พอดแคสต์สำรวจสุขภาพจิต ที่จะพาคุณไปสำรวจหลากหลายพฤติกรรมชวนสงสัยในชีวิตประจำวัน ว่าแบบนี้คนอื่นเขาก็เป็นกัน หรือว่าต้องขอความช่วยเหลือจากหมอหรือผู้เชี่ยวชาญ หากป่วยจะได้รักษาอย่างทันท่วงที และเพื่อสุดท้าย เราจะได้เข้าใจตัวเอง เข้าใจผู้อื่น และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ดำเนินรายการโดย ปอนด์ ยาคอปเซ่น…
นอกจากอารมณ์และความรู้สึกแล้ว ‘ความคิด' ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญพื้นฐานในการมีสุขภาพจิตที่ดี โดยเฉพาะความคิดที่เราจับได้ยาก นั่นคือความคิดที่มีต่อตัวเอง หลายครั้งที่เรามีความคิดต่อตัวเองในลักษณะของการตำหนิ ทำร้าย หรือโทษตัวเองโดยที่เราไม่ทันระวังรู้ตัว R U OK Medley เซ็ตนี้จึงอยากชวนลองใช้เวลาอยู่กับตัวเองนิ่งๆ สำรวจความคิดที่มีต่อตัวเองว่าเป็นอย่างไร พร้อมกับการค่อยๆ ปรับความคิดให้ลองฝึกใจดีกับตัวเองดูบ้าง ลดการดุด่าตัวเองซ้ำเมื่อทำผิดพลาดหรือไม่เป็นไปอย่างที่ต้องการ การฝึกใจดีกับตัวเองแบบนี้อาจนำไปสู่สิ่งที่เราคิดไม่ถึง อย่างการ ‘รักตัวเอง' ได้ในอนาคต
รับชมทาง YouTube R U OK เอพิโสดสุดท้ายในซีรีส์ Mindset อยากชวนคุยเรื่องความสำเร็จ คำที่เป็นเส้นชัย เป็นเหมือนเป้าหมายที่ต้องเดินทางไปให้ถึง แต่สำหรับบางคนแล้วยิ่งเดินทางเป้าหมายยิ่งห่างไกล จนตั้งคำถามว่าตกลงแล้วความสำเร็จคืออะไรกันแน่ R U OK เลยอยากตั้งคำถามกับคำว่าประสบความสำเร็จอีกครั้ง เราต้องวางสิ่งนี้ไว้เป็นเป้าหมายชีวิตหรือไม่ ถ้าความสำเร็จไม่ใช่จุดที่เราจะเดินทางไป ซึ่งอาจขัดกับบรรทัดฐานของสังคม เราจะทำอย่างไร รวมถึงวิธีอิสระตัวเองจากคุณค่าที่ตัวเองโอบกอดมานาน
รับชมทาง YouTube ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัย อาชีพ ความสัมพันธ์แบบไหนก็ไม่สามารถหลีกหนี ‘ปัญหา' ได้พ้น หรือแม้ว่าจะหลีกเลี่ยงแค่ไหน สุดท้ายแล้วทุกชีวิตก็ต้องกลับมาแก้ปัญหาไม่ว่าจะผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไรก็ตาม แต่หลายครั้งปัญหาก็ทำให้เรารู้สึกทุกข์จนอยากจะหลบหนีไปเรื่อยๆ จนเกือบลืมว่าไม่ว่าจะอย่างไร ปัญหาก็ไม่มีวันหายไป R U OK วันนี้เลยขอแชร์วิธีที่จะทำให้ระหว่างที่อยู่ในการ ‘ฮึบ' มีวิธีอะไรบ้างที่จะทำให้เรามีแรงกลับมารับมือกับปัญหา ด้วยสภาพจิตใจที่มั่นคงและแข็งแรงกว่าเดิม
ในช่วงเวลาที่ต้องโฟกัสกับ ‘หน้าที่' และ ‘ความรับผิดชอบ' ของตัวเอง ทั้งวัยเรียนที่ต้องเรียนหนังสือ พ่อ-แม่ที่ต้องหาเงินมาเลี้ยงดูลูก หรือสามี-ภรรยาที่ต้องทำงานเพื่อความก้าวหน้ามั่นคงของครอบครัว มีสิ่งหนึ่งที่หลายคนอาจละเลยนั่นคือเรื่องของ ‘ความสัมพันธ์' ในทางจิตวิทยา ความสัมพันธ์ที่แข็งแรงคือพื้นฐานสำคัญที่ทำให้ผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้ ฉะนั้นแล้วการทำหน้าที่เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอให้ชีวิตราบรื่นและแข็งแรง R U OK เอพิโสดนี้เลยอยากชวนกลับมาทบทวนดูว่า ความสัมพันธ์ของเรากับคนรอบข้างยังแข็งแรงดีอยู่ไหม เพื่อให้ความสัมพันธ์ยังเป็นตาข่ายที่แน่นหนา รองรับเรายามร่วงหล่นและผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤตไปด้วยกัน
เคยสำรวจตัวเองกันไหมว่าบางครั้งที่ ‘เลือก' หรือ ‘ไม่เลือก' ทำอะไร ลึกๆ แล้วอาจมาจากความคิดที่ไม่อยากทำให้พ่อแม่เสียใจ ซึ่งสาเหตุหนึ่งของ Mindset นี้เป็นไปได้ว่ามาจากการสื่อสารภายในครอบครัวที่ไม่ตรงไปตรงมา แถมทำให้อีกฝ่ายรู้สึกผิด หรือที่เรียกว่า Guilt Trip R U OK ชวนสำรวจของการเลือกตัดสินใจบางอย่างที่คำนึงถึงความรู้สึกของคนอื่น โดยเก็บความต้องการของตัวเองเอาไว้ว่ามีผลเสียอย่างไร ส่งผลถึงวัยผู้ใหญ่อย่างไร และเราจะมีวิธีสื่อสารอย่างไรบ้างที่จะทำให้เข้าใจโดยไม่ต้องทำร้ายกัน
