เรื่องราวและแนวทางการทำธุรกิจในโลกยุคใหม่ ที่ “ปลาไว” มีโอกาสชนะ “ปลาช้า”
โลกยุคหลังโควิด หรือ "นิวนอร์มอล" จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร ในมุมมองของเจ้าพ่อสื่อไอที พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ หรือ “หนุ่ย แบไต๋” ....แล้วทำไมเขาจึงค้นพบว่า “อัตราการเสนอหน้า มันไม่ดีเท่าอัตราการเสนองาน”
ดร.สิรยา คงสมพงษ์ Master Trainer, SEAC คุยกับ อรพรรณ ภารพบ กิลแมน ผู้อำนวยการหลักสูตร YourNextU Young ถึง “6C” เคล็ดลับการออกแบบชีวิตให้ประสบความสำเร็จ พร้อมยกตัวอย่างเส้นทางความสำเร็จตั้งแต่วัยเยาว์ของคนดัง เซเลป เช่น Karl Lagerfeld ดีไซเนอร์ชื่อก้องโลกผู้อยู่เบื้องหลังแบรนด์ Chanel และนักร้องดัง Taylor Swift
ดร.สิรยา คงสมพงศ์ คุยกับ พงษ์ยุทธ สุภัทรวณิชย์ ที่ปรึกษาและวิทยากร SEAC และ YourNextU ถึงเทคนิคการทำงานที่บ้าน หรือ Work from Home (WFH) ให้มีทั้งความสุข และได้ผลสำเร็จในงาน
แนวทางการรับมือโควิด-19 ของ องค์กรชั้นนำ แบ่งปันโดยคุณ ธีรพงศ์ จันศิริ ซีอีโอ ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป บริษัทไทยที่มีกิจการอยู่ในยุโรป จีน สหรัฐ รวมทั้งโรงงานใน 16 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งมุมมองของคุณธีรพงศ์ต่อโลกในยุคหลังโควิด
จอย-มนัสวี มาณะวิท อดีตเภสัชกร และมนุษย์เงินเดือนดาวรุ่ง ที่เดินตามความฝันก่อตั้งธุรกิจของตัวเอง แต่ผิดจังหวะเวลาเมื่อผลกระทบจากโควิด เริ่มส่งผล ทำให้ต้องกลับไปหางานอีกครั้ง แชร์ประสบการณ์การลุกขึ้นจากจุดตกต่ำขีดสุดของชีวิต ด้วยการหวนกลับไปมองหาคุณค่าของตัวเอง Show Note ดร.สิรยา คงสมพงษ์: วันนี้เราเรียนรู้อะไรใหม่ๆบ้างรึยังคะ สวัสดีคะ FastFish รายการพอดแคสต์ของคนปลาไว episode นี้จัดทำขึ้นมาเป็นพิเศษด้วยความหวังว่าจะสามารถเป็นข้อคิด และกำลังใจให้กับผู้ฟังทุกท่านที่ตอนนี้อาจจะมีความวิตกกังวลถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางท่านอาจจะกังวลเกี่ยวกับเรื่องงานที่ทำอยู่ เพราะว่ามันมีผลกระทบกับหลายๆวงการหลากหลายทีเดียว วันนี้เราได้รับเกียรติจากแขกรับเชิญพิเศษของเรา คุณมนัสวี มาณะวิท อืม จะเกริ่นว่า ตอนนี้ต้องใช้คำว่าอดีตเนอะ อดีตเภสัชกร และเคยทำงานในองค์กรที่มีความมั่นคง วันนี้คุณมนัสวียินดีจะมาแบ่งปันเรื่องราวส่วนตัวของเธอคะ ในฐานะหนึ่งในผู้ที่ได้รับผลกระทบโควิดเป็นกลุ่มแรกๆ สวัสดีคะขออนุญาตเรียกคุณจอยได้มั้ยคะ . คุณมนัสวี มาณะวิท :สวัสดีคะ . ดร.สิรยา: ขอบคุณๆจอยมากที่วันนี้แบบ เขาเรียกว่ามาแบ่งปันเรื่องราวของตัวเอ งกับผลกระทบที่เกิดขึ้น ทีนี้อยากจะทราบคุณจอยช่วยแนะนำเกี่ยวกับตัวเองสั้นๆให้ฟังได้มั้ยคะว่าก่อนหน้านี้ ชีวิตเป็นยังไง หรือทำอะไรมายังไงบ้าง . 1.33 คุณมนัสวี: ได้คะ ก็สวัสดี เพื่อนๆพี่ๆน้องๆทุกคนที่ฟังพอดแคสต์นี้นะคะ วันนี้อยากมาแบ่งปันให้ทุกคนมีกำลังใจนะคะ ก็สำหรับจอยคะ ถ้าใครบอกว่าทุกวันนี้ไม่มีงาน ทุกคนเซอร์ไพรส์มากไม่เชื่อคะ เพราะว่าที่ผ่านมาจอยเรียนจบเภสัชคะ แล้วก็ก็เรียนปริญญาโท ทำงานอยู่ในบริษัทยา ในตำแหน่งพัฒนาคน ก็อาชีพเนี่ย มั่นคงเลยคะ และก็ได้มีโอกาสไปทำงานในวงการสื่อมวลชนสั้นๆก็เรียกว่ามั่นคงเช่นกัน . การทำงาน จอยเป็นเมเนเจอร์ตั้งแต่อายุไม่ถึง 30 แล้วก็ได้รับโปรโมท ได้รับไว้วางใจให้ทำโปรเจ็คสำคัญๆในบริษัทตลอด ก็เรียกว่า เฮ้ยทำไมดูชีวิตดี๊ดีจัง ชีวิตมีความสุขดี ใช่ ชีวิตปกติมาก . 2.20 ดร.สิรยา: ทีนี้คงต้องเชื่อมด้วยประโยคว่า จนกระทั่ง….. . คุณมนัสวี: จนกระทั่งคะ เมื่อเดือนมกราที่ผ่านมา ได้ตัดสินใจทำตามแพชชั่น ในการประกอบอาชีพอิสระ . ดร.สิรยา: เค้าใช้คำว่า..วิ่งตามความฝัน คุณมนัสวี: วิ่งตามความฝัน คือตอนนั้นจอยมีแพชชั่นมากในการพัฒนาคนแบบ การตั้งบริษัทอบรม อยากเข้าไปเป็นคนนึงที่สามารถพัฒนาคนในองค์กรให้กับลูกค้าเราได้ ก็เลยตั้งบริษัทอบรมขึ้นมา ก็เป็นแพชชั่นคะ ตอนนั้นก็วางแผนไว้ว่า มันมีเงินเก็บใช้ได้ระดับนึงนะ เราวางแผนแล้วแหละ . ดร.สิรยา: คือวางแผนเป็นอย่างดีแล้วละ ไม่ได้วู่วาม วันนั้นแบบมีความฝันและก็มีแพลนนิ่งด้วย . 3.10 คุณมนัสวี: มีแพลนนิ่งด้วยคะ อจ. ; ดร.สิรยา: แล้วเกิดอะไรขึ้น . คุณมนัสวี: เกิดอะไรขึ้น ..คือโมเม้นท์นั้นมันเริ่มมีโควิดที่จีนคะ ประมาณกุมภา ต้นๆกุมภาคะ แล้วด้วยความที่เราอยู่ในวงการยาเราก็รู้แล้วว่าโรคนี้มันไม่จบแน่ๆ . ดร.สิรยา: นี่คือจะว่าไปก็คนวงในด้วยนะ ก็รู้อินไซด์ แล้วเป็นยังไงบ้าง . 