ดร.กอบกิจ อิสรชีววัฒน์ เผยแพร่พอดเคสนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นช่องทางหนึ่งของเผยแพร่ความรู้ แบ่งปันประสบการณ์ ในการพัฒนาตนเองและธุรกิจ My name is Kobkit Issarachevawat who develops this podcast. The objective is to share knowledge, experience, and idea for improving business and leadership. As…
CM SMART INNOVATION PODCAST Season 2 EP1 มาแว้วๆ หลังจากห่างหายไปร่วม 2 เดือน เพื่อวางแผนการจัดทำเนื้อหารายการใหม่ ให้หลากหลายและตรงประเด็น ให้ความรู้และข้อคิด จัดเป็นหมวดหมู่และกระชับ สำหรับ Season 2 เราจะแบ่งเป็น 3 หมวด คือ 1. ด้านบัญชี ภาษี การเงิน 2. ด้านบริหารธุรกิจและเพิ่มผลผลิต 3. นานาสาระทั้งจากบุคคล หนังสือ บทความ เพื่อที่เราขอเป็นส่วนหนึ่งของสังคมแห่งการแบ่งปัน และเรียนรู้ร่วมกัน. โดยแต่ละหมวดความรู้ท เราจะทำ Podcast ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันในแต่ละสัปดาห์ ในS2 EP1 Ep1 โดยคุณศุภรา ศรีสง่า ชื่อเล่น พี่ซุปนะคะ อยู่ในวงการบัญชี ภาษี มากกว่า 20ปี เป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรเป็นที่ปรึกษาด้านบัญชีภาษี และเป็นเจ้าของสำนักงานบัญชีศุภราคอนซัลแตนท์ จ.เชียงใหม่ ได้นำเรื่องราวที่กำลัง Hot
พบกับ EP 92 บทสุดท้ายของ 10 ข้อคิดของผู้บริหารในทศวรรษหน้า ที่ผมขอฝากใน Podcast นี้ ได้แก่ ○ Growth mindset ○ Kwow it all เป็น Learn it all ○ Humble อ่อนน้อมถ่อมตน ○ Empathy เข้าอกเข้าใจผู้อื่น ทั้งลูกค้า ลูกน้อง และคนในครอบครัว ○ Leading by example ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ○ Co Creation & Collaborate & Trust การสร้างความร่วมมือ เพื่อการสร้างสรรค์ ที่สำคัญต้องน่าเชื่อถือด้วย ○ Empower people สนับสนุนการทำงานของพนักงานโดยการมอบอำนาจเด็ดขาด (Empowerment) ให้อิสระทางความคิด ตัดสินใจได้เอง ทำให้นำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ ○ Goal Setting & Measurement for improvement ○ Active Listening ○ Coaching สำหรับ 2 EP สุดท้ายนี้คือ EP91 & 92 จะเป็นเรื่อง 10 ข้อคิดสำหรับผู้บริหารในทศวรรษหน้า 2020 ที่ควรพัฒนาและเตรียมตัว หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเนื้อหาต่างๆใน CM SMART INNOVATION podcast จะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านไม่มากก็น้อย อย่างน้อยก็เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมแห่งการแบ่งปันความรู้ การเรียนรู้ การพัฒนาให้ดียิ่งๆขึ้นไปนะครับ อย่างไรก็ตาม ทุกท่านก็ยังสามารถติดตามผลงานของผมได้จากรายการ Life & Living ทาง FB Live ของ สถานีวิทยุ LIVE FM 104.25 ทุกวันพฤหัส เวลาประมาณ 8.40 น. ครับผม
ก่อนอื่นต้องขออภัยทุกท่าน ที่ห่างหายไปเกือบ 2 สัปดาห์ เพราะเดือนพฤศจิกายนนี้ เป็นเดือนที่ผมเดือนทางไปต่างประเทศ หลายแห่งกลับจากจีนเมื่อไม่กี่วัน สัปดาห์หน้าก็จะเดินทางไปสวิสเซอร์แลนด์และฝรั่งเศสอีก ช่วงเวลาที่ผมได้เดินทาง ก็ทำให้ผมได้คิดทบทวนว่า CM SMART INNOVATION Podcast ทำมาได้ 1 ปีกับอีก 1 เดือน ซึ่ง EPแรกได้ออกนำเสนอในวันที่ 16 ตุลาคม 2561 จนมาถึงวันนี้ EP91 จึงทำให้ผมคิดว่าจะจบ podcast ใน SEASON ที่ 1 นี้ เพื่อที่จะได้ทบทวน วิเคราะห์ วางแผน สำหรับการปรับปรุงพัฒนา podcast ให้เข้มข้นขึ้น น่าสนใจมากขึ้น สำหรับ Season ที่ 2 ในปี 2020
การบริหารทรัพยามนุษย์เป็นส่วนสำคัญมากอย่างยิ่งอีกประการหนึ่งในการนำพาองค์กรสุ่ความสำเร็จที่ยั่งยืนในอนาคต ใน EP 90 ผมจึงขอนำอีกหนึ่งทฤษฎีในการจัดการทรัพยากรมนุษย์มาแชร์ให้กับทุกๆท่าน นั้นคือ AMO Theory
ทักษะการฟัง หลายคนคิดว่าเป็นทักษะพื้นฐาน ที่คนหูไม่หนวก ก็มีทักษะนี้มาตั้งแต่เกิด จนละเลยไม่ได้สนใจฝึกฝนให้เป็นผู้ฟังที่ดี
EP 87 นี้เป็นตอนสุดท้ายของข้อคิดดีๆที่อยากแชร์ให้ท่านผู้ฟังได้คิดลองคิดตามนะครับ จากหนังสือ ลาออกซะถ้าอยากรวย ของคุณเมษ พิชญพล
EP86 นี้ผมขอแชร์ข้อคิดดีๆจากหนังสือลาออกซะถ้าอยากรวยของคุณเมษ พิชญพล หนังสือ Best Seller ในอดีตอีกเล่ม ซึ่งมีเนื้อหาข้อคิด ตัวอย่างผู้ที่ประสบความสําเร็จระดับโลกหลายๆคนที่ผู้เขียนได้ร้อยเรียงราวต่างๆอย่างน่าสนใจ