การมองโลกเป็น 2 ขั้ว ดี-เลว, ถูก-ผิด, ใช่-ไม่ใช่ แม้ว่า Mindset นี้ไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่การแยก 2 อย่างต่างขั้วชัดเจน อาจทำให้เราพลาดรายละเอียดซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ โดยเฉพาะการพยายามเข้าใจมนุษย์ที่มีความซับซ้อนและไม่สามารถแยกทุกอย่างขาดกันอย่างชัดเจน R U OK อยากชวนสำรวจถึงที่มาของการมองโลกเป็น 2 ขั้ว ที่อาจเป็นไปได้ทั้งกลไกการป้องกันตัวเองหรือจากประสบการณ์ในวัยเด็ก และชวนให้เห็นถึงปัจจุบันว่าถ้าหากรู้ตัวว่ากำลังใช้ Mindset นี้อยู่แล้วนำไปสู่ความติดขัดซ้ำๆ การวางแว่นนี้ลงบ้างก็อาจทำให้เราเข้าใจในสิ่งที่เป็นจริงๆ มากขึ้น
รับชมทาง YouTube ความพยายามคือหนึ่งในคุณสมบัติที่หลายคนยึดถือว่าจะนำทางไปสู่ความสำเร็จ แต่เชื่อหรือไม่ว่าความพยายามกลับใช้ต้นทุนทั้งทางร่างกายและจิตใจไปอย่างมหาศาล R U OK จึงอยากชวนสำรวจว่า หากจะทำบางสิ่งบางอย่างให้ประสบผลสำเร็จ จำเป็นต้องใช้ความพยายามเสมอไปหรือไม่ เรามีทางเลือกอื่นที่นอกเหนือจากความพยายามหรือเปล่า เพราะการดูแลร่างกายและจิตใจของตัวเองก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้ความสำเร็จปลายทางเช่นกัน
รับชมทาง YouTube “คนรักกันไม่ควรมีความลับต่อกัน” ประโยคชินหูที่หลายคู่ใช้เป็นเหตุผลในการรู้เรื่องราวอีกฝ่าย จนกลายเป็นประเด็นให้ถกกันไม่จบสิ้นว่าแท้จริงแล้วในความสัมพันธ์ เราควรเหลือพื้นที่ส่วนตัวของตัวเองไว้แค่ไหน R U OK เชียร์ว่ามีทั้งสิ่งที่เราควรบอกและไม่ควรบอกกับคนที่อยู่ในความสัมพันธ์ และยังเชื่อด้วยอีกว่าไม่ว่าจะอยู่ในความสัมพันธ์รูปแบบไหน ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะมีพื้นที่ส่วนตัว เพราะจะคงไว้ซึ่ง Self-Respect หรือการยอมรับนับถือของตัวเอง ชวนอีกฝ่ายตกลง ปรับตัวและเรียนรู้กันไป เพราะทุกคนควรมีพื้นที่ที่กลับไปเมื่อไรก็อบอุ่นใจและเป็นเจ้าของมันได้แบบเต็มๆ
รับชมทาง YouTube ‘คนที่ใช่ไม่ต้องพยายาม' ประโยคสุดฮิตของความรักที่หลายคนเชื่อว่า ในชีวิตนี้จะมีใครสักคนเป็น ‘คนที่ใช่' รออยู่ แต่ในเมื่อมนุษย์เปลี่ยนแปลงทุกวัน ‘คนที่เคยใช่' ก็อาจกลายเป็นคนที่ไม่ใช่ได้ในวันข้างหน้า จิตวิทยาความรักความสัมพันธ์ใน R U OK เอพิโสดนี้ชวนดูแลรักษาความรักให้ ‘ใครคนนั้น' ยังคงเป็นคนที่ใช่อย่างยาวนาน ด้วยการกลับไปสำรวจความสัมพันธ์ว่าตกลงแล้วเรารักกันที่อะไร ชวนมองหาคุณค่าที่สอดคล้องระหว่างกัน และการแสดงออกถึงความรักด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้ความรักกลายเป็นความเบิกบานทางใจและส่งเสริมให้เป็นขุมพลังหนึ่งในการใช้ชีวิต
ในปัจจุบันที่ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวกลายเป็นคอนเทนต์ หลายคนอาจกังวลว่าจะเปิดรับสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดได้อย่างไร และหากพลาดก็อาจทำให้เป็นคนที่ไม่ทันเหตุการณ์และกลายเป็นคนตกยุค ภายใต้ความรู้สึกว่าตัวเองจะพลาดเหตุการณ์สำคัญ มันถูกซ้อนอยู่ด้วยความกลัวและความกังวล ทางออกสิ่งนี้คือนอกจากจะจัดการความรู้สึกกลัวและวิตกกังวลที่เกิดขึ้นแล้ว เราเองมีสิทธิ์ที่จะเลือกในการเปิดรับว่าเพียงพอที่จุดไหน เพราะเราคือคนเดียวที่จะสังเกตเห็นและรับรู้จุดพอดีที่ว่านั้น
เราอาจเคยได้ยินประโยคที่ว่า “ให้ยิ้มสู้รับกับปัญหา” จนเกิดความสงสัยว่าเราจะยิ้มได้อย่างไรในเมื่อข้างในมีแต่อารมณ์ที่ชวนให้ห่อเหี่ยวและไม่มีแรง เชื่อหรือไม่ว่า ‘การยิ้ม' ช่วยนำพาอารมณ์บวกๆ ให้ร่างกายที่ซึมเซาหดหู่กลับมามีแรงขึ้นได้ เพราะมันจะนำพาประสบการณ์แห่งความสุขที่เคยได้รับกลับมาให้เรารู้อีกครั้ง นอกจากนั้นแล้วการยิ้มยังช่วยเพิ่มพลังอึด ฮึด สู้ หรือ Resilience ให้มีแรงจัดการกับอารมณ์และปัญหา ไม่ได้หมายความว่าให้ล้างอารมณ์ลบเหล่านั้นทิ้ง แต่การยิ้มทำให้เรามีพลังในการเข้าไปจัดการอารมณ์ลบๆ เหล่านั้นต่างหาก
