NSTDA Podcast

Follow NSTDA Podcast
Share on
Copy link to clipboard

We present you the story of science, technology and innovation.

NSTDA Channel


    • Apr 21, 2025 LATEST EPISODE
    • monthly NEW EPISODES
    • 36m AVG DURATION
    • 214 EPISODES


    Search for episodes from NSTDA Podcast with a specific topic:

    Latest episodes from NSTDA Podcast

    Sci เข้าหู EP.87 - เจาะลึกเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ หัวใจสำคัญของโลกยุคดิจิทัล

    Play Episode Listen Later Apr 21, 2025 86:25


    อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (semiconductor industry) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุดในโลก มีการพยากรณ์ว่าตลาดอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 70 ล้านล้านบาทในปี พ.ศ. 2575 ซึ่งถูกขับเคลื่อนด้วยการเติบโตอย่างต่อเนื่องของตลาดปัญญาประดิษฐ์ (AI) และศูนย์ข้อมูล (Data center), การสื่อสารแบบ 5G และ 6G, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนบุคคล เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทวอทช์, รถยนต์ไฟฟ้า (EV car) และระบบดิจิตอลในโรงงานอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เป็นต้น แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าเซมิคอนดักเตอร์คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร การสนทนานี้จะพาไปรู้จักเซมิคอนดักเตอร์ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการวิจัยและพัฒนา รวมถึงองค์ประกอบต่าง ๆ และคำศัพท์สำคัญในอุตสาหกรรมนี้ ตลอดจนระบบนิเวศอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศไทย และแนวโน้มการลงทุนสำหรับโรงงานผลิตชิป หรือ Wafer fab ในอนาคต ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/ZMXWttDPGHA

    Sci เข้าหู EP.86 - เปิดโลก Novel Food อาหารแห่งอนาคต กับ ความปลอดภัยขั้นสูง

    Play Episode Listen Later Mar 17, 2025 52:20


    “อาหารใหม่” หรือ Novel Food คือ อาหารหรือส่วนประกอบของอาหารที่ไม่เคยมีประวัติการบริโภคเป็นอาหารมาก่อน หรืออาหารที่ได้จากกระบวนการผลิตที่ไม่ใช่กระบวนการผลิตโดยทั่วไป ซึ่งส่งผลให้ส่วนประกอบ โครงสร้าง หรือรูปแบบของอาหารเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ มีผลกระทบอย่างชัดเจนต่อคุณค่าทางโภชนาการ กระบวนการทางเคมีภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิต มาชวนไขข้อข้องใจเกี่ยวกับเรื่องอาหารใหม่ โดยแขกรับเชิญพิเศษ ดร. ชาลินี คงสวัสดิ์ ผู้จัดการฝ่ายความปลอดภัยทางชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือไบโอเทค สวทช. ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/BgBuyeD7ucg

    Sci เข้าหู EP.85 - ปุ๋ยคีเลตสูตรใหม่ ใช้งานได้ทั้งโดรนและระบบท่อน้ำ

    Play Episode Listen Later Mar 5, 2025 38:35


    พบกับ ดร.คมสันต์ สุทธิสินทอง หัวหน้าทีมวิจัยเกษตรนาโนขั้นสูง นาโนเทค สวทช. ผู้พัฒนา “ปุ๋ยคีเลตสูตรใหม่” ใช้งานได้ทั้งโดรนและระบบท่อน้ำ ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต มีธาตุอาหารสำหรับบำรุงและเร่งการเจริญเติบโตของพืชที่ผ่านการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีคีเลชัน (chelation) หรือการห่อหุ้มธาตุอาหารให้อยู่ในรูปที่ไม่มีประจุ เพื่อให้พืชดูดซึมธาตุอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งทางปากใบและราก ลดการสูญเสียธาตุอาหารจากการตกตะกอนในดิน ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/kxMMAxL-KqI

    Sci เข้าหู EP.84 - ดาวเคราะห์น้อย 2024 YR4 ภัยคุกคามจากอวกาศ

    Play Episode Listen Later Feb 24, 2025 19:37


    เรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับดาวเคราะห์น้อย 2024 YR4 ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อโลกในอนาคต กำลังได้รับความสนใจจากทั่วโลก มาร่วมพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอวกาศ ดร.สิทธิพร ชาญนำสิน หรือ ดร.คิม ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/zXRL4L8bf-k

    Sci เข้าหู EP.83 - Pathumma LLM โมเดล AI สัญชาติไทย

    Play Episode Listen Later Feb 19, 2025 71:51


    ในโลกที่เทคโนโลยี AI กำลังเปลี่ยนแปลงทุกสิ่ง พบกับปรากฏการณ์ใหม่ล่าสุดของวงการ AI ไทย กับการเปิดตัว "ปทุมมา แอลแอลเอ็ม" (Pathumma LLM) โมเดลภาษาขนาดใหญ่ที่พัฒนาโดยคนไทย เพื่อคนไทย โดย ดร.ศราวุธ คงยัง นักวิจัย กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ เนคเทค สวทช. จะมาเปิดเผยเบื้องหลังการสร้างสรรค์ AI อัจฉริยะตัวนี้ ที่จะมาปฏิวัติวงการเทคโนโลยีของประเทศไทย ใน Podcast รายการ Sci เข้าหู โดยนิตยสารสาระวิทย์ สวทช.  ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/TemFDFqyAws

    Sci เข้าหู EP.82 - คุณหมอมาเอง! เคลียร์ทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับสุขภาพกระดูกและข้อต่อ

    Play Episode Listen Later Dec 25, 2024 66:39


    เจาะลึกเรื่องราวที่หลายคนอาจกำลังเผชิญอยู่ นั่นก็คือ ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับกระดูกและข้อต่อ ไม่ว่าจะเป็น ปวดคอ ปวดหลัง ปวดสะโพก หรือแม้แต่โรคกระดูกพรุนที่น่ากลัว รายการ Sci เข้าหู โดย นิตยสารสาระวิทย์ สวทช. จะพาทุกท่านไปไขข้อข้องใจทุกคำถามที่คาใจ ผ่านการพูดคุยกับ พันโท ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ รุ่งรัฐ จิตตการ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง ที่จะมาให้ความรู้และคำแนะนำดีๆ เพื่อดูแลสุขภาพกระดูกและข้อต่อของเราให้แข็งแรง ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/2tnNeyxHkKU

    Sci เข้าหู EP.81 - Zero-G Experiment ขั้นตอนสำคัญของงานวิจัยด้านอวกาศ

    Play Episode Listen Later Dec 24, 2024 47:32


    ทีมวิจัย TIGERS-X ได้ขึ้นไปทดลองผสมสารและของเหลวในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำบนเครื่องบิน Boeing 727 เพื่อศึกษาผลกระทบของแรงโน้มถ่วงต่อกระบวนการนี้ โดยต่อยอดองค์ความรู้จากการพัฒนาอาหารอวกาศ  หวังใช้ผลลัพธ์พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอาหาร ยา และเครื่องสำอางบนโลก  นิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ชวนคุยกับ 2 นักวิจัย จากทีมวิจัย TIGERS-X นำโดย ผศ. ดร.วเรศ จันทร์เจริญ อาจารย์ประจำ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และนายศรัณย์ สีหนาม นักวิจัย ติดตามได้จาก Podcast รายการ Sci เข้าหู EP81 ตอน "Zero-G Experiment ขั้นตอนสำคัญของงานวิจัยด้านอวกาศ" ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/DwsJDAawSFg

