณ์ ลือสัตย์จา : โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์

    Play Episode Listen Later Jul 29, 2021 11:41


    คนส่วนใหญ่มักเคยได้ยินว่า 'ทานเค็ม' = 'เสี่ยง โรคไต' การรับประทานเค็มไม่ได้เป็นสาเหตุเดียวที่ทำให้เกิดโรคไต ยังมีสาเหตุอื่น ๆ เช่น พันธุกรรม อาจเป็นมาตั้งแต่กำเนิดหรือค่อย ๆ แสดงอาการในภายหลัง เกิดจากโรคอื่น ๆ ที่มีผลกระทบกับไต เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไม่ใช่เพียงการทานอาหารรสเค็ม แต่ยังรวมไปถึงหวานจัด หรือเผ็ดจัดด้วย ดื่มน้ำน้อยเกินไป ไม่ออกกำลังกาย และมีความเครียดสะสม โรคไต เป็นแล้วไม่จำเป็นต้องเสียชีวิต ลดความเสี่ยงการเป็นโรคไตได้ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่ปรุงรสมากเกินไป ดื่มน้ำให้เพียงพอวันละ 8 – 10 แก้ว ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม รวมถึงรักษาโรคประจำตัวต่าง ๆ กับแพทย์ ไม่ซื้อยารับประทานเอง และตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อติดตามการทำงานของไต และเมื่อคนที่คุณรักเป็นโรคไตต้องดูแลอย่างไร? ไปฟังคุณหมอเฉพาะทางโรคไตกันเลยค่ะ

    EP.78 3 อันดับ โรคระบบประสาทและสมองที่คนไทยเป็นมากที่สุด โดย พญ.ธาวิณี ชีวไมตรีวงศ์ : โรงพยาบาล

    Play Episode Listen Later Jul 27, 2021 18:58


    ระบบประสาทและสมองเป็นอวัยวะที่มีความความสำคัญ เนื่องจากสมองเป็นศูนย์รวมของระบบประสาทที่ควบคุมกลไกต่างๆ ของร่างกายให้ทำงานร่วมกับการควบคุมความคิด ความจำ ตอบสนองด้วยการสั่งงานไปยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ปัจจุบันคนไทยป่วยโรคระบบประสาทและสมองเพิ่มขึ้น มีรายละเอียดเพิ่มเติมยังไง ติดตามฟังต่อที่นี้

    EP.77 เอาชนะภูมิแพ้ด้วยวัคซีน โดย ผศ. พญ.จิตติมา เวศกิจกุล : โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์

    Play Episode Listen Later Jul 22, 2021 3:22


    “ภูมิแพ้” เป็นโรคเรื้อรังที่พบบ่อยในเด็กซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการและคุณภาพชีวิต ในบางกรณี เราจะพบว่าโรคภูมิแพ้รักษาด้วยยาแล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการดีขึ้นแต่ไม่สามารถลดยาที่ทานลงได้ วัคซีนภูมิแพ้จึงเป็นทางออกของเด็กที่ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้เรื้อรังและรุนแรง การรักษาภูมิแพ้ด้วยวัคซีนจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมอเฉพาะทางและบุคลากรทางการแพทย์ที่มีประสบการณ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นการให้สารก่อภูมิแพ้ที่ผู้ป่วยแพ้เข้าไปในร่างกายทีละน้อย จึงมีโอกาสแพ้หรือหมดสติได้ แม้การรักษาด้วยภูมิแพ้จะต้องใช้ระยะเวลารักษาต่อเนื่องนาน 3-5 ปี แต่ก็นับว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับเด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้ เพราะหลังจากได้รับการรักษาด้วยวัคซีน ผู้ป่วยมักมีอาการดีขึ้น สามารถหยุดยา-ลดยาลง และหายขาดจากภูมิแพ้ได้

    EP.76 ซ่อมแซมเอ็นและกล้ามเนื้อด้วยPRP โดย นพ.คณิศร ไชยมณีกร : โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

    Play Episode Listen Later Jul 20, 2021 27:46


    ทำความรู้จักPRP เทคนิคใหม่ของการรักษาโรคทางกระดูก เอ็น และกล้ามเนื้อ PRP ใช้รักษาอาการบาดเจ็บของระบบโครงสร้างมนุษย์ เช่น เอ็น กล้ามเนื้อ กระดูก กระดูกอ่อน

    EP.75 ทำอย่างไรเมื่อเส้นเลือดสมอง ตีบ-แตก-ตัน โดย นพ.ศักดิ์สิทธิ์ กฤตลักษณ์กุล : โรงพยาบาลกรุงเ