เป็นธรรมดาที่มนุษย์ต้องการเห็นตัวเองมีคุณค่า แต่บางครั้งเรามักพาตัวเองไปพึ่งพิงสิ่งอื่น และใช้สิ่งที่ว่านั้นวัดคุณค่าของตัวเอง โดยเฉพาะเรื่อง ‘งาน' เมื่อมีงานก็ทำให้รู้สึกมั่นคงทางใจ และสะท้อนว่าตัวเองมีคุณค่า R U OK อยากชวนให้มองเห็นว่า บางครั้งสิ่งที่เราใช้วัดคุณค่าของตัวเอง ก็วกกลับมาทำร้ายเราให้เจ็บปวดทั้งกายใจ และเป็นเราเองนี่แหละที่ไม่ยอมปล่อยมือ แล้วเพราะอะไรเราจึงไม่ยอมปล่อยมือจากสิ่งที่ทำให้เจ็บปวด ล็อกทางใจและคุณค่าที่เราวางไว้อยู่ตรงไหน เอพิโสดนี้อาจชวนให้มองเห็น แต่ทั้งหมดคุณต้องลงมือทำด้วยตัวเอง
แม้จะเป็นความจริงที่ว่า การพูดให้เจ็บแล้วจำ จะทำให้อีกฝ่ายตระหนักและจำสิ่งที่ต้องการสื่อสารได้จริง แต่สิ่งที่ฝากไว้มากกว่านั้นคือบาดแผลที่ฝังใจ และอาจเปลี่ยนความคิด พฤติกรรมของคนคนหนึ่งไปเลยก็ได้ R U OK ชวนให้เห็นที่มาของมายด์เซ็ตของการพูดให้เจ็บแล้วจำที่อาจมีต้นเหตุจากการส่งต่อแนวคิดรุ่นต่อรุ่นเพราะใช้ได้ผล แต่เพราะโลกใบนี้มีทางเลือกมากกว่านั้น เราอาจไม่จำเป็นต้องสร้างบาดแผล เพียงเพราะต้องการให้อีกฝ่ายเข้าใจ ฉะนั้นจะมีวิธีอะไรอีกบ้างที่สามารถสื่อสารให้เข้าใจ โดยไม่สร้างร่องรอยทางใจและไม่กระทบต่อความสัมพันธ์
สภาพแวดล้อมและสังคมที่คนแต่ละคนหรือแต่ละเจเนอเรชันให้คุณค่านั้นอาจไม่เหมือนกัน บางคนอาจให้ความสำคัญกับความสงบเรียบร้อย หากแต่บางคนอาจให้ความสำคัญกับความแตกต่างหลากหลายและความเป็นมนุษย์ ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อความเห็นไม่เหมือนกัน อาจนำไปสู่ความขัดแย้งกันได้ R U OK ชวนหาวิธีของตัวเองในการอยู่ร่วมกันกับความเห็นต่าง เพราะความเห็นที่ต่างกันอาจไม่จำเป็นต้องโน้มน้าวให้คิดเหมือนกัน และไม่จำเป็นต้องลดทอนคุณค่าของอีกฝ่าย แต่การสื่อสารอย่างสันติและการเคารพในสิ่งที่อีกฝ่ายให้คุณค่า อาจเป็นทางออกของการอยู่ร่วมกัน
ปัญหาด้านความสัมพันธ์ที่พบเจอในวัยผู้ใหญ่เชื่อหรือไม่ว่าส่วนใหญ่เกิดจากความไว้ใจ (Trust) ที่เกิดจากการเลี้ยงดูที่แตกต่างกัน ความไว้ใจจึงเป็นเหมือนรากในการแสดงออกถึงความวางใจ หวาดระแวง หรือไม่เชื่อใจทั้งคนอื่นและตัวเอง R U OK ชวนสำรวจ ‘Trust Issue' ว่าถูกแสดงออกผ่านมิติของการใช้ชีวิต การทำงาน ความสัมพันธ์อย่างไร และถ้าหากอยากลองฝึกไว้ใจตัวเองและคนอื่นสามารถเริ่มต้นได้อย่างไรบ้าง เพราะนี่อาจเป็นเครื่องมือที่ช่วยคลี่คลายปัญหาความสัมพันธ์ที่ดูยากแสนยากก็ได้
หลายคนหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงความเศร้าหรือเรื่องที่เป็นทุกข์ เพราะเกรงว่าจะทำให้ทุกข์มากขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว การค่อยๆ เผชิญหน้าจะทำให้ความเศร้านั้นเบาบางลง เมื่อความเศร้าเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องพบเจอไม่วันใดก็วันหนึ่ง R U OK อยากชวนทำความคุ้นเคยความเศร้าด้วยการเผชิญหน้าอย่างกล้าหาญ เพราะยิ่งอยู่ในความเศร้าได้นานเท่าไร กล้ามเนื้อทางใจจะเพิ่มความแข็งแรงในการรับมือ และวันหนึ่งเราจะพบวิธีในการออกจากหลุมเศร้าด้วยรูปแบบของตัวเอง
แม้ความหวังจะเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้เรามีแรงออกไปสู้อุปสรรคและเอาชนะปัญหาต่างๆ ได้ แต่ในทางกลับกัน การมีความหวังเพียงอย่างเดียวก็อาจกลายเป็นกับดักและกั้นไม่ให้นำไปสู่การลงมือทำ R U OK ชวนดูความหวังว่ามันทำงานกับจิตใจเราอย่างไรบ้าง ข้อดีข้อเสียของการมีความหวัง รวมถึงการประเมินความหวังในสถานการณ์ต่างๆ กับความเป็นจริงเพื่อนำไปสู่การลงมือทำ เพราะแท้ที่จริงแล้วเรามีพละกำลังและอำนาจในการควบคุมตัวเองมากกว่าการใช้ความหวังเพียงอย่างเดียว