3.33 คุณมนัสวี: แล้วประกอบกับตอนนั้นก็เริ่มคิดว่าเฮ้ย เราควรจะอยู่ในฟรีแลนซ์เหมือนเดิมจริงรึเปล่า ก็เลยเกิดคำถามเพราะตอนนั้น พอจีนเริ่มมีข่าวมา ประเทศไทยในบริษัทต่างๆเค้าก็เริ่มปรับตัวนะ ด้วยคำถามว่า เอ๊ อจ.จอย เค้าเรียกอาจารย์คะ อาจารย์คะถ้าเราดีเลย์อันนี้ออกไปๆก่อนดีมั้ย มันเสี่ยงเนาะ แล้วก็เรื่องพัฒนาคน เรื่องอบรมมันก็ไม่รีบ จอยหาลูกค้าหลายเจ้ามากแต่ก็โดนเรียกว่าเลื่อน แม้กระทั่งจีนแรกๆ คนไทยก็เริ่มระวังแล้วคะ ก็มองว่าเดี๋ยวเราเบรกไปก่อนสักพค.มั้ยค่อยมากคุยกัน เนี่ยลูกค้าคุยแบบนี้ ตอนนั้นก็เลยตัดสนใจเริ่มสมัครงานคะ . 4.24 สมัครงานเข้ากับองค์กรอีกครั้งนึง แต่โชคมันก็ไม่เข้าข้างเราอาจารย์ ร่อนเรซูเม่ไปทางระบบที่เรารู้จักกันดี 30 แห่งคะ เรียกสัมภาษณ์ประมาณ 6 ที่เอง . ดร.สิรยา: จาก 30 เรียกมา 6 นั่นคือช่วงประมาณเดือนไหน . คุณมนัสวี: ตอนนั้นประมาณกลางก.พ. . ดร.สิรยา: เราใส่ความพยายามของเรานะ เราก็ไม่ได้อยู่เฉย . 4.53 คุณมนัสวี: ลูกค้าองค์กรไม่จ้างเดี๋ยวเรากลับไปทำงานประจำโดยการร่อนเรซูเม่ก็ได้ แต่แบบมันไม่น่าเชื่อตรงที่ว่า บริษัทเค้าพูดว่า ต้นปีตั้งแต่ มค.จนถึงก.พ. เศรษฐกิจแย่ ยอดขายไม่ดี ขอพักตำแหน่ง people development ก่อน ไม่รับ . ดร.สิรยา: องค์กรที่เรียกเราไปสัมภาษณ์เนี่ย ได้คำตอบมาคล้ายๆกัน? . คุณมนัสวี: ใช่ บางทีก็บอก ขอไม่สัมภาษณ์นะคะ ขอปรับโครงสร้างองค์กร เพราะว่าต้นปีตั้งแต่ม.ค. ก.พ. มาถึงตอนนี้ขายไม่ได้เลย ก็เริ่มโดนปฏิเสธการสัมภาษณ์งาน . 5.31 ดร.สิรยา: สภาวะช่วงนั้นเป็นยังไงบ้าง . คุณมนัสวี: คือแรกๆ กำลังใจมันดีนะอจ. คือต้องบอกก่อนว่าตอนนั้นจอยยังมีหวังอยู่ โอเค ร่อนตรงเค้าไม่รับ ก็เลยลองหาคอนเน็กชั่น ก็ได้ไปสัมภาษณ์นะ แล้วมีแนวโน้มว่าจะได้ด้วย แต่ก็โดนโทรมายกเลิกเช่นกัน . 5.51 แต่ตอนนี้ใจฝ่อแล้วคะ ระลอกสอง ที่เริ่มมีคอนเน็คชั่นวงในแล้ว แต่เค้าก็ไม่รับเรา จะนัดเซ็นสัญญาแต่ยกเลิกหมด จังหวะนั้นจิตตก แล้วก็ยังไปต่อนะอจ.ด้วยการพยายามโทรไปหาลูกค้าเราที่อยู่ในองค์กร หรือกลุ่มเพื่อนที่เคยอยากจะเรียนกับเรา ว่ามีใครอยากจะเรียนกับเรามั้ย ตอนนั้นประมาณปลายก.พ.แล้ว ไม่มีสัญญาณตอบรับว่าอยากเลยอจ. ทุกคนขอเลื่อนหมด เพราะตอนนั้นปลายกพ.ไปจนถึงต้นมีค. มันเริ่มรุนแรงขึ้นเรื่องโควิด ไม่มีใครกล้าเสี่ยงทุกคนพูดเหมือนกันว่า ตอนนี้มันเสี่ยงเรื่องพัฒนาคนเก็บไว้ก่อน ไม่เอาอบรมไม่เอา คือต้องบอกว่าตอนนั้นคิดว่าจะไหวมั้ยเหรอ บอกเลยว่าไม่ไหว ประมาณมี.ค.จะแบบ..จะเป็นกระทั่ง พอเล่าแล้วน้ำตามันจะคลอขึ้นมานะ คือจะเป็นแม้กระทั่งแบบ ตื่นขึ้นมามันไม่อยากตื่น เพราะว่ามันเป็นเหมือนภาวะเครียดสะสมคะอจ. มันเหมือนแบบ เฟล แล้วเฟลอีก ลูกค้าไม่เอา งานประจำก็ไม่รับ แล้วยังไงละ รายได้ศูนย์บาท ขณะที่ผ่อนบ้านผ่อนรถ พ่อแม่อีก ครอบครัวอีก แล้วจะเอาเงินที่ไหนไปละ . 7.20 จากวันนั้นจอยเหมือนแบบ เครียดสะสม คะ อจ.จนไปกระทั่งเวลาที่จอยอยู่ห้องแคบๆ จอยอยู่ไม่ได้จอยหายใจไม่ออก เวลาขึ้นลิฟท์แล้วมีคนอยู่กับจอยในตู้ลิฟท์เดียวกัน จอยต้องพกยาดม ไม่งั้นจอยจะเป็นลม มันเป็นอาการเหมือนคนไม่มีอากาศหายใจ ซึ่งมันเกิดจากภาวะที่เราเครียดแบบเราหาทางออกไม่ได้ มันเป็นแบบนี้มา.. คือแรกๆมันรับไม่ไหวนะอจ.ต้องพกยาดมตลอดแล้วก็ตอนกลางคืนจะต้อง..เกือบเป็นยานอนหลับแล้วละแต่ยังไม่ถึง เป็นสมุนไพรตัวนึงที่กินเพื่อให้มันหลับได้ แล้วพอตอนเช้าตื่นสายมากทั้งๆที่เราเมื่อก่อน เราตื่นเช้าออกกำลัง ตอนนั้นจอยไม่ออกกำลังแล้ว เมื่อก่อนรักษา คุมน้ำหนัก ตอนนี้จะปล่อยตัว กินแต่อะไรแบบจั๊งฟู้ดตลอด เพื่อให้มันรีลีสเพรสเชอร์ รีลีสความเครียดออกไปบ้าง . แล้วมีวันนึงตื่นขึ้นมาประมาณเก้าโมง พอลืมตาขึ้นมาปุ๊ป จอยบอกตัวเองเลยว่าไม่ลืมตาแล้วได้มั้ย แบบ ไม่ต้องหายใจแล้วได้ป๊ะ? มันไม่รู้จะอยู่ไปเพื่ออะไรในเมื่อหนทางข้างนอกมันมืดมาก มันเป็นจังหวะนั้นตอนที่นอนอยู่บนเตียงคะ จอยก็ไม่คิดเหมือนกันว่าเราจะมีภาวะที่ไม่อยากมีชีวิตอยู่บนโลก ไม่คิดว่าเราจะเป็นคนแบบนี้ แต่จังหวะนั้นมันเป็นจริงๆ . 8.47 ดร.สิรยา: คนรอบข้าง หรือคนในบ้านเราเค้ารู้สึก หรือเค้าสัมผัสมุมนี้บ้างหรือเปล่าคะ . คุณมนัสวี: สามีคะ สามีเค้าก็ให้กำลังใจนะ แล้วก็บอกว่าเฮ้ยจอยๆยังมีพี่อยู่นะ ก็อยากให้สู้ต่อไป ถือว่า ช่วงไม่มีงานถือว่าพักผ่อนละกัน เค้าก็ให้กำลังใจแบบนี้ คุณแม่ก็โทรมาคุยเป็นระยะๆเพราะเค้ารู้ว่า พอเราตกงานเราอาจจะซึมเศร้าได้ เพราะเราเป็นคนบ้างานมาก . ดร.