    Play Episode Listen Later Jul 15, 2021 4:07


    โรคเส้นเลือดสมอง หรือ สโตรก (Stroke) เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเส้นเลือดสมอง เมื่อเส้นเลือดเริ่มเสื่อมลง โอกาสที่จะเป็นเส้นเลือดสมองตีบก็จะมีมากขึ้น หรือมีแรงดันจากหัวใจ ก็จะทำให้เส้นเลือดในสมองแตกได้ สาเหตุของการเกิดโรคเส้นเลือดสมอง มีทั้งสาเหตุที่สามารถควบคุมได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือดสูง โรคเบาหวาน และลดการสูบบุหรี่ สาเหตุที่ไม่สามารถควบคุมได้ คือ กรรมพันธุ์ เมื่อคนใดคนนึงในครอบครัว มีโรคเส้นเลือดสมอง ก็จะมีความเสี่ยงมากกว่ากลุ่มคนที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงของครอบครัว เมื่อสมองขาดเลือด จะทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ มีอาการแสดงออกมากน้อยขึ้นกับระดับความรุนแรง และตำแหน่งของสมองที่ถูกทำลาย เช่น ชาหรืออ่อนแรงที่บริเวณใบหน้า ชาครึ่งซีกของร่างกายไม่ว่าจะเป็นบริเวณ ใบหน้า แขนขา บางท่านอาจจะมีปัญหาเรื่องการพูด พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก เวียนศีรษะ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน เดินเซ ทรงตัวลำบาก หากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล การมาโรงพยาบาลได้ทันถ่วงทีจะลดความเสี่ยงของการเป็นโรคอัมพฤกษ์-อัมพาตเฉียบพลันจากโรคหลอดเลือดสมอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค

    EP.74 ยกโล่ป้องกันโรคต้อหิน โดย พญ.กัลยา เจษฎ์พัฒนานนท์ : โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

    Play Episode Listen Later Jul 13, 2021 26:57


    ต้อหินภัยร้ายที่มาเงียบๆ และอาจทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้ หากเป็นแล้วไม่สามารถทำให้การมองเห็นที่เสียไปแล้วจากโรคกลับมาได้ ดังนั้นการตรวจคัดกรองเพื่อให้ผู้ป่วยต้อหินต้งแต่ระยะเริ่มต้นจึงมีความสำคัญ เหมือนเป็นโล่ป้องกันก่อนที่โรคจะเกิดขึ้น

    EP.73 ฟันสวยด้วยวิธีดมยาสลบ โดย ทพญ.ทิพาพัฒน์ อรรถธรรม และ ทพญ.นุชนรี อัครชนียากร : โรงพยาบาลกรุ

    Play Episode Listen Later Jul 8, 2021 5:54


    ไม่ใช่แค่เด็กเท่านั้น แต่หากพูดถึงการทำฟัน ผู้ใหญ่หลาย ๆ ท่านอาจมีความรู้สึกกลัว กังวลกับการทำฟันจนเลือกที่จะหลีกเลี่ยงไม่ไปพบทันตแพทย์ตามกำหนด กว่าจะยอมไปพบ ปัญหาในช่องปากก็รุนแรงจนแก้ยาก หรือท้ายที่สุดอาจถึงขั้นสูญเสียฟันแท้ไป การสูญเสียฟันนี้เอง เป็นจุดเริ่มต้นของการขาดสารอาหาร เนื่องจากไม่มีฟันไปบดเคี้ยวอาหารได้ดีพอ ผู้ป่วยที่สุขภาพช่องปากไม่ดี รับประทานอาหารได้น้อยลง คุณภาพชีวิตรวมถึงความสุขอาจจะน้อยลงตามไปด้วย การทำฟันภายใต้การดมยาสลบ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ใหญ่ที่กลัวการทำฟัน หรือมีปัญหาในช่องปากมาก รวมถึงเด็กที่กลัวการทำฟัน หรือเด็กเล็ก เด็กสมาธิสั้น เด็กที่มีภาวะออทิสติก … แล้วการทำฟันภายใต้การดมยาสลบมีขั้นตอนซับซ้อนหรือไม่? ไปฟังจากคุณหมอทั้ง 2 ท่านกันเลย

    EP.72 เคลียร์ให้ชัด ลูกฉันเป็นหวัดหรือแพ้อากาศ โดย ผศ. พญ.จิตติมา เวศกิจกุล : โรงพยาบาลกรุงเทพส