แน่นอนว่าการทำความรู้จักตัวเองเป็นสิ่งที่ดี ที่เราจะชัดเจนว่าในสถานการณ์ต่างๆ เราต้องการอะไร เพื่อจะสื่อสารให้คนอื่นได้รับรู้ แต่เคยสงสัยไหมว่า ‘การรู้จักตัวเอง' ที่ว่านั้น ‘ตัวเรา' คือใครกันแน่ เพราะตัวตนของเราเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา แล้วเราจะรู้ตัวตนที่แท้เราได้อย่างไร R U OK ชวนเข้าใจทฤษฎีเกี่ยวกับ ‘Self' หรือ ‘ตัวตน' ที่ท้ายที่สุดแล้วอาจไม่จำเป็นต้องรู้จักตัวตนที่แท้จริงก็ได้ เพราะตัวเราเองเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ไม่มีคำตอบที่ตายตัวและเสร็จสิ้น การทำความรู้จักตัวเองจึงเป็นเหมือนงานที่ไม่มีวันเสร็จ แต่ค่อยๆ ทำไป ออกไปใช้ชีวิต แล้วก็แวะกลับมาทบทวนตัวเอง ก็น่าจะเพียงพอแล้วในการหาคำตอบ
ในยุคที่หันไปทางไหนก็เจอแต่คนเก่ง คนที่ประสบความสำเร็จอยู่รอบตัวตลอดเวลา จนหลายคนตั้งคำถามกับการเป็น ‘คนธรรมดา' ของตัวเองว่า เราต้องเก่งอะไรสักอย่างไหมชีวิตเราถึงจะอยู่รอดได้สังคมที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน R U OK ชวนคิดอีกด้านว่า จริงๆ แล้วความเก่งอาจไม่ต้องเปรียเทียบ ไม่ต้องออกไปไขว่คว้า แต่แท้ที่จริงทุกคนมีความเก่งอยู่ในตัวเองอยู่แล้ว เพียงแต่เข้าไปค้นหามัน และทุกความเก่งที่เรามองไม่เห็นหรือรู้สึกไม่มีความหมาย สามารถประยุกต์ใช้ร่วมกันจนทำให้เกิดมูลค่าและทำให้เรามีชีวิตตั้งอยู่ได้
เชื่อหรือไม่ว่า Mindset บางอย่างที่เราใช้เลือกมอง ล้วนมีผลมาจากการเลี้ยงดูในวัยเด็ก ที่มีเสียงของพ่อแม่หรือผู้ปกครองบอก และเราก็ ‘เชื่อตาม' เสียงเหล่านั้น หลายคนเท่าทันและจัดการเสียงเหล่านั้นได้ แต่อีกหลายคนลากพา ‘เสียง' มาจนถึงตอนโต และใช้ตัดสินใจในสถานการณ์ปัจจุบัน แน่นอนว่าเสียงเหล่านั้นมันเคยใช้งานได้ดี แต่ก็ไม่ได้เสมอไป R U OK ชวนสังเกตและเท่าทันเสียงในอดีตที่มีผลต่อ Mindset พลิกดูว่าชุดความไหนยัง ‘เวิร์ก' อยู่บ้าง เพราะการตั้งคำถามกับคนที่เลี้ยงดูมา ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่รักเขาเสมอไป
ประโยคที่ว่าชีวิตที่ดีคือชีวิตที่มีการวางแผน อาจเป็นจริงสำหรับผู้ที่อยากมองเห็นอนาคตของตัวเองเพื่อจะได้ใช้เวลาอย่างคุ้มค่า หากอีกด้านการวางแผนคือความเครียดที่มากดดันตัวเองเมื่อมันไม่ได้เป็นไปตามแผน แน่นอนว่าไม่มีความคิดไหนที่ผิดหรือถูก R U OK เลยอยากชวนสำรวจข้อดีข้อเสียของการวางแผนชีวิต ชวนดูว่าชีวิตที่เป็นไปตามแผนหรือปล่อยไปตามใจ แบบไหนที่เหมาะกับเรา และชวนทำความเข้าใจธรรมชาติของการวางแผนว่าไม่มีแผนไหนที่จะเป็นไปตามที่วางร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะคนที่วางแผนวันนี้กับคนที่ใช้ชีวิตจริงในวันข้างหน้าล้วนเป็นคนละคนกัน และไม่มีใครที่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต
Self-Esteem หรือการรับรู้คุณค่าในตัวเอง คือเครื่องมือหนึ่งที่ใช้วัดความแข็งแรงทางใจที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จนบางคนก็อาจตั้งคำถามว่า ผิดไหมที่ไม่มี Self-Esteem เสียที เพราะว่าไม่ว่าพยายามเท่าไรความรู้สึกไม่มีคุณค่าก็ยังแวะเวียนมาเสมอ เพราะ Self-Esteem ไม่ได้เพิ่มกันในชั่วข้ามคืน R U OK เลยอยากชวนพลิก Mindset การ ‘ต้อง' มี Self-Esteem ว่าอาจเต็มไปด้วยข้อดีก็จริง แต่ก็การบังคับให้ตัวเอง ‘ต้อง' มี อาจมาสู่การกดดันตัวเอง เพราะ Self-Esteem ลดและเพิ่มได้ในทุกวันและหลายคนก็อยู่ในระหว่างทางเพื่อเรียนรู้การมีสิ่งนี้
รับชมทาง YouTube https://youtu.be/QX6AAXru_74 แม้ความคิดที่ว่า ‘ถ้าเลิกเปรียบเทียบแล้วชีวิตจะมีความสุข' จะตรงกับความเชื่อของใครหลายคนที่พิสูจน์แล้วว่าจริง แต่ก็ชวนให้สงสัยว่ามนุษย์เราจะละไว้ซึ่งการเปรียบเทียบได้จริงหรือ เพราะการเปรียบเทียบเป็นธรรมชาติที่ติดตัวมนุษย์ และเป็นส่วนหนึ่งของการเข้าสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ R U OK ชวนพลิกมายด์เซ็ตเรื่องการเปรียบเทียบ ว่าแท้จริงแล้วความทุกข์ที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้มาจากตัวการเปรียบเทียบเอง แต่มาจากความคิดที่เรามีต่อตัวเองที่เอาไปต่อท้ายการเปรียบเทียบต่างหากที่เป็นต้นเหตุของความทุกข์ รวมถึงชวนคิดว่านอกจากการเปรียบเทียบแล้ว เราจะทำอย่างไรเพื่อให้เห็นคุณค่าของตัวเองได้อีกบ้าง