    Sci เข้าหู EP.80 - เส้นทางสู่แชมป์โลก Kibo-RPC ของ 4 เยาวชนไทย ทีม Astronut

    Play Episode Listen Later Nov 26, 2024 33:20


    รายการ Sci เข้าหู EP 80 โดยนิตยสารสาระวิทย์ สวทช. พบกับ กรทอง วิริยะเศวตกุล นักสื่อสารดาราศาสตร์และครีเอเตอร์ช่อง KornKT ที่จะมาพูดคุยกับทีม Astronut เยาวชนไทยผู้คว้าชัยชนะจากการแข่งขันเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ Astrobee ของ NASA โดยทีม Astronut  เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระดับนานาชาติ ณ ศูนย์อวกาศสึกุบะ (JAXA) ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ร่วมฟังประสบการณ์การแข่งขันระดับโลกและแรงบันดาลใจสู่คนรุ่นหลัง ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/kVCUQPzuz0E

    Sci เข้าหู EP.79 - "Taklee Genesis" โลกวิทยาศาสตร์ในไซไฟไทย

    Play Episode Listen Later Sep 24, 2024 39:25


    รายการ Sci เข้าหู โดยนิตยสารสาระวิทย์ สวทช. จะมาพูดคุยกันในเรื่องของการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาช่วยเพิ่มความสนุกและความสมจริงให้กับภาพยนตร์แนวไซไฟฝีมือคนไทย เรื่อง “ตาคลี เจเนซิส” (Taklee Genesis) ซึ่งมีเนื้อหาเชื่อมโยงที่ลึกซึ้งในประเด็นทางวิทยาศาสตร์ กับแขกรับเชิญพิเศษ คุณชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล (มะเดี่ยว) ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องตาคลี เจเนซิส และ ดร. พัทน์ ภัทรนุธาพร (พีพี) นักเทคโนโลยีแห่ง MIT Media Lab ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/blsaebRVkac

    Sci เข้าหู EP.78 - ใช้วิทยาศาสตร์นำทาง สร้างความรุ่งเรืองสู่ท้องถิ่น

    Play Episode Listen Later Aug 20, 2024 88:51


    Podcast รายการ Sci เข้าหู โดยนิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ในวันนี้เราจะมาชวนคุยกัน ในเรื่องราวของการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนในท้องถิ่น กับแขกรับเชิญที่เป็นอีกหนึ่งบุคคลที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการนำความรู้มาพัฒนาท้องถิ่นบ้านเกิด เภสัชกร ดร.วีระพงษ์ ประสงค์จีน หรือ ดร.แกง อาจารย์ประจำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตร้อยเอ็ด ณ ทุ่งกุลาร้องไห้  ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/E8mTrLI_0X0

    Sci เข้าหู EP.77 - เส้นทางความฝันนักดาราศาสตร์ไทย จอมพจน์ วงศ์เพชรอักษร

    Play Episode Listen Later Aug 8, 2024 40:22


    รายการ Sci เข้าหู EP77 ชวนพูดคุยกับนักดาราศาสตร์ไทย ซึ่งมีเส้นทางชีวิตการเรียนและการทำงานที่น่าสนใจ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.จอมพจน์ วงศ์เพชรอักษร นักวิจัยหลังปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเวือทซ์บวร์ค นักเรียนทุนรัฐบาลไทย สังกัดสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ สดร. จะมาถ่ายทอดเรื่องราวเส้นทางความฝันการได้ทำงานเป็นนักดาราศาสตร์ ที่มีโอกาสได้เรียนรู้เรื่องราวดาราศาสตร์จากหลากหลายสถานที่ทั่วโลก  ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/d8ULjPpTzmQ

    Sci เข้าหู EP.76 - รับมืออย่างไรดี เมื่อเอเลียนสปีชีส์บุกน่านน้ำไทย

    Play Episode Listen Later Jul 30, 2024 52:48


    รายการ Sci เข้าหูวันนี้ ชวนคุยกันในประเด็นร้อนกับหัวข้อ “รับมืออย่างไรดี เมื่อเอเลียนสปีชีส์บุกน่านน้ำไทย” ไม่ว่าจะเป็นปัญหาปลาหมอคางดำ หรือสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ ที่สร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศของไทย โดยแขกรับเชิญพิเศษ ดร.ชวลิต วิทยานนท์ หรืออาจารย์แฟรงก์ นักวิชาการอิสระด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ผู้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพของปลา มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 และยังเป็นนักเขียนประจำนิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ในคอลัมน์ “ปั้นน้ำเป็นปลา”  ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/9CvXC3_DnT4

    Sci เข้าหู EP.75 - Lean Manufacturing ลดความสูญเปล่า พร้อมก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0

    Play Episode Listen Later Jul 17, 2024 52:46


    รายการ Sci เข้าหู โดยนิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ชวนคุยในหัวข้อเรื่อง Lean Manufacturing ลดความสูญเปล่า พร้อมก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยแขกรับเชิญ ดร.ธนกร ตันธนวัฒน์ หรือ ดร.ต้น นักวิจัยทีมระบบไซเบอร์-กายภาพ เนคเทค-สวทช. หนึ่งในทีมวิจัยผู้นำเอาหลักคิด lean manufacturing ไปใช้ปรับปรุงกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/Vmh_dODmxgc

    Sci เข้าหู EP.74 - เครื่องวัดรังสีคอสมิกในอวกาศ ผลงานวิจัยคนไทยในภารกิจฉางเอ๋อ 7

    Play Episode Listen Later Jul 11, 2024 39:13


    แขกรับเชิญพิเศษ ศาสตราจารย์ด็อกเตอร์ เดวิด รูฟโฟโล อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มาร่วมพูดคุยกันในหัวข้อเรื่อง “เครื่องวัดรังสีคอสมิกในอวกาศ ผลงานวิจัยคนไทยในภารกิจฉางเอ๋อ 7" ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีและน่าตื่นเต้นกับงานวิจัยของอาจารย์เดวิด ที่ได้ร่วมกับสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ พัฒนาเครื่องวัดรังสีคอสมิกในอวกาศ เพื่อติดตั้งไปกับยาน orbiter ที่โคจรรอบดวงจันทร์ ในภารกิจฉางเอ๋อ 7 ของจีน ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/XJrzHylESF8

    Sci เข้าหู EP.73 - ยางรีดนมวัว ไทยทำ ไทยใช้ ดีชัวร์ แม่วัวยิ้ม ๆ

    Play Episode Listen Later Jun 12, 2024 54:52


    ยางรีดนมวัวเป็นอุปกรณ์สำคัญในการรวบรวมน้ำนม แต่ที่ผ่านมาประเทศไทยต้องนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด มีรายงานพบว่าใน 1 ปี เกษตรกรต้องใช้งานยางรีดนมวัวถึง 400,000 ชิ้น คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งทำให้ไทยสูญเสียเงินเพื่อนำเข้าสินค้าประเภทนี้จำนวนมาก คุณศิริชัย พัฒนวาณิชชัย นักวิจัยจากทีมวิจัยยางและมาตรฐานยางยั่งยืน ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) จะมาเล่าถึงการพัฒนา “ต้นแบบยางรีดนมวัว” ทำจากยางธรรมชาติร่วมกับยางสังเคราะห์ มีราคาถูก ทนทาน และมีความปลอดภัยต่อแม่โคและผู้บริโภค รวมทั้งตอบโจทย์ลดปัญหาการนำเข้ายางรีดนมวัวจากต่างประเทศ ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/FDYpUiP_3oc