    Play Episode Listen Later Jul 1, 2021 3:39


    ปัจจุบันเราพบเด็กที่มีอาการในระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ จาม ได้บ่อยขึ้น หลายครั้งคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองมักจะเข้าใจไปว่าลูกเราเป็นหวัด จึงให้ทานยารักษาอาการหวัดเองโดยไม่พบแพทย์ หลังจากทานยาเด็กมีอาการดีขึ้นแต่ทำไมไม่หายขาดสักที? รู้หรือไม่? โรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือที่รู้จักกันในชื่อ “แพ้อากาศ” เป็นโรคที่มีอาการคล้ายหวัดมาก เมื่อถูกกระตุ้นด้วยสารก่อภูมิแพ้ จะทำให้เด็กมีอาการไอ จาม และคันตาได้ ถึงแม้โรคนี้จะไม่อันตรายถึงชีวิต แต่ก็ส่งผลกระทบต่อการนอน การเรียนรู้ รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก คุณพ่อคุณแม่อย่างเรายอมไม่ได้แน่ ๆ ถ้าพัฒนาการของลูกน้อยต้องสะดุดเพราะภูมิแพ้ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเราเป็นโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ไม่ใช่แค่เป็นหวัด? ไปฟังหมอเฉพาะทางกันค่ะ

    EP.71 โรคยอดฮิตเด็กเปิดเทอม โดย นพ.สันติ ตันโชติกุล : โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

    Play Episode Listen Later Jun 29, 2021 27:14


    ในช่วงหน้าฝนแบบนี้ ทั้งเด็กเล็กและเด็กวัยเรียน มีความเสี่ยงที่จะป่วยได้ง่ายจากโรคติดต่อระหว่างเด็ก เช่น โรคมือเท้าปาก โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้หวัดตามฤดูกาล ไข้เลือดออก และอาหารเป็นพิษ ซึ่งแต่ละโรคมีอาการแตกต่างกัน ดังนั้นพ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรรู้ไว้ เพื่อสังเกตอาการของลูกๆ เรากันให้ดีนะครับ

    EP.70 UV ตัวร้ายกับโรคต้อลม-ต้อเนื้อ โดย พญ.โศภิตา อนันตมงคลกุล : โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์

    Play Episode Listen Later Jun 25, 2021 3:53


    ต้อลม-ต้อเนื้อ โรคตาใกล้ตัว ถ้าปล่อยไว้จะทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง! โรคต้อลมและต้อเนื้อเกิดจากรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ความร้อน ฝุ่น ควัน หรือการปล่อยให้ตาแห้งบ่อย ๆ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ใกล้ตัวมาก ๆ ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้จะทำให้เยื่อบุตาขาวเสื่อมและเป็นโรคต้อลม-ต้อเนื้อในที่สุด โดยต้อลมมีลักษณะเป็นก้อนเล็ก ๆ สีขาวเหลืองใสอยู่ที่เยื่อบุตาขาว ไม่เป็นอันตราย แต่หากต้อลมเสื่อมมากขึ้นและพัฒนาไปเป็นต้อเนื้อลามเข้าไปในตาดำ หากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษาอาจบดบังการมองเห็น หรือกดกระจกตาทำให้สายตาเอียงมากขึ้นได้ ลองจินตนาการว่าตื่นขึ้นมาแล้วมองหน้าคนที่เรารักไม่ชัดเจน ภาพที่เห็นรอบตัวเป็นภาพทับซ้อน พร่ามัว โลกของเราคงไม่สดใสเหมือนเดิม การมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนจึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมาก ... พบความผิดปกติของดวงตา หรือเข้าข่ายเป็นโรคต้อลม ต้อเนื้อ ต้องพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อพิจารณารักษาด้วยยาหรือการผ่าตัด เพื่อทวงคืนการมองเห็นและคุณภาพชีวิตที่สดใสกลับมาอีกครั้ง

    EP.69 ไซนัสอักเสบกับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดผ่านกล้อง โดย รศ. นพ.พีระพันธ์ เจริญชาศรี : โรงพยาบาล

    Play Episode Listen Later Jun 18, 2021 9:19


    ไซนัสอักเสบ เป็นภาวะที่เยื่อบุบริเวณโพรงอากาศข้างจมูกเกิดการอักเสบ บวม เพราะมีการติดเชื้อ จึงทำให้มีอาการคัดจมูก ตั้งแต่คัดแน่นจมูก มีเสมหะเหลืองเขียว ไอหรือเจ็บคอเรื้อรัง ปวดหัว ปวดแก้ม ลามไปถึงหูอื้อ หูอักเสบ หากมีอาการแทรกซ้อนรุนแรง อาจทำให้ปอดอักเสบ ลูกตาอักเสบ และสมองอักเสบได้ ไซนัสอักเสบสามารถรักษาได้ด้วยยา เช่น ยาสเตียรอยด์แบบพ่นเพื่อลดอาการอักเสบ ลดการบวมของเยื่อบุโพรงจมูก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค หากรักษาด้วยยาอย่างต่อเนื่องแล้วไม่ดีขึ้น แพทย์จะพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อระบายหนองในโพรงไซนัสและตัดเนื้อเยื่อที่มีการอักเสบออก ซึ่งปัจจุบันใช้วิธีการผ่าตัดผ่านกล้อง โดยการดมยาสลบและส่องกล้องเข้าทางรูจมูก พักฟื้น 2-3 วันก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้ หลังการผ่าตัดโพรงไซนัสและโพรงจมูกจะกลับมาทำงานได้อย่างปกติ คนไข้หายใจสะดวกและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