รับชมทาง YouTube https://youtu.be/mWZdfY1JJbc ความอ่อนแอเป็นความรู้สึกหนึ่งที่หลายคนไม่พึงปรารถนา เพราะเมื่อไรที่ความอ่อนแอแวะเวียนมา จะนำพามาซึ่งความสั่นไหว เปราะบาง และบางครั้งดูไม่มืออาชีพ ไม่เหมาะกับบทบาทที่สวมอยู่ แต่ในเมื่อความอ่อนแอเป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ จะทำอย่างไรให้รับมือมันได้ R U OK ชวนพลิกมายด์เซ็ตเรื่องการเป็นผู้ใหญ่และความอ่อนแอ ว่าแท้จริงแล้ว ‘การอนุญาตให้ตัวเองได้อ่อนแอ' อาจเป็นวิธีหนึ่งในการรู้จักและเข้าใจตัวเองได้ดีกว่าการปฏิเสธ เพราะความอ่อนแอไม่มีวันหมดไปจากใจเรา และท้ายที่สุดแล้วเราต้องดำเนินชีวิตไปพร้อมกับการแบกหลายๆ ความรู้สึกไปด้วย
R U OK ชวนสำรวจ Mindset เรื่องความกตัญญูที่เป็นวิธีปฏิบัติและค่านิยมที่แข็งแรงของสังคมไทยว่า ‘ลูกที่ดีต้องกตัญญู' แต่ในเมื่อความกตัญญูคือ ‘ความรู้สึก' ซึ่งขึ้นชื่อว่าความรู้สึกแล้ว มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เองโดยที่ไม่สามารถบังคับกันได้ ดังนั้นแล้ว หลายคนจึงเกิดความขัดแย้งในตัวเองเมื่อสิ่งที่รู้สึกและสิ่งที่คิดว่าควรทำไม่สอดคล้องตรงกัน จะทำอย่างไรเมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น เพราะท้ายที่สุดแล้วความกตัญญูอาจไม่ใช่เครื่องมือเดียวที่จะยึดโยงสายสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวเอาไว้
“ต้องไปกินข้าว ปาร์ตี้แล้วล่ะ เขาอุตส่าห์ชวน” “ช่วยเขาทำงานหน่อย เราไม่ได้ลำบากอะไร” สถานการณ์ข้างต้นคือความเกรงใจที่อาจเกิดขึ้นได้กับใครหลายคน แน่นอนว่าความเกรงใจในมิติของการอยู่ร่วมกันในพื้นที่สาธารณะเป็นสิ่งที่พึงปฏิบัติ แต่ความเกรงใจอีกมิติที่ลึกลงไปแล้วอาจไม่ใช่ ‘ความเกรงใจ' กำลังทำให้เราเบียดเบียนตัวเอง R U OK ชวนสำรวจว่า แท้จริงแล้วเรากำลังใช้คำว่า ‘เกรงใจ' มาปิดบังความกลัวสูญเสียความสัมพันธ์ กลัวไม่เป็นที่รัก เราจะเซ็ตความตั้งใจใหม่ หันมาจัดการความกลัวแทนการเอาคำว่าเกรงใจมาปกปิดได้อย่างไร และมีวิธีไหนบ้างที่จะหัดปฏิเสธโดยไม่สูญเสียความสัมพันธ์
เราอาจเคยได้ยินมาว่าอารมณ์แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ อารมณ์ด้านบวกและอารมณ์ด้านลบ แต่การนิยามด้วยวิธีดังกล่าวมักพาเราไปติดกับที่ว่า ลบ = ไม่ดี = ควรกำจัดทิ้ง ทั้งๆ ที่อารมณ์ที่เกิดขึ้นล้วนมีเหตุผลและเป็นส่วนหนึ่งของตัวเรา R U OK ชวนให้รู้จัก Wheel of Emotions ที่อยู่ในรูปแบบของวงล้อแล้วทำให้เห็นว่าไม่ว่าจะหมุนไปทางไหนทุกอารมณ์ล้วนมีคุณค่าเป็น 1 อารมณ์เท่าๆ กัน ไม่มีอารมณ์ไหนบวก ลบ หรือมีคุณค่ามากกว่ากัน เพียงแค่ยอมรับว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของตัวเรา โอบกอดและทำความรู้จัก ก็จะนำพามาซึ่งการจัดการอารมณ์และการรู้เท่าทันตัวเองได้ในที่สุด
Toxic กลายเป็นคำฮิตที่อยู่คู่กับการทำงาน ความสัมพันธ์ รวมไปถึงการนิยามคน บางครั้งก็ใกล้ตัว เจอกันในชีวิตประจำวันจนอยากหนีให้ไกล จริงอยู่ว่า Toxic เป็นสิ่งที่ไม่มีใครพึงปรารถนา แต่การนิยามคนทั้งคนว่าเป็น ‘คน Toxic' อาจไม่แฟร์เท่าไรนัก เพราะลึกลงไปคนที่ถูกนิยามว่า Toxic อาจกำลังจัดการภายในที่ไม่มั่นคงแล้วล้นออกมาจนเป็นพิษกับคนรอบข้าง R U OK จึงอยากนำเสนอวิธีดีลกับมนุษย์ Toxic ที่ไม่จำเป็นต้องแปะป้ายบนคนทั้งคน แต่ค่อยๆ มองเห็นข้อดีข้อเสียเป็นส่วนๆ เพราะการกันออกหรือเลิกคบอาจไม่ใช่ทางออกของการรับมือกับมนุษย์ Toxic เสมอไป