สองสัปดาห์ก่อนได้ไปค้นหาหนังสือที่เล่าเรื่องราวผู้ที่ประสบความสำเร็จและสร้างแรงบันดาลใจในชั้นหนังสือที่บ้าน เพราะผมจะเตรียมเนื้อหาไปแชร์ให้กับน้องๆที่เข้ารับการบ่มเพาะเพื่อเริ่มธุรกิจตนเอง
ความเครียดใครๆก็ต้องเคยเจอกันบ้าง ไม่ว่าจะเเกิดจากงานที่ทำ ปัญหาครอบครัว ดราม่ากับเพื่อน เงินชักหน้าไม่ถึงหลัง ฯลฯ ดังนั้นแทนที่จะปล่อยให้มันคุกคามชีวิต ลองนำแนวคิด 3 ป (เปลี่ยน ปรับ และปรุง) ไปบริหารเพื่อบรรเทาความเครียดกัน EP 84นี้ จึงขอแชร์แนวคิด 3 ป กับการบรรเทาความเครียดที่ผมนำบทความมาจาก WIKI HOW ผู้เขียนคือคุณ Trudy Griffin มาแบ่งปันเล่าสู่กันฟังที้งให้ท่านผู้ฟังทุกท่าน และให้ด้วยผมเองด้วยนี้แหละ 555
เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า เป้าหมายสูงสุดของทุกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือใหญ่ จะอยู่ในอุตสาหกรรมใดก็ตาม นั่นคือ การประสบความสําเร็จ แต่การจะไปให้ถึงความสำเร็จนั้นอาจไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีตัวช่วย และหนึ่งในตัวช่วยที่ว่านั้นคือการมีที่ปรึกษาที่ดีหรือโค้ชที่ดีนั่นเอง คำกล่าวข้างต้นมาจากบทความของคุณสิรยา คงสมพงษ์ ที่ปรึกษาอาวุโส SEAC ที่เผยแพร่ใน KSME INSPIRED เดือนสิงหาคม 2562 ที่ผมขอนำมาแชร์เล่าสู่กันฟังใน EP83 นี้นะครับ
ขอต้อนรับสู่ EP82 ในบทนี้ผมขอนำเรื่องราวจาก บทความของคุณวิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์ KSME INSPIRED ฉบับเดือนสิงหาคม 2019 มาแบ่งปันกันครับ
หลังจากที่ได้พูดถึงหลักการแนวคิด Lean ไปหลาย Episode สำหรับ EP81 นี้ ผมจึงอยากขอแชร์ประสบการณ์กรณีศึกษาโรงงานแห่งหนึ่งที่ได้นำเอาแนวคิด Lean ไปใช้แล้วเกิดผลลัพธ์ได้เกินคาดสูงกว่าเป้าหมาย ซึ่งสามารถลดความสูญเสียและเพิ่มกำลังการผลิตได้จากวันละ 2 Batch เป็นวันละ 8-10 Batches เลยทีเดียว เรียกได้ว่ากำลัง/ความสามารถในการผลิตเพิ่มขึ้น 4-5 เท่าตัว โดยที่ไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่องจักรหรือขยายโรงงานใดๆทั้งสิ้น
หลังจากห่างหายไปกว่า 1 สัปดาห์ เนื่องจากกิจกรรมรับน้องขึ้นดอยของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งผมได้ไปทั้งช่วยงานและร่วมกิจกรรมนี้ ตั้งแต่วิ่งขึ้นและเดินลงดอยสุเทพเพื่อให้กำลังใจน้องๆปีหนึ่งทุกๆคณะ สนุกสนานมากมาย
ไขมันเลว ต้องรีบลด เพื่อที่จะลด ปัญหาคอลเรสเตอร์รอลสูงในหลายๆคนที่ไม่ดูแลร่างกาย เฉกเช่นเดียวกันกับสถานประกอบการที่เราต้องหา ไขมันเลวในรูปแบบ MUDA 8 ประการ เพื่อที่จะทำให้การทำงานของเราดีขึ้นมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
Muda คือ ความสูญเปล่า ความสูญเสีย สิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในโรงงานของเรา ในแนวคิด Lean นี้ Muda ยังแบ่งได้อีก 8 ประการ ซึ่ง EP78 นี้ผมก็ขอแชร์ ให้ท่านได้รู้จักไขมันส่วนเกินที่ทำให้สถานประกอบการอ้วนขึ้นนั่นก็คือ Muda ที่ปนอยู่ในการทำงานของเราทุกวัน Muda 3 ตัวแรก ที่อยากให้ท่านได้ลองพิจารณาดูครับ มีในสถานประกอบการของท่านหรือไม่ ไปฟังกันได้เลยจร้า
การที่จะเข้าใจลีนและนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในองค์กรของเรานั้น จำเป็นที่จะต้องเข้าใจกรอบแนวคิดเบื้องหลังระบบการผลิตแบบลีน ซึ่งใน EP ที่ 77 จึงขอนำกรอบแนวคิดส่วนหนึ่งที่อาจารย์ OHNO ปลูกฝังให้องค์กรโตโยต้ามาแชร์ให้ทุกท่านได้ทราบ อีกทั้งระบบการผลิตการทำงานแบบ LAEN มุ่งกำจัดทุกสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่า ประกอบไปด้วย 3MU มีอะไรบ้างเชิญรับฟังได้จาก EP77 นี้เลยจร้าาาา
จากขั้นตอนและแนวคิดในการลดต้นทุนของสถานประกอบการที่เคยแชร์ไว้ใน 2 EP ก่อนหน้านี้
สำหรับ EP 74 จะเป็น EP ที่มีเน้นหายาวนิดส์นึงเพราะผมรวม 2 ตอนเข้าด้วยกัน เพื่อให้ทุกท่านได้ฟังแนวคิดอย่างต่อเนื่องและเห็นภาพชัดเจนขึ้นในการบริหารจัดการต้นทุนในองค์กร กับ