    Sci เข้าหู EP.72 - คุยกับน้องแก้ม แชมป์เล่าเรื่อง ChatGPT จากเวที SiT Talks 2024

    Play Episode Listen Later May 20, 2024 63:15


    คุยกับน้องแก้ม นางสาวไอริณ อินทรทัต นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนชลราษฎรอำรุง ผู้ชนะเลิศจากการแข่งขัน “SiT Talks: Science inspired by Teen 2024” เวทีเฟ้นหาเยาวชนนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ถ่ายทอดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ภายใน 3 นาที ผ่านการนำเสนอในรูปแบบที่น่าสนใจ น่าติดตาม และทำให้เรื่องวิทยาศาสตร์เข้าใจง่ายขึ้น ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/hkSp3HIGFho

    Sci เข้าหู EP.71 - Space Debris ขยะอวกาศ ร้ายกาจกว่าที่คิด

    Play Episode Listen Later Apr 9, 2024 22:00


    ปัญหาขยะอวกาศ เป็นอีกหนึ่งปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ต้องจับตามอง เพราะในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายประเทศทั่วโลก มีการสร้างดาวเทียม และปล่อยจรวดขึ้นสู่อวกาศเป็นจำนวนมาก และเมื่อดาวเทียมหรือสถานีอวกาศหมดอายุการใช้งาน ก็จะกลายเป็นขยะที่ลอยค้างอยู่ในวงโคจรของโลก  ซึ่งขยะอวกาศเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกิจกรรมของมนุษย์บนโลก รวมไปถึงการสร้างความเสียหายให้กับดาวเทียมหรือสถานีอวกาศที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน รายการ Sci เข้าหู ได้รับเกียรติจาก คุณอนล ไพศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอมวัน (ประเทศไทย) จำกัด  หนึ่งใน 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอวกาศ จากโครงการ Space Economy: Lifting Off 2021 ด้วยผลงานดาวเทียม เอมวัน เทคโนโลยีควบคุมความเร็วการโคจรวัตถุในอวกาศ เพื่อลดปริมาณขยะจากอวกาศ มาเล่าถึงปัญหาขยะอวกาศและวิธีการจัดการ ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/j2Ad7bhSVzY

    Sci เข้าหู EP.70 - Asian Try Zero-G 2023 ไอเดียเด็กไทย ได้ทดลองในอวกาศ

    Play Episode Listen Later Mar 18, 2024 30:48


    เมื่อพูดถึงอวกาศ หลายคนคงนึกถึงสถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งอยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 400 กิโลเมตร เราจะเห็นนักบินอวกาศและวัตถุต่าง ๆ ภายในสถานีอวกาศล่องลอยไปมา เนื่องจากอยู่ในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ จึงเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นเมื่อเด็กไทยได้คิดการทดลองทางวิทยาศาสตร์สนุกๆ ผ่านโครงการที่ชื่อว่า Asian Try Zero-G 2023 ซึ่งเป็นโรงการความร่วมมือระหว่าง สวทช. กับ JAXA วันนี้รายการ Sci เข้าหู โดยนิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ได้ชวน 7 เยาวชนไทย ผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ และมีโอกาสได้เดินทางไปชมการทดลองที่ศูนย์อวกาศสึคุบะ ประเทศญี่ปุ่น มาถ่ายทอดประสบการณ์และเรื่องราวที่ได้เรียนรู้ให้เราฟัง ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/R4ztec-3YsQ

    Sci เข้าหู EP.69 - แอป ThaiSook (ไทยสุข) เพื่อให้คนไทยสุขภาพดี มีความสุข

    Play Episode Listen Later Feb 5, 2024 55:07


    ไทยสุข คือ แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ออกแบบขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดความเสี่ยงการเป็นไรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ผ่านโมเดลการแข่งขันแบบออนไลน์ มาร่วมสร้างสังคมสุขภาพดีด้วยกัน นิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ได้รับเกียรติจาก ดร.เดโช สุรางค์ศรีรัฐ หรือ ดร.เข็ม นักวิจัย กลุ่มนวัตกรรมแพลตฟอร์มดิจิทัลสุขภาพการแพทย์ สวทช. ผู้พัฒนาแอปไทยสุข มาร่วมพูดคุยและบอกเล่าความน่าสนใจของ “ไทยสุข” ที่เปิดให้ดาวน์โหลดแล้ววันนี้ ทั้งระบบ iOS และ Android ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/gTKPQ89F548

    Sci เข้าหู EP.68 - Maker Jam 2024 เทศกาลนักประดิษฐ์และนักสร้างสรรค์

    Play Episode Listen Later Jan 24, 2024 55:41


    Maker Jam 2024 การรวมกลุ่มของเหล่า Maker กลุ่มนักประดิษฐ์ที่มาพร้อมกับความคิดสร้างสรรค์ พร้อมที่จะมาเผยแพร่ความรู้ของงานผลงานสร้างสรรค์ทั้งหมดที่บรรดา Maker สร้างกันขึ้นมา ช่วยส่งเสริมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ผ่านการลงมือทำ ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย ตั้งแต่ทำของเล่นไปจนถึงของใช้ ด้วยการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อช่วยให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้น วันนี้ทางนิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ได้รับเกียรติเป็นจาก ดร.กฤษฎ์ชัย สมสมาน หรือ ดร.หมอน ผู้จัดงาน Maker Jam 2024 และผู้ก่อตั้งเพจ Origimon มาร่วมพูดคุยและบอกเล่าความน่าสนุกของงานนี้ให้เราฟัง ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/g3Z0XNn91Ts

    Sci เข้าหู EP.67 - แบตเตอรี่สังกะสีชนิดอัดประจุซ้ำได้ (Zinc-ion Battery) จากถ่านไฟฉายใช้แล้วและขยะทางการเกษ

    Play Episode Listen Later Dec 7, 2023 35:07


    นิตยสารสาระวิทย์ โดย สวทช. ได้รับเกียรติจาก ดร.ชาคริต ศรีประจวบวงษ์ นักวิจัยจากทีมวิจัยเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ หรือ เอ็นเทค สวทช. มาร่วมพูดคุยถึงงานวิจัยการผลิตแบตเตอรี่สังกะสีชนิดอัดประจุซ้ำได้ หรือ zinc-ion battery ซึ่งเหมาะแก่การใช้เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้งานแบบตั้งอยู่กับที่ ต้องการความทนทานต่อสภาพแวดล้อมสูง หรือใช้ในภารกิจที่ต้องการความปลอดภัยเป็นอย่างมาก เป็นหนึ่งในการทำวิจัยเพื่อขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG ทั้งในด้านการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด และการพัฒนากระบวนการผลิตที่คำนึงถึงการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลดีในด้านการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/OEoZAmrOnoA

    Sci เข้าหู EP.66 - แบตเตอรี่สังกะสีไอออนแบบเคเบิล นวัตกรรมคนไทยสำหรับ wearable devices

    Play Episode Listen Later Nov 21, 2023 39:46


    นิตยสารสาระวิทย์ ได้รับเกียรติจาก ดร.นครินทร์ ทรัพย์เจริญดี หรือ ดร.โอ๊ค นักวิจัยทีมวิจัยนวัตกรรมเส้นใยนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือนาโนเทค สวทช. จะมาร่วมพูดคุยเพื่อบอกเล่าถึงเรื่องราวความน่าสนใจของผลงานวิจัยแบตเตอรี่สังกะสีไอออนแบบเคเบิล เพื่อใช้งานใน wearable devices เช่น สายรัดข้อมือ และสมาร์ตวอตช์ โดยมีจุดเด่น คือบิดงอได้ ทนความร้อนสูง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/GDKwogvxUgY