หลายคนนิยามหรือวางเป้าหมายสูงสูดว่า ชีวิตที่ดีคือชีวิตที่มีความสุข และพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อเดินทางไปสู่ความต้องการนั้น แน่นอนว่าตัวความสุขเองมีทั้งผลดีต่อสุขภาพจิต แต่การกรอบชีวิตว่า ‘ต้อง' มีเพียงความสุขกำลังขัดแย้งกับธรรมชาติของมนุษย์อยู่หรือเปล่า R U OK ชวนทบทวน Mindset เรื่องความสุขกับการใช้ชีวิต ว่าการเฝ้ารอให้ชีวิตมีแต่ความสุขอาจเป็นไปได้ยากและเสี่ยงที่จะไม่สมหวัง เพราะในชีวิตจริงเราไม่สามารถหลีกหนีความทุกข์ได้อย่างสมบูรณ์ แต่เราสามารถพอใจชีวิตสุขๆ ทุกข์ๆ ที่เป็นอยู่ได้ตั้งแต่ตอนนี้
แม้ประโยคที่ว่า ‘ความผิดพลาดเป็นเรื่องธรรมชาติ' จะคุ้นเคยและท่องกันได้อย่างขึ้นใจ แต่เคยสังเกตกันไหมว่าเมื่อถึงคราวจริงๆ หลายต่อหลายครั้งคนเรามักรับความผิดพลาดไม่ได้ R U OK เอพิโสดนี้ ขุดลึกลงไปใต้คำว่า ‘ผิดพลาด' ว่ามีอารมณ์และความคิดอะไรที่ซ่อนอยู่ จนคนพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งนี้ จนบางครั้งพลาดทักษะที่สำคัญในชีวิต รวมถึงถ้าจะต้องลงมือเลือกอะไรสักอย่าง เราจะมีหลักที่ถูกต้องของตัวเองอย่างไร เพราะคำว่า ‘ถูกต้อง' ของแต่ละคนไม่มีทางเหมือนกันได้อย่างสมบูรณ์
คนเรามีแรงผลักในการดำรงชีวิตหลายอย่าง แต่บางทีเราก็มักจะเคยชินที่จะเอาตัวเองไปจุ่มอยู่ในบ่อความเครียด แล้วผันให้เป็นแรงกดดันให้ตัวเองเดินทางไปถึงเป้าหมาย ซึ่งบางครั้งก็สำเร็จจริงๆ เพียงแต่อาจต้องแลกมาด้วยสุขภาพจิตที่เสียไปอย่างไม่รู้ตัว R U OK ชวนทบทวน Mindset ในการเปลี่ยนความกดดันให้เป็นพลัง แน่นอนว่าเป็นวิธีที่ได้ผล แต่เรามีขุมพลังที่ใช้เป็นแรงผลักตั้งมากมายโดยไม่ต้องทำร้ายตัวเอง เพราะเมื่อเครียดก็จัดการความเครียด กดดันก็จัดการกับความกดดันโดยไม่ต้องเปลี่ยนเป็นพลังใดๆ เลยก็ได้
ใครหลายคนโตมากับความเชื่อที่ว่า ‘ทำอะไรต้องทำให้ถึงที่สุด' เพราะจะได้ไม่ต้องมาเสียใจภายหลัง แต่ในขณะเดียวกันศักยภาพของมนุษย์นั้น ‘สูง' และ ‘ไปไกล' มากกว่าที่คาดคิด การพยายามตะบี้ตะบันลงแรงกายแรงใจจนเบียดเบียนตัวเองก็อาจส่งผลเสีย R U OK ชวนสำรวจ Mindset ว่าภายใต้การทำอะไรให้ถึงที่สุด อาจมีสิ่งที่เรียกว่า The Fear of Regret ซ่อนอยู่ การเผชิญหน้ากับความเสียดายอาจเจ็บปวดรวดร้าว แต่นั่นคือประตูบานแรกที่จะทำให้เรารู้จักตัวเอง รู้จักอีกหลายอารมณ์ของความเป็นมนุษย์ และเมื่อถึงเวลานั้น เราก็ไม่จำเป็นต้องวิ่งหนีความเสียดายอีกก็ได้
ถึงคราวที่อกหัก ไม่สมหวัง อาจมีเสียงรอบข้างที่บอกว่า “ถึงเวลาที่เราควร Move on ได้แล้ว” ด้วยความห่วงใยและไม่อยากให้เราอยู่ในความเสียใจนาน แต่พอมองย้อนกลับมาที่ตัวเองกลับพบว่าเราไม่มีเรี่ยวแรงที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนเพื่อให้ตัวเองดีขึ้น R U OK ชวนสำรวจว่า ‘การ Move on' จำเป็นแค่ไหนในเวลาที่เราต้องรับมือกับความผิดหวัง เป็นไปได้ไหมที่ปรารถนาจะอยู่ในห้วงเวลาความทุกข์ได้นานตราบเท่าที่พอใจ ความทนทานในความทุกข์สร้างทักษะให้เราได้อย่างไร และเมื่อถึงเวลาที่ยืนไหวเราจะกลายเป็นคนใหม่แบบที่ต้องการจะเป็น
หลายคนน่าจะเคยได้ยินวลี ‘ไม่ต้องไปแข่งกับใคร แข่งกับตัวเองก็พอ' ดูเผินๆ น่าจะเป็นชุดความคิดและให้กำลังใจตัวเองได้ฮึดสู้ต่อ แต่ไม่นานมานี้มีวลีในโซเชียลมีเดียที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็คือ ‘เอาชนะตัวเองไปทำไม ในเมื่อคนที่แพ้ก็คือตัวเอง' ซึ่งก็น่าสนใจเพราะเป็นชุดความคิดอีกด้านที่ตั้งคำถามกับการเอาชนะตัวเอง R U OK ซีรีส์ Mindset เลยหยิบวลีดังกล่าวมาทบทวนอีกครั้งว่า สถานการณ์แบบไหนที่เราต้องเอาชนะตัวเอง มีสถานการณ์ไหนที่เหมาะแก่การยอมแพ้หรือศิโรราบต่อสถานการณ์ที่มันเกิดขึ้น รวมถึงตั้งคำถามว่าชีวิตเราต้องดีขึ้นทุกวันจริงหรือเปล่า?