    EP.68 มะเร็งเต้านมผมก็เป็นได้ โดย นพ.อรรถวุฒิ เชื้อทอง : โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

    Play Episode Listen Later Jun 15, 2021 27:51


    อันที่จริงผู้ชายก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมได้เช่นกัน ถึงแม้จะพบน้อยกว่าผู้หญิงมากก็ตาม โดยจากสถิติจะพบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ที่เป็นเพศชายมีเพียง 0.5 -1 % ต่อผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเพศหญิง 100 คน ดังนั้นการรักษามะเร็งเต้านมชายจะไม่แตกต่างจากการรักษามะเร็งเต้านมหญิง โดยวิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับระยะของโรคมะเร็ง ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวิธีการรักษา คำแนะนำของแพทย์ส่วนใหญ่ในการป้องกันมะเร็งเต้านมชายคือ หมั่นตรวจเช็กร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ตรวจร่างกายอย่างน้อยปีละครั้ง

    EP.67 ดูดไขมัน อันตรายจริงหรือ? โดย นพ.พงศธร สงวนเชื้อ : โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์

    Play Episode Listen Later Jun 11, 2021 10:01


    “ดูดไขมัน” อีกทางเลือกหนึ่งในการปรับรูปร่างให้สมส่วนและเพิ่มความมั่นใจให้คนไข้ โดยใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เข้ามาเป็นตัวช่วย การดูดไขมันไม่ใช่ทางลัดเพื่อการลดความอ้วน แต่เป็นการปรับรูปร่างเฉพาะส่วนให้กระชับได้สัดส่วนมากยิ่งขึ้น บ่อยครั้งเรามักจะได้ยินข่าวการทำศัลยกรรมหรือดูดไขมันแล้วเสียชีวิต ทำให้เข้าใจว่าการทำศัลยกรรมหรือการดูดไขมันนั้นอันตราย ... อันตรายจริงหรือไม่? ศัลยแพทย์ตกแต่งซึ่งเป็นคุณหมอเฉพาะทาง ผู้อยู่เบื้องหลังการผ่าตัดทำหน้าสวย หุ่นเป๊ะ ได้ให้เช็กลิสต์ที่ต้องพิจารณาก่อนทำศัลยกรรมไว้ 3 ข้อ ได้แก่ เช็กสุขภาพ เช็กหมอ เช็กสถานที่ รวมถึงเทคโนโลยีดูดไขมันที่ไม่ทำให้เนื้อเยื่อบอบช้ำอย่าง VASER Liposuction … ฟังสาระแน่น ๆ จากคุณหมอเฉพาะทาง เพื่อให้การดูดไขมันของคุณ #สวย #ปลอดภัย #วางใจได้

    EP.66 เรียน Online อย่างไร? ให้ตาไม่พัง โดย พญ.โศภิตา อนันตมงคลกุล : โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์

    Play Episode Listen Later Jun 4, 2021 8:13


    เรียนออนไลน์ กิจกรรมยอดฮิตของเด็กยุคโควิด ถึงแม้การเรียนออนไลน์จะทำให้เด็ก ๆ ปลอดภัยจากโควิด-19 แต่ก็เป็นการเพิ่มพฤติกรรมติดจอและกระตุ้นให้เด็กใช้อุปกรณ์ดิจิทัลมากขึ้นและเร็วขึ้น การที่เด็ก ๆ ต้องมองจอเป็นเวลานานติดต่อกันโดยไม่ได้พักสายตา ส่งผลกระทบต่อดวงตาได้ เนื่องจากจอแท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์ดิจิทัลปล่อยแสงสีฟ้า (Blue Light) ออกมา เมื่อจ้องหรือเพ่งมองนาน ๆ ร่างกายจะกระพริบตาน้อยลง ทำให้ตาล้า เมื่อยตา ปวดตา ตาแห้ง ระคายเคืองตา ซึ่งเป็นอาการของ Computer Vision Syndrom (CVS) นอกจากนี้ ยังเพิ่มความเสี่ยงสายตาสั้นและจอประสาทตาเสื่อมก่อนวัยอันควรอีกด้วย … แล้วจะเรียน Online อย่างไร? ให้ตาไม่พัง เรามาฟังคำแนะนำจากหมอเฉพาะทางกันค่ะ

