SCB Podcast เรื่องเงินใกล้ๆ ตัว
ต่อเนื่องจาก EP. 5 ที่แล้ว เราได้ทราบหลักการของ Family Holding Company ใน EP. 6 นี้ เรามาทำความรู้จักประโยชน์ของ Family Holding Company เพิ่มเติม ทั้งในประโยชน์เพื่อลดภาระภาษีโดยรวม และช่วยปรับโครงสร้างธุรกิจให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น เพื่อลดความขัดแย้งในครอบครัว และส่งต่อความมั่งคั่งของกลุ่มของครอบครัวได้อย่างยั่งยืน #SCBWealth #SCBPrivateBanking #FamilyOffice #FamilyWealthPlanning
Family Holding Company ตัวช่วยในการรวบรวมทรัพย์สินที่มีความสำคัญของกลุ่มครอบครัว ดูแลจัดการ และส่งต่อทรัพย์สินครอบครัว เพื่อให้คุณมั่นใจได้ว่าจะสามารถส่งต่อความมั่งคั่งของกลุ่มครอบครัวไปยังรุ่นสู่รุ่นได้อย่างยั่งยืน และเป็นธรรม เอกสิทธิ์พิเศษสำหรับลูกค้า SCB PRIVATE BANKING รับชมได้ในรายการ Family Wealth Planning EP. 5 #SCBWealth #SCBPrivateBanking #FamilyOffice #FamilyWealthPlanning
กดอ่านได้ที่นี่ https://bit.ly/44mnBiK CB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ประกอบด้วย 1) การปรับมุมมองแนวโน้มที่มีต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นชะลอตัวลงแบบจัดการได้ (Soft landing) จากอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มชะลอลงต่อเนื่อง แม้จะยังต้องใช้เวลาอีก 1- 2 ปีกว่าที่จะเข้าสู่อัตราเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% ของ Fed 2) ดอกเบี้ยประเทศพัฒนาแล้วโดยเฉพาะ สหรัฐฯ จะค้างในระดับสูงจนถึงช่วงกลางปีหน้า ส่วนการลดดอกเบี้ยน่าจะเป็นแบบช้าและค่อยๆ ลง ขณะที่ดอกเบี้ยกลุ่มประเทศ Emerging มีโอกาสลดลงได้เร็วกว่า ทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระยะข้างหน้า ด้านประเทศที่มีบริษัทและครัวเรือนก่อหนี้สูงจำนวนมาก มีความเสี่ยงภาวะ Balance sheet recession 3) เราปรับมุมมองหุ้นกู้ Investment Grade กลับขึ้นมาเป็น Slightly Positive แต่ยังคงแนะนำหลีกเลี่ยงการลงทุนในหุ้นกู้ HY โดยเฉพาะในตลาดหุ้นกู้จีน 4) ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 2/2023 ของตลาดหุ้นหลายแห่งทั่วโลกออกมาดีกว่าคาด หรือแย่น้อยกว่าคาด 5) Valuation ของตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้วเริ่มตึงตัวน้อยลง โดยเฉพาะหุ้นกลุ่ม Tech ของสหรัฐฯ ซึ่งเราแนะนำสับเปลี่ยนเข้า Defensive ไปก่อนหน้านี้ พร้อมกันนี้ เราปรับมุมมองหุ้นญี่ปุ่นเป็น Neutral หลังตลาดรับรู้การเปลี่ยนกรอบนโยบาย Yield Curve Control พอสมควรแล้ว และระยะถัดไปมีแรงหนุนรออยู่ นอกจากนี้เรายังคงแนะนำทยอยสะสมหุ้นจีน A-share ปรับหุ้นเวียดนามเป็น Neutral ส่วนหุ้นจีน H-share เรายังคงมุมมอง Neutral แม้ Valuation ค่อนข้างถูกก็ตาม สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ในรายงาน Economics and Portfolio Strategy (EPS) ประจำเดือน ส.ค. ของ SCB CIO #SCB #SCBCIO #INVESTMENT #WEALTH
ทำความรู้จัก Property Backed Loan ตัวช่วยบริหารภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แปลงเป็นเงินลงทุนและกระแสเงินสดจากอสังหาริมทรัพย์ที่คุณถือครองอยู่ เพื่อต่อยอดความมั่งคั่งอย่างเหนือระดับ เอกสิทธิ์พิเศษสำหรับลูกค้า SCB PRIVATE BANKING รับชมได้ในรายการ Family Wealth Planning EP.4 การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะผลิตภัณฑ์ เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน #SCBWealth #SCBPrivateBanking #FamilyOffice #FamilyWealthPlanning
เมื่อเจ้ามรดกตัดสินใจส่งต่อมรดกให้แก่ลูกหลาน ผลของการส่งต่อไปยังผู้รับจะมีภาระภาษีอย่างไร สินทรัพย์ประเภทใดที่ไม่ต้องเสียภาษีการรับมรดก และเราสามารถใช้กลยุทธ์ในการบริหารจัดการภาษีการรับมรดกอย่างไรได้บ้าง เพื่อให้ลูกหลานหรือคนที่เราอยากส่งต่อ ไม่ต้องแบกรับภาระภาษีและยังช่วยให้เกิดความรวดเร็วในการส่งต่อมรดก หาทุกคำตอบได้ใน Family Wealth Planning EP3 จากผู้เชี่ยวชาญของ SCB PRIVATE BANKING เอกสิทธิ์พิเศษสำหรับลูกค้า SCB PRIVATE BANKING #SCBWealth #SCBPrivateBanking #FamilyOffice #FamilyWealthPlanning
ในยุคนี้ที่ชีวิตไม่แน่นอน พินัยกรรมเป็นเรื่องสำคัญที่ห้ามมองข้าม แล้วก่อนคิดทำพินัยกรรม เราต้องรู้อะไรบ้าง Family Wealth Planning Episode นี้ ขอสรุป 3 เรื่องสำคัญต้องรู้ก่อนทำพินัยกรรม เพื่อส่งต่อทรัพย์สินสู่ทายาทอย่างถูกต้องตามเจตนารมณ์ เอกสิทธิ์พิเศษสำหรับลูกค้า SCB PRIVATE BANKING #SCBWealth #SCBPrivateBanking #FamilyOffice #FamilyWealthPlanning
กดอ่านได้ที่นี่ https://bit.ly/3Qfc3u5 SCB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ประกอบด้วย 1) ปรากฎการณ์อัตราเงินเฟ้อชะลอตัว (disinflation) มีให้เห็นในหลายประเทศ โดยเงินเฟ้อในกลุ่ม Developed markets ชะลอลงช้ากว่ากลุ่ม Emerging markets เนื่องจากเงินเฟ้อจากภาคบริการยังอยู่ในระดับสูง 2) คาด Fed จบรอบการขึ้นดอกเบี้ยแต่จะค้างดอกเบี้ยไว้ระดับสูงในช่วงที่เหลือของปี เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอแต่มีโอกาสหลีกเลี่ยงเศรษฐกิจถดถอยได้สูงขึ้น 3) เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวช้ากว่าคาดในไตรมาสที่ 2/2023 ทำให้มีโอกาสมากขึ้นที่ภาครัฐจะออกมาตรการกระตุ้นแบบเฉพาะเจาะจงในช่วงครึ่งหลังของปี ขณะที่ ปัจจัยเสี่ยงที่เริ่มสูงขึ้นคือ หนี้ของรัฐบาลท้องถิ่นที่ครบกำหนดชำระค่อนข้างมากในช่วง ส.