ในภาวะเศรษฐกิจซบเซา หนึ่งแนวทางที่ผู้บริหารควรพิจารณาดำเนินการคือการลดต้นทุน. ถ้าเราลดต้นทุนได้ 100 บาท ก็หมายถึงกำไรที่เพิ่มขึ้นของเราทันที 100 บาท ผู้บริหารหลายๆคนจึงมุ่งมั่นที่จะลดต้นทุนโดยขาดการพิจารณา วางแผนอย่างท่องแท้. สุดท้ายแทนที่กำไรจะลด กลับกลายเป็นการเพิ่มต้นทุน ลดความสามารถในการแข่งขันของตัวเองซะงั้น ดังนั้นเราจะลดต้นทุนอย่างไรให้มีกำไร ยังคงความสามารถในการแข่งขัน คุณภาพสินค้าไม่ลด ขวัญและกำลังใจของพนักงานไม่ถดถอย ผมจึงขอแชร์แนวคิดการลดต้นทุน ใน EP ที่ 73 นี้ครับ โดยเริ่มต้นที่แนวคิดในการลดต้นทุนวัตถุดิบทางตรง
“จากข้อมูลพบว่าปัจจุบันเหลือบริษัทที่เคยประสบความสำเร็จในทำเนียบ S&P500 เพียง 65% ที่วันนี้ยังคงประสบความสำเร็จอยู่ โลกกำลังบอกว่า ความสำเร็จในอดีตไม่ได้การันตีความสำเร็จในอนาคต รวมทั้งความรู้ ทักษะเดิมๆ ที่เคยใช้นำพาองค์กรหรือทำงานก็อาจใช้ไม่ได้แล้วในวันนี้”
ปั้นธุรกิจ Feel good ด้วยการตลาดใส่ใจสังคมแบบลงทุนน้อย
ตลาดแรงงานเปลี่ยน ธุรกิจรับมืออย่างไร??? EP 70 นี้ ผมขอแชร์บทความดีๆจาก KSME Inspired ประจำเดือน ก.ค. 2019 จากธนาคารกสิกรไทย โดยกองบรรณาธิการ K Reseach ✨✨✨ ปัจจุบันภาพรวมตลาดแรงงานของไทยเผชิญความท้าทายในหลายๆมิติ ทั้งอัตราการเกิดลดลง การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การที่ GEN Z เข้ามามีบทบาทสำหรับแรงงานรุ่นใหม่ อีกทั้งเทคโนโลยีก็ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมาก รวมทั้งค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น ⛈⛈⛈ จากปัจจัยต่างๆเหล่านี้จึงมีผลต่อผู้ประกอบการการอย่างเราๆ เผชิญกับความท้าทายและการเตรียมรับมือ ซึ่งควรพิจารณาอะไรบ้าง สามารถรับฟังได้จาก Podcast ⭐️ EP70 นี้ครับ
BMC คือ เครื่องมือที่ช่วยให้เราประหยัดเวลาในการตอบคำถามเพื่อสร้างรูปแบบธุรกิจของเรา ซึ่งใน EP 67 นี้ เป็นบทสุดท้ายของรายการคำถามต่างๆ ที่อยากจะฝากไว้ให้ทุกท่านที่สนใจอยากจะลองทำรูปแบบธุรกิจของตนเองดู หาคำตอบจากคำถามให้ครบทั้ง 9+1 ช่อง ที่ผมไดนำเสนอไว้ใน Podacst ตั้งแต่ EP 64 ถึง EP นี้ครับ
ท่านคิดว่า จะทำอย่างไรให้ลูกค้าเก่ากลับมาซื้อซ้ำ ให้ลูกค้าใหม่ตัดสินใจซื้อ และลูกค้าทั้งเก่าและใหม่ช่วยเรารีวิวสินค้าอีกทั้งบอกต่อด้วย
BMC มี 9 ช่อง ที่จะให้ท่านหาคำตอบ เพื่อสร้างรูปแบบธุรกิจที่จะสร้างโอกาสและเป็นธุรกิจได้สำเร็จในอนาคต EP65 นี้ ผมจึงขอถามท่านอีก 2 กลุ่มคำถามหลักๆว่า จากสินค้า/บริการของเรา อะไรคือคุณค่าที่เราจะส่งมอบให้กับลูกค้า ทั้งในแง่ Feature Value และ Emotional Value อีกทั่้งคุณค่านั้นๆสามารถตอบสนองความต้องการ ความคาดหวังของลูกค้าตาม Customer Persona อย่างไรได้บ้าง
ท่านคิดว่า การเป็นผู้ประกอบการ คืออะไร ทำไมผู้ประกอบการที่จะประสบผลสำเร็จต้องทีทักษะในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเพื่อค้นหาโอกาส หรือปัญหาที่จะนำไปสู่ Business Model แล้วทำไมเราถึงต้องคิดวางแผน Business Model ด้วยละ อีกทั้งการสร้าง Business Model ทำอย่างไร ใน EP 64 นี้ ผมขอแชร์แนวคิดในการพัฒนารูปแบบธุรกิจของท่านด้วย Business Model Canvas (BMC)ซึ่งท่านผู้ฟังอ่านจะเคยเรียนรู้ อ่านหนังสือ หรือเห็นตัวอย่าง
หลายคนอาจรู้สึกอิจฉาคนที่เกิดมาเป็นทายาทธุรกิจ "เกิดมาโชคดีอะไรเช่นนี้ มีธุรกิจไว้รอรับ ไม่ต้องนับหนึ่งใหม่ มีคนคอยปูทางไว้ให้หมดแล้ว" แต่ในความเป็นจริงมีทายาทธุรกิจหลายคนที่รู้สึกกดดัน กลัวว่าจะบริหารได้ไม่ดีเท่ารุ่นพ่อแม่ หรือบางคนไม่อยากทำ เพราะมีความผันของตัวเอง ใน EP63 นี้ เป็นอีกหนึ่งบทความของ KSME INSPIRED ของธนาคารกสิกรไทย ฉบับที่ 62 ที่ผมอ่านแล้วตรงใจและตรงกับประสบการณ์ในชีิวิตของผมมาก เพราะผมก็เป็นอีกคนหนึ่งที่เกิดขึ้นในครอบครัวที่ทำธุรกิจ และเป็นทายาทธุรกิจรุ่นที่ 3 ร่วมกับพี่น้องอีก 2 คน โดยในบทความนี้ "เปิดตำรา ธุรกิจครอบครัว สร้างความอยู่รอดในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง" โดย คุณอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC - ศูนย์พัฒนาและส่งเสิรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน เป็นผู้เขียนบทความ ที่ผมขอนำมาแชร์ใน EP นี้นะครับ