    EP.65 ชวนหัวใจให้กลับมาเต้นถูกจังหวะ โดย นพ.ธนัส บุพพาจารย์ธรรม : โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

    Play Episode Listen Later Jun 1, 2021 17:53


    ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ นับเป็นภัยเงียบใกล้ตัว การรักษาในผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีแนวทางหรือทางเลือกของการรักษาได้หลายวิธี ซึ่งผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำ เพื่อสามารถเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับตนเอง โดยได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคหัวใจ

    EP.64 ทำไมต้องตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ โดย นพ.กรณ์ ธงทอง : โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์

    Play Episode Listen Later May 28, 2021 5:48


    โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ยังคงเป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยอย่างต่อเนื่อง โดยทางสถิติคนไทยเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด เฉลี่ยอย่างน้อย 3 คน/ชั่วโมง ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย กลุ่มผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันมักมีอาการภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลัน เนื่องจากมีการสะสมของไขมันและหินปูน (แคลเซียม) ในผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หลอดเลือดแข็งและตีบตัน ในปัจจุบันเราสามารถรู้ทันและป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันได้ ด้วยการตรวจหาคราบหินปูน (แคลเซียม) ในหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Calcium Score) ซึ่งเป็นการคำนวณหาปริมาณแคลเซียมที่เกาะภายในผนังหลอดเลือดแดง เพื่อใช้บ่งบอกแนวโน้มการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ว่ามีมากน้อยเพียงใด และเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที เพื่อป้องกันอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดอุดตัน ที่อาจทำให้เสียชีวิตได้

    EP.63 ภูมิแพ้ในเด็กกับการรักษาด้วยวัคซีน โดย ผศ.พญ.จิตติมา เวศกิจกุล : โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจ

    Play Episode Listen Later May 21, 2021 7:23


    ภูมิแพ้ในเด็ก เป็นโรคที่พบได้บ่อยขึ้นในปัจจุบัน อาการจาม คัดจมูก น้ำมูกไหล นอนกรน ผื่นขึ้นตามตัว หรือพฤติกรรมขยี้ตาบ่อย ๆ ของลูกน้อยที่มีอาการเรื้อรัง หรือมีอาการรุนแรงขึ้น รักษาด้วยยาแล้วไม่เห็นผล แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาด้วยการฉีดวัคซีน ซึ่งเป็นการฉีดสารก่อภูมิแพ้ชนิดที่แพ้ในปริมาณที่เหมาะสมเข้าไปในร่างกายผู้ป่วย เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันและตอบสนองต่อสิ่งที่แพ้น้อยลง และอาการต่าง ๆ ของภูมิแพ้ก็จะลดลงไปด้วย โดยผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการรักษาต่อเนื่องอย่างน้อย 3-5 ปี การรักษาด้วยวิธีนี้ จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ... เอาชนะภูมิแพ้กับแพทย์เฉพาะทางที่โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์

    EP.62 ใครว่า ! เป็นโรคหัวใจล้มเหลว แล้วออกกำลังกายไม่ได้ โดย คุณปฏิมาพร บุญญวงศ์ : โรงพยาบาลกรุ

    Play Episode Listen Later May 18, 2021 25:16


    การออกกำลังกายยังจำเป็นสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจล้มเหลว เมื่อหัวใจมีความอ่อนล้า เราจำเป็นต้องเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของหัวใจ เริ่มช้าๆค่อยเป็นค่อยไป เพราะถ้าหากเราไม่ทำอะไรเลย หัวใจอาจจะเสื่อมสมรรถภาพลงเรื่อยๆ ส่งผลให้มีอาการเหนื่อยง่ายซึ่งเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนอื่นๆตามมา

    EP.61 ประจำเดือนมาผิดปกติ สัญญาณเสี่ยงมะเร็งโพรงมดลูก โดย นพ.มานพ จันทนพันธ์ : โรงพยาบาลกรุงเท

    Play Episode Listen Later May 14, 2021 6:20


    ประจำเดือนเป็นสิ่งที่ผู้หญิงต้องพบเจอกันทุกเดือน มีประจำเดือนทีไร บางคนอาจมีความรู้สึกไม่สบายตัว ปวดท้อง ปวดหัว รวมถึงเป็นสาเหตุของอารมณ์แปรปรวน ท้องเสียได้ โดยทั่วไปผู้หญิงจะมีประจำเดือนทุก ๆ 20-35 วัน นานไม่เกิน 7 วัน ปริมาณไม่เกิน 2-3 ผืนผ้าอนามัย แต่หากมีความผิดปกติของประจำเดือน เช่น มามากเกินไป มากระปริดกระปรอย รอบเดือนมาผิดปกติ หรือมีเลือดออกเหมือนมีประจำเดือนในวัยหมดประจำเดือน อาจเป็นสัญญาณบอกโรคร้ายได้ เช่น มะเร็งโพรงมดลูก ซึ่งพบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งทางนรีเวช