ค.-ก.ย.นี้ 4) การเร่งตัวของ Bond yield ในช่วงที่ผ่านมาเป็นปัจจัยชั่วคราว คาดจะเริ่มลดลงหลังเงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง และสัญญาณที่ชัดของการหยุดขึ้นดอกเบี้ยจาก Fed ดังนั้น เรามองว่า ยังคงเป็นโอกาสดีที่จะสะสมพันธบัตรเข้าพอร์ต เพื่อจัดการกับความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย/ชะลอตัว 5) Valuation ของตลาดหุ้น Developed Markets ส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็วตั้งแต่ต้นปี และส่วนใหญ่เป็นผลมาจาก P/E rerating ยกเว้นตลาดหุ้นยุโรป ขณะที่ ตลาดหุ้นที่ Valuation ยังถูก มักมีปัจจัยความเสี่ยงกดดัน เช่น ตลาดหุ้นจีน ไทย และเวียดนาม อย่างไรก็ตาม เรายังคงแนะนำทยอยสะสมหุ้นจีน A-share เนื่องจากแนวโน้มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบเฉพาะเจาะจงในช่วงครึ่งหลังของปี และหุ้นไทย จากความไม่แน่นอนทางการเมืองและนโยบายเริ่มลดลง สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ในรายงาน Economics and Portfolio Strategy (EPS) ประจำเดือน ก.ค. ของ SCB CIO #SCB #SCBCIO #INVESTMENT #WEALTH
ใหม่! Family Wealth Planning รายการที่จะมานำเสนอความรู้ คำแนะนำ และบริการที่ปรึกษาด้านการบริหารสินทรัพย์ครอบครัว ให้คุณได้ส่งต่อความมั่งคั่งจากรุ่นสู่รุ่นอย่างยั่งยืน ใน 5 เรื่องสำคัญ 1. Estate & Succession Planning บริการวางแผนส่งต่อทรัพย์สินและและธุรกิจครอบครัว 2. Family Business Governance การจัดทำธรรมนูญครอบครัวและแนวทางกำกับดูแลธุรกิจครอบครัว 3. Real Estate Law กฏหมายและภาษีอากรเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ 4. Investment Regulation กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน 5. Taxation การบริหารภาษีอากรสำหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เอกสิทธิ์พิเศษสำหรับลูกค้า SCB PRIVATE BANKING #SCBWealth #SCBPrivateBanking #FamilyOffice #FamilyWealthPlanning
กดอ่านได้ที่นี่ >> https://goo.by/LFQS3 SCB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ประกอบด้วย 1) ธนาคารกลางหลักส่งสัญญาณใกล้จบรอบการขึ้นดอกเบี้ย แต่การลดดอกเบี้ยเป็นเรื่องของปีหน้า ส่วนเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรป แม้ชะลอและอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยแต่จะไม่รุนแรง ขณะที่ EM Asia แม้การฟื้นตัวช้ากว่าคาดในช่วงครึ่งแรก แต่มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง 2) ปัจจัยความเสี่ยงที่ต้องระวัง คือ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอยแบบรุนแรง เงินเฟ้อยืดเยื้อกว่าคาด และเศรษฐกิจ EM Asia ชะลอตัว 3) แนะนำตั้งรับเศรษฐกิจชะลอตัวด้วยพันธบัตรรัฐบาล เนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ มีแนวโน้มลดลงในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้า ขณะที่เราปรับมุมมองหุ้นกู้คุณภาพสูงลงเป็น Neutral จากความเสี่ยง spread ของหุ้นกู้กลุ่ม medium grade (A+ ถึง BBB-) ที่จะถูกกระทบจากความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย 4) หนุนเปิดเกมส์รุกด้วยการเพิ่มหุ้น EM Asia เน้น จีน A-share ที่มูลค่าค่อนข้างถูกเทียบกับอดีต และหุ้นไทยที่มูลค่ายังน่าสนใจ ขณะที่ หุ้นกลุ่มเติบโตสหรัฐฯเริ่มแพง และหุ้นยุโรปถูกกระทบจากเงินเฟ้อยืดเยื้อโดยแนะนำสับเปลี่ยนเข้าหุ้นกลุ่ม Defensive ในสหรัฐฯ ที่มีผลกำไรแข็งแกร่งแม้ในช่วงเศรษฐกิจถดถอย รวมถึง valuation ที่ยังน่าสนใจ เช่น กลุ่ม Utilities และกลุ่ม Consumer staples 5) ควรลงทุนใน commodity เพื่อ Hedge ความเสี่ยงเงินเฟ้อยืดเยื้อ และความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical risks) เนื่องจาก การเพิ่ม commodities เข้ามาใน portfolio ในสัดส่วนที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 5%-10% ตามความเสี่ยงที่รับได้ จะช่วยกระจายความเสี่ยงได้ดีในช่วงที่เงินเฟ้อสูงมากกว่าตลาดคาด เนื่องจาก commodities มักจะเคลื่อนไหวตรงกันข้ามกับ หุ้น และพันธบัตร สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ในรายงาน Economics and Portfolio Strategy (EPS) ประจำเดือน มิ.ย. ของ SCB CIO #SCB #SCBCIO #INVESTMENT #WEALTH
กดอ่านได้ที่นี่ >> https://bit.ly/3WrPt2p SCB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ประกอบด้วย 1. การจัดการเพดานหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ และการจัดตั้งรัฐบาลของไทย ทำให้ความไม่แน่นอนทางการเมืองสูงขึ้นในระยะสั้น และมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะสั้นจำกัด จากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังแข็งแกร่งและการฟื้นตัวภาคบริการของไทยมีต่อเนื่อง 2. ความผันผวนระยะสั้นของตลาดในช่วงที่ความไม่แน่นอนทางการเมืองสูงขึ้น เป็นโอกาสในระยะยาวที่จะสะสมหุ้น Defensive และ Mega Tech ของสหรัฐฯ รวมถึง หุ้นกลุ่มท่องเที่ยว บริโภค และโรงพยาบาลของไทย 3. SCB CIO ปรับมุมมองหุ้นญี่ปุ่นเป็นทยอยขาย (Slightly negative from Neutral) เนื่องจากในระยะข้างหน้าความเสี่ยงเงินเฟ้อของญี่ปุ่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คาดว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะปรับนโยบาย Yield Curve Control ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นมีแนวโน้มปรับขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินเยนมีแนวโน้มกลับมาแข็งค่าขึ้น สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ในรายงาน Economics and Portfolio Strategy (EPS) ประจำเดือน พ.ค. ของ SCB CIO #SCB #SCBCIO #INVESTMENT #WEALTH