สิรยา: แสดงว่าเมื่อก่อนถ้าปีที่แล้ว เรามีโอกาสได้เจอคุณจอย เราจะเห็นคุณจอยในเวอร์ชั่นแบบไหน ในภาพแบบไหน จอยเคยเป็นคนแบบไหน ก่อนที่รุ่งเรืองเฟื่องฟู วันนั้นมันเป็นยังไง . 9.35 คุณมนัสวี: เป็นคนร่าเริงคะ แล้วก็มองโลกแบบโพสิทีฟ ทุกอย่างมันคือทางออก ทุกอย่างมันคือออพชั่นให้เราเลือก เมื่อก่อนจอยรู้สึกว่าเราเป็นผู้เลือกทุกอย่าง แม้กระทั่งเมื่อก่อนเนื้อหอมอยากสมัครงานที่ไหนก็ได้ เป็นแบบนั้นเลย เรารู้สึกว่าเราเลือกได้ เมื่อก่อนก็ร่าเริงสดใสพูดเก่ง พูดเยอะด้วยจนคนที่บ้านบอกหยุดพูด มาช่วงนี้มันเปลี่ยนไปคือจอยไม่พูด มันเงียบจนคนในบ้านรู้ ได้ยิน หรือยิ้มแบบฝืน แล้วก็กินหนักมาก . 10.11 ดร.สิรยา: นี่คือธรรมชาติ อย่างคุณจอยพูดถึงตัวเองว่าปกติชั้นเป็นคนมีภูมิๆในที่นี้คือว่ามองโลกในแง่บวก แล้วพยายามหาทางออก ร่าเริง แต่พอเจอพิษโควิดขึ้นมามันเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือไปเลยเนอะ . 10.39 คุณมนัสวี: กระทั่งเฟสบุ๊ค เราเห็นคนที่มีงานประจำ เค้าก็ดูเติบโต มีงาน มีช๊อปปิ้งเนอะ เอาจริงๆนะอิจฉานะ เราก็แบบอิจฉาเพราะอะไร บางทีแบบซื้อของร้อยนึง เราจะไปซื้อของในร้านแห่งนึงหนึ่งร้อยบาท เมื่อก่อนหนึ่งร้อยบาทจะหยิบง่ายมาก แม้กระทั่งทำบุญหนึ่งร้อยบาทจะหยิบไวมาก แต่วันนั้นนะ จะซื้อของร้อยบาท จะหยิบแบงค์ร้อย จอยหยิบใส่กลับกระเป๋าตังค์ เพราะจอยไม่กล้าใช้เงินขนาดนั้นคะอจ. . 11.10 ดร.สิรยา: แล้วเวลาที่เราอยู่ในสภาวะแบบนี้คุณจอย ใช้วิธีไหนที่จะดูแลตัวเอง เผื่อจะเป็นกำลังใจ และเป็นวิธีการให้ผู้ฟังของเรา บางคนเก๋เชื่อว่าวันนี้ ฟังมาถึงจุดๆนี้ไม่รู้ว่าคุณผู้ฟังรู้สึกเหมือนเก๋มั้ยว่าแบบ เราเข้าใจและซึมซับถึงอารมณ์และสภาวะ และเห็นภาพ เราผ่าน.. หลายๆคนแฮชแท็ก เราจะผ่านเรื่องนี้ไปด้วยกัน คุณจอยใช้เทคนิคยังไงคะ . 11.39 คุณมนัสวี: คือวันนั้นที่จอยเล่าให้ฟังว่าจอยตื่นขึ้นมาแล้วจอยอยากตาย มันใช้สติดึงตัวเองกลับมา เพราะตอนนั้นจอยอยู่คนเดียว จอยใช้สติบอกว่า จอยลืมตาเดี๋ยวนี้ เหมือนสะกดจิตตัวเองนิดนึงคะ ลืมตาเดี๋ยวนี้ จอยก็ลืมตาขึ้น แล้วเราก็พูดตัวเองในหัวนะ จอยลุกขึ้นมาเดี๋ยวนี้ ไปอาบน้ำซะ มันเหมือนบอกตัวเองแบบนี้ ลุกๆ ๆ จอยก็เลยลุกขึ้นมาแล้วก็ไปยืนหน้ากระจกในห้องน้ำ เพราะว่ากำลังจะอาบน้ำเนอะ แล้วก็มองหน้าตัวเองแบบ...เฮ้ยเมื่อก่อน ชั้นมีค่า จริงๆชั้นอาจจะยังมีค่าอยู่ อะไรสักอย่าง มันต้องได้สิวะ อะไรอย่างเงี้ย มันต้องได้สิ มันมีค่าอยู่ในนั้น เดี๋ยวอาบน้ำเสร็จ แต่งตัว แต่งหน้าให้สวย ทาปากสีส้ม อมชมพู ที่สีโปรดของเรา . 12.35 เอาใหม่ซิ บอกตัวเองแบบนี้เลยว่า ลุก ตั้งสติ มีค่า เอาใหม่ซิ แล้วอาบน้ำ แต่งตัว แต่งหน้าด้วยคะ ช่วงเช้าวันนั้นแล้วก็กลับไปนั่งโต๊ะที่เราชอบนั่ง โต๊ะที่เราชอบทำงาน แล้วก็เปิดคอมพ์ขึ้นมาใหม่หลังจากที่ไม่ได้เปิดมานาน เปิดคอมพ์ขึ้นมา..เปิดคอมพ์เปิดโปรแกรมที่เราชอบใช้ พาวเวอร์พ้อยท์ เมื่อก่อนทำสไลด์บ่อยคะอจ. เปิดพาวเวอร์พ้อยท์แล้วก็คาไว้อย่างนั้น เราก็ตั้งคำถามกับตัวเองว่า เอ๊ะ จริงๆแล้วชั้นมีดีอะไรในตัวอยู่บ้าง นะโมเม้นท์อจ.มันคิดจะไม่ออกนะ มันคิดแทบจะไม่ออกว่าแบบ มันก็ได้แต่เรื่องดีเดิมๆ ซัคเซสเดิมๆ แต่ซัคเซสเดิมๆมันหายไปหมดแล้ว แต่จอยก็ไม่ยอม จอยก็แบบ เฮ้ยงั้นเอา โพสต์-อิท มาซิ เพราะเราเป็น facilitator บ่อยๆ คะอจ. เราใช้เทคนิคหนึ่งโพสต์-อิท หนึ่งไอเดีย เราใช้อันนี้บ่อยมากคะ ก็เลยหยิบโพสต์-อิทที่ตั้งอยู่ข้างๆตัวหยิบขึ้นมา แล้วปากกาหนึ่งด้าม แล้วถามตัวเองว่าชั้นมีข้อดีอะไร แล้วเขียนลงไปคะ หนึ่งโพสต์-อิท หนึ่งข้อดี มันมีบางช่วงที่เขียนเสร็จปุ๊ป ก็ถามตัวเอง ใช่เหรอวะ แต่จอยฝืนที่จะเขียนต่อไปก่อน เขียนไม่หยุดเลยคะ ณ โมเม้นท์นี้คือพยายามเขียนออกไปให้ได้มากที่สุดว่าชั้นมีข้อดีอะไร ชั้นมีความสามารถอะไร กลับมาดูตัวเองอีกครั้งนึง . 14.13 ดร.สิรยา: เมื่อกี้คุณจอยเล่าให้เราฟังว่าอย่างแรกเลยนะ ในสภาวะนี้ถ้าเผื่อเราหลายๆคน เจอสภาวะโควิด เรารู้สึกว่าเราเหนื่อยเราท้อแท้ หนึ่งเราต้องมีสติก่อน แล้วเมื่อกี๊ที่คุณจอยแบ่งปันกับพวกเราคือ ไม่มีใครเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดเท่ากับตัวเราเอง เพราะฉะนั้นเทคนิคนึงที่คุณจอยแชร์กับพวกเราคือ หาคุณค่าของตัวเองให้เจอ อาจจะแบบนึกถึง พูดถึง หรือเขียนก็ได้ เวลาที่เราเริ่มเขียนข้อดีๆของตัวเอง ช่วงนั้น มันช่วยเรายังไงคะ . 14.48 คุณมนัสวี: มันช่วยทำให้เรารู้สึกมีค่าอีกครั้ง มันเหมือนเป็นแบบน้ำที่มาหล่อเลี้ยงหัวใจ ให้เรากลับไปเห็นว่าเรามีคุณค่า แม้กระทั่งคุณค่าที่เราเคยไปทำบุญ เราก็เขียน เราเคยไปสอนนส.