    EP.60 เมาทุกขวดเจ็บปวดเพราะตับพัง โดย นพ.จิรสิทธิ ถาวรบุตร : โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

    Play Episode Listen Later May 11, 2021 23:03


    โดยทั่วไปคนแต่ละคนสามารถดื่มแอลกอฮอร์ได้ในปริมาณที่พอเหมาะ ซึ่งสามารถช่วยบำรุงสุขภาพได้ แต่หากดื่มมากเกินปริมาณมาตรฐานที่กำหนดจะทำให้เสี่ยงต่อการเสียชีวิต และเสี่ยงต่อโรคที่เกิดกับตับ ดังนั้นรูปแบบการดื่มที่ดีควรแก้ที่ต้นเหตุ พฤติกรรมบำบัด Standard drink เพื่อที่จะช่วยให้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายตามมาครับ

    EP.59 ผ่าตัดริดสีดวงด้วยเครื่องมือตัดเย็บอัตโนมัติ เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว โดย นพ.ธรณิศ ตันติพิร

    Play Episode Listen Later May 7, 2021 8:28


    “ริดสีดวงทวาร” หรือภาวะเส้นเลือดขอดบริเวณปากทวารหนัก คือ การที่มีกลุ่มของหลอดเลือดดำบริเวณปลายสุดของลำไส้ใหญ่และที่ขอบรูทวารหนักโป่งพองและยื่นออกมา สร้างความกังวลใจและรบกวนการใช้ชีวิตของผู้ป่วยไม่น้อย ยิ่งถ้ามีการอักเสบร่วมด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้การดำเนินชีวิตยากขึ้น ไม่ว่าจะเดินหรือนั่งก็สร้างความลำบากให้ผู้ป่วยทั้งสิ้น บางรายอาจมีเลือดออกขณะขับถ่ายทุกวัน ซึ่งทำให้เสี่ยงภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ แม้โรคริดสีดวงทวารจะไม่อันตรายถึงชีวิต แต่เมื่อมีก้อนหรือติ่งเนื้อต้องสงสัย ควรรีบมาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวินิจฉัยว่า ก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นเป็นเนื้องอกหรือเนื้อร้าย ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลายหรือไม่

    EP.58 เป็นเบาหวานก็ฟิตได้ โดย คุณรัฐกร คงสมกัน (นักกายภาพบำบัด) : โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

    Play Episode Listen Later May 6, 2021 14:08


    ผู้ป่วยเบาหวานนั้นโดยทั่วไปสามารถออกกำลังกายได้แทบทุกชนิดถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน นอกจากการควบคุมอาหาร, การกินยา, สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการการออกกำลังกาย ถ้าออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอยิ่งดีต่อสุขภาพและสามารถดึงน้ำตาลในเลือดมาใช้ได้เกิดประโยชน์สูงสุดรวมถึงช่วยเรื่องลดหุ่นได้อีกด้วย

    EP.57 Surf Skate โต้คลื่นบกให้ปลอดภัย โดย นพ.นโรตม์ ตรีณรงค์ : โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

    Play Episode Listen Later Apr 29, 2021 33:35


    สำหรับกีฬา Surf Skate นั้นอาจจะมองว่ามีอันตรายพอสมควร หากผู้เล่นเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดี สวมอุปกรณ์ป้องกัน เล่นไม่เสี่ยงจนเกินสมรรถภาพร่างกาย นับเป็นอีกชนิดกีฬาที่สนุกและเสริมสร้างสุขภาพร่างกายได้เป็นอย่างดีในทุกเพศทุกวัย

    EP.56 เรื่องควรรู้กับวัคซีนโควิด-19 โดย พญ.อุบลพันธ์ บุพพาจารย์ธรรม รพ.กรุงเทพภูเก็ต และพญ.ขวัญจ

    Play Episode Listen Later Apr 24, 2021 26:33


    หลากหลายข้อสงสัยกับวัคซีนโควิด-19 ตอบครบจบในตอนนี้ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อรพ.กรุงเทพภูเก็ต และ รพ.กรุงเทพสิริโรจน์ #ดำเนินรายการโดย คุณภูมิกิตติ์ รักแต่งาม นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว จ.ภูเก็ต #แขกรับเชิญพิเศษ พญ. อุบลพันธ์ บุพพาจารย์ธรรม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ รพ.กรุงเทพภูเก็ต, พญ.ขวัญจิตร โภคาผล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ รพ.กรุงเทพสิริโรจน์ #PhuketTourismSandbox #วัคซีนโควิด19 #ฉีดวัคซีนโควิด19 #เรื่องควรรู้กับวัคซีนโควิด19 #โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต #โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์ #เรื่องสุขภาพเราเชี่ยวชาญ