กดอ่านได้ที่นี่ >> https://bit.ly/3NdrVf8 SCB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ประกอบด้วย 1) ความตึงเครียดในภาคการเงินของสหรัฐฯ และยุโรป บวกกับผลของดอกเบี้ยสูง ทำให้ความกังวลเศรษฐกิจถดถอยกลับมาอีกครั้ง 2) นักลงทุนควรป้องกันความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย ด้วยการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล (Positive) 3) สำหรับการลงทุนในหุ้นโดยรวม เรายังมีมุมมอง Neutral โดยยังต้องติดตามงบไตรมาสที่ 1/2023 และความเสี่ยงการถูกปรับลดคาดการณ์กำไร ทั้งนี้ เรายังเน้นการลงทุนในตลาดหุ้นจีน A-share (Positive) ตลาดหุ้นจีน H-share (Slightly Positive) และตลาดหุ้นไทย (Slightly Positive) ที่ Valuation น่าสนใจและมีแนวโน้มกำไรที่ฟื้นตัวในระยะข้างหน้า สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ในรายงาน Economics and Portfolio Strategy (EPS) ประจำเดือน เม.ย. ของ SCB CIO #SCB #SCBCIO #INVESTMENT #WEALTH
อ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็ม - http://bit.ly/42FDUav SCB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ประกอบด้วย 1) แม้เงินเฟ้อจะชะลอลงช้า แต่ประเด็นปัญหาภาคธนาคารในสหรัฐฯ ทำให้ธนาคารกลางหลักต้องพิจารณาเสถียรภาพสถาบันการเงินมากขึ้น และจะทำให้ธนาคารกลางหลักเริ่มส่งสัญญาณหยุดขึ้นดอกเบี้ยภายในไตรมาส 2/2023 2) ในช่วงที่ธนาคารกลางใกล้หยุดขึ้นดอกเบี้ย เรามองว่า ยังเป็นโอกาสดีสำหรับการสะสมหุ้นกู้คุณภาพสูง ขณะที่ Asian REITs ยังน่าสนใจ จากผลบวกอัตราการเช่าและค่าเช่าที่ฟื้นตัว โดยเฉพาะในไทยและสิงคโปร์ 3) สำหรับการลงทุนในหุ้นโดยรวม เรายังมีมุมมองเป็น Neutral อยู่ โดยมูลค่าเริ่มน่าสนใจ แต่ยังมีแรงกดดันจากทั้งต้นทุนทางการเงินที่สูงและกำไรที่เติบโตติดลบ ทั้งนี้ เราได้ปรับมุมมองหุ้นเวียดนาม เป็น Slightly Negative หรือให้ทยอยขาย และให้เน้นการลงทุนในตลาดหุ้นจีน A-share ซึ่งมีมุมมอง Positive ตลาดหุ้นจีน H-share ที่มีมุมมอง Slightly Positive และตลาดหุ้นไทย ที่ Slightly Positive เช่นกัน เนื่องจากมูลค่าน่าสนใจ และมีแนวโน้มกำไรฟื้นตัวในระยะข้างหน้า สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ในรายงาน Economics and Portfolio Strategy (EPS) ประจำเดือน มี.ค. ของ SCB CIO #SCB #SCBCIO #INVESTMENT #WEALTH
อ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็ม - http://bit.ly/3m4bAxV SCB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ 3 ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ประกอบด้วย 1) เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มแค่ชะลอตัวลง แต่ไม่ถดถอยในปีนี้ โดยปัจจัยบวกหลัก ได้แก่ การเปิดประเทศของจีน ยุโรปจัดการกับวิกฤติพลังงานได้ดี ตลาดแรงงานแข็งแกร่ง และ pent up demand หลังเปิดประเทศ ขณะที่ ปัจจัยเสี่ยงหลัก เช่น ความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ และเงินเฟ้อที่ชะลอช้าทำให้ดอกเบี้ยอยู่สูงนาน 2) ความแตกต่างด้านแนวโน้มดอกเบี้ยระหว่างสิ่งที่ตลาดคาดไว้กับสิ่งที่ธนาคารกลางจะทำ เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่อาจสร้างความผันผวนในตลาดการเงินระยะข้างหน้า 3) เรามองเป็นโอกาสดีที่จะสะสมหุ้นกู้คุณภาพสูง (Positive) และ Asian REITs (Slightly Positive) ในส่วนการลงทุนในหุ้น (Neutral) ยังมีแรงกดดันจากทั้งต้นทุนทางการเงินที่ยังสูง และกำไรเติบโตติดลบ แต่เรายังเน้นการลงทุนในตลาดหุ้นจีน (A-share: Positive; H-share: Slightly Positive) และตลาดหุ้นไทย (Slightly Positive) สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ในรายงาน Economics and Portfolio Strategy (EPS) ประจำเดือน ก.พ.ของ SCB Chief Investment Office (CIO) #SCB #SCBCIO #INVESTMENT #WEALTH
อ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็ม >> https://bit.ly/3Xlkftr SCB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ประเด็นสำคัญที่จะมีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) สำหรับปี 2023 ประกอบด้วย 1) การเปิดเมืองและเปิดประเทศของจีนที่เร็วกว่าที่เราคาดไว้ และนโยบายที่ยังผ่อนคลาย เป็นปัจจัยหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน รวมถึงเศรษฐกิจประเทศที่พึ่งพาจีน 2) ธนาคารกลางหลักส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยช้าลง แต่ยังคงปรับขึ้นต่อและค้างดอกเบี้ยไว้ในระดับสูง ตามที่เงินเฟ้อทั่วไปแม้ชะลอลง แต่ยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าธนาคารกลาง 3) เรายังคงแนะนำลงทุนสินทรัพย์คุณภาพสูง เพื่อสร้าง Yield และยังมีมุมมองโดยรวมเป็น Neutral ต่อหุ้น แต่มีมุมมอง Positive กับหุ้นจีน A-shares และ Slightly Positive กับหุ้นจีน H-shares ขณะที่ แนวโน้มค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น เราจึงคงมุมมองว่า การป้องกันความเสี่ยง FX ยังคงมีความจำเป็นมากขึ้น รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ในรายงาน Economics and Portfolio Strategy (EPS) ประจำเดือนม.ค.ของ SCB Chief Investment Office (CIO) #SCB #SCBCIO #INVESTMENT #WEALTH