ฟรีไม่คิดตังค์เราก็เขียนๆหมดคะอจ. เราเคยซื้อขนมให้เพื่อนฟรีๆสองร้อยบาทก็เขียน ๆหมด เขียนจริงๆคะอจ.มันก็ทำให้เราเห็นว่าแท้จริงแล้วตัวเรา ที่เราจับตัวเราอยู่มันมีค่าอยู่ในนั้นนะ มันต้องมองหามันถึงจะมองเห็น . ดร.เก๋: มันเป็นวิธีการที่เราต้อง เราจะให้กำลังใจตัวเอง . คุณมนัสวี: ใช่คะ . ดร.สิรยา: เราจะต้องมองหาถึงจะมองเห็น แล้วพอหลังจากที่คุณจอยใช้เทคนิคนั้นแล้ว มันช่วย ยังไงให้ไปต่อได้อีกบ้างคะ . 15.39 คุณมนัสวี: พอจอยเขียนไปเรื่อยๆ จอยก็เริ่ม ..นอกจากการที่เราช่วยคนอื่นเนอะ มันก็เริ่มกลับมาที่ว่า เอ้เราเรียนอะไร เราเคยทำอะไรบ้าง มันก็เลยเจออาชีพเล็กๆเพิ่มขึ้นให้ตัวเอง ระหว่างนี้ มันก็ไม่มั่นคงหรอก รายได้ครั้งนึงมันก็ร้อยนึง สองร้อย แต่ไอ้เงินเล็กๆ ร้อยสองร้อยที่มันได้มาบ้าง มันก็เหมือนเป็นน้ำเลี้ยงจิตใจ จากที่มันไม่เคยได้มาตลอดสองเดือน แต่มันมีเงินมาสักร้อยนึง ความรู้สึกมันคือ เฮ้ย มันมีกำลังใจแล้ว . ดร.สิรยา: พอเรามีสติ เราเห็นคุณค่าในตัวเองเราก็เริ่มทำอะไร ที่เราทำได้ เล็กๆน้อยก็ได้ ขอให้มีจุดเริ่มต้น คุณจอยเรียนรู้อะไรจากสถานการณ์นี้บ้าง แล้วกลับมารีเฟล็กตัวเอง . 16.34 คุณมนัสวี: จอยเรียนรู้ว่า ณ นาทีที่เราดาวน์ที่สุดในใจ มันไม่มีมือไหนมาช่วยเราได้ เท่ามือตัวเอง กอดตัวเองบ้าง มันจะทำให้เรารู้ว่า มันยังมีชีวิตตรงนี้อยู่ แล้วเห็นค่าเค้าซะ แล้วไอ้ทางมืดมนนะ มันไม่มีใครมาใช้แสงสว่างหรือไฟฉายส่องให้ ทางมืดนั้นมันจะสว่างขึ้นเมื่อเราหาไฟฉายในตัวเองแล้วส่องออกไป อันนี้คือบทเรียนของจอยเนาะ . 17.16 แล้วก็ ไม่ว่าจะเป็นแอคชั่นไหน ทางหาเงินที่มันพอจะมีกำลังใจให้เราได้ มันไม่ต้องเลิศเลอเพอร์เฟ็คแบบหวังเท่าเมื่อก่อน แต่อย่างน้อยมันเป็นเหมือนก้าวเล็กๆ มันเหมือนความสำเร็จเล็กๆเป็นน้ำหล่อเลี้ยงจิตใจ แล้วขอให้ทำไปในทุกช่องทางที่เราสามารถทำได้ เพราะสำหรับจอยมันมีประมาณสี่แอคชั่นที่ทำ แล้วจอยก็ทำทุกทาง เพราะอนาคตเราไม่รู้ว่าทางไหนจะเวิร์ค เราไม่รู้อนาคตแต่ขอให้ สิ่งที่เราคุมได้ ณ วันนี้คือตัวเองให้ตัดสินใจทำ อย่างมีกำลังใจ . ดร.สิรยา: สติมา ปัญญาเกิด เหมือนคำที่เราเคยได้ยิน บทเรียนหรือสิ่งที่คุณจอยได้เจอเก๋เชื่อว่า คงไม่ใช่คุณจอยคนเดียว อยากให้คุณจอยฝากข้อคิด หรือข้อแนะนำอะไรสำหรับคุณผู้ฟังของเราที่ตอนนี้อาจจะมีความเสี่ยงที่จะตกงาน หรือบางคนอาจจะอยู่ในสภาวะไม่ต่างจากคุณจอยๆอยากจะให้ข้อคิด คำแนะนำ อยากให้กำลังใจอะไร . ก็พอได้มานั่งเรียบเรียงทุกอย่างมาแล่ว ที่เล่าให้ฟังว่าจอยทำอะไรบ้างเผื่อเพื่อนๆอยากรู้ต่อนะ คือหลังจากที่จอยได้เขียนโพสต์-อิทไปเยอะๆ มันได้เยอะนะ มันเกิน 30 อันอีกนะ จอยก็เลยเอาโพสต์-อิทนั้นมาจัดกลุ่ม แล้วมาอ่านอีกทีว่าแต่ะกลุ่ม เราจะแปลงเป็นแอ็คชั่น เป็นอาชีพอะไรให้ตัวเองได้บ้าง สุดท้ายก็ได้มาสี่งานที่ทำ อันที่หนึ่งคะ ตัดสินใจเฮือกสุดท้ายในการสมัครงานในวงการยา ซึ่งรอบนี้ได้งานและ แต่ยังไม่เริ่มงานนะคะ ก็อนาคตก็ยังไม่รู้ว่าจะโดนยกเลิกอีกรึเปล่า แต่อย่างน้อยมันก็ ได้ทำแอ็คชั่นอันที่หนึ่งคือสมัครงานในวงการยา ซึ่งเป็นจุดที่เราช่ำชองอยู่แล้ว . 19.22 อันที่สองอีกกลุ่มโพสต์-อิดนึง จอยเขียนไปว่า ฉันเป็นคนชอบสอน แล้วก็ทุกคนจะชื่นชมเวลาจอยยืนสอน จอยก็เลยเปิดเพจขึ้นมาแล้วก็กำลังแพลนว่าจะไลฟ์ในเพจตัวเอง เป็นข้อคิดในการผ่านวิกฤต อันนี้อันที่สองคะ . 19.45 อันที่สามที่จอยทำก็คือ รับงานสอนที่ YourNextU แห่งนี้เป็นที่ๆทำให้เราทุกคนได้มาเจอกันคะ และจอยเซ็ทให้งานที่ YourNextU เป็น first priority นั่นหมายถึงว่าถ้าไม่ว่างก็จะว่างเพื่อ YourNextU คะมันก็เป็นทางนึงที่ทำให้เรามีรายได้บ้างเข้ามา . 20.05 และแอคชั่นที่สี่อันนี้เซอร์ไพรส์มากคะ จอยก็มองว่าชั้นเรียนเภสัชมาจุดแข็งของชั้นก็คือการทำยา แล้วตอนนี้เสปรย์แอลกอฮออล์มันขาดแต่จอยผสมได้ และจอยก็มีสารตั้งต้น และก็มีวิชา ก็เลยตัดสินใจผสมแอลกอฮออล์ด้วยมาตรฐานที่เราเปิดสูตรตำรับจริงๆ แล้วเราก็โพสต์ในเฟสบุ๊คว่าเฮ้ยเราทำมามียี่สิบขวดนะ มีใครจะเอามั้ยบอก ก็มีคนเอาและมีคนขอซื้อคะ ก็เลยอันที่สี่เสปรย์นี้ เป็นทางเลือกที่เราแค่ทำมันลงไปแล้วมันกลายเป็นรายได้เพิ่มเข้ามา อย่างตอนที่เราอัดเรคคอร์ดจอยมีออร์เดอร์ล่วงหน้าไปจนถึงเมย.