Growth Mindset หนึ่งในคำที่ได้ยินหนาหูในช่วงที่องค์กรกำลังต้องการความเปลี่ยนแปลง จนหลายคนเริ่มมีคำถามในใจว่า เราจำเป็นจะต้องมีชุดความคิดนี้อย่างเดียวจริงๆ หรือเปล่า และเพราะอะไรองค์กรถึงเรียกร้องให้พนักงานมีสิ่งนี้ R U OK กับ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ ชวนสำรวจ ‘Mindset' หรือ ‘ชุดความคิด' ที่เชื่อว่าต้องคิดแบบนี้ ถึงจะ ‘ดี' และ ‘ใช่' เริ่มด้วยประโยชน์ Growth Mindset ที่จะทำให้เราผ่านวิกฤตในช่วงเวลายากลำบาก, ข้อดีของ Fixed Mindset ที่เป็นขั้วตรงข้าม และที่สำคัญคือการกลับมาถามตัวเองว่า แต่ละสถานการณ์ควรใช้ Mindset ไหนถึงจะดีต่อการแก้ปัญหาและความรู้สึกของตัวเราเอง
ไม่ว่าจะเป็นช่วงก่อนโควิดที่ต้องทำงานในออฟฟิศ หรือในช่วงโควิดที่ต้อง Work From Home มนุษย์ออฟฟิศหลายต่อหลายคนเหน็ดเหนื่อยกับปริมาณงานที่ถาโถมเข้ามาจนหมดแรงกายแรงใจ R U OK พอดแคสต์อยากชวนให้ลองเช็กตัวเองกันอีกสักรอบว่าไหวกันอยู่ไหม หรือพอจะทำอะไรได้บ้างเพื่อทำให้เราอยู่ไหว และกลับไปทำงานด้วยใจที่มั่นคงอีกครั้ง 00:00 อยากตะโกนออกมาว่า ‘งานหนักเกินไปแล้ว' จะหาความสุขจากไหนได้บ้าง | R U OK EP.184 18:37 เวิร์กโหลด งานงอก ควรพอหรือไปต่อดี? | R U OK EP.180 40:37 ค่าของคนอยู่ที่ผลของงานจริงไหม? แล้วถ้าผลงานออกมาไม่ดีเราจะยังมีคุณค่าหรือเปล่า? | R U OK EP.178 59:42 งานที่เหมาะกับเราคือแบบไหนกันแน่? ท้าทายความสามารถ แต่บางครั้งก็ยากเกินไป | R U OK EP.177 01:24:27 ปรับความคิดได้ไหมถ้าต้องทำงานที่ไม่รัก? | R U OK EP.179
ชีวิตที่มีความสุขคือสิ่งที่ใครหลายคนปรารถนา บางคนถึงกับตั้งเป้าหมายว่าต้องการมีความสุขกับทุกๆ เรื่องในชีวิต แต่เมื่อใช้ชีวิตไป กลับพบความจริงว่าเราแทบไม่มีความสุขเลย หรืออย่างมากก็สุขและทุกข์ผสมปนเปกันไปหมด R U OK อยากชวนกลับมาทบทวนผ่านเมดเลย์ชุดนี้ว่า แท้จริงแล้ว ‘ความสุข' ใช่เป้าหมายที่สูงที่สุดของการมีชีวิตอยู่จริงหรือไม่ และหากไม่ใช่ เราจะใช้ชีวิตที่สุขๆ ทุกข์ๆ สลับกันไปมานี้อย่างไรดี 00:00 ช่วงนี้เรามีความสุขอยู่ไหม? สำรวจ แก้ไข และเข้าใจความต้องการของตัวเอง 16:15 เหลือแค่ร่าง แต่ข้างในตายไปหมดแล้ว ทำอย่างไร? 47:24 อยากตะโกนออกมาว่า ‘งานหนักเกินไปแล้ว' จะหาความสุขจากไหนได้บ้าง 01:06:01 นอกจากเรื่องงาน เรา Burnout เรื่องอื่นได้ไหม สังเกตอย่างไรก่อนข้างในจะไหม้จนไม่เหลือ 01:25:44 เฉยๆ ชาๆ อาจไม่ใช่การเบื่อหน่าย แต่กลายเป็นภาวะสิ้นยินดีที่ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
โรคซึมเศร้าอาจเป็นโรคทางจิตเวชที่เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับมากขึ้นในสังคมไทย แต่ความจริงแล้วยังมีโรคทางจิตเวชสำคัญๆ อีกมากที่ควรรู้จัก และต้องเข้าสู่กระบวนการรักษาเพื่อสุขภาพจิตที่แข็งแรง R U OK Medley นี้ไม่ได้มาฟันธงว่าใครเป็นโรคอะไร แต่ชวนฟังอาการของโรคต่างๆ ทั้งโรคเครียด, โรค PTSD, โรคจิตเภท, โรควิตกกังวล ฯลฯ เผื่อถ้ามีอาการไหนเข้าข่าย หรือทุกข์ใจจนหาทางออกไม่ได้ จะได้นัดหมายจิตแพทย์เพื่อวินิจฉัย ซึ่งนับเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่จะทำให้เราหายจากอาการเหล่านี้ได้ Time Index 00:00 R U OK EP.222 มีหลายคนในร่างเดียว จำไม่ได้ว่าทำอะไรลงไป รู้จักกับโรคหลายอัตลักษณ์ (DID) 23:59 R U OK EP.213 ความกระทบกระเทือนทางใจหลังผ่านเหตุการณ์รุนแรง Post-Traumatic Stress Disorder 46:20 R U OK EP.211 ทำไมถึงเครียดมากกว่าที่ควรจะเป็น มารู้จัก Adjustment Disorder 01:07:29 R U OK EP.210 ขึ้นๆ ลงๆ อารมณ์รุนแรง ทำความรู้จัก Borderline Personality Disorder 01:29:33 R U OK EP.209 เข้าใจโรคจิตเภทที่หลายคนบอกว่า ‘บ้า' แท้จริงคือโรคทางสมอง 01:53:06 R U OK EP.208 หยุดความคิดไม่ได้ คิดวนแค่ไหนถึงเรียกว่าโรควิตกกังวล