    Sci เข้าหู EP.65 - บนเส้นทางความท้าทาย ดาวเทียมไทยจะไปดวงจันทร์

    Play Episode Listen Later Oct 9, 2023 98:31


    เมื่อช่วงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เราคงได้เห็นข่าวด้านอวกาศ ซึ่งสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้คนทั่วโลกกันมาแล้ว เมื่อยานจันทรายาน 3 ของอินเดีย ลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์ได้สำเร็จ ทำให้อินเดียกลายเป็นชาติที่ 4 ของโลก ถัดจากอดีตสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และจีน และหากย้อนกลับไปเมื่อช่วงปลาย 2564 ประเทศไทยของเรา ได้เคยประกาศเป้าหมาย ส่งยานอวกาศไปสำรวจดวงจันทร์ภายใน 7 ปี โดยเกิดเป็นโครงการ Thai Space Consortium หรือ TSC ขึ้นมา เพื่อภารกิจสร้างดาวเทียมสำรวจดวงจันทร์ วันนี้นิตยสารสาระวิทย์ ได้รับเกียรติจาก ดร.พงศธร สายสุจริต หรือ อาจารย์ปอม อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และอาจารย์ปอม และยังดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ สถาบันเทคโนโลยีอวกาศนานาชาติเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ หรือ INSTED อีกด้วยค่ะ ซึ่งอาจารย์ปอมเป็นหนึ่งในผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโครงการสร้างดาวเทียม TSC จะมาร่วมพูดคุยและอัปเดตความคืบหน้าของโครงการให้เราได้ฟัง ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/LUz7UubqSYE

    Sci เข้าหู EP.64 - ”กว่าจะเป็นเครื่องสำอาง” การเจอกันของ(วิทยา)ศาสตร์และศิลป์ โดยเชฟรินคนชิก ๆ

    Play Episode Listen Later Oct 2, 2023 63:55


    วันนี้ทางนิตยสารสาระวิทย์ ได้รับเกียรติจากคุณสักรินทร์ ดูอามัน หรือเชฟริน ผู้ช่วยวิจัย โรงงานต้นแบบผลิตอนุภาคนาโนและเครื่องสำอาง ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ นาโนเทค สวทช. จะมาบอกเล่าถึงเรื่องราวที่น่าสนใจ กว่าจะมาเป็นเครื่องสำอาง มีขั้นตอนอย่างไร แล้ววิทยาศาสตร์กับศิลปะ มาบรรจบรวมกันได้อย่างลงตัว จนออกมาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสู่ผู้บริโภค ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/CzOdpepCo0I

    Sci เข้าหู EP.63 - เมนูหูฉลาม ทำฉลามเสี่ยงสูญพันธุ์ #ฉลองไม่ฉลาม

    Play Episode Listen Later Sep 20, 2023 71:36


    จากผลการศึกษาและวิจัยดีเอ็นเอ เพื่อระบุชนิดพันธุ์ปลาฉลามจากผลิตภัณฑ์หูฉลามที่ขายอยู่ในประเทศไทย ที่เพิ่งเผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้ พบข้อมูลที่น่าสนใจในเรื่องการสร้างความตื่นตัว และตระหนักรู้ถึงปัญหาและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม จากการบริโภคผลิตภัณฑ์จากฉลาม ซึ่งอาจมาจากฉลามที่กําลังเสี่ยงสูญพันธุ์  นิตยสารสาระวิทย์ ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลย์ลดา กลางนุรักษ์ นักวิจัยและอาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยี การผลิตสัตว์และประมง คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และ ดร.เพชร มโนปวิตร นักวิทยาศาสตร์ด้านการอนุรักษ์ ที่ปรึกษาองค์กรไวล์ดเอด  จะมาเล่าถึงงานวิจัยดีเอ็นเอ ซึ่งพบหูฉลามที่ขายในไทยกว่า 60% มาจากฉลามที่เสี่ยงสูญพันธุ์ ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/w04zgw6tF08

    Sci เข้าหู EP.62 - การขยายต้นพันธุ์ไผ่ เพื่อส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่

    Play Episode Listen Later Sep 4, 2023 27:05


    คนไทยเรารู้จักและใช้ไผ่ ได้สารพัดประโยชน์ ทั้งกิน ก่อสร้าง ใช้เป็นภาชนะ และอื่นๆ อีกมากมาย คุณสมบัติที่ดีของไผ่ คือ โตเร็ว กระจายพันธุ์ได้อย่างกว้างขวาง สามารถหมุนเวียนและทดแทนต้นที่ถูกตัดได้เร็ว จึงถือเป็นทรัพยากรที่มีศักยภาพในการทดแทนสูงและยั่งยืน วันนี้นิตยสารสาระวิทย์ได้รับเกียรติจาก ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต นักวิจัย ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ ไบโอเทค สวทช. จะมาร่วมพูดคุยเพื่อบอกเล่าถึงงานวิจัย การพัฒนากล้าพันธุ์ไผ่ที่มีคุณภาพดี และขยายกล้าพันธุ์ไผ่ในระดับอุตสาหกรรมด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อเป็นประโยชน์ในการปลูกป่าเศรษฐกิจแก่เกษตรกรไทย ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/-sdCpKdXEvc

    Sci เข้าหู EP.61 - แอปพลิเคชัน “รู้ทัน” พร้อมรับมือการระบาดของโรคไข้เลือดออก

    Play Episode Listen Later Aug 14, 2023 44:43


    ช่วงนี้เราได้ยินข่าวการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกกันบ่อยครั้ง จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ “แอปพลิเคชันรู้ทัน” เกิดจากความร่วมมือของ เนคเทค สวทช. และกรมควบคุมโรค ร่วมกันวิจัยและพัฒนา “ชุดซอฟต์แวร์ทันระบาด” เพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวังการระบาดของโรคไข้เลือดออก ให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงหรือรับการแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสาร ที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เพื่อเตรียมรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในการใช้ชีวิตประจำวันและได้รับความเสี่ยงน้อยที่สุด ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/MGefVnHwapY

    Sci เข้าหู EP.60 - นวัตกรรมความงามด้วยเทคโนโลยีอนุภาคกักเก็บสารสกัดเห็ดหลินจือ

    Play Episode Listen Later Jul 26, 2023 41:36


    สำหรับผู้ที่สนใจในเรื่องความงามพลาดไม่ได้กับงานวิจัยที่น่าสนใจเรื่อง นวัตกรรมความงามด้วยเทคโนโลยีอนุภาคกักเก็บสารสกัดเห็ดหลินจือ วันนี้นิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ได้รับเกียรติจาก ดร.ธงชัย กูบโคกกรวด หรือ ดร.ธง นักวิจัยจากทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตและเวชสำอาง ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ NANOTEC  สวทช. จะมาเล่าถึงผลงานการพัฒนาเทคโนโลยีอนุภาคกักเก็บสารสกัดเห็ดหลินจือ ที่ได้ส่งต่อภาคเอกชนสู่นวัตกรรมความงามถึงมือผู้ใช้ ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/pVuGTkNv3es

    Sci เข้าหู EP.59 - El Niño / La Niña: การเปลี่ยนผันวงจร ENSO กับความร้อนแล้งในไทย

    Play Episode Listen Later Jun 27, 2023 55:30


    ปรากฏการณ์ “เอลนีโญและลานีญา” (El Niño, La Niña ) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ปรากฏการณ์เอนโซ (ENSO)  มีผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศของโลกอย่างไรบ้าง ? ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบในเรื่องของภาวะภัยแล้ง น้ำท่วม อากาศร้อนจัดหรือไม่ เรามาร่วมค้นหาคำตอบร่วมกันกับ ดร.ปิงปิง พรอำไพ นเรนทร์พิทักษ์ นักวิจัยจากทีมวิจัยการจำลองและระบบขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/k_Oo7H8mBBI