แล้วอีก 200-300 ออร์เดอร์ ทุกวิกฤตมันก็มีโอกาส ซึ่งด้วยความที่เราเข้าใจคน ราคาที่เราตั้งเราตั้งแบบเผื่อแผ่แบ่งปัน มันก็ทำให้เราได้บุญกลับมา คือจอยก็ไม่รู้ว่าทางไหนมันจะเวิร์คสุดนะในสี่ทาง แต่ทำเถอะ อย่างน้อยมันก็เห็นว่าทุกลมหายใจที่ออกมามันไม่ได้หายใจทิ้ง มันก็ได้ทำ 21.15 ดร.สิรยา: อย่างที่คุณจอยพูดเนอะว่าทุกปัญหามีทางออกมันอยู่ที่วิธีคิดที่เรามี ไม่งั้นถ้าเราคิดกลับกันมันอาจจะแบบ ไม่ว่าเราคิดออพชั่นอะไรมันมีปัญหา ในทุกทางออก . คุณมนัสวี: ใช่ แต่เชื่อแล้วคะว่าทุกปัญหามันมีทางออก just do it เพียงแค่ทำลงไป คะขอบคุณคะ . ดร.สิรยา: วันนี้สิ่งที่เราได้ยินนะคะคงเป็นสิ่งที่ ทำให้เราเห็นภาพจริงๆกับคำที่ว่าในทุกปัญหามีทางออก และอยากขอบคุณแขกรับเชิญคุณจอยมากๆคะที่วันนี้มาแบ่งปันเรื่องราวของเธอ หวังว่าอิพิโสดในวันนี้ จะช่วยให้เป็นกำลังใจสำหรับคุณผู้ฟัง ที่อาจจะเจอสถานการณ์ที่ไม่ใช่วันเป็นวันของเรา เชื่อว่าด้วยมายด์เซ็ทวิธีคิดแบบนี้ เราจะสู้ไปด่วยกัน ขอบคุณคะ . Credit . The Host: เก๋ - ดร.สิรยา คงสมพงษ์ . Show Creator: อาร์ต - พิชญ ช้างศร Sound Designer & Engineer: เอิร์ธ - ร่มธรรม มานะตั้งสกุลกิจ
เคล็ดลับการเรียนภาษาต่างประเทศด้วยวิธีการ "เรียนแบบไม่ได้เรียน" ของ ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน พิธีกรและผู้ประกาศข่าวชื่อดัง อดีตผู้บริหารด้านสื่อสารองค์กรชั้นนำ เช่น SCB BMW ที่สามารถพูดได้ถึง 5 ภาษา คือ อังกฤษ เยอรมัน อิตาลี ไทย และจีน *ELSA สตาร์ทอัพ ซีรี่ย์ A จาก Silicon Valley ออกแคมเปญช่วยเหลือสังคมช่วงวิกฤตโควิด-19 มอบสิทธิการฝึกพูดภาษาอังกฤษกับ AI ฟรีเป็นเวลา 3 เดือนแก่ นร.ป.1-ปริญญาตรี ที่ลงทะเบียนภายใน 13-27 เม.ย.63 (ติดตามรายละเอียดได้จากเฟสบุ๊ค SEAC)
ทุกวิกฤตมีโอกาส แต่ Mindset คือจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุด เมื่อไรก็ตามที่เกิดวิกฤตขึ้นในชีวิต ภิญญาพัชญ์ เสรีวิริยะกุล ที่ปรึกษาอาวุโส SEAC แนะว่าให้เราเปลี่ยนคำถามที่เราถามตัวเองใหม่จากการโฟกัสที่ตัวเอง ไปสู่การมองให้ไกลกว่าตัวเอง หรือส่วนรวม (From Me to We) พร้อมทั้งแนะทิปส์และเทคนิคอื่นๆอีกมากมาย ใน "FastFish" พอดแคสต์ของคน “ปลาไว” ที่อยู่รอดได้ในทุกสถานการณ์ ดำเนินรายการโดย ดร.สิรยา คงสมพงษ์
วิธีปั้น “Side Project” ให้เป็นธุรกิจดาวรุ่ง “Side Project” คืออะไร ทำไมผู้ประกอบการและคนทำธุรกิจในยุคนี้จึงควรให้ความสนใจแปลงแพชชั่นส่วนตัว ทำโครงการในฝันให้เป็นธุรกิจดาวรุ่งพุ่งแรง ผ่อนคลายจากเรื่องไวรัสเครียดๆมาลับคมธุรกิจกันด้วยไอเดียสดใหม่ ดร.สิรยา คงสมพงษ์ Master Trainer, SEAC คุยกับ เก่ง สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม ซีอีโอ บริษัท rgb72 ผู้มีประสบการณ์ตรงในการสร้าง Side Project ให้เติบโตขึ้นมาจนไม่แพ้บริษัทแม่ นั่นคือธุรกิจอีเว้นท์ ในนามของ Creative Talk ข้อดีของการทำ Side Project 1.เป็นงานที่ทำตามความเชื่อหรือความฝัน 2.”วอรี่ฟรี” คือเป็นงานที่เราทำโดยไม่มีความกดดันในเรื่องของรายได้ หรือความสำเร็จของมัน 3.ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือได้เจอกับ “โลกใหม่” ที่เราอาจจะไม่เคยรู้จักมาก่อน 4.สิ่งที่ได้เรียนรู้ใหม่ๆนี้ อาจจะกลับเข้ามาช่วยพัฒนาให้งานประจำที่ทำอยู่แล้วให้ดีขึ้น 5.อาจจะช่วยเปิดโอกาสใหม่ๆในอนาคตให้เราได้โดยไม่คาดหมาย แต่การทำ Side Project มีข้อควรระวังดังนี้ 1.อย่าตามเทรนด์ ให้ทำตามความชอบ ตามความฝันของเรา 2.เป้าหมายควรเป็นเป้าหมายที่ใหญ่กว่าตัวเอง เช่น ต้องการทำให้คนไทยทุกคนเก่งขึ้น มากกว่าผลประโยชน์ตอบแทนในระยะสั้น เช่น รายได้ หรือยอดไลค์
รับฟัง FastFish พอดแคสต์ กับ วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด และ นิภัทรา ตั้งพจน์ทวีผล Executive Director, SEAC ที่ทั้งสองมาร่วมถ่ายทอดรูปแบบการใช้ชีวิต การเรียน และ การทำงาน ท่ามกลางการแพร่กระจายของไวรัสโคโรน่า โดยมี ดร.สิรยา คงสมพงษ์ Master Trainer, SEAC ร่วมถ่ายทอดความรู้รอบด้าน . สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้รูปแบบการเรียนและการทำงานเปลี่ยนไป การติดต่อสื่อสารแบบ “Virtual” เข้ามามีบทบาทอย่างมีนัยยะสำคัญ ถึงเวลาแล้วที่เราจำเป็นต้องปรับหลักคิดและทักษะสำหรับการเรียน การทำงาน พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เป็นส่วนของชีวิตประจำวันอย่างเชี่ยวชาญ