อ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็ม >> https://bit.ly/3UDjbyY SCB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ประเด็นสำคัญที่จะมีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) สำหรับปี 2023 ประกอบด้วย 2023 Economic Outlook อัตราเงินเฟ้อลดลงช้าและยังเกินเป้าหมายธนาคารกลางหลัก ดอกเบี้ยจะเริ่มขึ้นแบบช้าลง แต่ยังคงอยู่ในระดับสูง เศรษฐกิจหลักชะลอลงอย่างพร้อมเพรียงและมีนัยยะ (Synchronized and Serious Slowdown) ทำให้ตลาดยังกังวลภาวะเศรษฐกิจถดถอย การชะลอตัวของเศรษฐกิจและการประท้วงจะเป็นหนึ่งในปัจจัยกดดันให้ทางการจีนยกเลิก Zero Covid Policy ในปี 2023 แต่การเปิดเมืองเปิดประเทศน่าจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ความไม่แน่นอนด้านภูมิรัฐศาสตร์ และด้านนโยบายยังทำให้ตลาดเงินโลกมีแนวโน้มผันผวน การเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อุปทานการผลิตของโลกจะยิ่งเร็วขึ้นตามกระแส Geopolitics, ESG และ Digital innovation 2023 Portfolio Strategy เน้นลงทุนสินทรัพย์คุณภาพสูงเพื่อสร้างผลตอบแทนจากกระแสเงิน (Yield) ความไม่แน่นอนสูงที่ยังยืดเยื้อ ทาให้เรายังคงแนะนำถือเงินสดหรือมีผลิตภัณฑ์การลงทุนความเสี่ยงต่ำ (Slightly Positive) เงินเฟ้อเริ่มผ่านจุดสูงสุด + ความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยสูง =สะสมพันธบัตร/หุ้นกู้ โดยทยอยเพิ่ม Duration แต่ยังเน้นคุณภาพสูง (Slightly Positive) การลงทุนในตลาดหุ้นยังต้องระวังกับดักด้านมูลค่า (Valuation trap) (Neutral) แม้เศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงถดถอย แต่การเปิดเมืองของจีน และการลดกำลังการผลิตของ OPEC+ ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนราคาน้ำมันโลก (Slightly Positive) การป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนมีความจำเป็นมากขึ้น หลังการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed เริ่มช้าลง + ดุลบัญชีเดินสะพัดไทยเริ่มกลับมาเกินดุล รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ในรายงาน Economics and Portfolio Strategy (EPS) ฉบับนี้ ของ SCB Chief Investment Office (CIO) #SCB #SCBCIO #INVESTMENT #WEALTH
อ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็ม >> https://bit.ly/3CWCL2c SCB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ 3 ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ประกอบด้วย 1) ตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดเริ่มได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อสูงยืดเยื้อ และดอกเบี้ยขาขึ้น แต่ไม่มากพอที่จะทำให้ธนาคารกลางส่งสัญญาณชะลอการขึ้นดอกเบี้ย 2) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรยังคงอยู่ในระดับสูง ขณะที่ ตลาดหุ้นรอประเมินผลกระทบของเงินเฟ้อและดอกเบี้ยที่มีต่อผลประกอบการไตรมาสที่ 3 3) เราแนะนำให้มีเงินสดหรือผลิตภัณฑ์ความเสี่ยงต่ำ (มุ่งคุ้มครองเงินต้น) 5%-15% ของพอร์ต และเน้นทยอยสะสมหุ้นกู้คุณภาพดี รวมทั้ง ยังมีมุมมองโดยรวมเป็น Neutral ต่อหุ้น โดยทยอยสะสมหุ้นที่มีการเติบโตยั่งยืนและอัตรากำไรสูง ในประเทศที่ได้อานิสงส์จากการเปิดเมือง และการเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อุปทาน ขณะที่ แนะนำให้มีสินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะน้ำมันในสัดส่วน 5% ของพอร์ต รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ในรายงาน Economics and Portfolio Strategy (EPS) ประจำเดือนต.ค. ของ SCB Chief Investment Office (CIO) #SCB #SCBCIO #INVESTMENT #WEALTH
SCB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ 3 ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ประกอบด้วย 1) ทิศทางอัตราดอกเบี้ยยังเป็นขาขึ้น และอยู่ในระดับสูง แม้ว่า มีแนวโน้มขยับขึ้นช้าลง จากอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงและชะลอลงค่อนข้างช้า 2) เศรษฐกิจชะลอตัวลง และความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยสูงขึ้น ตลาดการเงินโลกยังคงมีแนวโน้มผันผวนสูง จากความไม่แน่นอนในหลายปัจจัย 3) เราแนะนำให้มีเงินสดหรือผลิตภัณฑ์ความเสี่ยงต่ำ (คุ้มครองเงินต้น) 5-15% ของพอร์ต และเน้นทยอยสะสมหุ้นกู้ที่คุณภาพดี รวมทั้ง มีมุมมองโดยรวมเป็น Neutral ต่อหุ้น โดยทยอยสะสมหุ้นบริษัทที่เติบโตยั่งยืนและอัตรากำไรที่สูง ในประเทศที่ได้อานิสงส์จากการเปิดเมือง และการเปลี่ยนแปลงในห่วงโซ่อุปทาน ขณะที่ แนะนำให้มีสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะน้ำมัน 5% ของพอร์ต รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ในรายงาน Economics and Portfolio Strategy (EPS) ประจำเดือนก.ย. ของ SCB Chief Investment Office (CIO) #SCB #SCBCIO #INVESTMENT #WEALTH
การกู้เงินไม่ได้น่ากลัวอย่างที่หลาย ๆคนคิด หากบริหารจัดการให้ดีการกู้ยืมเงินสามารถสร้างประโยชน์ระยะยาวได้ ชวนฟังปัจจัยสำคัญที่ควรคำนึงก่อนคิดจะกู้เงินจากผู้เชี่ยวชาญด้าน Wealth Planning พร้อมยกตัวอย่างหลักการกู้ซื้อที่สำคัญประเภทต่าง ๆ เช่น อสังหาริมทรัพย์ และการเช่าซื้อรถยนต์ พร้อมแนะนำทางเลือกสร้างกระแสเงินสดจากผลิตภัณฑ์ Property Backed Loan สินเชื่อเพื่อใช้ในการบริหารความมั่งคั่งจากอสังหาริมทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ที่นักลงทุนถือครอง