    Sci เข้าหู EP.58 - พาเที่ยวศูนย์อวกาศฮุสตัน Space Center Houston

    Play Episode Listen Later Jun 20, 2023 35:09


    ศูนย์อวกาศฮุสตัน (Space Center Houston) รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา เป็นศูนย์นักท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการของ NASA Johnson Space Center ของนาซา มาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960  สำหรับสถานที่แห่งนี้เป็นศูนย์บังคับการสำหรับภารกิจการปล่อยยานอวกาศที่สำคัญหลายโครงการ รวมถึงโครงการ Apollo 11 ที่ได้ลงจอดบนดวงจันทร์เป็นครั้งแรก  ปัจจุบันศูนย์อวกาศฮุสตันเปิดรับนักท่องเที่ยวเข้าชมและเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตในอวกาศ ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ ดร.ทัฏพงศ์ ตุลยานนท์ หรืออาจารย์อาร์ม อาจารย์ประจำ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีโอกาสได้เข้าเยี่ยมชมศูนย์อวกาศฮุสตัน จะมาถ่ายทอดประสบการณ์และพาทุกคนเที่ยวชมแบบสุด exclusive ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/uYkzn7ByiU4

    Sci เข้าหู EP.57 - ท้าความคิดเยาวชนไทย เสนอไอเดียทดลองในอวกาศ

    Play Episode Listen Later May 15, 2023 46:16


    เมื่อเรานึกถึงสถานีอวกาศนานาชาติที่ระดับความสูงเหนือพื้นโลกประมาณ 400 กิโลเมตร เราจะเห็นภาพวัตถุต่าง ๆ ล่องลอยไร้ทิศทาง เนื่องจากอยู่ในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ ซึ่งแตกต่างกับบนโลกที่มีแรงโน้มถ่วง จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจในการทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ที่ได้ผลลัพธ์แตกต่างจากบนโลก และเกิดเป็นนวัตกรรมมากมายที่ใช้ในชีวิตประจำวันบนโลกของเรา และช่วงนี้เป็นโอกาสดีของเยาวชนไทยที่จะได้มีโอกาสได้ส่งแนวคิดการทดลอง เพื่อให้นักบินอวกาศญี่ปุ่นได้ทำให้ดูบนสถานีอวกาศนานาชาติ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ผ่านโครงการ Asian Try Zero-G 2023 โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง สวทช. กับ JAXA ซึ่งกำลังเปิดรับสมัครถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 นี้ รายการ Sci เข้าหู โดยนิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ได้ชวน 2 เยาวชนผู้ผ่านการคัดเลือกโครงการ Asian Try Zero-G 2022 และมีโอกาสได้เดินทางไปชมการทดลองที่ศูนย์อวกาศสึคุบะ ประเทศญี่ปุ่น มาถ่ายทอดประสบการณ์ และแบ่งปันแนวคิดในการเสนอไอเดียการทดลองสมัครเข้าร่วมโครงการจนประสบความสำเร็จ คนแรกคือ นางสาวจิณณะ วัยวัฒนะ หรือน้องพรีม ปัจจุบันเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 Tokyo Institute of Technology ประเทศญี่ปุ่น และนางสาวอินทิราภรณ์ เชาว์ดี หรือน้องปาย ปัจจุบันทำงานเป็นเภสัชกรปฎิบัติการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/OO8wipLMCpk

    Sci เข้าหู EP.56 - เผยเคล็ดลับเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ Astrobee ของ NASA

    Play Episode Listen Later May 8, 2023 27:32


    หุ่นยนต์ที่ชื่อ Astrobee ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ผู้ช่วยนักบินอวกาศ พัฒนาโดย NASA Ames Research Center มีหน้าที่ช่วยลดเวลาการทำงานประจำวันของนักบินอวกาศ โดยทำงานผ่านการสั่งการด้วยการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อควบคุม และเป็นโอกาสดีของเยาวชนไทยที่จะมีโอกาส เข้าร่วมกิจกรรมแข่งขันเขียนโปรแกรมด้วยภาษา JAVA ควบคุมหุ่นยนต์ Astrobee ผ่านโครงการ Kibo Robot Programming Challenge ครั้งที่ 4 ซึ่งกำลังเปิดรับสมัครถึงวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 นี้ (เว็บไซต์โครงการแข่งขัน https://www.nstda.or.th/spaceeducation/kibo-rpc-2023/) วันนี้รายการ Sci เข้าหู ได้ชวนตัวแทนเยาวชนโครงการแข่งขัน Kibo Robot มาร่วมพูดคุย 2 คนครับ คนแรกคือ นายธฤต วิทย์วรสกุล นักศึกษาชั้นปีที่ 1 Faculty of Science, University of British Columbia ตัวแทนเยาวชนทีมชนะเลิศในการแข่งขันครั้งที่ 2 และนายภูรี เพ็ญหิรัญ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตัวแทนเยาวชนทีมชนะเลิศ ในการแข่งขันครั้งที่ 3  มาร่วมพูดคุยเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ที่ได้รับจากโครงการ และเผยเคล็ดลับความสำเร็จทำให้คว้าแชมป์ประเทศไทย ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/wguA59tW-lA

    Sci เข้าหู EP.55 - ”บอทโรคข้าว” แชตบอตช่วยเกษตรกรไทยวินิจฉัยโรคข้าวได้ทันที

    Play Episode Listen Later May 1, 2023 54:25


    ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกข้าวรายสำคัญของโลก สร้างรายได้นำกลับเข้าประเทศมากกว่าแสนล้านบาทต่อปี แต่กลับไม่ได้สะท้อนถึงผลกำไรที่เกษตรกรควรได้รับ เพราะชาวนาไทยส่วนใหญ่ต้องเผชิญปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ความแปรปรวนของสภาพอากาศ รวมถึงวิกฤตโรคระบาดที่ฉุดรั้งผลผลิตข้าวไทย เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ ทีมวิจัยจาก สวทช. และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้พัฒนา ‘ไลน์บอทโรคข้าว' แชตบอตสำหรับให้บริการวินิจฉัยโรคข้าวผ่านภาพถ่าย เพื่อให้คำแนะนำในการควบคุมโรคอย่างเหมาะสมและทันท่วงทีแก่เกษตรกร เป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่จะช่วยปลดล็อกปัญหาการรับมือกับโรคระบาด ลดต้นทุนการใช้สารเคมีที่ และยกระดับผลผลิตข้าวไทยให้มากขึ้น นิตยสารสาระวิทย์ โดย สวทช. ได้รับเกียรติจาก คุณวศิน สินธุภิญโญ  นักวิจัยกลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ เนคเทค - สวทช. และ ผศ. ดร.สุจินต์ ภัทรภูวดล อาจารย์ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาร่วมพูดคุยบอกเล่าแพลตฟอร์มไลน์บอทโรคข้าวที่จะมาช่วยเกษตรกรไทยผู้ปลูกข้าว ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/ln9AMQm_7R4