อยากลงทุนเริ่มต้นธุรกิจ แต่ไม่กล้าเสี่ยงแบบเต็มตัว ทำให้ "ธุรกิจแฟรนไชส์" กลายเป็นคำตอลของใครหลายคนที่อย่างจะสัมผัสกับการเป็นเจ้าของกิจการดูสักครั้ง โดยที่มองเห็นโอกาสของความสำเร็จลอยอยู่เบื้องหน้า ฉนั้นคนที่อยากจะซื้อแฟรนไชส์ ก็คือ คนที่อยากจะซื้อความสำเร็จของคนอื่นที่เข้าประสบความสำเร็จมาแล้ว ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ความต้องการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้ อย่างไรก็ตามเราควรต้องมีการศึกษา วางแผน และตอบโจทย์ของตัวเองให้ได้ก่อน ซึ่งใน EP62 นี้ ผมขอแชร์เคล็ดลับการลงทุนแฟรนไชส์อย่างไรให้เวิร์ก โดยบทความนี้ผมนำมาจาก KSME INSPIRED ฉบับที่ 62 เดือนมิถุนายน 2562 ผู้เขียนคือ คุณวันวิสา งามแสงชัยกิจ และเรียบเรียงโดย คุณสรรพ์ภพ จิรวรรณธร ต้องกราบขอบพระคุณธนาคารกสิกรไทยสำหรับบทความดีๆ แก่ผู้ประกอบการ ไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ
ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารทั่วโลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่กระทบกับการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตความมั่นคงด้านอาหาร การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรโลก ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งจากปัจจัยดังกล่าวเหล่านี้ ส่งผลให้เทรนด์หรือแนวโน้มของการผลิตอาหารในอนาคต (Food for Future) จำเป็นต้องตอบโจทย์กับความต้องการบนโลกที่เปลี่ยนไปอยู่ตลาดเวลา ดังนั้นใน EP61 นี้ ผมจึงขอแชร์บทความเนื้อหาดีๆ จาก วารสาร KSME Inspired ของธนาคารกสิกรไทย ฉบับที่ 62 เดือนมิถุนายน 2562 ในพอสแคสท์นี้ครับ
EP60 นี้ พูดถึงอีก 3 กลยุทธ์ที่เหลือที่จะช่วยท่านผ่านพ้น วิกฤติเศรษฐกิจที่ตกต่ำได้โดยการ ลวทุนในการฝึกอบรมคนของท่าน อีกทั้งจัดการประสานงานในโซ่อุปทานธุรกิจเราทั้งในส่วน Suppliers และในส่วนตัวแทนจำหน่าย/เอเย่นต์ของเราเอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน กลยุทธ์สุดท้ายก็คือการติดตามดูสถานการณ์ต่างๆอย่างต่อเนื่อง เพราะความผันผวนในปัจจุบันเกิดขึ้นรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องติดตามอย่างใกล้ชิด พิเศษใน EP นี้ ยังมีแถมอีก 2 แนวคิดที่จะทำให้ท่าน หาทางออกและช่วยทำให้ธุรกิจท่านผ่านพ้นสภาวะต่างๆที่ไม่ดีไปได้ มาฟังกันเลยนะจ๊ะ
EP60 นี้ พูดถึงอีก 3 กลยุทธ์ที่เหลือที่จะช่วยท่านผ่านพ้น วิกฤติเศรษฐกิจที่ตกต่ำได้โดยการ ลวทุนในการฝึกอบรมคนของท่าน อีกทั้งจัดการประสานงานในโซ่อุปทานธุรกิจเราทั้งในส่วน Suppliers และในส่วนตัวแทนจำหน่าย/เอเย่นต์ของเราเอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน กลยุทธ์สุดท้ายก็คือการติดตามดูสถานการณ์ต่างๆอย่างต่อเนื่อง เพราะความผันผวนในปัจจุบันเกิดขึ้นรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องติดตามอย่างใกล้ชิด พิเศษใน EP นี้ ยังมีแถมอีก 2 แนวคิดที่จะทำให้ท่าน หาทางออกและช่วยทำให้ธุรกิจท่านผ่านพ้นสภาวะต่างๆที่ไม่ดีไปได้ มาฟังกันเลยนะจ๊ะ
จาก EP ที่แล้ว ผมได้พูดถึงกลยุทธ์ที่ท่านควรเตรียมตัวสำหรับภาวะเศรษฐกิจอาจฟังดูค่อนข้างย่ำแย่ ไปแล้ว 4 กลยุทธ์ ใน EP 59 นี้ ผมจึงขอแชร์อีก 3 กลยุทธ์ที่ผู้บริหาร/ผู้ประกอบการ ควรเตรียมเพื่อรับมือ ได้แก่ การลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น การทบทวนเป้าหมายและกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป และ การส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมและงานวิจัยในองค์กรของท่าน หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่าน หากคิดว่า
ช่วงนี้ข่าวด้านเศรษฐกิจอาจฟังดูค่อนข้างย่ำแย่ ทั้งปัญหาสงครามการค้าประเทศระหว่างมหาอำนาจ ปัญหาการเมืองไทยที่ยังไม่นิ่ง ปัญหาฝุ่นพิษทำให้การท่องเที่ยวในภาคเหนือซบเซาไป และอีกหลายๆเรื่อง ดังนั้นในฐานะผู้ประกอบการท่านควรทำอย่างไรในช่วงเศรษฐกิจที่เริ่มตกต่ำ ใน EP 58 นี้ ผมจึงขอแชร์ 10 กลยุทธ์ที่ผู้บริหาร/ผู้ประกอบการ ควรเตรียมเพื่อรับมือกับปัญหาเศรษฐกิจที่ซบเซานี้ สำหรับ EP นี้ คงได้ซัก 4 กลยุทธ์ก่อนนะครับ แล้วสามารถติดตามกลยุทธ์ต่างๆเพิ่มเติมต่อได้ใน EP หน้านะ