    EP.55 ใกล้ชิดเจ้าตัวน้อยแบบเรียลไทม์ ด้วย Ultrasound 4D โดย นพ.ชัยวิทย์ วนาโรจน์ : โรงพยาบาลกรุงเทพสิริ

    Play Episode Listen Later Apr 23, 2021 7:12


    อัลตร้าซาวด์ 4 มิติ (Ultrasound 4D) เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ใกล้ชิดเจ้าตัวน้อยมากขึ้น โดยสามารถเห็นทารกเคลื่อนไหวอยู่ในครรภ์คุณแม่เสมือนจริงแบบ Real-time เช่น การหาว การขยับนิ้ว การหันหน้า การได้ยินเสียงหัวใจลูกน้อยเต้น เป็นต้น นอกจากนี้อัลตร้าซาวด์ 4 มิติ (4D) ยังช่วยประเมินการเจริญเติบโต พัฒนาการ เพศ รวมถึงช่วยในการวินิจฉัยความผิดปกติของอวัยวะภายนอกของทารกในครรภ์ได้ด้วย เช่น ปากแหว่ง นิ้วมือ เท้าเกิน เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น การที่คุณพ่อคุณแม่สามารถมองเห็นเจ้าตัวน้อยได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ยังเป็นการเสริมสร้างความผูกพันในครอบครัวอีกด้วย ... ให้ความรักก่อเกิดตั้งแต่ในครรภ์ด้วย Ultrasound 4D

    EP.54 โรคลมแดด ภาวะฉุกเฉิน ต้องรีบพบแพทย์ โดย พญ.ขวัญจิตร โภคาผล : โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์

    Play Episode Listen Later Apr 22, 2021 4:23


    “ลมแดด” โรคร้ายที่มากับหน้าร้อน คือภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิตั้งแต่ 40 องศาขึ้นไป ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต นอกจากอุณหภูมิกายที่สูงขึ้นแล้ว ยังมีอาการร่วมอื่น ๆ เช่น ซึม สับสน ชัก หายใจเร็ว คลื่นไส้ ไปจนถึงขั้นหมดสติได้ หากพบใครที่เป็นโรคลมแดดผู้ควรปฐมพยาบาลเบื้องต้นและนำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด เพื่อลดอัตราความพิการและการเสียชีวิต โรคลมแดดนี้ คนที่มีสุขภาพแข็งแรงก็สามารถเป็นได้ ช่วงหน้าร้อนนี้จึงควรใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 2 ลิตร Warm ร่างกายก่อนออกกำลังกาย ไม่ออกกำลังกายหักโหมจนเกินไปและงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อให้ร่างกายสามารถควบคุมความร้อนได้อย่างปกติและห่างไกลโรคลมแดด

    EP.53 ท้องเสียในเด็ก โรคฮิตหน้าร้อน น่ากลัวกว่าที่คิด โดย นพ.สุวิทย์ ทองเจริญทรัพย์ : โรงพยาบาล

    Play Episode Listen Later Apr 16, 2021 6:21


    “ท้องเสีย” โรคที่พบบ่อยในหน้าร้อน ถือว่าเป็นอีกหนึ่งโรคที่อันตรายเมื่อเกิดขึ้นในเด็ก เพราะการถ่ายเหลวมาก ๆ ทำให้เกิดภาวะสูญเสียน้ำอย่างรุนแรง ความดันและชีพจรตก ซึ่งอันตรายถึงชีวิต เด็กเล็กมักมีพฤติกรรมชอบหยิบจับสิ่งของที่อาจมีเชื้อโรคปนเปื้อนเข้าปาก ส่วนเด็กโตอาจจะยังแยกแยะไม่ได้ว่าอาหารที่ทานเข้าไปนั้นถูกสุขลักษณะหรือไม่ ซึ่งในหน้าร้อนแบบนี้อาหารก็บูดง่ายกว่าปกติเสียด้วย พฤติกรรมเหล่านี้ของลูกน้อยแม้คุณพ่อคุณแม่จะดูแลดีแค่ไหน ก็ยังยากที่จะควบคุมให้ได้ 100% ดังนั้น หากลูกน้อยมีอาการท้องเสีย ร่วมกับมีไข้หรืออาเจียน ต้องรีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาให้ทันท่วงที

    EP.52 พิชิตเบาหวาน ในยุค Covid โดย พญ.ศุภร สาครินทร์ : โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