แม้จะได้ชื่อว่าเข้มแข็งแค่ไหน แต่ทุกคนน่าจะมีช่วงเวลาที่อ่อนแอ รู้สึกว่าเรื่องราวต่างๆ ถาโถมเข้ามาเกินกว่าจะรับไหว หลายคนรีบปัดความรู้สึกนี้ทิ้ง หรือรีบบอกตัวเองว่าเรา ‘ต้อง' ไม่อ่อนแอ เพราะขัดกับคุณสมบัติที่ดี แต่รู้ไหมว่าเรากำลังพลาดโอกาสสำคัญในการรู้จักตัวเองในอีกแง่มุมหนึ่ง เรากำลังติดกับดักความคิดที่ว่า อ่อนแอ=ไม่ดี ซึ่งอาจไม่จริงเสมอไป R U OK ชวนรู้จักตัวเองผ่านมิติของความอ่อนแอ ว่าแท้จริงแล้วทุกอย่างล้วนมีที่มาที่ไป และเราเองก็แกร่งกว่าที่คิด Time Index 00:00 Intro 02:05 5 ขั้นตอนทางจิตวิทยาของการอกหัก และถ้าเศร้าหนักเกินเยียวยาไปหาจิตแพทย์ได้ไหม | R U OK EP.13 34:34 แคร์ความรู้สึกคนอื่นมากเกินไปเกิดจากอะไร และจะทำอย่างไรจะลดความกังวลเรื่องคนรอบข้าง | R U OK EP.40 50:05 เบื้องหลังของความรู้สึกน้อยใจคืออะไร และทำไมเราถึงไม่กล้าสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา | R U OK EP.55 01:10:11 บางครั้งครอบครัวคือที่มาของความรู้สึกไร้ค่า และหากรู้สึกไม่เป็นที่ต้องการควรทำอย่างไร | R U OK EP.65 01:28:00 ความผิดหวังเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต แต่ควรเปลี่ยนวิธีคิดก่อนจะกลายเป็นกับดัก | R U OK EP.79
การสื่อสารคือสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกคน เพราะไม่เพียงเฉพาะภาษาพูดเท่านั้น แต่เรายังสื่อสารกันผ่านน้ำเสียงและภาษากายซึ่งมีผลต่ออีกฝ่าย การสื่อสารจึงเป็นได้ทั้งกาวใจและเป็นได้ทั้งอาวุธ เพื่อให้เราใช้การสื่อสารเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพ R U OK รวมเอพิโสดที่ว่าด้วยเรื่องการพูด การฟัง น้ำเสียง และภาษากาย ผ่านสถานการณ์ต่างๆ เพื่อให้สิ่งที่อยู่ในใจถูกถ่ายทอดออกมาอย่างตรงความต้องการ ผู้รับสารก็สามารถมองเห็นสิ่งที่ผู้สื่อสารต้องการ แม้จะไม่ได้พูดออกมาอีกด้วย Time Index 00:00 โน้มน้าวใจคนฟังด้วยน้ำเสียง 8 แบบ | R U OK EP.25 23:31 สื่อสารอย่างเห็นใจคนตรงหน้า ว่าเขาแบกความรู้สึกอะไรมา และยอมรับซึ่งกันและกัน | R U OK EP.96 43:12 เปิดหู เปิดใจ ทะเลาะกันอย่างไรให้เข้าใจกันมากขึ้น | R U OK EP.119 58:17 Deep Listening ทักษะการฟังเสียงในใจที่ลูกไม่ได้พูดออกมา | R U OK EP.150 01:17:34 ฮึกเหิม สร้างพลังใจ บอกข่าวร้าย การสื่อสารที่ออกแบบได้ในยามเปราะบาง | R U OK EP.161 01:55:30 เทคนิคกั้นรั้วเพื่อรักษาใจให้ยังไหวในภาวะวิกฤต | R U OK EP.238
รักตัวเอง คือพื้นฐานของการมีสุขภาพจิตที่ดี เป็นการเท่าทันอารมณ์ของตนเอง และเป็นฐานอันมั่นคงในการรับมือกับปัญหาต่างๆ ที่เข้ามา แต่เมื่อพูดถึงการรักตัวเองแล้วก็อาจดูนามธรรมจนจับต้องไม่ได้ และไม่รู้ว่าควรจะเริ่มต้นอย่างไร R U OK Medley รวบรวมวิธีง่ายๆ ที่จะทำให้ค่อยๆ ได้กลับมารักตัวเอง ทั้งการหาเวลาพูดคุยกับตัวเอง ประยุกต์เข้ากับกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เราได้ตระหนักและกลับมาเห็นคุณค่าคนที่เราควรใจรักและใส่ใจมากที่สุด Time Index 00:00 “รักตัวเองก่อนจะไปรักใคร” คือเรื่องจริงไหม และเติมเต็มตัวเองอย่างไรให้ใจมีความสุข | R U OK EP.44 19:27 ฝึกยอมรับและเมตตาต่อตนเองอย่างไร ให้ผ่านวันที่แย่ๆ | R U OK EP.91 35:59 Self-Esteem ไม่ใช่เพียงความมั่นใจ แต่คือการเห็นคุณค่าในตัวเองที่มนุษย์ทุกคนควรมี | R U OK EP.92 53:19 จะเริ่มรับรู้คุณค่าในตัวเองอย่างไร จากที่ Low Self-Esteem มาทั้งชีวิต | R U OK EP.93 01:10:42 ขั้นตอนการเป็นเพื่อนแท้กับตัวเอง | R U OK EP.115 01:27:38 ทำกิจวัตรประจำวันเรียบง่ายให้กลายเป็นเรื่อง Self-Care | R U OK EP.231
แม้ว่าโรคซึมเศร้าจะเป็นโรคทางใจที่ถูกพูดถึงกันอย่างแพร่หลาย และเป็นที่เข้าใจในสังคมวงกว้างมากขึ้น แต่หากใครไม่ได้ประสบพบเจอโรคนี้ด้วยตัวเอง อาจนึกไม่ออกว่าความรู้สึกดิ่ง ไร้ค่า รวมถึงความคิดทำร้ายตัวเองจะเกิดขึ้นกับเราได้จริงๆ R U OK พอดแคสต์ จึงขอรวมเอพิโสดที่ว่าด้วยเรื่องโรคซึมเศร้า เพื่อเป็นแนวทางให้สำหรับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่ามีโรคนี้เป็นส่วนหนึ่งของตัวเรา จะมีแนวความคิดและวิธีการปฏิบัติอย่างไร เพราะถึงแม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องง่ายแต่เราก็สามารถดีขึ้นได้หรืออยู่ร่วมกับโรคนี้ได้อย่างเข้าใจ Time Index 00:00 7 เรื่องของโรคซึมเศร้า ที่ชวนทำความเข้าใจ | R U OK EP.109 29:47 ไปเจอจิตแพทย์ครั้งแรกควรทำตัวอย่างไร | R U OK EP.111 51:56 ดูแลกายและใจอย่างไร เมื่อถูกวินิจฉัยว่ามีโรคซึมเศร้า | R U OK EP.112 01:10:10 โรคซึมเศร้าไม่ได้แค่เศร้า เพราะแต่ละวัยก็มีการแสดงออกที่ต่างกัน | R U OK EP.108 01:25:22 เมื่อวัยรุ่นมีภาวะซึมเศร้า จะสื่อสารอย่างไรให้คนรอบข้างเข้าใจ | R U OK EP.110 01:46:49 ทำอย่างไรเมื่อเพื่อนพูดว่า อยากฆ่าตัวตาย | R U OK EP.113