SCB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ 3 ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ประกอบด้วย 1) อัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศยังอยู่สูงแต่เริ่มชะลอลง คาดการขยับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ยังคงมีต่อเนื่อง แต่จะมีลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไปตามภาวะเศรษฐกิจมากขึ้น (gradual and data dependent) 2) ผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ล่าสุดส่วนใหญ่ ขยายตัวดีกว่าที่ตลาดคาด โดยเฉพาะบจ.สหรัฐฯ ที่มีความสามารถบริษัทในการจัดการผลกระทบจากเงินเฟ้อสูง และดอกเบี้ยขาขึ้น 3) เราปรับคำแนะนำหุ้นสหรัฐฯ ให้ทยอยสะสมหุ้นกลุ่ม High Quality ขณะที่ ยังคงมุมมอง Slightly positive ต่อหุ้นจีน A-share หุ้นไทย หุ้นเวียดนาม และหุ้นอินโดนีเซีย รวมทั้ง แนะนำทยอยสะสมหุ้นกู้ IG เพื่อสร้างกระแสรายได้กับให้พอร์ต และมีสินค้าโภคภัณฑ์ ราว 4%-6% ของพอร์ต เพื่อการจัดการความเสี่ยงเงินเฟ้อ โดยเน้นที่น้ำมัน รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ในรายงาน Economics and Portfolio Strategy (EPS) ประจำเดือนส.ค. ของ SCB Chief Investment Office (CIO)
SCB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ 3 ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ประกอบด้วย 1) ความกังวลภาวะเศรษฐกิจถดถอย ส่งผลกดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และทำให้เริ่มเห็นสัญญาณเงินเฟ้อ โดยเฉพาะสหรัฐฯ ใกล้ผ่านจุดสูงสุด ในขณะที่ ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลักในปีนี้ ยังคงเป็นขาขึ้น 2) ผลประกอบการใน 2Q2022 จะเป็นตัวบ่งชี้ว่า กำไรบริษัทได้รับผลกระทบแค่ไหน จากเงินเฟ้อที่สูง ดอกเบี้ยขาขึ้น และเศรษฐกิจชะลอตัว ในขณะที่ ภาวะ Inverted yield curve ในสหรัฐฯ มีแนวโน้มเกิดขึ้นเป็นระยะในช่วง 2H2022 3) เรายังแนะนำให้มีเงินสดในพอร์ตราว 5-10% ทยอยสะสมหุ้นจีน A-Shares หุ้นไทย และหุ้นเวียดนาม รวมทั้ง สร้างกระแสรายได้ให้กับพอร์ต ด้วยการทยอยสะสมหุ้นกู้ IG พร้อมทั้งจัดการความเสี่ยงเงินเฟ้อ ด้วยการมีสินค้าโภคภัณฑ์ ในพอร์ตราว 4-6% โดยเน้นที่น้ำมัน รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ในรายงาน Economics and Portfolio Strategy (EPS) ประจำเดือนก.ค. ของ SCB Chief Investment Office (CIO)
วิเคราะห์ 3 ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก 1) เศรษฐกิจโลกชะลอตัวจากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง และการปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรง 2) ความไม่แน่นอนจากสงครามในยูเครน และความเร็วในการปรับขึ้นดอกเบี้ย 3) เราคงแนะนำให้มีเงินสดในพอร์ตราว 5-10% ทยอยสะสมหุ้นบริษัทที่มีการเติบโตอย่างยั่งยืน อัตรากำไร
SCB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ 3 ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ประกอบด้วย 1) จีนมีความเสี่ยงที่ GDP ใน 2Q2022 จะชะลอกว่าคาด ขณะที่ EU เสี่ยงต้องขึ้นดอกเบี้ยในขณะที่เศรษฐกิจยังไม่พร้อม ด้านสหรัฐฯ เราเชื่อว่าโอกาสจะเกิด technical recession ใน 2Q2022 ยังมีค่อนข้างน้อย 2) US Financial condition ในปัจจุบัน เริ่มตึงตัวใกล้ระดับช่วงปลายปี 2018 ที่ Fed ปรับขึ้นดอกเบี้ยสู่ระดับสูงสุด 2.5% ทำให้ เราเชื่อว่า Fed จะเริ่มพิจารณาประเด็นนี้มากขึ้น และจะส่งสัญญาณชัดเจนใน dot plot ในการประชุมเดือน มิ.ย. 3) เรายังคงแนะนำให้มีเงินสดในพอร์ต แต่ให้รอจังหวะสะสมตลาดหุ้นสหรัฐฯ เมื่อมีความชัดเจนมากขึ้นจาก Fed ขณะที่ เราปรับมุมมองตลาดหุ้นไทย ขึ้นเป็น Positive และยังคงมุมมอง Positive กับตลาดหุ้นเวียดนาม รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ในรายงาน Economics and Portfolio Strategy (EPS) ประจำเดือนพ.ค. ของ SCB Chief Investment Office (CIO)
วิเคราะห์ 3 ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก 1) Fed ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้นอีก รวมถึง เริ่มทำ Quantitative Tightening เพื่อจัดการเงินเฟ้อ 2) ความกังวลเรื่อง Inverted yield curve ส่งผลกดดันตลาดการเงินโลก และอาจเป็นปัจจัยหลักทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง 3) ภายใต้ความไม่แน่นอนที่สูง จึงแนะนำให้ยังมีสินทรัพย์สภาพคล่องในพอร์ต ขณะที่ เรามีมุมมอง Positive ต่อหุ้นเวียดนาม และ Asian REITs
ช่วงภาวะวิกฤต ทำให้มูลค่าของทรัพย์สินเปลี่ยนไป จะทำอย่างไรเพื่อป้องกันการด้อยค่าลงของทรัพย์สินที่เราถือครองไว้
รับฟังข้อควรรู้ก่อนจดทะเบียนบุตรบุญธรรม เพื่อเข้าใจหลักกฎหมายเกี่ยวกับบุตรบุญธรรมและผู้สืบสันดาน เช่น วิธีการจดทะเบียนบุตรบุญธรรม สิทธิในการรับมรดกของบุตรบุญธรรม และพ่อแม่บุตรบุญธรรม การแบ่งมรดกระหว่างบุตรแท้ๆ และบุตรบุญธรรมเท่ากันหรือไม่