6 Sigma อีกหนึ่งแนวคิดระดับโลกที่พัฒนาองค์กร ต่อเนื่องจาก EP ที่แล้ว สำหรับEP 57 นี้ มารู้จัก กับอีก 3 ขั้นตอนที่เหลือของ D M A I C ในการใช้ 6 Sigma กันนะ 3. Analyze ขั้นตอนนี้คือการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาหลัก ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ในเชิงสถิติเพื่อระบุสาเหตุหลักที่ส่งผลโดยตรงต่อปัญหานั้น มี 3 ขั้นตอน a. การวิเคราะห์ข้อมูลตามลักษณะข้อมูลที่เก็บได้ ว่าเป็นการนับ หรือการวัด เช่น ผังการกระจาย (Scatter Diagram) ฮีสโตแกรม (Histogram) b. การวิเคราะห์กระบวนการ เพื่อหาขั้นตอนที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม สามารถนำแนวคิด Lean มาช่วยได้ จึงเรียกว่า Lean Six Sigma c. การวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง ซึ่งเรียกสาเหตุหลักนี้ว่า KPIV (Key Process Input Variable) ซึ่งต้องสามารถระบุให้ชัดเจนว่า อะไรคือ KPIV ของปัญหาและต้องสามารถเชื่อมโยงกับ ตัวหลักของกระบวนการ หรือที่เรียกว่า KPOV (Key Process Output Variable) ให้ได้ หลักการสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การตรวจสอบสมมติฐาน (Hypothesis Testing) ผังการกระจาย (Scattering Diagram) การวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) เป็นต้น 4. Improvement a. สร้างแนวทางแก้ไขปัญหา ขั้นตอนนี้คือการปรับตั้งค่าสาเหตุหลัก (KPIV) โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผลลัพธ์ของกระบวนการเป็นไปตามต้องการ ด้วยการใช้เทคนิคการออกแบบทดลอง(Design of Experiment : DOE) เพื่อปรับตั้งค่าสภาวะต่างๆของกระบวนการให้เป็นไปตามความต้องการ b. เลือกแนวทางการแก้ไขปัญหา 5. Control ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งต้องดำเนินการออกแบบระบบควบคุณคุณภาพของกระบวนการเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ากระบวนการจะย้อนไปมีปัญหาเหมือนเดิมอีก DMAIC a. กำหนดการวิธีการทางเทคนิคของการควบคุม เช่น วิธีในการสื่อสาร การผลิต ควบคุมการผลิต/บริการ จุดวิกฤติที่ต้องระมัดระวังในการทำงาน การใช้เครื่องมือสถิติ เช่น Control Chart เป็นต้น b. การจัดทำแผนตอบสนอง มาตรวัดที่สำคัญที่สุดสำหรับกระบวนการใหม่ ข้อกำหนดเฉพาะ และเป้าหมายใหม่ ผลการทำงานที่ได้รับการบันทึกใหม่ ซึ่งจะมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง หวังว่าจะเป็นอีกหนึ่งแนวคิดในการบริหารงานของท่านให้ประสบความสำเร็จ หากท่านมีข้อแนะนำ หรือคำถามก็แจ้งเข้ามาใน Podbean ช่อง CM SMART INNOVATION ได้นะครับ และถ้ามีประโยชน์ขอช่วย Follow และแชร์ต่อๆไปด้วยครับ
ท่านอยากรู้มั้ยครับว่า กลยุทธ์ในการนำ 6 Sigma มาใช้ในองค์กรทำอย่างไร เฉลยก็อยู่ใน EP 56 นี้แล้วจ้า มารู้จักกับหลักการสำคัญของกลยุทธ์ Six sigma การบรรลุกลยุทธ์ที่สำคัญของ six sigma ซึ่งเกี่ยวข้องกับขั้นตอน 5 ขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย Define - Measure – Analyze – Improve – Control 1. Define คือ ขั้นตอนการระบุกระบวนการหลักที่ส่งคุณค่าถึงลูกค้า และคัดเลือกหัวข้อเพื่อวัดสมรรถะการดำเนินการในปัจจุบันของบริษัท ในแง่ของประสิทธิผลและประสิทธิภาพกระบวนการที่มีผลกระทบมากที่สุด และกระบวนการที่มีสมรรถนะต่ำที่สุดควรตั้งเป็นโครงการ Six Sigma เช่น หากคุณเปิดร้านอาหารที่จัดส่งถึงบ้าน กระบวนการหลักที่ส่งผลถึงลูกค้า เช่น ช่วงเวลาและระยะเวลาของการจัดส่งอาหาร, ความถูกต้องจากการรับคำสั่งซื้อ, ความสดใหม่และรสชาติของอาหาร a. จัดทำรายละเอียดโครงการ b. บทบาทความรับผิดชอบของทีมงาน c. กำหนดความต้องการและข้อกำหนดของลูกค้า d. จัดทำแผนภาพรวมกระบวนการที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด 2. Measure เป็นขั้นตอนการวัดความสามารถของกระบวนการที่เป็นจริงในปัจจุบัน ขั้นตอนการวัดจะแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ a. สร้างแผนภาพการรวบรวมข้อมูล อะไรคือสิ่งที่จะวัด เช่น Input Process Output ประเภทข้อมูล คำนิยามของสิ่งที่จะวัด เป้าหมาย/เกณฑ์ที่จะวัด b. แผนการรวบรวมข้อมูล c. การสรุปข้อมูลที่ได้ ที่เหลืออีก 3 ตัว คือ A I C ก็รอใน EP ถัดไปนะครับ