รับฟัง FastFish พอดแคสต์ กับ ปฏิภาณ สุคนธมาน ผู้จัดการใหญ่ บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล ที่มาร่วมถ่ายทอดโซลูชั่นการขายในตลาดที่การแข่งขันอย่างรุนแรงเพื่อให้ได้มาซึ่งยอดขายโดยมี กรินทร์ โปสาภิวัฒน์ ที่ปรึกษาอาวุโส SEAC ร่วมถ่ายทอดความรู้รอบด้าน . ในยุคที่ตลาดธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาโดยเฉพาะการดิสรัปชั่น ทำให้ผู้เกี่ยวข้องด้านการขายทั้งองคาพยพจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อสร้างโซลูชั่นการขายแบบใหม่เพื่อเข้าใจความต้องการของตลาดและต้องรวดเร็วเพื่อชิงความได้เปรียบในการแข่งขันสู่น่านน้ำธุรกิจ Blue Ocean ในท้ายที่สุด #FastFish #SEAC
รับฟัง FastFish พอดแคสต์ กับ วิเชฐ ตันติวานิช ประธาน บริษัท เฟิร์ม จำกัด ที่ปรึกษาในการสร้างธรรมนูญครอบครัวให้กับธุรกิจครอบครัวมาแล้วนับไม่ถ้วนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความวุ่นวายของการบริหารงานโดยครอบครัวสู่ข้อตกลงที่เป็นที่ยอมรับและมีความเป็นสากล โดยมี กรินทร์ โปสาภิวัฒน์ ที่ปรึกษาอาวุโส SEAC ร่วมถ่ายทอดมุมมองรอบด้าน . เมื่อเหรียญสองด้านของ “ความเป็นเจ้าของธุรกิจ” สามารถทำให้เกิดผลงานอันยอดเยี่ยม ในขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดปัญหาความวุ่นวายอันเนื่องจากความใกล้ชิดทางสายเลือดและการเลือกปฎิบัติและบริหารธุรกิจครอบครัว ดังนั้น การนำธรรมนูญครอบครัวมาเป็นกติการ่วมกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่ “ธรรมนูญครอบครัว” แบบใดที่เหมาะสมในยุคดิสรัปชั่นนี้ ร่วมติดตาม #FastFish #SEAC
รับฟัง FastFish พอดแคสต์ กับ จักรพงษ์ คงมาลัย ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท Moonshot Digital จำกัด บริษัทดิจิทัลพีอาร์อันดับต้นๆ ของประเทศที่มาร่วมถ่ายทอดสิ่งสำคัญของการสร้างแบรนด์ในยุคดิจิทัล โดยเฉพาะการเปลี่ยนพนักงานให้เป็นกระบอกเสียงหรือที่เรียกว่า “สาวกของแบรนด์ (Employee Advocacy)” โดยมี ดร.สิรยา คงสมพงษ์ Master Trainer, SEAC ร่วมถ่ายทอดมุมมองรอบด้าน . การเปลี่ยนพนักงานให้เป็นกระบอกเสียงหรือเป็นสาวกของแบรนด์ (Employee Advocacy) นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง แต่จะทำอย่างไรให้พนักงานของเราเป็นกระบอกเสียงสื่อสารแทนบริษัทบอกเล่าเรื่องราวขององค์กรผ่านโลกดิจิทัลได้เป็นอย่างดีและต้องสอดคล้องกับ พันธกิจ วิสัยทัศน์ และเป้าหมายขององค์กรอีกด้วย #FastFish #SEAC #Intrapreneur
รับฟัง FastFish พอดแคสต์ กับ พิชชาภัสร์ ฐิติปุญญา ผู้บริหารฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ซินเนอร์เจติค ออโต้ เพอร์ฟอร์มานซ์ จำกัด (มหาชน) ASAP ที่มาร่วมกันเปิดแนวคิดการทำธุรกิจแบบคนเจเนอเรชั่น Y กับการปรับใช้เทคโนโลยี รวมถึงการทำงานร่วมกับคนเจเนอเรชั่นอื่นๆ โดยมี กรินทร์ โปสาภิวัฒน์ ที่ปรึกษาอาวุโส SEAC ร่วมถ่ายทอดมุมมองรอบด้าน . แนวคิดของคนเจเนอเรชั่น Y แบบใดที่สามารถสร้างอาณาเขตใหม่ของธุรกิจ พร้อมๆ ไปกับการเชื่อมแนวคิดและการทำงานระหว่างคนเจนฯ XและY เข้าไว้ด้วยกันเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และรูปการทำงานที่สร้างสรรค์ให้กับองค์กร #FastFish #SEAC #GenY #DesignYourLife
รับฟัง FastFish พอดแคสต์ กับ เอ็ม-ขจร เจียรนัยพานิชย์ ผู้ก่อตั้งบริษัท Online Publisher ‘The Zero Publisher’ อาทิเว็บไซต์ Mango Zero, Thumbsup in Thailand ที่มาร่วมกับเปิดมุมมองถึงแนวคิด รวมถึงเทคนิคการสร้างความหมายและคุณค่าในงานให้คนวัย Gen Y และ Z โดยมี ภิญญาพัชญ์ เสรีวิริยะกุล ที่ปรึกษาอาวุโส SEAC ร่วมถ่ายทอดมุมมองรอบด้าน การเข้าใจคนทำงานของคุนยุคเจนเนอเรชั่น Y และ Z นั้นไม่ใช่แค่การให้สถานที่หรูหราทันสมัยในการทำงาน แต่หัวใจสำคัญคือการให้เขามีพื้นที่สร้างสรรค์ผล สร้างชื่อเสียง และมีส่วนร่วมในงานนั้นๆ รับรองว่าสิ่งที่ได้รับกลับมาคือคุณภาพงานเปี่ยมไปด้วยคุณภาพและพลังงาน #SEAC #DesignYourLife #GenY #GenZ
รับฟัง FastFish พอดแคสต์ กับ ดร.ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ บริษัท สยามเมทริกซ์ คอนซัลติ้ง จำกัด และที่ปรึกษา ทรูดิจิทัลกรุ๊ป เปิดมุมมองแนวคิดแบบดิจิทัล ที่จำเป็นในยุคที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันไปมากที่สุด โดยมี สิรยา คงสมพงษ์ Master Trainer, SEAC ร่วมถ่ายทอดแง่คิดรอบด้านการเท่าทันยุคดิสรัปชั่น ไม่ใช่แค่การมีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยอยู่ในมือ แต่เป็นการนำพาความคิดแบบดิจิทัลมาใช้อย่างชาญฉลาดบริหารเทคโนโลยีดิจิทัลให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะมองมุมการทำธุรกิจขององค์กรหรือการเสริมทักษะการทำงานเพื่อพัฒนาฝีมือของตนเอง