วิเคราะห์ 3 ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) 1) วิกฤตในยูเครนยังมีความไม่แน่นอนสูง และสถานการณ์ล่าสุดมีแนวโน้มยืดเยื้อต่อ ถือเป็นความเสี่ยงด้านต่ำต่อเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะจากราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น 2) ทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลัก ยังเป็นดอกเบี้ยขาขึ้น แต่เริ่มมีโอกาสมากขึ้นที่ Fed และ ECB จะไม่ส่งสัญญาณเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็ว และแรงจนเกินไป 3) ภายใต้ความไม่แน่นอนที่ยังสูง การปรับเพิ่มน้ำหนักการถือเงินสด และไม่ซื้อไม่ขาย สินทรัพย์เสี่ยงส่วนใหญ่ แต่จับจังหวะสะสมหุ้นไทย และเวียดนาม ถือเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสมในขณะนี้
SCB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ 3 ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ประกอบด้วย วิเคราะห์ 3 ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) 1. Fed มีแนวโน้มเร่งขึ้นดอกเบี้ยในช่วง 1H2022 2. ความตึงเครียดรัสเซีย-ยูเครน มีแนวโน้มยืดเยื้อ ช่วงสั้นจะกระทบตลาดการเงินรัสเซียเป็นหลัก 3. หุ้นกลุ่ม Quality growth และ Value ในยุโรป และสหรัฐฯ ที่มี pricing power สูง และ valuation ที่สมเหตุสมผล มีแนวโน้มฟื้นตัวเร็วกว่าหุ้นกลุ่มอื่น รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ในรายงาน Economics and Portfolio Strategy (EPS) ประจำเดือนก.พ. ของ SCB Chief Investment Office (CIO)
สรุปประเด็นภาษีCryptocurrency ครบจบในที่เดียว ครอบคลุม 3 เรื่องสำคัญ ได้แก่ 1. การซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล 2. การได้รับเหรียญฯเป็นรายได้หรือรางวัล 3. การขุดเหรียญฯ เล่าหลักการคำนวณรายได้จากสินทรัพย์ดิจิทัล พร้อมตัวอย่างให้เข้าใจได้ง่ายๆ
อัปเดตภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2565 ทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ 1. เกษตรกรรม 2. ที่อยู่อาศัย 3. พาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม 4. ที่ดินรกร้าง แนะนำตัวช่วยบริหารภาษีที่ดิน และโอกาสสร้างรายได้กับผลิตภัณฑ์ Property Backed Loan พร้อมตอบคำถามที่น่าสนใจ อาทิ ผลิตภัณฑ์นี้คืออะไร หากนำที่ดินมาเข้าโครงการ ยังสามารถนำไปขายต่อ หรือปล่อยเช่าได้หรือไม่ ที่ดินประเภทใดที่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับเท่าไหร่ มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
SCB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ 3 ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ประกอบด้วย 1) Fed เตรียมปรับทิศทางการทำนโยบายการเงินเข้าสู่การจัดการปัญหาเงินเฟ้อเต็มตัว โดยจะปรับขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมี.ค.นี้ 2) Fed มีแนวโน้มเปิดเผยรายละเอียดของการทำ QT ในการประชุมเดือนนี้ เป็นอย่างเร็ว และคาดว่า จะเริ่มทำจริงในช่วงกลางปีนี้ 3) แม้หุ้นมีแนวโน้มเผชิญแรงกดดันจาก QT แต่หุ้นกลุ่ม Quality growth ในยุโรป และสหรัฐฯ มีแนวโน้มฟื้นตัวได้เร็วกว่าหุ้นกลุ่มอื่น รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ในรายงาน Economics and Portfolio Strategy (EPS) ประจำเดือนม.ค. ของ SCB Chief Investment Office (CIO)
เคลียร์ทุกประเด็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และช่วยลดหย่อนภาษีแก่ประชาชน “ช้อปดีมีคืน 2565” โครงการนี้สามารถช้อปอะไรได้บ้าง ซื้อได้เท่าไหร่ และสามารถนำมาลดหย่อนได้อย่างไร ต้องทำเรื่องขอคืนภาษีปีไหนกันแน่ ถ้าซื้อของออนไลน์สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้หรือไม่? ติดตามได้ในพอดแคสต์ Tax & Law Made Simple Series เอพิโสดนี้
SCB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ 3 ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ในปี 2022 ประกอบด้วย 1) ผลกระทบของ COVID-19 เริ่มชะลอลง แต่ยังไม่หายไป 2) นโยบายการเงินสหรัฐฯ เริ่มตึงตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป ภายใต้การนวดตลาดจาก Fed 3) กลุ่ม Quality Growth ในสหรัฐฯ และยุโรป ยังมีผลประกอบการเติบโตต่อเนื่อง รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ในรายงาน Economics and Portfolio Strategy (EPS) ประจำเดือนธ.ค. ของ SCB Chief Investment Office (CIO)
ส่องเศรษฐกิจโลก และทิศทางตลาดการลงทุนรับปีเสือ 2565 เจาะกลยุทธ์ลงทุนทั้งนอกและในประเทศ พร้อมชี้เป้าหุ้นไทย Top Pick และอุตสาหกรรมมาแรง ตั้งรับวิกฤติโอไมครอนที่กำลังระบาดทั่วโลก พูดคุยกับ คุณออสติน ปิยศักดิ์ มานะสันต์ และ คุณป๊อป สุทธิชัย คุ้มวรชัย ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัยการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์
ทบทวนเกณฑ์กองทุนลดหย่อนภาษี SSF/RMF ปี 2564 แชร์เทคนิคการเลือกซื้อกองทุน SSF/RMF ตามเกณฑ์อายุ อาชีพ และเป้าหมายการลงทุน กองทุนไหนเหมาะกับเรา ซื้ออย่างไรไม่ให้เสียสิทธิประโยชน์ทางภาษี พร้อมชี้เป้าธีมลงทุนเมกะเทรนด์และกองทุน SSF/RMF ที่กำลังมาแรง พูดคุยกับดร. เอส สาธิต ผ่องธัญญา ผู้อำนวยการอาวุโส คุณพลอย กมลชนก รามโกมุท ผู้อำนวยการ SCB Estate Planning and Family Office และแขกรับเชิญพิเศษ ดร. กำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโส SCB Chief Investment Office กองทุน SSF/RMF จาก SCB รายละเอียดเพิ่มเติม: https://link.scb/3kK8yeD
เจาะลึกปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4.0 การผสมผสานของเทคโนโลยีจะเปลี่ยนโลกไปตลอดกาล ตั้งแต่การติดต่อสื่อสารในโลกออนไลน์ การท่องเที่ยวในโลกเสมือนจริง (Virtual Reality) อย่าง Metaverse, บริการ Sharing economy เช่น การสั่งอาหาร หรือบริการขนส่งผ่าน Grab หรือ Uber, การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิตอล, การทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ Artificial Intelligence รวมถึง Internet of things เช่น การสั่งซื้อของผ่านตู้เย็นจากที่้บ้านได้เลย เป็นต้น การปฏิวัติครั้งนี้จะกระทบต่อเศรษฐกิจะในระดับโลก และประเทศไทยอย่างไร นักลงทุนควรจับตาดูเทรนด์อะไรในลำดับถัดไป พูดคุยกับ คุณออสติน ปิยศักดิ์ มานะสันต์ และ คุณป๊อป สุทธิชัย คุ้มวรชัย ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัยการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์
SCB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ 3 ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ประกอบด้วย 1) Fed เริ่มทำ tapering แต่ US bond yield มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป 2) ตลาดเริ่มปรับมุมมองการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed เร็วกว่าคาดจากปี 2023 เป็น 2022 3) กำไรบริษัทในกลุ่ม DM Quality Growth ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ในรายงาน Economics and Portfolio Strategy (EPS) ประจำเดือนพ.ย. ของ SCB Chief Investment Office (CIO) #SCB #SCBCIO #INVESTMENT #WEALTH
ฟังเกณฑ์และทริคลดหย่อนภาษีปี 2564 ที่ผู้จ่ายภาษีควรรู้ พร้อมยกตัวอย่างวิธีคำนวนภาษีเองได้ง่าย ๆ อัปเดตหลักลดหย่อนภาษีกรณีบริจาคผ่าน e-Donation บริจาคแบบไหนลดหย่อนได้ 2 เท่า ทำดีด้วย ประหยัดภาษีได้ด้วย สนใจกองทุน SSF/ RMF รายละเอียดเพิ่มเติม https://link.scb/3kK8yeD
สรุปวิกฤตขาดแคลนพลังงาน ราคาน้ำมันพุ่งครั้งยิ่งใหญ่ทุบสถิติในประวัติการณ์ มนุษยชาติจะแก้ไขวิกฤตนี้ได้อย่างไร ? และชี้ประเด็นร้อนการประชุม COP 26 พร้อมวิเคราะห์ผลกระทบต่อตลาดลงทุน แนะอุตสาหกรรมเด่นน่าลงทุนทั้งในระยะสั้น และระยะยาว พูดคุยกับ คุณออสติน ปิยศักดิ์ มานะสันต์ และ คุณป๊อป สุทธิชัย คุ้มวรชัย ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัยการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์
เมื่อวิกฤติโควิด 19 คลี่คลายลง ระเบียบโลกได้เปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ SCB Wealth Podcast นำเสนอซีรี่ย์ใหม่ "The Great Reset" ชวนเจาะลึกทิศทางเศรษฐกิจ สังคม เทรนด์ธุรกิจที่น่าจับตาในโลกยุคใหม่แบบ ยาว ใหญ่ ลึก ใน 7 ประเด็นร้อน Energy & Commodity Crisis Clean Energy & EV Trend The Industrial Revolution 4.0 Pandemic and Medical Safety Net Global Economic Policy Changing in City Landscape Geopolitical Landscape and Big Power ความเปลี่ยนแปลงนี้จะส่งผลกระทบต่อตลาดการลงทุนแค่ไหน ? และนักลงทุนควรรับมืออย่างไร ? พูดคุยกับ คุณออสติน ปิยศักดิ์ มานะสันต์ และ คุณป๊อป สุทธิชัย คุ้มวรชัย ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัยการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์
จากกระแสข่าวในโลกออนไลน์ว่าจะมีการแก้กฎหมายให้ต่างชาติสามารถเข้ามาซื้ออสังหาริมทรัพย์ในไทยได้ จนหลายคนเกิดความกังวลว่าราคาอสังหาริมทรัพย์จะเพิ่มสูงขึ้น จนคนไทยเองซื้อที่อยู่อาศัยไม่ไหว ในเอพิโสดนี้ทีม SCB Estate Planning & Family Office จะมาไขข้อข้องใจประเด็นนี้กันว่าจริงแท้แค่ไหน พร้อมเล่าที่มาของข่าวการแก้กฏหมายให้ต่างชาติซื้ออสังหาฯ ในประเทศไทย รวมถึงในต่างประเทศ เขาทำอย่างไรได้บ้าง และพวกเราควรเตรียมตัวอย่างไร?
SCB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ 3 ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ประกอบด้วย 1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังแตกต่างระหว่างประเทศ และระหว่างภาคธุรกิจ ขณะที่ การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเริ่มแตกต่างกันมากขึ้น 2) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และอยู่ในระดับที่จัดการได้ 3) แนวโน้มธุรกิจใหม่ที่ดำเนินต่อ จะช่วยหนุนกลุ่ม Quality growth ให้เติบโตได้ดีในระยะข้างหน้า รายละเอียดเพิ่มเติม ติดตามบทวิเคราะห์ได้ทุกเดือนกับ SCB CIO Wealth Insight #SCB #SCBCIO #INVESTMENT
เพราะทะเบียนสมรสไม่ใช่แค่หลักฐานแห่งความรัก EP. นี้ SCB Estate Planning & Family Office จึงขอเคลียร์ประเด็นคำถามเรื่องทรัพย์สินที่คู่รักควรรู้ ก่อนตัดสินใจจดหรือไม่จดทะเบียนสมรส เช่น การรับมรดกหลังจดทะเบียนสมรส หรือเงินปันผลที่มาจากกองทุนที่ลงทุนไว้ก่อนจดทะเบียน จัดเป็นสินสมรสหรือไม่? หากคู่สามีภรรยากู้ร่วมซื้อบ้าน แต่ไม่ได้จดทะเบียน หากฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต ที่อยู่นั้นจะตกเป็นของใคร? ผลกระทบต่อบุตรกรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส รวมถึงความสำคัญของพินัยกรรมกรณีไม่จดทะเบียนสมรส เพื่อให้คุณพร้อมเริ่มต้นครอบครัวใหม่ได้อย่างมั่นใจ และมั่นคง
ปลดล็อคข้อสงสัย ความเหมือน และความต่างระหว่างเงินดิจิทัล (Digital Currency) และคริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) ปูพื้นความเข้าใจกฏหมายเงินตรา และอัปเดตกฏหมายการเริ่มใช้เงินดิจิทัลในประเทศไทย พร้อมตอบคำถามคริปโตเคอร์เรนซีจะมาแทนที่เงินได้จริงหรือ?