ใน EP 55 นี้ ขอพูดถึงอีกหนึ่งแนวคิดที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนาองค์กร คุณภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผล Six Sigma คืออะไร • Six Sigma เริ่มต้นใช้กลางทศวรรษ 1980 โดย Motorola จากนั้น ก็นำไปใช้ในหลายๆองค์กรอย่างแพร่หลาย เช่น AlliedSignal โดย Lawrence Bossidy, General Electric โดย Jack Welch • ลูกค้ารู้สึกถึงความแปรปรวนไม่ใช่ค่าเฉลี่ย เช่น การรอรับบริการ บางวันเร็ว บางวันช้ามาก • Data Analytic from Statistics เช่น เครื่องบิน คุณคิดว่าเครื่องบินที่บินทั่วโลกมีวันละกี่ไฟล์ท ถ้าในรอบปีมีการขึ้นบิน 1,000,000 wไฟล์ท ปรากฏว่าที่ระดับ 6 Sigma มีโอกาสที่เครื่องบินจะเสียกลางอากาศ 3.4 ครั้ง คุณรู้สึกอย่างไร ○ ที่ระดับ 5 Sigma มีโอกาสที่เครื่องบินจะเสียกลางอากาศ 233 ครั้ง จากการบิน 1ล้านครั้ง คุณรู้สึกอย่างไร ○ ที่ระดับ 4 Sigma มีโอกาสที่เครื่องบินจะเสียกลางอากาศ 6,210 ครั้ง จากการบิน 1ล้านครั้ง คุณรู้สึกอย่างไร ○ ที่ระดับ 3 Sigma มีโอกาสที่เครื่องบินจะเสียกลางอากาศ 66,807 ครั้ง จากการบิน 1ล้านครั้ง คุณรู้สึกอย่างไร ○ ดังนั้น Sigma คือ ค่าความคลาดเคลื่อนจากเป้าหมายที่ต้องการ • เพิ่ม Productivity ให้เกิดทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล ○ ธุรกิจอยู่ได้ด้วยผลกำไรหากองค์กรมุ่งเป้าไปที่ความพึงพอใจลูกค้าเพียงอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงประสิทธิภาพของการดำเนินการแล้ว ย่อมไม่ใช่การตัดสินใจทางธุรกิจที่ดี • 6 Sigma ช่วยส่งเสริมการจัดการ หากคุณเป็นฝ่ายบริหารเมื่อเวลาประสบวิกฤตคุณจะทำอย่างไร คำตอบที่เรามักเห็นในประวัติศาสตร์หลายๆองค์กรคือการ ลดขนาดองค์กร โดยคาดหวังว่าพนักงานที่เหลือจะต้องทำงานให้หนักขึ้น เพื่อรอดพ้นวิกฤติ และมุ่งทำกำไรในระยะสั้นที่อาจส่งผลขาดทุนในระยะยาวได้ ซึ่งจะพบได้ว่ากลยุทธ์แผนงานส่วนใหญ่ของการลดขนาดองค์กรมั้งมุ่งเน้นไปที่ระดับล่างและกลาง โดยที่ผู้บริหารระดับสูงอาจมีการปรับเปลี่ยนไม่มาก ดังนั้นหากองค์กรใดที่ต้องการจะเปลี่ยนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างแท้จริงทั้งในระยะสั้นและระยะยาวสั้น การวางแผนเพื่อพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องจำเป็นต้องมุ่งความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ฝ่ายบริหารระดับสูงว่าจะจัดการกับธุรกิจของพวกเขาอย่างไร รวมไปถึงการสร้างทีม ผู้นำแนวคิด Six Sigma ไปใช้ในองค์กรแต่ละระดับ เช่น Champion, Six Sigma Director, Master Black Belt, Black Belt, Green Belt • Business process improvement คือการปรับปรุงพัฒนาขั้นตอนการทำงาน ให้ได้ผลลัพธ์ของการลดความไม่แน่นอน ลดความคลาดเคลื่อนไปจากเป้าหมาย ซึ่งต้องไปปรับปรุงตั้งแต่ Input Process Output เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายของ Six Sigma อีกทั้งกระบวนการทางธุรกิจที่เปลี่ยนไปเหล่านี้ ยังต้องรักษาให้เกิดมาตรฐานขึ้น นำไปสื่อสาร ฝึกอบรมให้พนักงานในองค์กรแต่ละระดับปฏิบัติตามอย่างมีประสิทธิภาพ
QC STORY กับ Final Chapter บทสุดท้ายใน EP ที่ 54 นี้ สูตรแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพ 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การคัดเลือกหัวข้อปัญหา รับฟังได้จาก EP51 2. ทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาและตั้งเป้าหมาย รับฟังได้จาก EP53 และอีก 5 ขั้นตอนที่เหลือ ว่ามีอะไรบ้างก็สามารถรับฟังได้จาก
QC story ขั้นแรกคือการค้นหาปัญหาและคัดเลือกปัญหาที่จะนำมาแก้ไขปรับปรุง ขั้นที่สอง ที่ขอแชร์ใน EP 53 นี้ คือการทำความเข้าใจสถานการณ์ของปัญหาและการตั้งเป้าหมาย นั่นคือ ปัญหาหากเรามองผิวเผิน ก็อาจทำให้เราหลงทาง แก้ไขปรับปรุงไม่ตรงจุดได้ ดังนั้นการที่เราเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเครื่องมือคุณภาพต่างๆ QC TOOLS จะทำให้เราเข้าใจสถานการณ์ของปัญหา เห็นคุณลักษณะเฉพาะของปัญหาที่เกิดขึ้น เมื่อเจาะลึกปัญหาลงไปเราจะพบว่ายังมีรูปแบบของเหตุการณ์หรือคุณลักษณะของปัญหาลึกๆที่เป็นเหตุหลักทำให้เกิดปัญหานั้นๆ ดังนั้นถ้าเราพบ เราก็สามารถเลือกที่จะแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด ยิ่งไปกว่านั้นยังนำมากำหนดเป็นเป้าหมายในการพัฒนางาน พัฒนาคุณภาพตามหลัก SMART ได้อีกด้วย ซึ่งผมหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านนะครับ หากท่านใดมีข้อซักถามหรือข้อเสนอแนะ ก็แจ้งเข้ามาได้ใน Podbean: CM SMART INNOVATION หรือ FB PAGE CM SMART INNOVATION ก็ได้ครับ