รับฟัง FastFish พอดแคสต์ กับ ณิชา พิทยาพงศกร นักวิจัยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (TDRI) นักวิจัยด้านการศึกษา ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับการเรียนรู้ของคนไทยและสังคมไทย มาร่วมเปิดเผยกระบวนท่าการเรียนรู้สำคัญเพื่อยกระดับทักษะที่จำเป็นในการทำงานยุคที่แรงงานจาก AI เข้ามาทดแทน โดยมี ภิญญาพัชญ์ เสรีวิริยะกุล ที่ปรึกษาอาวุโส SEAC ร่วมถ่ายทอดมุมมองรอบด้าน
รับฟัง FastFish พอดแคสต์ กับ “เจ๊ จง” จงใจ กิจแสวง เจ้าของแบรนด์ร้านอาหาร “หมูทอดเจ๊จง” ผู้พลิกตัวเองจากชีวิตติดลบ มีหนี้สินท่วมหัว ครอบครัวแตกสลาย จนปัจจุบันมีร้านอาหารถึง 14 สาขาและโรงงานผลิตอาหารกล่องอีก 1 แห่ง โดยมี ภิญญาพัชญ์ เสรีวิริยะกุล ที่ปรึกษาอาวุโส SEAC ร่วมถ่ายทอดมุมมองรอบด้าน
รับฟัง FastFish พอดแคสต์ กับ ภัทรา สหวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท วนชัย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ที่เผยที่มาที่ไปของ “เพลินวาน” สถานที่ท่องเที่ยวย้อนยุคแห่งหัวหินซึ่งได้รับการพิสูจน์จากเสียงตอบรับและความนิยม ทั้งยังเป็นต้นแบบ “ตลาดย้อนยุค” ซึ่งคอนเซ็ปต์ดังกล่าวถูกนำไปใช้ยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ทั่วประเทศ โดยมี ดร.สมชาติ วิศิษฐ์ชัยชาญ ที่ปรึกษาอาวุโส SEAC ร่วมถ่ายทอดมุมมองรอบด้าน
รับฟัง FastFish พอดแคสต์ กับ ฐากร ปิยะพันธ์ ประธานกรรมการกรุงศรี คอนซูมเมอร์ และผู้บริหารสายงานดิจิทัลแบงกิ้งและนวัตกรรม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา หัวหอกสายงานดิจิทัลแห่งธนาคารกรุงศรีฯ ที่เผยกลศึกในการนำทัพฝ่าคลื่นดิสรัปชั่นแห่งโลกดิจิทัลเพื่อครอบครองอาณาเขตธุรกิจใหม่ที่ธนาคารต้องก้าวไปให้ถึง โดยมี ดร.ธิดารัตน์ อริยะประเสริฐ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการธุรกิจ SEAC ร่วมเปิดมุมมองรอบด้าน
รับฟัง FastFish พอดแคสต์ กับ พิพัฒพงศ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดใหญ่ บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ต้นแบบธุรกิจเพื่อสังคม ที่มีการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องและพร้อมปรับเปลี่ยนธุรกิจรวมถึงผลิตภัณฑ์ครั้งใหญ่ โดยมี ดร.ธิดารัตน์ อริยะประเสริฐ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการธุรกิจ SEAC ร่วมเปิดมุมมองรอบด้าน
รับฟัง FastFish พอดแคสต์ จาก นงนุช บูรณะเศรษฐกุล ไปกับแนวคิดการทำธุรกิจในยุคดิสรัปชั่นของไทยเบฟฯ และ โออิชิ กรุ๊ป เมื่อโลกธุรกิจปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ผู้ประกอบการที่เรียนรู้และครองใจผู้บริโภคเท่านั้นที่จะชนะในท้ายที่สุด โดยมี ดร.สมชาติ วิศิษฐ์ชัยชาญ ที่ปรึกษาอาวุโส SEAC ที่มาร่วมกันแบ่งปั่นประสบการณ์
รับฟัง FastFish พอดแคสต์ กับเครื่องมือทรงพลัง Growth Mindset ในการสร้างการเจริญเติบโต และความก้าวหน้าให้กับชีวิตส่วนตัวและหน้าที่การงานจาก จิตตพัฒน์ โห่กุศลสินธุ์ (หรือโค้ชวา) ผู้ก่อตั้งสถาบันไทยฟ้าเพื่อการพัฒนา.โค้ชวาได้เข้าเรียนหลักสูตรนี้กับ YourNextU และเกิดแรงบันดาลใจในการนำเอาหลักสูตรนี้มาใช้กับโครงการจิตอาสาของเธอกับผู้ต้องขังในเรือนจำเพื่อจุดประกาย ให้พวกเขามีความหวังและพลังที่จะเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่สวยงามได้อีกครั้งหนึ่ง.โดยมี กรินทร์ โปสาภิวัฒน์ ที่ปรึกษาอาวุโส SEAC ร่วมแสดงความคิดเห็นรอบด้าน
อไจล์ (Agile) ได้ขยับขึ้นมาเป็นสมรรถนะสำคัญที่องค์กรและผู้นำองค์กรในยุคนี้จำเป็นต้องมี แต่ความหมายที่แท้จริงและการนำไปทำให้เกิดผลสำเร็จเป็นอย่างไร? .รับฟัง FastFish พอดแคสต์ จาก พชร อารยะการกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด และ นพรัตน์ ภักดี ที่ปรึกษาอาวุโส SEAC มาร่วมพูดคุยเจาะลึกที่องค์กรยุคใหม่จำเป็นต้องรู้
Gaia & Andrew Grant, Co-founders and Directors of Tirian International Consultancy, and authors of many bestselling books including “Who Killed Creativity?” and “The Innovation Race” discuss with James Engel, Chief Learning Architect at SEAC on steps to propel creativity and innovations in enterprises and individuals as well as in a country like Thailand.