    Sci เข้าหู EP.54 - ทีมวิศวกรรมอวกาศ “คีตะ” พาอาหารไทยไปอวกาศ

    Play Episode Listen Later Apr 17, 2023 54:38


    วันนี้เราจะมาอัปเดตความก้าวหน้างานวิจัยอาหารอวกาศของทีม KEETA ซึ่งเป็นตัวแทนประเทศไทย ในการเข้าร่วมแข่งขันพัฒนาเทคโนโลยีอาหารอวกาศ “Deep Space Food Challenge” ที่จัดขึ้นโดย NASA CSA และ Methuselah Foundation เป็นการแข่งขันเพื่อเตรียมอาหารสำหรับนักบินอวกาศ 4 คน ให้สามารถทำงานอยู่นอกโลกนานถึง 3 ปี  และในครั้งนี้เราจะได้พูดคุยกับทีม KEETA เป็นครั้งที่ 2 แล้ว โดยห่างจากครั้งแรกเกือบ 2 ปี ใครที่สนใจอยากย้อนไปฟังจุดเริ่มต้นของทีม KEETA สามารถดูย้อนหลังได้ที่ EP20 โดยในวันนี้แขกรับเชิญพิเศษของเรา 2 ท่าน เป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังการทำงาน เข้ามาส่งเสริมและต่อยอดงานวิจัยสู่ภาคอุตสาหกรรมต่อไป คือ ดร.ธันยวัต สมใจทวีพร หรืออาจารย์ปอ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และ ดร.โพธิวัฒน์ งามขจรวิวัฒน์ หรืออาจารย์เกีย อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/yTsvhVw6f-c

    Sci เข้าหู EP.53 - เรเชล – นวัตกรรมสำหรับสังคมอายุยืนที่ช่วยในการเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ

    Play Episode Listen Later Apr 3, 2023 58:14


    ปัจจุบันนี้ก็เป็นที่ทราบกันดีนะคะว่าประเทศไทยของเรากำลังก้าวเข้าสู่ “สังคมอายุยืน” อย่างเต็มรูปแบบ แล้วเราจะทำอย่างไรให้การมีชีวิตยืนยาวนั้นมีคุณภาพ ลดการพึ่งพา และยังมีคุณค่าต่อสังคม เพื่อตอบคำถามนี้ ทางนักวิจัยเอ็มเทค สวทช. ได้ออกแบบนวัตกรรมบอดี้สูท สำหรับผู้สูงอายุที่มีชื่อว่า “เรเชล” (Rachel – Motion-assist Bodysuit) ที่สามารถสวมใส่ได้ตลอดทั้งวัน ช่วยในการเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ และลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ เสริมแรงให้กล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนไหวได้อย่างเป็นธรรมชาติ เคียงคู่กับผู้สูงอายุได้ตลอดในกิจวัตรประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการลุกขึ้นยืน เดินขึ้นบันได ทำงานบ้าน  วันนี้ทางนิตยสารสาระวิทย์ ได้รับเกียรติเป็นจาก ดร.วรวริศ กอปรสิริพัฒน์ หรือ ดร.แม นักวิจัย ทีมวิจัยการออกแบบเพื่อการเป็นอยู่ที่ดี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือ เอ็มเทค สวทช. จะมาเล่าถึงนวัตกรรมเรเชล แชร์ประสบการณ์ความท้าทายในการออกแบบวิจัยและพัฒนาที่มีการทำงานต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 3 ปี ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/KszVLQCO0iM

    Sci เข้าหู EP.52 - Gunther Bath นวัตกรรมตรวจจับและแจ้งเตือนการหกล้มในห้องน้ำ

    Play Episode Listen Later Mar 14, 2023 51:23


    หากเราพูดถึงปัญหาการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ นับว่าเป็นเรื่องสำคัญที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุภายในบ้าน นอกจากจะเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต หรือการเสื่อมถอยของร่างกายอย่างเฉียบพลันแล้ว ยังส่งผลถึงคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและบุคคลในครอบครัวอีกด้วย จากโจทย์ปัญหานี้ทางนักวิจัยเอ็มเทค สวทช. จึงได้ออกแบบนวัตกรรม ที่มีชื่อว่า “กันเธอ บาธ” ระบบตรวจจับการพลัดตกหกล้มด้วยอุปกรณ์ที่ติดตั้งในสิ่งแวดล้อม เช่น ผนังห้อง และใช้โครงข่ายประสาทเทียมทำนายเหตุการณ์พลัดตกหกล้ม ซึ่งจะติดตั้งในบริเวณที่อยู่อาศัย ใช้เทคโนโลยีไร้สายรับส่งสัญญาณการเคลื่อนที่ของผู้สูงอายุ หากเกิดเหตุการณ์พลัดตกหกล้ม ระบบจะแจ้งเตือนหรือส่งสัญญาณไปยังผู้ดูแลให้ทราบ วันนี้ทางนิตยสารสาระวิทย์ ได้รับเกียรติเป็นจาก ดร.ศราวุธ เลิศพลังสันติ หรือ ดร.ตั้ม ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) มาร่วมพูดคุย บอกเล่าถึงนวัตกรรมตรวจจับและแจ้งเตือนการหกล้มในห้องน้ำ ที่ชื่อ Gunther Bath ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/4g7irNN6NYM

    Sci เข้าหู EP.51 - น้ำยาเคลือบโซลาร์เซลล์ลดการเกาะของน้ำและฝุ่น

    Play Episode Listen Later Feb 20, 2023 50:09


    ผลิตภัณฑ์จากงานวิจัย “น้ำยาเคลือบโซลาร์เซลล์ลดการเกาะของน้ำและฝุ่น” ซึ่งเป็นนวัตกรรมสารเคลือบนาโนสูตรพิเศษสำหรับการเคลือบแผงโซลาร์เซลล์ เพื่อลดการเกาะตัวของฝุ่น ลดภาระการบำรุงรักษา และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า นิตยสารสาระวิทย์ ได้รับเกียรติจาก ดร.ธันยกร เมืองนาโพธิ์ หรือ ดร.เอิ๊ก นักวิจัยทีมวิจัยนวัตกรรมเคลือบนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือนาโนเทค สวทช. และ Managing Director บริษัทนาโน โค๊ตติ้ง เทค จำกัด จะมาเล่าถึงผลงานวิจัยชิ้นนี้ รวมถึงชีวิตและตัวตนที่น่าสนใจของ ดร.เอิ๊ก ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/dCNpkyhCdAI

    Sci เข้าหู EP.50 - มิว สเปซ คลื่นลูกใหม่แห่งวงการเทคโนโลยีอวกาศไทย

    Play Episode Listen Later Jan 31, 2023 37:13


    บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด ดำเนินกิจการภายใต้ชื่อ มิว สเปซ คอร์ป เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนด้านการบินและอวกาศ และให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ซึ่งก่อตั้งโดย วรายุทธ เย็นบำรุง เมื่อปี พ.ศ. 2560 โดยมีเป้าหมายที่จะค้นคว้า วิจัย และพัฒนาการให้บริการดาวเทียม พัฒนาเทคโนโลยีด้านการบินและอวกาศ รวมถึงจำหน่ายผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี และให้บริการด้านโทรคมนาคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  นิตยสารสาระวิทย์ โดย สวทช. ได้รับเกียรติจากคุณศมาธร เทียนกิ่งแก้ว ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด มาร่วมพูดคุย บอกเล่าผลงานต่าง ๆ บริษัท มิว สเปซ ที่มีส่วนสำคัญช่วยผลักดันวงการเทคโนโลยีอวกาศของประเทศไทย ให้ก้าวกระโดดสู่อุตสาหกรรมอวกาศระดับโลก ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/PXIOKeW3tC8