หลายท่านคงเคยได้ยินคำว่าบัญญัติ 10 ประการ ในศาสนาคริสต์กันบ้าง สำหรับใน EP52 นี้ ก็มีบัญญัติ 10 ประการเช่นกันสำหรับผู้บริหารที่จะทำ การพัฒนาคุณภาพด้วย QC story ไปใช้ จากหนังสือชื่อ QC วิธีการแก้ไขปัญหาในงานตามแบบฉบับญี่ปุ่น เขียนโดย คะทซึยะ โฮโซตานิ แปลโดย วีรพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์ จาก สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ผมได้นำแนวคิด QC Story มาแชร์ อีกทั้งใน EP 52 นี้ ยังนำบทบัญญัติ 10 ประการสู่การเป็นผู้บริหารที่จะแก้ไข พัฒนาคุณภาพในองค์กรได้อย่างมืออาชีพ ผู้บริหารต้องกล้านำ ร่วมสร้างแนวทางการทำงานที่ถูกต้องมีคุณภาพ เพื่อลดปัญหา ป้องกันปัญหามิให้เกิดซ้ำ เรียนรู้เทคนิค เครื่องมือทางด้านคุณภาพต่างๆ นำมาประยุกต์ให้เกิดประสิทธิผลตามต้องการ มาฟังบัญญัติ 10 ประการของ QC Story ที่ผู้บริหารพึงตระหนักกันนะครับ
หลายท่านคงเคยได้ยินคำว่าบัญญัติ 10 ประการ ในศาสนาคริสต์กันบ้าง สำหรับใน EP52 นี้ ก็มีบัญญัติ 10 ประการเช่นกันสำหรับผู้บริหารที่จะทำ การพัฒนาคุณภาพด้วย QC story ไปใช้ จากหนังสือชื่อ QC วิธีการแก้ไขปัญหาในงานตามแบบฉบับญี่ปุ่น เขียนโดย คะทซึยะ โฮโซตานิ แปลโดย วีรพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์ จาก สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ผมได้นำแนวคิด QC Story มาแชร์ อีกทั้งใน EP 52 นี้ ยังนำบทบัญญัติ 10 ประการสู่การเป็นผู้บริหารที่จะแก้ไข พัฒนาคุณภาพในองค์กรได้อย่างมืออาชีพ ผู้บริหารต้องกล้านำ ร่วมสร้างแนวทางการทำงานที่ถูกต้องมีคุณภาพ เพื่อลดปัญหา ป้องกันปัญหามิให้เกิดซ้ำ เรียนรู้เทคนิค เครื่องมือทางด้านคุณภาพต่างๆ นำมาประยุกต์ให้เกิดประสิทธิผลตามต้องการ มาฟังบัญญัติ 10 ประการของ QC Story ที่ผู้บริหารพึงตระหนักกันนัครับ
สัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปดูงานโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่างๆที่ภูเก็ต หนึ่งในปัจจัยที่ผู้บริหารหลายท่านพูดตรงกันก็คือเรื่องของคุณภาพ ทำให้ผมนึกถึงวิชาที่ได้มีโอกาสสอนบ่อยๆ คือ การจัดการคุณภาพ และหนึ่งในหัวข้อที่สำคัญของการจัดการคุณภาพ ก็คือ QC STORY เป็นกระบวนการบันทึกเรื่องราวขั้นตอนในการแก้ไข พัฒนา ปัญหาทางด้านคุณภาพต่างๆที่เกิดขึ้นในการทำงานของเรา เพื่อให้มีทั้งคุณภาพ ประสิทธิภาพ ได้ตามเป้าหมายเกิดประสิทธิผล อีกทั้งยังสามารถนำมาเป็นบทเรียนถ่ายทอดกันในองค์กรกลายเป็นมาตรฐานการทำงานที่ดีขึ้นได้อีกด้วย QC STORY ที่ผมนำมาแชร์ใน EPที่ 51 นี้มี 7 ขั้นตอน มีอะไรบ้าง ลองติดตามฟังกันนะครับ สำหรับ QC STORY ตอนที่ 1 นี้
เคยมั้ยที่เราทำงานเต็มที่ แต่เจ้านายกลับไม่เห็นผลงาน เตรียมนำเสนอซะอดหลับอดนอน แต่โดนลูกค้าปฏิเสธ คุยกับเพื่อนร่วมงานหรือลูกค้าเหมือนเราคุยกับเค้าไม่รู้เรื่อง งานที่กำลังทำอ้าวมารู้อีกทีหัวหน้ายกเลิกโครงการซะแล้ว หนังสือเล่มที่ผมขอนำมาแชร์ส่วนหนึ่งใน ❤️❤️ EPที่ 50 นี้บอกเล่าเทคนิคหลากหลายที่จะช่วยทำให้คุณแซงหน้าคน 99% เพียงแค่พัฒนาประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้นเพียงแค่วันละ 1% เท่านั้น
ในแต่ละวัน เวลาที่คุณสื่อสารกับคนอื่น มีคำมากมายที่คุณพูดและเขียนออกไป แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ในบรรดาคำเหล่านั้น มีคำเพียงไม่กี่คำที่มีพลังถึงขั้นเปลี่ยนชีวิตคุณได้จริงๆ แล้วคุณจะไปเอาคำเหล่านั้นมาจากไหน??? นี้คือคำโปรยของหนังสือที่ผมจะขอนำส่วนหนึ่งมาแชร์กับผู้ฟังทุกท่านใน EPที่ 49 นี้ นั่นก็คือหนังสือของ ซาซากิ เคนอิจิ ชื่อ “แค่ใช้คำให้ฉลาด ก็เพิ่มโอกาสจาก 0 เป็น 100” สำนักพิมพ์ WE LEARN มารู้จัก คำทรงพลัง ว่าคืออะไร? พลังของคำเกิดขึ้นได้อย่างไร? และ 5 เทคนิคของการสร้าง “คำทรงพลัง” ไม่ว่าใครก็สร้างคำทรงพลังได้ ยิ่งไปกว่านั้นท่านยังสามารถรับฟังได้ทาง YouTube พิมพ์ค้นหา CM SMART INNOVATION ได้อีกหนึ่งช่องทางแล้ววันนี้!!!