#SCB CIO Wealth Insight Ep.2 นโยบายการเงินที่เริ่มแตกต่าง กำลังกระทบต่อความผันผวนต่อตลาดการเงิน!! SCB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ 3 ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ประกอบด้วย 1) ผลกระทบจากนโยบายการเงินที่เริ่มแตกต่าง ตามความรวดเร็วในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจระหว่างกลุ่ม DMs และ EMs โดยเฉพาะการส่งสัญญาณจาก Fed ที่จะเริ่มทำ QE taper ภายในปีนี้ 2) ภูมิคุ้มกันของกลุ่ม EMs ต่อความผันผวนของตลาดการเงินโลก และ 3) บทเรียนต่อตลาดการเงินโลกจากการทำ QE taper ของ Fed ในปี 2013 และความแตกต่างของการทำ QE taper ในรอบนี้ ติดตามบทวิเคราะห์ได้ทุกเดือนกับ SCB CIO Wealth Insight #SCB #SCBCIO #INVESTMENT
อัปเดตกฏหมายเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกับผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ (e-Service) 7% เริ่มใช้ 1 ก.ย. นี้ ไขคำตอบการซื้อของ ขายของออนไลน์ ยิงโฆษณา Google, Facebook จ่ายค่าดาวน์โหลดแอปพลิเคชันต่าง ๆ จะได้รับผลกระทบด้วยหรือไม่? ผู้บริโภคต้องเตรียมตัวอย่างไร?
ตลาดหุ้นไทยพุ่งขึ้นร้อนแรงรับเงินลงทุนจากต่างชาติ นี่จะเป็นอานิสงค์เติบโตแค่ช่วงสั้นๆ? จังหวะไหนควรเข้าซื้อ? วิเคราะห์ปัจจัยหนุนลุ้นดัชนีทะยานเหนือ 1,700 จุดในเวลาอันใกล้ และชี้เป้าอุตสาหกรรมอนาคตสดใส
SCB Chief Investment Office (CIO) วิเคราะห์ 3 ประเด็นหลักที่มีผลต่อแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก (Global Asset Allocation) ประกอบด้วย 1) COVID-19 สายพันธุ์ Delta ซึ่งสามารถติดได้ง่ายและทำให้วัคซีน COVID-19 บางประเภทมีประสิทธิภาพลดลงเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ก่อนๆ ทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อเริ่มกลับมาสูงขึ้นในหลายประเทศ 2) การเปิดเมืองและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่จะมีความแตกต่างกันมากขึ้น (Uneven recovery) โดยประเทศที่มีความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนค่อนข้างมาก เช่น สหรัฐฯ และยุโรป น่าจะสามารถหลีกเลี่ยงการกลับไปปิดเมืองแบบเข้มข้นได้ ในขณะที่กลุ่มประเทศที่มีความคืบหน้าไม่มาก เช่น ในกลุ่มประเทศ Emerging Markets (EMs) มีความเสี่ยงเรื่องการปิดเมืองเข้มข้นสูงกว่าอย่างมีนัย และ 3) ความผันผวนสูงในตลาดการเงินโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นจากความกังวลผลกระทบ COVID-19 สายพันธุ์ Delta และประสิทธิภาพวัคซีนที่ลดลง รวมถึงความพยายามล่าสุดของทางการจีนในการจัดการ internet platform/digitized economy ทำให้ความเสี่ยงด้านกฎเกณฑ์ภาครัฐ (regulatory risks) ในตลาดหุ้นจีนสูงขึ้นอย่างมีนัย ติดตามบทวิเคราะห์ได้ทุกเดือนกับ SCB CIO Wealth Insight #SCB #SCBCIO #INVESTMENT
เมื่อบริษัทเทคโนโลยีของจีนโดนเบรคด้วยมาตรการคุมเข้มจัดระเบียบบริษัทอย่างต่อเนื่อง นี่จะเป็นแผนระยะยาวของจีนหรือไม่? นักลงทุนควรปรับพอร์ตการลงทุนอย่างไร? หากขาดทุน ควรถือต่อหรือขายตัดขาดทุน? หรือนี่คือจังหวะดีซื้อสะสม? ติดตามคำตอบได้ในเอพิโสดนี้
เตรียมความพร้อมก่อนความสูญเสียเข้าใกล้อย่างไม่ทันตั้งตัวในยุคโควิดระบาด มาทำความเข้าใจถึงความแตกต่างของ Living will หรือพินัยกรรมชีวิต กับ พินัยกรรม เขียนอย่างไร เขียนตอนไหน จึงจะมีผลบังคับใช้ตามกฏหมาย เขียนสั่งเสียทางไลน์มีผลตามกฏหมายหรือไม่ ฟังคำตอบได้ที่นี่
ปูพื้นความสำคัญของชิปเทคโนโลยี Semiconductor ทำไมถึงเกิดวิกฤตขาดแคลนชิปทั่วโลก เจาะลึกรายละเอียดผู้เล่นรายใหญ่ในห่วงโซ่อุตสาหกรรมการผลิตชิป ตั้งแต่ผู้ผลิตชิป (Chip Manufacturer) ผู้ออกแบบชิป (Chip Designer) และ ผู้ที่ผลิตและออกแบบชิป (Integrated Device Manufacturer) พร้อมชี้เป้าโอกาสและความเสี่ยงในธีมการลงทุนที่ร้อนแรงในขณะนี้ กับแขกรับเชิญพิเศษ ดร.ธนพล ศรีธัญพงศ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่าย Investment Strategy, Research and Asset Allocation, Chief Investment Office บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์
จับตาภาพรวมเศรษฐกิจโลก และประเทศไทยในไตรมาส 3 ท่ามกลางวิกฤตโควิดสายพันธ์เดลต้าระบาดทั่วโลก ชี้กลยุทธ์การเลือกลงทุนแบบ Growth with Reasonable Price แนะเลือกหุ้นปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง เช่น กลุ่มโรงไฟฟ้า กลุ่มโรงพยาบาล พร้อมเผยตลาดที่น่าสนใจและมีศักยภาพในการเติบโตในจังหวะนี้