    Sci เข้าหู EP.49 - แปลงเปลือกหอยมุกเหลือทิ้งเป็นไบโอแคลเซียมคาร์บอเนต

    Play Episode Listen Later Jan 9, 2023 57:35


    งานวิจัย “การแปลงเปลือกหอยมุกเหลือทิ้งเป็นไบโอแคลเซียมคาร์บอเนต” ผลงานที่เพิ่งได้รับรางวัลเหรียญทองแดง มาจากงาน SIIF 2022 ที่เกาหลีใต้ เป็นงานวิจัยที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาวัสดุเหลือทิ้งให้กับผู้ประกอบการ และยังสร้างโอกาสเชิงพาณิชย์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ จากไบโอแคลเซียมคาร์บอเนต นำไปสู่การยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลกอีกด้วย นิตยสารสาระวิทย์ ได้รับเกียรติจาก ดร.ชุติพันธ์ เลิศวชิรไพบูลย์ หรือ ดร.บาส นักวิจัยจากกลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ NANOTEC  สวทช. จะมาเล่าถึงทุกแง่มุมของผลงานวิจัยชิ้นนี้ รวมถึงชีวิตและตัวตนของ ดร.บาส เพื่อเป็นแนวทางการเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิต ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/eLaD-XcNzVY

    Sci เข้าหู EP.48 - เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 18

    Play Episode Listen Later Nov 18, 2022 64:44


    เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 18 เพื่อเฉลิมฉลองการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ แอฟริกาและตะวันออกกลาง ภายใต้ความร่วมมือกับพันธมิตรในท้องถิ่น โดยเทศกาลจะนำเสนอประเด็นทางวิทยาศาสตร์ที่เข้าถึงได้ง่ายและสนุกสนานแก่ผู้ชมในวงกว้าง และแสดงให้เห็นว่าวิทยาศาสตร์สามารถสนุกได้ โดยในปีนี้มีภาพยนตร์จำนวน 91 เรื่อง จาก 27 ประเทศ ที่ได้รับการคัดเลือก และนำไปจัดฉายในเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ ประจำปี 2565 นิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ได้รับเกียรติเป็นจาก คุณอันเดรียส เคลมพิน หรือ คุณเอ ผู้จัดการเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์นานาชาติ และโครงการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย และคุณภควดี วงค์คำแสน หรือคุณยีนส์ ให้เกียรติมาร่วมพูดคุย บอกเล่าถึงความเป็นมาและความน่าสนใจของเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ หรือ Science Film Festival ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 18 ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/bCuF9D4_xGA

    Sci เข้าหู EP.47 - คุยเรื่องวิทย์ทางอาหารกับเชฟทักษ์ แชมป์ FameLab Thailand 2022

    Play Episode Listen Later Oct 31, 2022 34:17


    คุยกับเชฟทักษ์ นุติ หุตะสิงห นิสิตปริญญาเอก ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เจ้าของเพจ TUCK the CHEF – เชฟทักษ์ ซึ่งเป็นเพจที่อธิบายวิทยาศาสตร์ทางอาหารให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง อ้างอิงจากผลงานวิจัย และเผยเคล็ดลับการสื่อสารวิทยาศาสตร์ให้น่าสนใจ จนสามารถคว้าแชมป์ FameLab Thailand 2022 จากการนำเสนอในหัวข้อ “A piece of cake – sugar reduction technique in food without compromising the taste quality by uneven distribution of sugar” พร้อมเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขัน FameLab International Competition (Online) ในงาน Cheltenham Science Festival 2022 ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565  ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/kV5oqg5k4Jw

    Sci เข้าหู EP.46 - จากไมโครนีดเดิลสู่ ไมโครสไปก์ สวยง่าย ไม่เจ็บจี๊ด

    Play Episode Listen Later Oct 24, 2022 51:14


    สำหรับในวันนี้เราจะมาพูดถึง "เทคโนโลยีไมโครนีดเดิล" โดยเทคโนโลยีนี้สามารถประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้หลากหลาย เช่น อุตสาหกรรมความงาม สุขภาพและการแพทย์อนาคต แต่ยังพบปัญหาคอขวดเรื่องการผลิตในระดับอุตสาหกรรมที่ยังมีราคาค่อนข้างสูง ทางทีมวิจัยนาโนเทค สวทช. และบริษัทสไปก์ อาชิเทคโทนิกส์ จำกัด สตาร์ตอัปจาก สวทช. ได้พัฒนากระบวนการผลิตที่เรียกว่า "เทคโนโลยีไมโครสไปก์" เพื่อปลดล็อคข้อจำกัดของเทคโนโลยีการผลิตเข็มไมโครนีดเดิลที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยนิตยสารสาระวิทย์ ได้รับเกียรติจาก คุณต่อตระกูล พูลโสภา CEO บริษัท สไปก์ อาร์ชิ เทคโทนิกส์ จำกัด และคุณกชกร เอี่ยมวิมังสา CEO พรอลิเฟอรา ผลิตภัณฑ์แผ่นแปะปรับสภาพผิวให้แลดูเรียบเนียน มาแนะนำเทคโนโลยีไมโครสไปก์ เพื่อเป็นตัวเลือกใหม่ให้ผู้ประกอบการและเจ้าของธุรกิจด้านอุตสาหกรรมความงาม สามารถต่อยอดทางธุรกิจและแข่งขันได้ในระดับโลก ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/yRJDitS7JjE 

    Sci เข้าหู EP.45 - มุมมอง ความคิด นักวิทย์ดีเด่น 65

    Play Episode Listen Later Sep 27, 2022 54:58


    “นักวิทยาศาสตร์” เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่น่ายกย่องและควรให้ความสำคัญ เพราะงานวิจัยแต่ละชิ้นนั้นทำด้วยความมุ่งมันและทุ่มเทเพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้ดีขึ้น ในประเทศไทยของเรา ทุกปีก็จะมีการมอบ “รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น” ให้แก่นักวิทยาศาสตร์ไทยที่มีผลงานวิจัยโดดเด่น เป็นที่ยอมรับ ตอบโจทย์และสร้างคุณค่าให้แก่สังคม สำหรับในปีนี้ คณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ ศาสตราจารย์ ดร. นพ.วิปร วิประกษิต อาจารย์ประจำสาขาโลหิตวิทยาและอองโคโลยี ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยาโดยเฉพาะโรคเม็ดเลือดแดงและโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย มีความเป็นเลิศทางวิชาการ มีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพดีเด่น มีความสำคัญและเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ และเป็นที่ประจักษ์ในระดับ คว้ารางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประจำปี 2565 นิตยสารสาระวิทย์ สวทช. ได้รับเกียรติเป็นอย่างสูงจากอาจารย์วิปร นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2565 มาร่วมพูดคุยบอกเล่าประสบการณ์ในการทำงานวิจัย แง่คิดในการทำงาน และความเป็นตัวตนของอาจารย์วิปร ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/bUV-v_iDjJw

    Sci เข้าหู EP.44 - กูเกิลเจแปน งานดี แฮปปี้ เดสก๊ะ?