สองวันที่ผ่านมาได้ออกจาก Comfort Zone ตัวเองอีกครั้งกับการเข้าอบรมตัวแทนประกันชีวิตของ บ. AIA จำกัด โดยเข้าอบรมหลักสูตร น้องใหม่หัวใจแกร่ง Pass2 ซึ่งสิ่งที่ผมได้เรียนรู้ทำให้ผมได้กับมาคิดทบทวนถึงหนังสือเล่มหนึ่งคือ Start with Why ของ Simon Sinek รวมทั้ง TED TALK ของท่านที่พูดถึง The golden circle ซึ่งใน EP 48 นี้ผมจึงอยากขอแชร์แนวคิดเกี่ยวกับ Golden Circle กับการสื่อสารถึงลูกค้าและการขาย ผมมีประสบการณ์การขายตั้งแต่เด็กๆเพราะธุรกิจครอบครัวของผมทำธุรกิจขายปลีกและส่ง เสื้อผ้า ชุดนักเรียน รองเท้าต่างๆ ชื่อ วรวัฒน์พาณิชย์ ปัจจุบันมี 2 สาขา ทำให้ต้องคลุกคลีกับการขาย แต่สิ่งที่ผมได้เรียนรู้ตลอด 2วัน ทำให้ตระหนักว่าการขายประกันท้าทายกว่ามาก เพราะจับต้องไม่ได้ ต้องสื่อสารข้อมูลมากมายให้ลูกค้าตระหนักถึงความสำคัญและจำเป็นต้องมีประกันชีวิต รวมทั้งความน่าเชื่อถือของตัวแทนประกันด้วย จึงนำมาแชร์ตามแนวคิดของ The Golden circle อีกทั้งยังมีอีก 2 เทคนิคที่สำคัญในการสื่อสารการตลาดและการขาย อยากรู้ว่าคืออะไร สามารถรับฟังได้ใน EPนี้ครับ
SERVQUAL Model คือเครื่องมือที่ใช้ในการจับความคาดหวังก่อนการรับบริการ และการรับรู้ของลูกค้าต่อการรับบริการใน 5 มิติที่เชื่อว่าใช้ประเมินระดับคุณภาพในการให้บริการได้ พัฒนาโดยกลุ่มนักวิจัยคือ Zeithaml, Parasuraman and Berry, 1990: 28; Lovelock, 1996: 464-466) ซึ่ง 5มิติด้านคุณภาพในการบริการประกอบด้วย มิติที่ 1 ความเป็นรูปธรรมของบริการ (tangibility) หมายถึง ลักษณะทางกายภาพที่ปรากฏให้เห็นถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อันได้แก่ สถานที่ บุคลากร อุปกรณ์ เครื่องมือ เอกสารที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารและสัญลักษณ์ รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่ทำให้ผู้รับบริการรู้สึกว่าได้รับการดูแล ห่วงใย และความตั้งใจจากผู้ให้บริการ บริการที่ถูกนำเสนอออกมาเป็นรูปธรรมจะทำให้ผู้รับบริการรับรู้ถึงการให้บริการนั้นๆ ได้ชัดเจนขึ้น มิติที่ 2 ความเชื่อถือไว้วางใจได้ (reliability) หมายถึง ความสามารถในการให้บริการให้ตรงกับสัญญาที่ให้ไว้กับผู้รับบริการ บริการที่ให้ทุกครั้งจะต้องมีความถูกต้อง เหมาะสม และได้ผลออกมาเช่นเดิมในทุกจุดของบริการ ความสม่ำเสมอนี้จะทำให้ผู้รับบริการรู้สึกว่าบริการที่ได้รับนั้นมีความน่าเชื่อถือ สามารถให้ความไว้วางใจได้ มิติที่ 3 การตอบสนองต่อลูกค้า (responsiveness) หมายถึง ความพร้อมและความเต็มใจที่จะให้บริการ โดยสามารถตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างทันท่วงที ผู้รับบริการสามารถเข้ารับบริการได้ง่าย และได้รับความสะดวกจากการใช้บริการ รวมทั้งจะต้องกระจายการให้บริการไปอย่างทั่วถึง รวดเร็ว มิติที่ 4 การให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้า (assurance) หมายถึง ความสามารถในการสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับผู้รับบริการ ผู้ให้บริการจะต้องแสดงถึงทักษะความรู้ ความสามารถในการให้บริการและตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการด้วยความสุภาพ นุ่มนวล มีกริยามารยาทที่ดี ใช้การติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและให้ความมั่นใจว่าผู้รับบริการจะได้รับบริการที่ดีที่สุด มิติที่ 5 การรู้จักและเข้าใจลูกค้า (empathy) หมายถึง ความสามารถในการดูแลเอาใจใส่ผู้รับบริการตามความต้องการที่แตกต่างของผู้รับบริการแต่ละคน ในEP 47 นี้จึงขอแชร์เรื่องราวของ Servqual เพื่อเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจบริการต่างๆครับ
EP 46 นี้ขอนำอีกหนึ่งบทความดีๆ มาแชร์กันจาก KSME Inspired ฉบับที่ 60 เดือน เมษายน 2562 เรื่อง เปิดกลยุทธ์ใหม่ทำการตลาดผ่านไอจีของธรุกิจ F&B. โดยคุณวิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์ Social media กลายเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ทรงอิทธิพลอย่างมากในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage: F&B) เพราะการแชร์ภาพอาหารผ่านโซเชี่ยลมีเดียได้ทวีความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มมิลเลนเนียล ซึ่งเป็นผู้บริโภครุ่นใหม่ ภาพอาหารที่สวยงามที่ถูกแชร์ผ่านอินสตาแกรมเกิดขึ้นแพร่หลายจนมีการบัญญัติคำว่า “Instagrammable food” ขึ้นมา ซึ่งพฤติกรรมที่เกิดขึ้นไม่ใช่แค่การแชร์ภาพอาหาร แต่เป็นการแสดงออกถึงรสนิยมและไลฟสไตล์ส่วนตัวด้วย ใน EP นี้ยกตัวอย่างของแม็คโดนัลด์ในการใช้ IG จนสามารถเพิ่มทั้งยอดขายและ Engagement ได้อย่างมาก อีกทั้งมีเทคนิคที่แนะนำในการใช้สำหรับกลยุทธ์ทางการตลาดผ่าน IG อีกด้วย
“สมุนไพร โอาสทำเงินให้ธุรกิจ SME” บทความดีๆจาก KSME Inspired Issue60 เดือน เมษายน 2019 ที่ขอนำมาแชร์ใน EP 45 นี้ ด้วยมูลค่าตลาดกว่า 18,200 ล้านบาท และมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทำให้วันนี้ตลาดสมุนไพรจึงกลายเป็นดาวเด่นในแวดวงธุรกิจสุขภาพและความงาม โดยเฉพาะสนุนไพรดาวรุ่งอย่างขมิ้นชัน ซึ่งถูกยกให้เป็นหนึ่งใน Product Champion ที่มีศักยภาพและโอกาสทางการตลาดที่สูงมาก และแนะนอนนี้คือโอกาสทองของ SME เช่นเดียวกัน [ที่มา: กองบรรณาธิการ KSME เรียบเรียงจาก KReseach]