    Play Episode Listen Later Apr 13, 2021 20:08


    สำหรับผู้ป่วยเบาหวานโดยปกติแล้ว พฤติกรรมการทานหรือการใช้ชีวิตค่อนค้างจะต้องให้ความพิเศษและแตกต่างจากคนปกติ ซึ่งในยุคที่มี Covid-19 เข้ามาร่วมด้วยแล้วนั่น ยิ่งต้องเพิ่มความเอาใจใส่ในเรื่องการป้องกันตัวมากขึ้นเป็นพิเศษ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่ออกนอกบ้าน คุณหมอมีแนวทางแนะนำในการใช้ชีวิตอย่างไร ผู้ป่วยเบาหวานต้องฟังครับ

    EP.51 หน้าร้อนนี้ กินอะไรดีนะ? โดย นักโภชนาการ ภัทรวรรณ ตีรณานุวัตร : โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์

    Play Episode Listen Later Apr 9, 2021 5:03


    หลายครั้งที่ปัจจัยแวดล้อม เปลี่ยนอาหารดีเป็นอาหารที่เสีย โดยเฉพาะในช่วงอากาศร้อนจัด อาหารที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ อาหารไม่สะอาด และในอาหารที่ปรุงไว้นาน ๆ แล้วไม่ได้แช่เย็นหรือนำมาอุ่นก่อน ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดีและเพิ่มมากขึ้น อาจทำให้อาหารบูดเสียง่ายกว่าปกติ ตัวอย่างเช่น อาหารประเภทกะทิ อาหารทะเล รวมถึงน้ำแข็งหรือผลไม้ที่เราทานเพื่อดับร้อน อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อโรค เมื่อเรากินอาหารบูดหรือไม่ถูกสุขลักษณะ ก็ส่งผลให้เจ็บป่วยได้ แล้วจะกินอย่างไรให้ดีและปลอดภัยต่อสุขภาพ ต้องให้นักโภชนาการแนะนำ

    EP.50 KETO & IF คู่ซี้เผาไขมัน โดย คุณจรัสศรี สังข์เสือ (นักกำหนดอาหาร) : โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

    Play Episode Listen Later Mar 30, 2021 23:23


    IF (intermittent fasting ) กับ KETO (ketogenic) คืออะไร ทำไมมีแต่คนพูดถึงทั้งสอง คือโปรแกรมการกินอาหารที่ดังและมีคนทำตามมากที่สุด โดยเฉพาะคนที่ต้องการลดไขมัน ลดน้ำหนัก และปัญหาสุขภาพ ทำไมถึงฮิตและน่าสนใจเราไปฟังกันเลยครับ

    EP.49 ไอเรื้อรัง สัญญาณโรคหอบหืด อันตรายถึงชีวิต โดย พญ.ภัททมาภรณ์ ศิริรัตน์สัตยะกุล : โรงพยาบา

    Play Episode Listen Later Mar 26, 2021 4:26


    ไอเรื้อรังเกิน 2 เดือน เป็นสัญญาณของโรคหืด หรือที่รู้จักกันในชื่อ “โรคหอบหืด” ซึ่งเป็นชื่อเรียกตามอาการของคนไข้ ปัจจุบันทั่วโลกมีคนที่เป็นโรคหืดมากกว่า 200 ล้านคน แต่กลับได้รับการวินิจฉัยและรักษาในระยะต้นไม่ถึง 50% ของจำนวนคนไข้ ทั้งนี้ เพราะโรคหืดมีอาการคล้ายโรคภูมิแพ้ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ หรืออาการไอจากการสูบบุหรี่ ทำให้คนไข้ละเลยอาการผิดปกตินี้ กว่าจะมาพบแพทย์เพื่อรับรักษาอย่างถูกวิธี ระยะของโรคก็เข้าขั้นเรื้อรังแล้ว การปล่อยให้ตัวเองเป็นโรคหืดเรื้อรัง จะทำให้ปอดเสื่อมเร็วกว่าคนปกติเกือบ 3 เท่า ซึ่งส่งผลต่อสุขภาวะและคุณภาพชีวิตในระยะยาว นอกจากไอเรื้อรังแล้ว โรคหืดยังมีอาการหอบเหนื่อย แน่นหน้าอก มีเสียงหวีดขณะหายใจ หากพบว่าตัวเองมีอาการเหล่านี้ ควรรีบพบแพทย์เฉพาะทาง เพราะหากได้รับการวินิจฉัย-รักษาเร็วและต่อเนื่อง จะสามารถคุมอาการ และลดอัตราการเสียชีวิตได้

    Claim Living Well Podcast

    In order to claim this podcast we'll send an email to with a verification link. Simply click the link and you will be able to edit tags, request a refresh, and other features to take control of your podcast page!

    Claim Cancel