รับฟัง มิชชั่นสุดท้าทายจาก ธีระ กนกกาญจนรัตน์ ซีอีโอ/ผู้ร่วมก่อตั้ง Arincare ในการช่วยทรานส์ฟอร์มธุรกิจร้านขายยาและสาธารณสุขในประเทศไทย . ฟังพอดแคสต์ EP.15 “พลิกโฉมธุรกิจยาไทยด้วย Big Data” โดยมี ปฐมภัทร คำตา Head of Data Science, Analytics & Development บริษัท เงินติดล้อ จำกัด ร่วมวงสนทนาในมุมของบิ๊กดาต้าและการประยุกต์ใช้ข้อมูลในธุรกิจยาและอื่นๆ
รับฟัง เรื่องราวและบทเรียนการเริ่มต้นธุรกิจของ วัชรี พรมทอง แห่ง ภูมิใจ๋ คอฟฟี่ ผู้ผันตัวเองจากมนุษย์เงินเดือนมาเป็นเจ้าของกิจการโรงคั่วและจัดจำหน่ายเมล็ดกาแฟใน จ.น่าน ที่ปลุกปั้นแบรนด์ของตนเองสะสมชื่อเสียงจากระดับท้องถิ่นสู่ระดับประเทศ ฟังพอดแคสต์ EP.10 “Start your business [Case study: ภูมิใจ๋คอฟฟี่]” โดยมี นพรัตน์ ภักดี ปรึกษาอาวุโส SEAC ร่วมวิเคราะห์ถึงหลักคิดและแนวทางการเริ่มต้นและพัฒนาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จในอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด (เอ็กซ์โพเนนเชียล)
ฟังพอดแคสต์ EP.9.5 ““ป้าแตน” Case Study ที่สำเร็จของ OKRs ในไทย (ตอนจบ)” ภาคต่อของ OKRs เมื่อ พรทิพย์ กองชุน ผู้ร่วมก่อตั้งและซีโอโอแห่งจิตตะ เล่าเรื่องกรณีศึกษาในการนำ OKRs ไปใช้กับทุกคนในบริษัทไม่เว้นแม้ “ป้าแตน” แม่บ้านที่จิตตะที่ทำให้เธอและพนักงานจิตตะทุกคนพากันแฮปปี้โดยถ้วนหน้า
เมื่อ OKRs (Objectives & Key Results) กำลังดึงดูดความสนใจขององค์กรจำนวนมากมองหาเครื่องมือการวัดและพัฒนาองค์กรให้เหมาะกับโลกยุคดิสรัปชั่นมากกว่า KPIs แต่การนำเอามาใช้จริงในบริบทแบบไทยๆ นั้น มีอุปสรรคและความท้าทายอย่างไรบ้าง? . ฟังพอดแคสต์ EP.9 “OKRs แบบไทยๆ ทำไมไม่เวิร์ค?” จาก พรทิพย์ กองชุน ผู้ร่วมก่อตั้งและซีโอโอ บริษัท จิตตะ และ อิสระ ยงปิยะกุล Executive Consultant แห่ง SEAC มาร่วมกันถกในประเด็นที่ร้อนแรงนี้
ดร. ณัฐวุฒิ พงศ์สิริ, รองเลขาธิการสายงานเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และคุณอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC ร่วมสนทนาถึงอนาคตของการทำงาน (The Future of Work) ทีจะเปลี่ยนแปลงไปตามคลื่นของพัฒนาการด้านเทคโนโลยี ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคนทำงานด้าน HR รวมทั้งเหล่ามนุษย์เงินเดือน และคนทำอาชีพอิสระทั่วไปต้องปรับตัว
ฟังพอดแคสต์ EP.7 จาก ดร.ศรายุธ แสงจันทร์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ รักษาการประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด ที่ร่วมเปิดเผยเบื้องหลังโครงการดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นที่ไปคว้ารางวัลอันดับหนึ่งในเอเชียจาก IDC โดยมี ดร.สมชาติ วิศิษฐ์ชัยชาญ ที่ปรึกษาอาวุโส SEAC ร่วมสนทนา
ฟังพอดแคสต์ EP.6 “วิธีพาตัวเองออกจากกล่องใบเล็ก” จากประสบการณ์และบทเรียนอันล้ำค่าที่ถ่ายทอดโดย เป้ ชาตยา ชูพจน์เจริญ แห่ง บาร์บีคิว พลาซ่า ธุรกิจปิ้งย่างที่ฝ่าฟันความยากลำบากในการประกอบกิจการและพา บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด กลับมาครองใจผู้บริโภคได้อีกครั้ง . รับฟัง หลักคิดและองค์ความรู้ที่จะพาตนเองและธุรกิจออกจากกล่องใบเล็กจาก ชาตยา ชูพจน์เจริญ โดยมี ภิญญาพัชญ์ เสรีวิริยะกุล ที่ปรึกษาอาวุโส SEAC ร่วมแสดงความคิดในรอบด้าน
ฟังพาดแคสต์ EP.13 เคล็ดลับการแปลงร่างเป็น "Fast Fish" ไปกับ อภิรัตน์ หวานชะเอม Chief Digital Officer บริษัท เอสซีจี ซีเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด และ วิศรุต นิยมศาสตร์ ที่ปรึกษาเชิงกลยุทธ์ ด้านระบบดิจิทัล บริษัท MAQE Bangkok จำกัด ร่วมสนทนาถึงเคล็ดลับการแปลงร่างเป็น “Fast Fish” หรือ “ปลาไว” ที่สามารถเอาชนะปลาช้าได้ในยุคดิสรัปชั่น
ฟังพอดแคสต์ EP.4 "วิ่งมาราธอนดีต่องานและชีวิตอย่างไร" รับฟัง อาร์โนด์ เบียเลคกิ ซีอีโอ นักวิ่งมาราธอนแห่ง บริษัท โซเด็กซ์โซ่ จำกัด โดยมี มนต์ชัย จงศรีสุพัฒน์ นักวิ่งเทรลและอัลตร้ามาราธอนจาก SEAC ถึงเทคนิคการวิ่งมาราธอนและประโยชน์ต่องานและชีวิต
รับฟัง Mindset แห่งความสำเร็จในการทรานส์ฟอร์มธุรกิจแสนล้านบาทของบ้านปูไปสู่ธุรกิจ EnergyTech จาก ชนินท์ ว่องกุศลกิจ ประธาน บมจ.บ้านปู โดยมี อริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC ร่วมพูดคุยอย่างรอบด้าน.ฟังพอดแคสต์ EP.3 พลิกโฉมบ้านปูด้วย Tech กับ โร้ดแมปความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ EnergyTech
รับฟัง วิวรรณ สารกิจปรีชา ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ และ อรพรรณ ภารพบ กิลแมน ผู้อำนวยการหลักสูตร YourNextU Young ร่วมถกกันถึงทักษะที่จำเป็นของคนทุกวัยในโลกยุค AI ที่ “เนื้อหา” ลดความสำคัญ.ฟังพอดแคสต์ EP.12 "การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21" สิ่งใดของทักษะที่จำเป็นของคนทุกวัย
รับฟัง “สูตร” ความคิดสร้างสรรค์ไม่รู้จบของ “ป๋าเต็ด” ยุทธนา บุญอ้อม ผู้จัดงานเทศกาลดนตรี “BIG MOUNTAIN MUSIC FESTIVAL" ที่เปิดโอกาสให้ทีมงานในบริษัท แก่น 555 จํากัด มีอิสระทางความคิดและการทำงาน โดยมี กรินทร์ โปสาภิวัฒน์ ที่ปรึกษาอาวุโส SEAC ร่วมแสดงความคิดเห็น.ฟังพอดแคสต์ EP.1 สูตรความคิดสร้างสรรค์ไม่รู้จบจาก “ป๋าเต็ด” ยุทธนา บุญอ้อม