    Play Episode Listen Later Sep 6, 2022 43:53


    กูเกิล (Google) บริษัทด้านเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของโลก ซึ่งเคยครองแชมป์บริษัทที่มีวัฒนธรรมองค์กรดีที่สุดของโลกในปี 2020 และเป็นหนึ่งในบริษัทที่คนทั่วโลกอยากเข้าไปทำงานด้วยมากที่สุด ด้วยสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี ค่าตอบแทน และความก้าวหน้าในอาชีพ นิตยสารสาระวิทย์ โดย สวทช. ได้รับเกียรติจาก ดร.ธเนษฐ ปราณีนรารัตน์ (ดร.แน็ค) Developer Relations Engineer ของ Google Japan มาร่วมพูดคุยบอกเล่าประสบการณ์ชีวิตการทำงานเป็น Engineer อยู่ในบริษัท Google ที่ประเทศญี่ปุ่น เผยถึงเบื้องหลังการทำงานในบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก และโอกาสสำหรับคนที่อยากทำงานในบริษัทด้านเทคโนโลยีชั้นนำของโลก ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/DeNBxgytXaE

    R&D Sharing 2022 ตอนที่ 10: จากจุลินทรีย์ในลำไส้ สู่การเพิ่มผลผลิตกุ้งเศรษฐกิจ

    Play Episode Listen Later Aug 26, 2022 56:20


    งาน R&D Sharing 2022 ตอนที่ 10: "จากจุลินทรีย์ในลำไส้ สู่การเพิ่มผลผลิตกุ้งเศรษฐกิจ" โดย ดร.วณิลดา  รุ่งรัศนมี กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยและการค้นหาสารชีวภาพ BIOTEC สวทช. วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2565 เวลา 10.00 - 10.40 น.

    R&D Sharing 2022 ตอนที่ 9: ระบบตรวจความมั่นคงของเขื่อนระยะไกล เพื่อคนไทยทุกคน

    Play Episode Listen Later Aug 25, 2022 49:34


    ถ่ายทอดสดงาน R&D Sharing 2022 ตอนที่ 9: ระบบตรวจความมั่นคงของเขื่อนระยะไกล เพื่อคนไทยทุกคน โดย คุณคัมภีร์  สุขสมบูรณ์ จากทีมวิจัยเทคโนโลยีระบบวัดและควบคุมระยะไกล NECTEC สวทช. วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม 2565 เวลา 10.00 - 10.40 น.

    Sci เข้าหู EP.43 - งานวิจัยจากฟ้า : ศึกษาจักรวาลผ่านกล้องเจมส์ เว็บบ์

    Play Episode Listen Later Aug 22, 2022 72:59


    กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ (James Webb Space Telescope: JWST) กล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยนาซา (NASA) องค์การอวกาศยุโรป (ESA) และองค์การอวกาศแคนาดา (CSA) มีเป้าหมายเพื่อสืบทอดภารกิจของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) สำหรับภารกิจด้านฟิสิกส์ดาราศาสตร์หลักของนาซา เพื่อศึกษาการกำเนิดและวิวัฒนาการของจักรวาล  นิตยสารสาระวิทย์ โดย สวทช. ได้รับเกียรติจากสองนักดาราศาสตร์คนไทย ดร.ณิชา ลีโทชวลิต นักวิจัยจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ผู้ร่วมกับทีม GLASS (Grism Lens-Amplified Survey from Space) ใช้ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ ค้นพบกาแล็กซีที่มีระยะห่างออกไปถึงกว่า 13,500 ล้านปีแสง นับเป็นกาแล็กซีที่ไกลที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบในปัจจุบัน และ ดร.สมาพร ติญญนนท์ นักวิจัยหลังจบปริญญาเอก (postdoctoral researcher) ที่ University of California Santa Cruz ผู้ศึกษาวิจัยเรื่อง Supernova ที่มาจากดาวฤกษ์มวลมาก มาร่วมถ่ายทอดเรื่องราวงานวิจัยด้านดาราศาสตร์ที่น่าตื่นเต้น ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/LZkS0twl1nY 

    R&D Sharing 2022 ตอนที่ 8: BIG DATA บูรณาการฐานข้อมูลเกษตรกรกลุ่มเปราะบางทั่วประเทศ

    Play Episode Listen Later Aug 21, 2022 48:49


    งาน R&D Sharing 2022 ตอนที่ 8: BIG DATA บูรณาการฐานข้อมูลเกษตรกรกลุ่มเปราะบางทั่วประเทศ โดย ดร.อานนท์ แปลงประสพโชค ทีมวิจัยการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ NECTEC สวทช. วันศุกร์ที่ 19 ส.ค. 65 เวลา 10.00 น. - 10.40 น.

    R&D Sharing 2022 ตอนที่ 7: Power Converter เทคโนโลยีเพื่อโลกสีเขียว

    Play Episode Listen Later Aug 21, 2022 48:19


    งาน R&D Sharing 2022 ตอนที่ 7: Power Converter เทคโนโลยีเพื่อโลกสีเขียว โดย ดร.ณัชพงศ์  หัตถิ จากทีมวิจัยมอเตอร์และการแปลงผันกำลังงาน NECTEC สวทช. วันพฤหัสบดีที่ 18 ส.ค. 65 เวลา 10.00 น. - 10.40 น.

    R&D Sharing 2022 ตอนที่ 6: นวัตกรรมสร้างโอกาสและความเท่าเทียมในการสื่อสารเพื่อคนหูหนวก

    Play Episode Listen Later Aug 10, 2022 50:00


    งาน R&D Sharing 2022 ตอนที่ 6: นวัตกรรมสร้างโอกาสและความเท่าเทียมในการสื่อสารเพื่อคนหูหนวก โดย ดร.ณัฐนันท์ ทัดพิทักษ์กุล ทีมวิจัยเทคโนโลยีที่ทุกคนเข้าถึงและสิ่งอำนวยความสะดวก สวทช. วันพุธที่ 10 ส.ค. 65 เวลา 10.00 น. - 10.40 น.

    Sci เข้าหู EP.42 - Para Dough ของเล่นจากยางพาราไทย

    Play Episode Listen Later Aug 8, 2022 30:52


    หากพูดถึงของเล่นที่เด็ก ๆ หลายคนชื่นชอบและคุ้นเคยกันดี นั่นก็คือ “ดินน้ำมัน” ซึ่งการเล่นปั้นดินน้ำมัน ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการเด็กและพัฒนาสมองเด็กเล็กได้ดี แต่การเล่นดินน้ำมันอาจพบอาการภูมิแพ้ โดยเฉพาะการระคายเคืองผิวหนังบริเวณที่สัมผัส โดยสารในดินน้ำมันก่อให้เกิดภูมิแพ้ เช่น น้ำมันพืชที่ผลิตจากถั่ว สารกันเสีย น้ำมันเครื่อง เพื่อตอบโจทย์ปัญหาเหล่านี้ ‘Para Dough (พาราโด)' ผลิตภัณฑ์ของเล่นยางสำหรับปั้น มีลักษณะคล้ายดินน้ำมัน แต่ปลอดภัย ไร้กลิ่น ปราศจากสารเคมีอันตราย ผลิตจาก ‘ยางพารา' พืชเศรษฐกิจของไทย ผลงานวิจัย โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งในปัจจุบันพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีระดับอุตสาหกรรม หนุนตีตลาดของเล่นทางเลือกเพื่อสุขภาพระดับโลก นิตยสารสาระวิทย์ โดย สวทช. ได้รับเกียรติจาก ดร.ปณิธิ วิรุฬห์พอจิต หรือ ดร.วี นักวิจัยกลุ่มวิจัยนวัตกรรมการแปรรูปยาง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือ เอ็มเทค สวทช. ผู้ร่วมวิจัยและพัฒนา Para Dough มาร่วมพูดคุยบอกเล่าเบื้องหลังการพัฒนา Para Dough และความพิเศษสำหรับของเล่นคุณภาพเพื่อเด็ก ๆ ชิ้นนี้ ติดตามรับฟัง Podcast รายการ Sci เข้าหู ย้อนหลังได้ที่ https://www.nstda.or.th/sci2pub/podcast-sci-in-ear/  https://youtu.be/nTRNPL_0p2c 

    Claim NSTDA Podcast

    In order to claim this podcast we'll send an email to with a verification link. Simply click the link and you will be able to edit tags, request a refresh, and other features to take control of your podcast page!

    Claim Cancel